9 พ.ย. 2561

การเรียนการสอนโดยการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

              การพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องดำเนินการอยู่เสมอและจะกระทำทุกครั้งเมื่อสังคมมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นจะทำให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนประสบการณ์ขึ้นมาใหม่และพร้อมที่จะนำประสบการณ์และความรู้ที่เกิดขึ้นมานั้นไปพัฒนาตนและสังคมให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น
               Saylor and Alexander (1966 : 7) ได้สรุปว่า การวางแผนพัฒนาหลักสูตร ต้องประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ดังนี้
  1. หลักสูตร
                   1.1 ตัวผู้เรียนเอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและสังคมเองมองเห็นนักเรียนคืออะไร มีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมอย่างไรบ้าง สังคมต้องการอะไรจากนักเรียน และนักเรียนต้องการอะไรทั้งในแง่ของส่วนบุคคล และสังคม
                   1.2 หน้าที่และจุดมุ่งหมายของโรงเรียนคืออะไร โรงเรียนมีแนวคิดยึดปรัชญาสาขาใดและมีแนวปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายนั้นอย่างไร
                   1.3 ธรรมชาติของความรู้นั้นเป็นอย่างไร ขอบข่ายของความรู้ที่จำเป็นต้องศึกษานั้นมีมากน้อยแค่ไหน อย่างไร อะไรเป็นสิ่งจำเป็นก่อนและหลังหรือลำดับของความรู้เป็นอย่างไร
                   1.4 กระบวนการการเรียนรู้เป็นอย่างไร ลำดับหรือขั้นตอนของการเรียนรู้เป็นอย่างไร สิ่งที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึงการพัฒนาหลักสูตรในขั้นตอนแรกก็คือ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสังคม ปรัชญา ผู้เรียน และกระบวนการเรียนรู้
    2. บุคคลที่ทำหน้าที่วางแผนพัฒนาหลักสูตร
                   2.1 นักการศึกษาในทุกระดับ ตั้งแต่อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย เป็นต้น
                   2.2 ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่น นักเรียน ผู้ปกครอง สมาชิกในชุมชนและสมาคมต่างๆ เป็นต้น
 3. ผู้ตัดสินใจเลือกใช้หลักสูตร
              ผู้ทำหน้าที่เลือกใช้หลัdสูตร คือ นักพัฒนาหลักสูตรซึ่งประกอบด้วยครู นักศึกษา  ผู้บริหารการศึกษา  ผู้ปกครอง  ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ประกอบขึ้นเป็นกรรมการดำเนินการพัฒนาหลักสูตร โดยทำหน้าที่คัดเลือกและจัดระบบเนื้อหาสาระตลอดทั้งแบบเรียนกำหนดระบบการเรียน การสอน  และการตัดสินใจเลือกนั้นกระทำตามลำดับและขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบรรพต  สุวรรณประเสริฐ (2544: 16) ได้เสนอรูปแบบการวางแผนหลักสูตรซึ่งต้องมีองค์ประกอบสำคัญได้แก่การกำหนดหลักสูตรนักวางแผนหลักสูตรการตัดสินใจหลักสูตร และแผนหลักสูตร
              การวางแผนการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างหนึ่งของการพัฒนาหลักสูตรที่จะทำให้หลักสูตรเกิดความสมบูรณ์  ดังนั้น  ก่อนที่จะพัฒนาหลักสูตรนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องกำหนดแผนการพัฒนาหลักสูตร จะต้องกำหนดแผนการพัฒนาหลักสูตรดังนี้
              1. การศึกษาปัญหาหรือการกำหนดปัญหาที่เกิดขึ้นในหลักสูตรเดิม
              2.การกำหนดข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาข้อมูลที่กำหนดจะต้องเป็นข้อมูลที่สนองตอบต่อปัญหาที่ได้มาจากการศึกษาปัญหา
              3. การกำหนดสมมติฐานว่าหลักสูตรที่จะต้องได้รับการพัฒนานั้นจะบังเกิดผลต่อผู้เรียนอย่างไร
              4.กำหนดแนวทางในการดำเนินงานขั้นตอนในการดำเนินงานจะต้องกำหนดเวลาอย่างแน่นอนเพื่อจะได้เห็นกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตั้งแต่ต้นจนสำเร็จ
              5. การคัดเลือกบุคลากรมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตรจะสำเร็จได้นั้นจำเป็นต้องมีบุคคลากรที่มีคุณภาพในการทำงานบุคลากรที่ควรกำหนดในแผนได้แก่ นักพัฒนาหลักสูตร นักวิชาการศึกษา ศึกษานิเทศก์และครูผู้สอน
 1. การเรียนการสอนโดยการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น                                
              โลกในยุคมีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างมาก และไม่หยุดยั้ง ทำให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่างๆ แพร่ถึงกันทั่วโลกได้อย่าสะดวกและรวดเร็วโลกในปัจจุบันจึงเป็นโลกไร้พรมแดน  การจัดการศึกษาจึงต้องพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคัดสรรหรือนำความรู้ ข่าวสาร ข้อมูลต่างๆอันเป็นสากลมาพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของตน สังคม และประเทศชาติได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
              การจัดการศึกษานอกจากจะพัฒนาผู้เรียนให้มีความสากลแล้วยังจะต้องคงทนความเป็นท้องถิ่นของผู้เรียนไว้ด้วย  ผู้เรียนจึงสามารถดำรงชีวิตได้อย่างสอดคล้องกลมกลืนกับสภาพต่างๆ ในท้องถิ่นอย่างมีความสุข มีความรัก มีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน สามารถไก้ไขและพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม  การจัดการศึกษาต้องร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนกับท้องถิ่น เป็นทวิภาคีร่วมกันในการสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนและแก้ปัญหาในชุมชนหรือท้องถิ่น
ความหมายของแหล่งการเรียนรู้
            แหล่งการเรียนรู้หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศและประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมสร้างให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง  เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (กระทรวงศึกษาธิการ : 43)
            จากความหมายของแหล่งการเรียนรู้ที่กล่าวข้างต้น  อาจกล่าวได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราเป็นแหล่งการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น  การเรียนรู้จึงเกิดขึ้นได้ทุกเวลา  ทุกสถานที่  โรงเรียนที่มีฐานะรับผิดชอบโดยตรงในการจัดการศึกษา  จึงต้องสร้างหรือจัดหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายขึ้นในโรงเรียน  นอกจากนี้  ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 29 ได้เน้นให้สถานศึกษาร่วมกับบุคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ  และสถาบันสังคมอื่น จัดกบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพ ปัญหาและความต้องการ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนในทุกสถานศึกษา  ครูต้องเปลี่ยนวิธีการสอนจากการเรียนในหนังสื่อหรือในห้องเรียน  ไปสู่การเรียนรู้ตามสภาพจริงในชุมชนหรือท้องถิ่น จึงจะเอื้อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดหรือพัฒนาการศึกษา  และเอื้อต่อสถานศึกษาหรือผู้เรียนในกรมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น