15 ก.ย. 2561

ทฤษฎีหลักสูตรของ Beauchamp


Beauchamp George
ความหมายของหลักสูตร
Beauchamp George (1981:67) ให้ความหมายว่า หลักสูตร หมายถึง แผน ซึ่งประกอบด้วยประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในโรงเรียน
ทฤษฎีหลักสูตรในทัศนะของโบแชมพ์ ( George A. Beauchamp ) วิธีการพัฒนาทฤษฎีหลักสูตรของโบแชมพ์ มุ่งใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการสร้างทฤษฎี สำหรับตัวทฤษฎีมุ่งเฉพาะสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรโดยตรง ซึ่งได้แก่การกำหนดองค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรตั้งแต่เริ่มต้นของการจัดทำหลักสูตรจนถึงการประเมินผล หลักสูตรอันเป็นการทำงานที่ครบวงจร
องค์ประกอบของหลักสูตร
Beauchamp George (1981) กล่าวว่า องค์ประกอบหลักสูตรมี 4 ส่วน คือ
ขอบข่ายเนื้อหา
เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เฉพาะ
การวางแผนการใช้หลักสูตร
การพิจารณาตัดสิน

14 ก.ย. 2561

พื้นฐานการสร้างทฤษฎี

พื้นฐานทางด้านปรัชญาการศึกษา
              1. ปรัชญาสารัตถนิยมหรือสาระนิยม (essentialism) การจัดการศึกษาตามแนวคิดมีลักษณะเป็นการถ่ายทอด และอนุรักษ์วัฒนธรรมของสังคมเพราะเห็นว่า สิ่งที่นำมาสอนนั้น ดีงาม ถูกต้อง และกลั่นกรองมาดีแล้ว เนื้อหาวิชาที่นำมาสอนจะเป็นการเตรียมผู้เรียนให้มีชีวิตที่ดี 
2. ปรัชญานิรันตรนิยม (parennialism) ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า สิ่งที่มีความคงทนถาวร ย่อมเป็นสิ่งที่ดีงามเป็นจริงมากกว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ การจัดการศึกษาจึงควรให้เรียนในสิ่งที่ดีงาม มั่นคง มีเสถียรภาพ เนื้อหาวิชาที่เรียนจะเป็นวิชาที่พัฒนาเชาวน์ปัญญาและจิตใจ เช่น วิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ ภาษาศาสตร์ วรรณคดี 
3. ปรัชญาอัตถิภาวนิยม (existentialism) ให้ ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ การตัดสินใจ สอนให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง มีเสรีภาพในการเรียน และเลือกเรียนมีความรับผิดชอบในตนเอง ครูผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะแนวทาง
4. ปรัชญาปฏิรูปนิยม(reconstructionism)  เน้นการจัดการศึกษาเพื่อสร้างสังคมให้ดี รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคม ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ดังนั้นผู้เรียนต้องหาประสบการณ์ด้วยตนเองให้มาก
5. ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (progressivism) การจัดการศึกษาตามแนวนี้จะมุ่งส่งเสริมพัฒนาการเด็กทุกด้าน เน้นการปฏิบัติจริง และความสัมพันธ์กับสภาพจริง การจัดการเรียนรู้ยึด ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง 
          ดังนั้นพื้นฐานทางด้านปรัชญามีความสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรมาก ดังนั้นการจะพัฒนาหลักสูตรไปในทิศทางใดย่อมขึ้นอยู่กับปรัชญาที่ยึดถือ เพราะแนวคิดทางปรัชญาเป็นเครื่องช่วยกำหนดจุดหมาย หลักการ โครงสร้าง  และแนวปฏิบัติของหลักสูตรให้ชัดเจนขึ้น 

พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (behaviorist theory) มีความเชื่อว่าปัจจัยหลักที่มีผลต่อพฤติกรมของมุนษย์นั้นน่าจะมาจากสิ่งเร้าใน สภาพแวดล้อม นั่นคือ ถ้าครูสามารถจัดสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมแล้วก็จะสามารถทำให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มความรู้นิยมหรือปัญญานิยม (cognitivist theory) นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยมให้ความสนใจในการศึกษาปัจจัยภายในตัวบุคคลที่เรียกว่าโครงสร้างทางปัญญา (cognitive structure) ที่มีผลต่อความจำ การรับรู้และการแก้ปัญหาของบุคคล การกระทำต่าง ๆ ของบุคคลนั้นเกิดขึ้นจากตัวบุคคลนั้นเองไม่ใช่เกิดจากเงื่อนไข 
3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (humanist theory) หรือกลุ่มแรงจูงใจ (motivationtheory) นักจิตวิทยากลุ่มนี้ไม่ยอมรับว่าการเรียนรู้เกิดจากการกำหนดเงื่อนไขและกลไกต่าง ๆ แต่เขาให้ความสนใจในลักษณะเฉพาะซึ่งเป็นลักษณะของปัจเจกบุคคลโดยเน้นสิ่งที่เรียกว่าตัวตน (self) ตลอดจนความมีอิสรภาพการที่ บุคคลได้มีโอกาสเลือก การกำหนด้วยตนเอง (self determinism) ตามแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้จะเน้นที่เด็กเป็นศูนย์กลาง 
4. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสรรค์สร้างนิยม เพื่อให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักสร้างองค์ความรู้ใหม่
ดังนั้นข้อมูลพื้นฐานทางจิตวิทยาเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นที่นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษาวิเคราะห์ หรืออาศัยนักจิตวิทยาให้ข้อมูลที่จำเป็นและถูกต้องไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดทำหลักสูตร ในประเด็น การกำหนดจุดมุ่งหมายหลักสูตร คาบเรียน เกณฑ์อายุมาตรฐานการเข้าเรียน การจัดเนื้อหาและประสบการณ์
พื้นฐานทางด้านสาขาวิชา
          เปรียบเสมือนแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวกับมโนมติ ข้อมูลต่าง ๆ แบบอย่างวิธีการและกระบวนการค้นคว้าอื่น ๆ ที่อาจจะใช้ในการพัฒนาหลักสูตรและการวางแผนการเรียนการสอน (มิเชลลิส กรอสแมน และสก๊อต (Michealis, Grossman and Scott. 1975 : 175))
พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การศึกษาจึงต้องทำหน้าที่พัฒนาคนในสังคมให้สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยการจัดการศึกษาที่เพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และเกิดทัศนคติใหม่ ๆ อันสอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักพัฒนาหลักสูตรจึงต้องใช้ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประกอบการกำหนดเนื้อหาของหลักสูตร และวิธีการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือกำหนดเนื้อหาที่พอเพียง ทันสมัย ให้ผู้เรียนได้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กำหนดให้ใช้วิธีการและสื่อการเรียนอันทันสมัย เช่น การสอน แบบทางไกล การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้อินเทอร์เนต (internet) ในการจัด การเรียนรู้ เป็นต้น
          ดังนั้นพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรใน ลักษณะคือ เป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาคนให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงในสังคม และการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นการศึกษาข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งในปัจจุบันและแนวโน้มความเจริญในอนาคต จะทำให้สามารถพัฒนาหลักสูตรที่สามารถพัฒนาคนในสังคมให้มีศักยภาพเหมาะสมกับการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตามความต้องการของสังคม
ทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทยและต่างประเทศที่นำเสนอในที่นี้มีทั้งหมด 6  แบบ ได้แก่
1)  แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
2)  แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
3)  แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส
4)  แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา
5)  แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย วงษ์ใหญ่
6) แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model                                                                                            แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
      แบบจำลองของไทเลอร์ ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตร ไทเลอร์ให้คำแนะนำว่า ในการกำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตรทำได้ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ประกอบด้วย ข้อมูลผู้เรียน ข้อมูลสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่ และข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา นำข้อมูลจากสามแหล่งนี้มาวิเคราะห์เชื่อมโยงเพื่อช่วยให้มั่นใจในข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา การเชื่อมโยงข้อมูลเป็นการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำข้อมูลไปกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร (ฉบับร่าง) ต่อจากนั้นจึงกลั่นกรองด้วยปรัชญาการศึกษาของสถานศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ แสดงดังภาพประกอบที่1
ไทเลอร์มองว่า นักการศึกษาจะต้องจัดการศึกษาที่มุ่งให้ความสำคัญกับสังคม ด้วยการยอมรับความต้องการของสังคม และในการดำเนินชีวิต ใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือที่มุ่งปรับปรุงสังคม ผู้สอนควรได้นำทั้งปรัชญาสังคมและปรัชญาการศึกษา มาเป็นเค้าโครงพิจารณาใน ประเด็น คือ
1. ความจำและการระลึกได้ของแต่ละคน เป็นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ ไม่จำกัดว่าจะเป็นเชื้อชาติ สัญชาติ หรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
2. โอกาสเพื่อการมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างในทุกระยะของกิจกรรมในกลุ่มสังคม
3. ให้การสนับสนุนของการเปลี่ยนแปลงมากกว่ามุ่งตอบความต้องการส่วนบุคคล
4. ความเชื่อและสติปัญญาเป็นดังวิธีของความคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสำคัญมากกว่าที่จะขึ้นอยู่กับอำนาจรัฐหรือผู้มีอำนาจ
ไทเลอร์ให้ความสำคัญในการใช้จิตวิทยา ไม่เพียงการตอบข้อค้นพบเฉพาะบางเรื่องเท่านั้น หากยังใช้จิตวิทยาในฐานะทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งช่วยในการกำหนดกรอบโครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้อีกด้วย ไทเลอร์กล่าวถึงความสำคัญของการกลั่นกรองด้วยจิตวิทยา สรุปได้ดังนี้
1. ช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นที่แตกต่างกันและสามารถคาดหวังผลจากกระบวนการเรียนรู้หรือไม่ก็ได้
2. ช่วยให้เรามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในจุดหมายที่เป็นไปได้ในระยะเวลาที่ยาวนานหรือความเป็นไปได้ที่จะบรรลุผลในแต่ละช่วงอายุ
3. ช่วยให้ความคิดบางอย่างเกี่ยวกับระยะเวลาที่ต้องการให้บรรลุผลตามจุดประสงค์และช่วงอายุซึ่งเป็นความพยายามสูงสุดที่จะเกิดผลดังความตั้งใจ
เมื่อผ่านการกลั่นกรองแล้ว ไทเลอร์ให้คำแนะนำการวางแผนหลักสูตร ประเด็น คือ การเลือกประสบการณ์เรียนรู้ การจัดระบบโครงสร้างประสบการณ์เรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนต้องจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่มุ่งจะ:
1. พัฒนาทักษะการคิด
2. ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
3. ช่วยให้ได้พัฒนาเจตคติเชิงสังคม                                                                                                       4. ช่วยให้ได้พัฒนาความสนใจ
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
            ทาบามีความเห็นว่าหลักสูตรต้องถูกออกแบบโดยครูผู้สอนไม่ใช่คนอื่น โดยส่งเสริมการสร้างสรรค์การสอนและการเรียนรู้มากกว่าการออกแบบหลักสูตร
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา (Taba 1962: 10) มีทั้งหมด ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น
ขั้นที่ การกำหนดวัตถุประสงค์
ขั้นที่ การเลือกเนื้อหาสาระ
ขั้นที่ การจัดการเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ
ขั้นที่ การเลือกประสบการณ์เรียนรู้
ขั้นที่ การจัดการเกี่ยวกับประสบการณ์เรียนรู้
ขั้นที่ การตัดสินใจว่าจะประเมินอะไรและวิธีการประเมิน
แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส
เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส (Saylor J.G, Alexander. W.M. and Lewis Arthur J 1981: 24) นำเสนอแบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย ขั้นตอน ภายใต้แนวคิดของการวางแผนให้โอกาสในการเรียนรู้เพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องสำหรับประชากร ดังนี้
1. จุดหมาย วัตถุประสงค์และขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา
               จุดหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรถูกเลือกหลังจากการพิจารณาตัวแปรภายนอก เช่น ผลการศึกษาจากการวิจัยทางการศึกษา การรับรองมาตรฐาน ความเห็นของกลุ่มสังคม และอื่นๆ
2. การออกแบบหลักสูตร
               นักวางแผนลักสูตรต้องดำเนินการออกแบบหลักสูตร ด้วยการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา ระบุวันเวลาและวิธีการในโอกาสการเรียนรู้ดังกล่าว การออกแบบหลักสูตรคำนึงถึง ธรรมชาติของวิชา รูปแบบของสถาบันทางสังคมที่สัมพันธ์กับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
3. การนำหลักสูตรไปใช้
      ผู้สอนนำหลักสูตรไปใช้ในชั้นเรียน โดยจัดการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์และเลือกกลยุทธวิธีการสอนที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุผลการเรียนรู้
4. การประเมินหลักสูตร
      นักวางแผนลักสูตรและผู้สอนร่วมกันประเมินด้วยการเลือกเทคนิคการประเมินที่หลากหลาย การประเมินมีจุดเน้น ประเภท คือ 1) การประเมินผลรวมของการใช้หลักสูตรทั้งโรงเรียน ประกอบด้วย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ จุดประสงค์การเรียน ประสิทธิภาพของการเรียนการสอน และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน 2) การประเมินกระบวนการหลักสูตรทั้งระบบ ตั้งแต่การออกแบบหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ เพื่อตัดสินใจว่าหลักสูตรมีประสิทธิภาพเพียงใด

แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา

แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวาเป็นความสัมพันธ์อย่างละเอียดระหว่างองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญครอบคลุมกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตั้งแต่ต้นจนจบ นักพัฒนาหลักสูตรต้องทำความเข้าใจแต่ละขั้นโดยตลอด จากข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญาถึงการประเมินหลักสูตร ดังภาพประกอบ 4
และจากภาพประกอบ โอลิวา (Oliva.P.E 1992) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการเรียนการสอนอย่างเป็นขั้นตอน 12 ตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 - กำหนดปรัชญา จุดหมายการศึกษา และความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
ขั้นที่ 2 - วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนและสังคม
ขั้นที่ และ 4 - กำหนดวัตถุประสงค์ที่ได้จากขั้นที่ และ 2
ขั้นที่ 5 - การบริหารและนำหลักสูตรไปใช้
ขั้นที่ และ 7 - การเพิ่มระดับจุดหมายของการเรียนการสอน
ขั้นที่ 8 - การเลือกกลวิธีการสอน
ขั้นที่ 9 - การเลือกวิธีการประเมินผลก่อนเรียน
ขั้นที่ 10 - การดำเนินการจัดการเรียนการสอน
ขั้นที่ 11 - เก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินผลการเรียนการสอน
ขั้นที่ 12 – การประเมินหลักสูตรทั้งระบบ
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย วงษ์ใหญ่
วิชัย วงษ์ใหญ่ ได้สรุปแนวคิดและขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร โดยรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรจะเป็นฐานคิดในการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 ดังภาพประกอบที่ 6

ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้
1. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ใช้ข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการของสังคม มากำหนดจุดมุ่งหมาย หลักการและโครงสร้าง และออกแบบหลักสูตร โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญประกอบ
2. ยกร่างเนื้อหาสาระ แต่ละกลุ่มประสบการณ์ แต่ละหน่วยการเรียน และแต่ละรายวิชา โดยปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชา คณะกรรมการฯ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชาเป็นผู้กำหนดผลการเรียนรู้ จุดประสงค์ เชิงพฤติกรรมหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ วางแผนการสอน ทำบันทึก ผลิตสื่อการสอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3. ทดลองใช้หลักสูตรในสถานศึกษานำร่อง และแก้ไขข้อบกพร่อง
4. อบรมผู้สอน ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาให้เข้าใจหลักสูตรใหม่
5. ปฏิบัติการสอน กิจกรรมการใช้หลักสูตรใหม่มี ประการ คือ
5.1 การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน คือจัดทำวัสดุ สื่อการสอน
5.2 ผู้บริหารจัดเตรียมสิ่งต่างๆ เช่น บุคลากร (ครู) วัสดุหลักสูตร และบริการต่างๆ
5.3 การสอน ผู้สอนประจำการ ทำหน้าที่ดำเนินการสอน
5.4 การประเมินผล ประเมินทั้งผลการเรียนและหลักสูตร แล้วนำไปแก้ไข
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model
จากการศึกษาแนวคิดของนักพัฒนาหลักสูตรทั้งต่างประเทศและในประเทศ มีผู้สร้างแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรมากมาย เช่น โอลิวา (Oliva) ไทเลอร์ (Tyler) เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส ทาบา (Taba) และวิชัย วงษ์ใหญ่ เป็นต้น จากแบบจำลองของนักพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว จึงสามารถสรุปเป็นแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model ดังนี้
SU Model คือ รูปแบบจำลองโลกแห่งการศึกษา โดยประกอบด้วยวงกลม ซึ่งเปรียบเสมือนจักรวาลแห่งการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานที่สำคัญ ด้าน คือ 1) พื้นฐานด้านปรัชญา 2) พื้นฐานด้านจิตวิทยา และ 3) พื้นฐานด้านสังคม ด้านสามเหลี่ยมระหว่างความรู้กับผู้เรียนมีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านปรัชญา ด้านสามเหลี่ยมระหว่างผู้เรียนกับสังคมมีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านจิตวิทยา และด้านสามเหลี่ยมระหว่างสังคมกับความรู้มีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านสังคม
เมื่อพิจารณาพื้นฐานด้านปรัชญา แนวคิดของการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ความรู้ (Knowledge) กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง การพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ผู้เรียน (Learner) กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น สังคม (Social) จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา                                                                กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดแบบจำลอง SU Model
        กระบวนการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตร โดยประกอบด้วย ขั้นตอน ดังนี้
        สามเหลี่ยมแรก เป็นการวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยความรู้ (Knowledge) และสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องมีจุดหมายที่ชัดเจน เพื่อนำไปวางแผนและกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร หลักสูตรต้องวางแผนให้มีเนื้อหาครบคลุมในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และต้องเรียน
      การวางแผนหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนาหลักสูตรศึกษาสาระสำคัญของความรู้ในประเด็นการวางแผนหลักสูตรจากแหล่งความรู้ต่างๆให้กระจ่างแจ้ง
2. ทำความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
3. ผู้พัฒนาหลักสูตรฝึกเขียนการวางแผนหลักสูตรโดยนำสาระสำคัญมาจาก 21st Century Skills: The Challenges Ahead; A World Class Education ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการเขียน วิสัยทัศน์ (Vision) ของหลักสูตร
             สามเหลี่ยมรูปที่สอง เป็นการออกแบบ (Curriculum Design) คือการนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มาทำกรอบการปฏิบัติ ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner) และสอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา ดังนั้นการออกแบบหลักสูตรจึงเน้นการออกแบบเนื้อหา (Content) ประสบการณ์การเรียนรู้ หรือกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities) ที่ก่อให้เกิดความรู้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ตอบสนองจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนาหลักสูตรศึกษาสาระสำคัญของความรู้ในประเด็นการออกแบบหลักสูตรจากแหล่งความรู้ต่างๆให้กระจ่างแจ้ง
2. ทำความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
3. ผู้พัฒนาหลักสูตรฝึกเขียนการออกแบบหลักสูตร โดยนำสาระสำคัญมาจากโมเดลต้นแบบเชิงวัตถุประสงค์ (Objective Model) หรือโมเดลต้นแบบเชิงเหตุผล การปรับปรุงโมเดลโดยฮิลดา ทาบา รูปแบบของการออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา เน้าผู้เรียนเป็นสำคัญ และเน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ หลักการออกแบบหลักสูตร ประการของสก็อตแลนด์ แนวคิดการออกแบบหลักสูตรที่ส่งเสริมความเป็นเลิศในการเรียนรู้และการสอนของมหาวิทยาลัยกิฟฟิธ การออกแบบหลักสูตรรายวิชาตามแนวคิดของเวสมินส์เตอร์ เอ็กเชงจ์ มหาวิทยาลัยเวสมินเตอร์ และการออกแบบหลักสูตรด้วยแนวคิดวัตถุประสงค์เป็นฐาน เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการเขียนพันธกิจ (Mission) ของหลักสูตร
      สามเหลี่ยมรูปที่สาม เป็นการจัดหลักสูตร (Curriculum Organization) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner), ความรู้ (Knowledge) และสังคม (Society) ทั้งยังสอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ มีความหมายรวมถึง การบริหารจัดการหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การนิเทศการสอน เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร พร้อมกับสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข
การจัดหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนา รวบรวมข้อมูลความรู้และทำความเข้าใจให้กระจ่างแจ้ง
2. ทำความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
3. ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่ โดยนำความรู้ตามแนวคิดของออร์นสไตน์และฮันกิน ไปออกแบบเป็นหลักสูตร
      สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินหลักสูตร และผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยสังคม (Society) และสอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม
การประเมินหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนาศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรให้กระจ่างแจ้ง
2. นำความรู้ที่รวบรวมได้ มาประมวลเป็นข้อมูลใหม่ โดยนำเสนอในรูปแบบสารสนเทศ
3. ผู้พัฒนาศึกษาแนวคิดการประเมินหลักสูตร แล้วเลือกใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรตามความสนใจเมื่อผู้พัฒนาต้องการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้พัฒนาต้องใช้เครื่องมือวัดในการประเมิน เช่น แบบทดสอบความรู้ตามสภาพจริง แบบสังเกตพฤติกรรม การประเมินการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมงาน แล้วกำหนดเกณฑ์การประเมินโดยใช้ The SOLO Taxonomy

12 ก.ย. 2561

กิจกรรมบทที่ 2


1.  สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง  นิยาม ความหมาย : ทฤษฎี ทฤษฎีหลักสูตร ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
ตอบ  ความหมายของหลักสูตรมีนักการศึกษาให้ความหมายของคำว่า “ หลักสูตร ” แตกต่างกันออกไป ดังนี้

วิชัย วงษ์ใหญ่ (2554: 95) ได้กล่าวถึงความหมายของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร (Curriculum) มีรากศัพท์จากภาาาลาตินว่า “race - course” หมายถึง เส้นทางที่ใช้วิ่งแข่งขัน เนื่องมาจากเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญืที่มีคุณภาพและประสบความสำเร็จในการดำรวชีวิตอยู่ในสังคมแห่งอนาคต และในปัจจุบัน ความหมายของหลักสูตรหมายถึง มวลประสบการณ์ทางการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายวิชา กลุ่มวิชา เนื้อหาสาระ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

ทาบา (Taba 1962: 10) กล่าวว่า หลักสูตร หมายถึงเอกสารที่จัดทำขึ้น เพื่อระบุเป้าหมายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กิจกรรมหรือประสบการณ์เรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้นในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายใหม่ที่วางไว้
โอลิวา ได้สรุปความหมายของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตร คือ แผนงานหรือโครงการในการจัดประสบการณ์ทั้งหมดให้แก่ผู้เรียน โดยแผนงานต่างๆ จะระบุเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ระบุไว้ มีขอบเขตกว้างขวาง หลากหลาย ดังนั้น หลักสูตรเป็นได้ทั้งหน่วยการเรียน รายวิชา หรือ หัวข้อย่อยในรายวิชา ทั้งนี้แผนงานหรือโครงการดังกล่าว อาจจัดขึ้นได้ทั้งในและนอกชั้นเรียน ภายใต้การบริหารและดำเนินงานของสถานศึกษา
จากการศึกษา นิยาม “ หลักสูตร ” สรุปได้ว่า “หลักสูตร (Curriculum) ” หมายถึง ศาสตร์ที่เรียนรู้เพื่อนำไปกำหนดวิถีทางที่นำไปสู่การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งจัดกลุ่มได้เป็น 5 กลุ่มดังนี้
1.  หลักสูตรเป็นผลผลิตในรูปแบบ เอกสาร สื่ออิเล็คทรอนิกส์ หรือมัลติมีเดียเป็นต้น
2.  หลักสูตรเป็นโปรแกรมการศึกษา โดยปกติเขียนในรูปแบบหลักสูตรรายวิชา การจัดลำดับของมาตรฐานในการเรียนรู้ตามหลักสูตร
3.  หลักสูตรเป็นความตั้งใจเพื่อการเรียนรู้ จะบอกจุดหมาย เนื้อหาสาระ มโนทัศน์ หลักการทั่วไป และผลการเรียนรู้
4.   หลักสูตรเป็นประสบการณ์ของผู้เรียน มีกิจกรรม ทั้งทีมีการวางแผนและไม่ได้วางแผนไว้
5.   หลักสูตรแฝง ไม่ได้เป็นหลักสูตรโดยตรง แต่จะเป็นสิ่งใดหรืออะไรก็ตาม ที่ผู้เรียนเรียนรู้ที่ไม่ได้วางแผนไว้ หรือถึงแม้จะไม่ได้เป็นความคาดหวังไว้ แต่เป็นไปได้

ความสำคัญของหลักสูตร

นักการศึกษาหลายท่านได้แสดงทัศนะและความคิดเห็นที่เกี่ยวกับความสำคัญของหลักสูตรว่าหลักสูตรมีความสำคัญอย่างไรต่อการจัดการศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าหลักสูตรมีความสำคัญต่อการกำหนดมาตรฐานและคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนในแต่ละวัยแต่ละระดับการศึกษาได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพทัดเทียมกันหรือไม่ อย่างไร ซึ่งจะมีผลกระทบต่อผู้เรียนว่าควรเรียนรู้สาระการเรียนรู้อะไร มีเนื้อหาสาระมากน้อยเพียงใด จากการศึกษาเอกสารพบว่ามีผู้ที่กล่าวถึงความสำคัญของหลักสูตรไว้โดยสรุป ดังนี้

สันต์ ธรรมบำรุง (2527 : 152) สรุปความสำคัญของหลักสูตรไว้ 9 ประการ คือ
1              1. หลักสูตร เป็นแผนปฏิบัติงานหรือเครื่องชี้แนวทางปฏิบัติงานของครู เพราะหลักสูตรจะกำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผลไว้เป็นแนวทาง
         2. หลักสูตรเป็นข้อกำหนดแผนการเรียนการสอน อันเป็นส่วนรวมของประเทศ เพื่อนำไปสู่ความมุ่งหมายตามแผนการศึกษาชาติ
        3. หลักสูตรเป็นเอกสารของทางราชการ เป็นบัญญัติของรัฐบาล หรือเป็นธรรมนูญในการจักการศึกษา เพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฏิบัติตาม
        4. หลักสูตรเป็นเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา เพื่อควบคุมการเรียนการสอนในสถานศึกษาระดับต่างๆ และยังเป็นเกณฑ์มาตรฐานอย่างหนึ่งในการจัดสรรงบประมาณ บุคลากร อาคาร สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ ของการศึกษาของรัฐแก่สถานศึกษาอีกด้วย
        5. หลักสูตรเป็นแผนการดำเนินงานของผู้บริหารการศึกษา ที่จะอำนวยความสะดวกและควบคุม ดูแลติดตามให้เป็นไปตามนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐบาลด้วย
        6. หลักสูตรจะกำหนดแนงทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของเด็กตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา
        7. หลักสูตรจะกำหนดและลักษณะรูปร่างของสังคมในอนาคตได้ว่า จะเป็นไปในรูปใด
        8. หลักสูตรจะกำหนดแนวทางให้ความรู้ ทักษะ ความสามารถ ความประพฤติที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม อันเป็นการพัฒนากำลังซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบะสังคมแห่งชาติที่ได้ผล
        9. หลักสูตรจะเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงความเจริญของประเทศ เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน ประเทศใดจัดการศึกษาโดยมีหลักสูตรที่เหมาะสม ทันสมัย มีประสิทธิภาพทันต่อเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงย่อมได้กำลังที่มีประสิทธิภาพสูง
จากที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า หลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการศึกษา 3 ระดับ คือ
1. ระดับประเทศเป็นการชี้ให้เห็นถึงแนวทางการจัดการศึกษาโดยภาพและเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นแนวโน้มสังคมกับการจัดการศึกษาในอนาคต
2. ระดับสถานศึกษา ซึ่งนับได้ว่าหลักสูตรเป็นหัวใจและจุดเด่นของการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษานั้น ๆ
3. ระดับห้องเรียนซึ่งมีความสำคัญต่อการนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อจัดการเรียนรู้ที่เกิดกับผู้เรียนโดยตรง โดยมีรายละเอียดและเอกสารประกอบที่กำหนดแนวทางว่าจะสอนใคร เรื่องใด เพื่ออะไร
องค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตร ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้หลักสูตรมีความสมบูรณ์เพราะองค์ประกอบเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา ในด้านการจัดการเรียนรู้การบริหารหลักสูตรการวัดและประเมินผล การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร ซึ่งนักวิชาการหลายท่านได้กล่าวถึงองค์ประกอบของหลักสูตรดังต่อไปนี้

โบแชมป์ (Beauchamp, 1975:107) ได้กำหนดองค์ประกอบของหลักสูตรไว้ 4 ประการ
         1. เนื้อหา
         2. จุดมุ่งหมาย
         3. การนำหลักสูตรไปใช้
         4. การประเมินผล

สำหรับ ไทเลอร์ (Tyler, 1950) ได้เสนอข้อคิดเห็นไว้ 4 ประการในการจัดทำหลักสูตรดังนี้
1. ความมุ่งหมายทางการศึกษาที่สถาบันต้องการให้บรรลุมีอะไรบ้าง
2. เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมาย จะต้องจัดประสบการณ์อะไรบ้าง
3. ประสบการณ์ที่กำหนดไว้สามารถจัดให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร
4. ทราบได้อย่างไรว่าบรรลุความประสงค์แล้ว

ทาบา (Taba, 1962 : 422. อ้างถึงในชุมศักดิ์  อินทร์รักษ์ , 2551 : 48) ได้กล่าวถึงส่วนประกอบของหลักสูตรไว้ว่า ต้องประกอบด้วย
1. จุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะ
2. เนื้อหาสาระและประสบการณ์เรียนรู้
3. การประเมินผล
 ดังนั้นจึงสามารถสรุปองค์ประกอบของหลักสูตร ได้ดังนี้
1. การวางแผนหลักสูตร (curriculum Planning) เป็นการใช้พื้นฐานแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ อย่างแรกต้องทราบจุดมุ่งหมายการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา มีการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นความรู้ ผู้เรียนและสังคมอาจเพิ่มเติมด้านสาขาวิชาและด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร
2. การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design) การออกแบบหลักสูตรคือ การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้  โดยการนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาจัดทำกรอบการปฏิบัติ ซึ่งหลักสูตรที่จัดทำขึ้นเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร
3. การจัดหลักสูตร (Curriculum Orgaziation) เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดยต้องพิจารณาว่าตรงตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ และสอดคล้องกับคำถามที่ 3 ของไทเลอร์ ที่ได้กล่าวว่า จัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?  ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการบริหาร การนิเทศและการจัดการเรียนรู้
4. การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation) กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิพลของหลักสูตร รวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตรนั้นในอนาคต

ประเภทของหลักสูตร
การแบ่งประเภทของหลักสูตรเป็นการแบ่งตามแนวคิด ปรัชญา และทฤษฎีของ การศึกษา ประเภทของหลักสูตรออกได้เป็น 9 แบบ ดังนี้
1. หลักสูตรรายวิชา (Subjective Curriculum) เป็นรูปแบบหลักสูตรดั้งเดิม โดยเน้น เนื้อหาสาระ     ซึ่งลักษณะหลักสูตรแบบนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจเนื้อหาสาระ
2. หลักสูตรสหพันธ์ (Correlated Curriculum) หลักสูตรที่นําเอาเนื้อหาของวิชาอื่นที่มีความสัมพัน์กันมารวมเข้าด้วยกัน แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ 2 วิชา โดยไม่ทําลาย ขอบเขตวิชาเดิม คือ ไม่ได้มีการผสมผสานเนื้อหาเข้าด้วยกัน
3. หลักสูตรผสมผสาน (Fused Curriculum) เป็นการจัดหลักสูตรที่มุ่งเน้นรายวิชา โดยสร้างจากเนื้ อหาวิชาที่เคยแยกสอนให้เป็นวิชาเดียวกัน แต่ยังคงรักษาเนื้อหาพื้นฐานของแต่ ละวิชาไว้
4. หลักสูตรหมวดวิชา (Board Field Curriculum) เป็นรูปแบบหลักสูตรที่มีลักษณะ หลายหลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรสหสัมพันธ์และหลักสูตรแบบผสมผสาน
5. หลักสูตรวิชาแกน (Core Curriculum) เป็นหลักสูตรที่มีวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นแกน ของวิชาอื่นๆ โดยเน้นเนื้อหาด้านสังคมและหน้าที่ พลเมือง เพื่ อการแก้ปัญหา
6. หลักสูตรที่เน้นทักษะกระบวนการ (Process Skills Curriculum) เป็นหลักสูตรที่มุ่งให้เกิดทักษะกระบวนการ
7. หลักสูตรที่ เน้นสมรรถฐาน (Competency or Performance base Curriculum) เป็นหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างจุดมุ่งหมาย กิจกรรม การเรียนการสอน และ ความสามารถในการปฏิบัติของผู้เรียน
8. หลักสูตรที่ เน้นกิจกรรมและปัญหาสังคม (Social Activities and Problem Curriculum) หลักสูตรแบบนี้จะแตกต่างกันไปตามแนวคิดของแต่ละกลุ่ม
9. หลักสูตรที่ เน้นความต้องการและความสนใจของแต่ละบุคคล (Individual Needs and Interest Curriculum) เป็นหลักสูตรที่ เน้นความสนใจและความต้องการของผู้เรียน เช่น การเน้นที่ผู้เรียน การเน้นที่ประสบการณ์
จริงในการพัฒนาหลักสูตรนั้นต้องประกอบไปด้วยพื้นฐานอย่างน้อย 3 ด้าน คือ พื้นฐานด้านปรัชญา พื้นฐานด้านจิตวิทยา พื้นฐานด้านสังคม ซึ่งในแต่ละพื้นฐานมีความสำคัญดังต่อไปนี้
พื้นฐานด้านปรัชญา
เป้าหมายหลักสูตรเน้นด้านความรู้กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) โดยมีความเชื่อว่า ระบบการศึกษาควรเน้นหนักในการศึกษาความรู้และวัตฒนธรรม เป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรม และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีความเชื่อว่า  ระบบการศึกษาควรเน้นการจัดประสบการณ์ให้ได้มาซึ่งความรู้ ความคิดที่เป็นสัจธรรม มีคุณธรรม และมีเหตุผล เป้าหมายหลักสูตรเน้นด้านผู้เรียน กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) โดยมีความเชื่อว่าการศึกษามีความสำคัญในแง่ของวิธีการที่นำมาใช้ คือ กระบวนการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาในบทเรียน และนำเอากระบวนการแก้ปัญหาไปใช้ในชีวิตประจำวัน เป้าหมายหลักสูตรเน้นด้านสังคม กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดว่า  ผู้เรียนมิได้เรียนเพื่อมุ่งพัฒนาตนเองเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเรียนเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาสังคมให้สังคมเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ดังนั้นปรัชญาปฏิรูปนิยม จึงมีความเชื่อว่า การศึกษาควรเป็นเครื่องมือของมนุษย์ในการปฏิรูปสังคม
 พื้นฐานด้านจิตวิทยา
ในการจัดทำหลักสูตรจำเป็นต้อง ศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางจิตวิทยา ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนว่าผู้เรียนเป็นใคร มีความต้องการและความสนใจอะไร มีพฤติกรรมอย่างไร เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนักพัฒนาหลักสูตรจะนำมาใช้เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายหลักสูตร กำหนดเนื้อหาวิชา และการจัดการเรียนรู้ จิตวิทยาการเรียนรู้จะถูกนำมาใช้เพื่อให้ได้ความรู้ในเรื่องธรรมชาติการเรียนรู้ และปัจจัยทางวิทยาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดของนักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการเรียนรู้มี 4 กลุ่ม ใหญ่ๆด้วยกัน ได้แก่ 1) ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม 2) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม 3) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม 4) ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสร้างสรรค์นิยม
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยา นอกจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการเรียนรู้แล้ว ในการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องมีข้อมูลเกี่ยวข้องกับพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านผู้เรียน ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 
            โดนัล คลาก (Donald Clark, 2004:1) กล่าวว่าขั้นตอนวิเคราะห์ ข้อมูลประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความจำเป็นและมีประโยชน์มาก เมื่อต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเสนอโปรแกรมการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ ดังนี้
·   จำนวนผู้เรียน
·   ที่ตั้งของโรงเรียน
·   การศึกษาและประสบการณ์ของผู้เรียน
·   ภูมิหลังของผู้เรียน
·   แรงจูงใจของผู้เรียน
·   ระดับความสามารถในการปฎิบัติงานที่ต้องการ กับระดับทักษะในปัจจุบัน
·   ความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรมของผู้เรียน สิ่งเร้าของผู้เรียน
·   ลักษณะทางกานภาพหรือความสามารถทางสติปัญญาของผู้เรียน
·   ความสนใจพิเศษหรืออคติของผู้เรียน
พื้นฐานด้านสังคม
ข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมที่สำคัญที่ควรศึกษาวิเคราะห์เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร คือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพสังคม แนวคิดของพัฒนาการทางสังคม 4 ยุค คือ ยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม ยุคสังคมข่าวสารข้อมูล ยุคข้อมูลฐานความรู้ และยุคปัญญาประดิษฐ์ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการจัดทำหลักสูตรว่าจะมีแนวปฎิบัติในการจัดทำหลักสูตรหรือพัฒนาหลักสูตรอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับผู้เรียนในยุคสมัยต่างๆ ประการสำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสังคมมุ่งการสร้างเครือข่ายหรือความร่วมมือของชุมชน ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการจัดทำหลักสูตร การกำหนดวิชาเรียนต่างๆ เพราะบางราบวิชาสภาพชุมชนไม่ส่งเสริมเท่าที่ควร ก็อาจเป็นอุปสรรคในการจัดการศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน ชุมชนและสังคมที่โรงเรียนต่างๆ สามารถนำไปใช้ในการบริหารและจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรต้องมีการร่วมมือกันหลายฝ่ายเพื่อให้ผลงานออกมาตรงเป้าหมาย  ได้แก่
1. ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษาที่ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา เข้าใจบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารอย่างถ่องแท้และนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังแบบต่อเนื่อง จะช่วยให้การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาประสบผลสำเร็จได้อย่างมีคุณภาพ ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากการสั่งการมาเป็นผู้ร่วม คือ ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรมีบทบาทดังนี้
1.1   จัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาเพื่อใช้ในการดำเนินการจัดการศึกษา
1.2   เป็นผู้นำในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยร่วมประสานกับบุคลากรทุกฝ่าย เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ตลอดจนสาระตามหลักสูตรสถานศึกษา
1.3   ประชาสัมพันธ์หลักสูตรสถานศึกษา
1.4   สนับสนุนให้บุคลากรทุกฝ่ายของสถานศึกษามีความรู้และความสามารถในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
1.5   มีการนิเทศภายใน เพื่อนิเทศ กำกับ ติดตามการใช้หลักสูตรสถานศึกษาอย่างมีระบบ
1.6   จัดให้มีการประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อปรับปรุง พัฒนาสาระของหลักสูตรสถานศึกษาให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและท้องถิ่น
2. ครูผู้สอน
ครูผู้สอนมีบทบาทโดยตรงในการร่วมพัฒนาหลักสูตร จัดการเรียนรู้ ครูในยุคปฏิรูปการศึกษาจะต้องปรับเปลี่ยนจากการเป็นผู้สอน เป็นผู้เอื้ออำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการชี้แนวทางการนำความรู้จากแหล่งต่างๆ มาใช้ประโยชน์ กล่าวคือ ทำให้ผู้เรียนรู้วิธีการเข้าถึงแหล่งข้อมูล มีทักษะในการใช้สื่อ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการสืบค้นข้อมูลมาใช้ได้สะดวก วิธีการที่ครูสามารถทำได้ในฐานะผู้เอื้ออำนวยความสะดวกที่ดี เช่น ให้โอกาสผู้เรียนเข้าไปใช้บริการสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดของโรงเรียน บอกแหล่งที่มาของข้อมูลให้ผู้เรียนที่สนใจสามารถสืบค้นได้จากซีดีรอม หรือจากโฮมเพจในอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
นอกจากนี้ ครูยังต้องปรับบทบาทจากการเป็นผู้ป้อนข้อมูล เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา โดยครูจะต้องตระหนักเสมอว่า ตนเองไม่ใช่ผู้กำหนดความรู้ แต่เป็นผู้สอนแก่นความรู้ในวิชาที่สอน และแนะวิธีการคิด ให้กรอบในการวิเคราะห์เนื้อหาวิชาการ แนะนำการพิจารณาข้อมูลที่จะเลือกนำมาใช้ แนะนำเรื่อง ทั่วๆ ไปที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของผู้เรียนด้วย เช่น ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การพัฒนาบุคลิกภาพ มารยาท การป้องกันตนเองจากภัยอันตรายต่าง ๆ เป็นต้น
ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำ ปรึกษาแก่นักเรียนและเป็นผู้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ก็ต่อเมื่อครูเป็นผู้ที่เรียนรู้มาก่อน นั่นหมายความว่า ครูจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ เป็นคนช่างสังเกตและคิดแตกฉานกับข้อมูลและความรู้ที่ผ่านเข้ามาในสมองด้วยการตั้งคำถามและหาทางพิสูจน์เรื่องเหล่านี้ให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ครูไม่เพียงแต่จะมีบทบาทหน้าที่ในการจัดการเรียนรู้เท่านั้น แต่ครูยังต้องมีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ดังต่อไปนี้ (กรมวิชาการ  2543 :  16)
2.1   ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจนเข้าใจกระจ่าง
2.2   ศึกษาหลักการ วิธีการพัฒนาหลักสูตรระดับสถานศึกษา
2.3   ร่วมวางแผน และร่วมพัฒนาหลักสูตรระดับสถานศึกษา
2.4   ตรวจสอบความสอดคล้องสัมพันธ์กันของสาระที่จัดทำขึ้นตามสภาพปัญหา/ความต้องการของชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น กับมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มวิชาและมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.5 วางแผนการจัดการเรียนการสอนตามขอบข่ายเนื้อหาสาระ มาตรฐาน สัดส่วนของเวลา และหน่วยการเรียนรู้
2.6 นำหลักสูตรไปปฏิบัติให้เกิดผลในห้องเรียน โดยเลือกใช้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรียนรู้และเหมาะสมกับผู้เรียน
2.7 วางแผนและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ได้ข้อมูลที่แสดงความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละช่วงนั้น และนำผลการประเมินมาพัฒนาผู้เรียนต่อไป
2.8 ร่วมประเมินผลการใช้หลักสูตรกับสถานศึกษา
3. ผู้เรียน
           เนื่องจากผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการกำหนดจุดหมายของการพัฒนาหลักสูตร หลักสูตรทุกหลักสูตรพัฒนาขึ้นเพื่อสนองความต้องการของผู้เรียนโดยตรง ผู้เรียนจึงควรมีส่วนแสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลที่สะท้อนความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียนให้ผู้รับผิดชอบพัฒนาหลักสูตรได้ทราบ และเนื่องจากผู้เรียนเป็นผลผลิตของการจัดการศึกษาโดยตรง ผู้เรียนจะมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์คือเป็นคนดี มีปัญญา และมีความสุขได้ ผู้เรียนจะต้องปรับปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ของตนจากการเป็นผู้รับมาเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความสามารถของตนเอง
บทบาทหน้าที่ของผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีดังนี้
3.1   มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับผู้ปกครองและครู วางแผนการเรียนรู้ของตนเองตามความถนัด ความสนใจและความสามารถของตนเอง
3.2   มีความรับผิดชอบ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และบริหารจัดการเรียนรู้ของตนเองให้มีคุณภาพ
3.3   ปฏิบัติตนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ รู้วิธีแสวงหาความรู้ พร้อมทั้งสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
3.4   มีการประเมินและพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
3.5   มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับครูและเพื่อนโดยช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน
4. ผู้ปกครอง
           การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้เปิดโอกาสให้บิดามารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายร่วมมือกับสถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ (มาตรา 24) ฉะนั้น บิดามารดาและผู้ปกครองจะต้องปรับเปลี่ยนความคิดในการฝากบุตรหลานไว้ในความดูแลของครูมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยผู้ปกครองควรจะมีบทบาท ดังนี้
4.1   กำหนดแผนการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกับครูและผู้เรียน
4.2   มีส่วนร่วมในการกำหนดสาระของหลักสูตรสถานศึกษา และกำหนดแผนพัฒนาสถานศึกษาหรือธรรมนูญสถานศึกษา
4.3   ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
4.4   อบรมเลี้ยงดู เอาใจใส่ ให้ความรักความอบอุ่น ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่างๆ ของผู้เรียน
4.5   สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษาตามความเหมาะสม
4.6   ร่วมมือกับครูและผู้เกี่ยวข้อง ประสานงาน ป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้เรียน
4.7   พัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีความรู้คู่คุณธรรม เป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อนำครอบครัวไปสู่สถาบันแห่งการเรียนรู้
              4.8   มีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนและการประเมินการจัดการศึกษาของ
 5. ชุมชน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรและบริหารจัดการให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่กลมกลืนกับท้องถิ่น และร่วมกับสถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยมีบทบาทดังนี้
5.1   มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาหรือธรรมนูญของสถานศึกษา
5.2   มีส่วนร่วมในการกำหนดสาระของหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
5.3   เป็นแหล่งการเรียนรู้ สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากสถานการณ์จริง
5.4   ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของสถานศึกษา
5.5   มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา
การมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาจะประสบผลสำเร็จได้ด้วยดี จะต้องได้รับความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจากบุคลากรทุกฝ่าย ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน บิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลหรือหน่วยงานในชุมชน ได้แก่ องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในลักษณะต่าง ๆ หลายลักษณะ โดยถือว่าการจัดการศึกษาเป็นภาระหน้าที่สำหรับทุกคน การมีส่วนร่วมของประชาชนหรือบุคลากรทุกฝ่ายอาจดำเนินการได้หลายทาง ได้แก่
1. การมีส่วนร่วมเป็นกรรมการ
ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาจะต้องทำความเข้าใจกับประชาชนที่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการเกี่ยวกับการศึกษา ให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน เพราะการเป็นกรรมการไม่ใช่เรื่องของอภิสิทธิ์ส่วนตัว แต่เป็นภาระเพื่อประโยชน์ส่วนรวม กรรมการมีหน้าที่กำกับ ดูแล ให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาทำหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน
ดังนั้น กรรมการจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอน การบริหารและการจัดการศึกษา ระบบการประกันคุณภาพ การจัดทำหลักสูตร การประเมินคุณภาพการศึกษา การระดมทรัพยากรการเงินและบุคคลเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา เป็นต้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเป็นกรรมการได้เข้าใจบทบาทหน้าที่อย่างจริงจัง สถานศึกษาควรจัดทำคู่มือการเป็นกรรมการและนำเสนอผ่านสื่อ การปฐมนิเทศ หรือการฝึกอบรมสำหรับกรรมการที่ยังขาดประสบการณ์ รวมทั้งมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของกรรมการด้วย
2. การร่วมจัดการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 57 กำหนดให้หน่วยงานการศึกษาระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยนำประสบการณ์ ความรอบรู้ ความชำนาญ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคคลมาใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาและยกย่องเชิดชูผู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา
3. การร่วมสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นจะร่วมสนับสนุนการศึกษาได้โดยร่วมกันให้ความรู้หรือประสบการณ์ในฐานะทรัพยากรบุคคลหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือสนับสนุนโดยการบริจาคทรัพย์สิน หรือทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา รวมทั้งการมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็นด้วย
4. การร่วมกำกับดูแล
เนื่องจากการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดเงื่อนไขใหม่ๆ เช่น ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องทำหน้าที่ให้เหมาะสม สอดคล้องกับจรรยาบรรณและมาตรฐานของวิชาชีพ สถานศึกษาต้องมีระบบประกันคุณภาพ เป็นต้น ดังนั้นประชาชนจึงควรมีส่วนร่วมเรียกร้องคุณภาพทางการศึกษาที่เป็นมาตรฐาน ทักท้วง ตักเตือน หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมประเมินคุณภาพของบุคคลและสถานศึกษา รวมทั้งร่วมยกย่องเชิดชูเกียรติครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมด้วย
หากบุคลากรในสถานศึกษาทุกคนได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเต็มที่ และเปิดโอกาสให้บุคคลและหน่วยงานนอกสถานศึกษาได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ทั้งในฐานะกรรมการสถานศึกษา วิทยากรหรือปราชญ์ชาวบ้าน หรือในฐานะผู้ให้การสนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษาและฐานะผู้ประเมินคุณภาพของสถานศึกษาแล้ว ย่อมเชื่อมั่นได้ว่าสถานศึกษานั้นจะประสบผลสำเร็จในการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาและการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา

สภาพปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
ปัญหาการพัฒนาหลักสูตรไทย
1. ปัญหาการขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
2. ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการสอนของครู
3. ปัญหาการจัดอบรมครู
4. ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
5. ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆ
6. ผู้บริหารต่างๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
7. ปัญหาการขาดแคลนเอกสาร
ปัญหาหลักสูตรในการศึกษาปฐมวัย
การเรียนการสอนจะเน้นสอนเนื้อหาวิชาตามหลักสูตรมากกว่าการพัฒนาการเด็ก ทำให้เด็กเกิดความเครียด
-  การไม่ได้ใช้ประโยชน์จากหลักสูตรอย่างเต็มที่
-  แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรยังขาดความเป็นเอกภาพ
ปัญหาหลักสูตรในการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-  การจัดโครงสร้างหลักสูตรใหม่ทำให้ครูต้องสอนเนื้อหาหนักมากขึ้น และผู้เรียนต้องเรียนหนักมากขึ้น
-  สถานศึกษาจัดทำเองไม่มีความชัดเจกรมวิชาการและกรมเจ้าสังกัดมีจุดเน้นที่ไม่ตรงกัน
-  มีเสียงสะท้อนว่านโยบายการจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ที่ให้โรงเรียนจัดทำเองไม่มีความชัดเจน
-  ทำให้ครูเกิดความสับสน
ปัญหาหลักสูตรการอาชีวศึกษา
ผู้เข้าเรียนในการอาชีวศึกษาไม่มีคุณภาพเท่าที่ควรหลักสูตรก่อนถึงระดับ  ปวช.  คือระดับมัธยมต้น หรือการศึกษาผู้ใหญ่เป็นการปูพื้นฐานความรู้ระดับต่ำ เช่น  อ่าน  สะกดคำไม่ได้  ขาดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ  เมื่อมาเรียนต่อในระดับอาชีวศึกษาจึงเกิดปัญหา แม้ครูจะเตรียมการสอนดีอย่างไร ผู้เรียนไม่สามารถต่อยอดความรู้ได้ เพราะพื้นฐานความรู้ไม่ดีเพียงพอ
การจัดหลักสูตรสำหรับผู้ด้อยโอกาส
-  ยังไม่เหมาะสม  เพราะหลักสูตรยังยึดวิธีการแบบเก่าๆไม่สนองความต้องการและความสนใจและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ด้อยโอกาสในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
การใช้หลักสูตรสถานศึกษา
การนำหลักสูตรไปใช้ เป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาหลักสูตร เพราะเป็นการนำอุดมการณ์ จุดหมายของหลักสูตร  เนื้อหาวิชา และประสบการณ์การเรียนรู้ที่กลั่นกรองอย่างดีแล้วไปสู่ผู้เรียน  ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้ มีความสำคัญยิ่งกว่าขั้นตอนตอนใดๆทั้งหมด  เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของหลักสูตร ถึงแม้หลักสูตรจะสร้างไว้ดีเพียงใดก็ตาม  ยังไม่สามารถจะกล่าวได้ว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ ถ้าหากว่าการนำหลักสูตรไปใช้ดำเนินไปอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่ดีเพียงพอ  ความล้มเหลวของหลักสูตรก็จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะฉะนั้นการนำหลักสูตรไปใช้ จึงมีความสำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องในการนำหลักสูตรไปใช้ จะต้องทำความเข้าใจกับวิธีการขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้สามารถนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดตามความมุ่งหมายทุกประการ

ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้ เป็นขั้นตอนที่นำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ ความหมายของคำว่า การนำหลักสูตรไปใช้มีแตกต่างกันออกไป  นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมาย      คำนิยามของคำว่าการนำหลักสูตรไปใช้ดังนี้

โบแชมป์ (Beauchamp,1975:164)  ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ว่า  การนำหลักสูตรไปใช้  หมายถึง  การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ  โดยการะบวนการที่สำคัญที่สุด คือการแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน   การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ครูได้มีพัฒนาการเรียนการสอน
สันติ   ธรรมบำรุง (2527.120)  กล่าวว่า  การนำหลักหลักสูตรไปใช้หมายถึงการที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูนำโครงการของหลักสูตรที่เป็นรูปเล่มนั้นไปปฏิบัติให้บังเกิดผล  รวมถึงการบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูและนักเรียนสามารถสอนและเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สงัด  อุทรานันท์ (2535.260)  ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้ว่า เป็นขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตรไปสู่การเรียนการสอนในห้องเรียน  ได้แก่การจัดเอกสารประกอบหลักสูตร  การเตรียมบุคลากร  การบริหารและบริการหลักสูตร  และการนิเทศการใช้หลักสูตร
ธำรง บัวศรี (2504.165) กล่าวว่า การนำหลักสูตรไปใช้  หมายถึงกระบวนการเรียนการสอนสำหรับสอนเป็นประจำทุกๆวัน
จากความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ ตามที่นักการศึกษาได้ให้ไว้ข้างต้น  พอสรุปได้ว่า  การนำหลักสูตรไปใช้  หมายถึง การดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นดำเนินไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย นับแต่การเตรียมบุคลากร อาคาร สถานที่  วัสดุอุปกรณ์  สภาพแวดล้อม  และการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน
แนวคิดเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้
ถ้าเรายอมรับว่าการนำหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้หลักสูตร เกิดผลต่อการใช้อย่างแท้จริงแล้ว การนำหลักสูตรไปใช้ก็ควรจะเป็นวิธีการปฏิบัติการที่มีหลักเกณฑ์ และมีกระบวนการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ พอที่จะมั่นใจได้ว่า  หลักสูตรที่ได้สร้างขึ้นนั้น จะมีโอกาสนำไปปฏิบัติจริงๆอย่างแน่นอน  นักการศึกษาต่างก็ให้ทัศนะซึ่งเป็นแนวคิดในการนำหลักสูตรไปใช้ดังนี้
โบแชมป์ (Beauchamp,1975.164-169)  กล่าวว่า  สิ่งแรกที่ควรทำคือ  การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน  ครูผู้นำหลักสูตรไปใช้มีหน้าที่แปลงหลักสูตรไปสู่การสอน  โดยใช้หลักสูตรเป็นหลักในการพัฒนากลวิธีการสอน   สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการนำหลักสูตรไปใช้ให้เห็นผลตามเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนควรมีส่วนร่วมในการร่างหลักสูตร ผู้บริหาร ครูใหญ่ต้องเห็นความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จ
ธำรง บัวศรี (2504.165-195)  ได้สรุปชี้ให้เห็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการนำหลักสูตรไปใช้ไว้ว่า ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
โครงการสอน  เช่น  การวางโครงการสอนแบบหน่วย( Unit Organization of Instruction, Teaching Unit)  ประเภทของหน่วยการสอนมี 2 ประเภท คือ หน่วยรายวิชา (Subject Matter Unit) และหน่วยประสบการณ์  (Experience Unit)
หน่วยวิทยาการ (Resource Unit) เป็นแหล่งให้ความรู้แก่ครู  เช่นเอกสารคู่มือ  และแนวการปฏิบัติต่างๆ
องค์ประกอบอื่นๆ ที่ช่วยในการสอน  เช่นสถานที่และเครื่องมือเครื่องใช้  อุปกรณ์การเรียนการสอน  วิธีการสอน และวัดผลการศึกษา  กิจกรรมร่วมหลักสูตร  การแนะแนวและการจัดและบริหารโรงเรียน  เป็นต้น
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นงานหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย  ตั้งแต่ผู้บริหารระดับกระทรวง  กรม  กอง  ผู้บริหารระดับโรงเรียน   ครูผู้สอน  ศึกษานิเทศก์ และบุคคลอื่นๆขอบเขตและงานของการนำหลักสูตรไปใช้เป็นงานที่มีขอบเขตกว้างขวาง เพราะฉะนั้นการนำหลักสูตรไปใช้จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างรอบคอบและระมัดระวัง
หลักการสำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้ได้ดังนี้
1.  มีการวางแผนและเตรียมการในการนำหลักสูตรไปใช้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรจะได้ศึกษาวิเคราะห์ ทำความเข้าใจหลักสูตรที่จะนำไปใช้ให้มีความเข้าใจตรงกันเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในทำนองเดียวกันและสอดคล้องต่อเนื่องกัน
2.  มีคณะบุคคลทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นที่จะต้องทำหน้าที่ประสานงานกันเป็นอย่างดี ในแต่ละขั้นตอนในการนำหลักสูตรไปใช้
3.  ดำเนินการอย่างเป็นระบบเป็นไปตามขั้นตอนที่วางแผนและเตรียมการไว้การนำหลักสูตรไปใช้จะต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ ที่จะช่วยให้การนำหลักสูตรไปใช้ประสบความสำเร็จได้ ปัจจัยต่างๆ ได้แก่ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์  เอกสารหลักสูตรต่าง  ตลอดจนสถานที่ต่างๆ ที่จะเป็นแหล่งให้ความรู้ประสบการณ์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับการจัดเตรียมไว้เป็นอย่างดี และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนได้เมื่อได้รับการร้องขอ
4.  ครูเป็นบุคลากรที่สำคัญในการนำหลักสูตรไปใช้ ดังนั้นครูจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่และจริงจัง ตั้งแต่การอบรมความรู้  ความเข้าใจทักษะและเจตคติเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรอย่างเข้มข้น
5.  การนำหลักสูตรไปใช้ควรจัดตั้งให้มีหน่วยงานที่มีผู้ชำนาญการพิเศษ  เพื่อให้การสนับสนุนและพัฒนาครูโดยการทำหน้าที่นิเทศ ติดตามผลการนำหลักสูตรไปใช้ และควรปฏิบัติงานร่วมกับครูอย่างใกล้ชิด
6.  หน่วยงานและบุคลากรในฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนกลางหรือส่วนท้องถิ่นต้องปฏิบัติงานในบทบาทหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่และเต็มความ สามารถ
7.  การนำหลักสูตรไปใช้สำหรับผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องทุกฝ่าย  ทุกหน่วยงาน จะต้องมีติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ  เพื่อจะได้นำข้อมูลต่างๆ มาประเมินวิเคราะห์  เพื่อพัฒนาทั้งในแง่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และการวางแนวทางในการนำหลักสูตรไปใช้  ให้มีประสิทธิภาพ ดียิ่งขึ้น
 กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
1.  การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน  คือ  การตีความหมายและกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรโดยจะดำเนินการในรูปของเอกสารประกอบหลักสูตร และวัสดุอุปกรณ์การสอน เช่นโครงการสอน ประมวลการสอน คู่มือครูเป็นต้น
2.  การจัดปัจจัยและสภาพต่างๆภายในโรงเรียนเพื่อให้หลักสูตรบรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารโรงเรียนควรสำรวจปัจจัยและสภาพต่างๆของโรงเรียนว่า  เหมาะสมกับสภาพการนำหลักสูตรมาปฏิบัติหรือไม่
3.  การสอนซึ่งเป็นหน้าที่ของครูประจำการถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการนำหลักสูตรไปใช้ ครูต้องสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เลือกวิธีสอนให้เหมาะสม โดยผู้บริหารคอยให้ความสะดวกให้คำแนะนำและให้กำลังใจ
 2.  ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ “การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีหลักสูตร
ตอบ  ทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทยและต่างประเทศที่นำเสนอในที่นี้มีทั้งหมด 6  แบบ ได้แก่
1)  แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
2)  แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
3)  แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส
4)  แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา
5)  แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย วงษ์ใหญ่
6) แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model                                                                                            แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
      แบบจำลองของไทเลอร์ ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตร ไทเลอร์ให้คำแนะนำว่า ในการกำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตรทำได้ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ประกอบด้วย ข้อมูลผู้เรียน ข้อมูลสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่ และข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา นำข้อมูลจากสามแหล่งนี้มาวิเคราะห์เชื่อมโยงเพื่อช่วยให้มั่นใจในข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา การเชื่อมโยงข้อมูลเป็นการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำข้อมูลไปกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร (ฉบับร่าง) ต่อจากนั้นจึงกลั่นกรองด้วยปรัชญาการศึกษาของสถานศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ แสดงดังภาพประกอบที่1
ไทเลอร์มองว่า นักการศึกษาจะต้องจัดการศึกษาที่มุ่งให้ความสำคัญกับสังคม ด้วยการยอมรับความต้องการของสังคม และในการดำเนินชีวิต ใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือที่มุ่งปรับปรุงสังคม ผู้สอนควรได้นำทั้งปรัชญาสังคมและปรัชญาการศึกษา มาเป็นเค้าโครงพิจารณาใน ประเด็น คือ
1. ความจำและการระลึกได้ของแต่ละคน เป็นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ ไม่จำกัดว่าจะเป็นเชื้อชาติ สัญชาติ หรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
2. โอกาสเพื่อการมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างในทุกระยะของกิจกรรมในกลุ่มสังคม
3. ให้การสนับสนุนของการเปลี่ยนแปลงมากกว่ามุ่งตอบความต้องการส่วนบุคคล
4. ความเชื่อและสติปัญญาเป็นดังวิธีของความคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสำคัญมากกว่าที่จะขึ้นอยู่กับอำนาจรัฐหรือผู้มีอำนาจ
ไทเลอร์ให้ความสำคัญในการใช้จิตวิทยา ไม่เพียงการตอบข้อค้นพบเฉพาะบางเรื่องเท่านั้น หากยังใช้จิตวิทยาในฐานะทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งช่วยในการกำหนดกรอบโครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้อีกด้วย ไทเลอร์กล่าวถึงความสำคัญของการกลั่นกรองด้วยจิตวิทยา สรุปได้ดังนี้
1. ช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นที่แตกต่างกันและสามารถคาดหวังผลจากกระบวนการเรียนรู้หรือไม่ก็ได้
2. ช่วยให้เรามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในจุดหมายที่เป็นไปได้ในระยะเวลาที่ยาวนานหรือความเป็นไปได้ที่จะบรรลุผลในแต่ละช่วงอายุ
3. ช่วยให้ความคิดบางอย่างเกี่ยวกับระยะเวลาที่ต้องการให้บรรลุผลตามจุดประสงค์และช่วงอายุซึ่งเป็นความพยายามสูงสุดที่จะเกิดผลดังความตั้งใจ
เมื่อผ่านการกลั่นกรองแล้ว ไทเลอร์ให้คำแนะนำการวางแผนหลักสูตร ประเด็น คือ การเลือกประสบการณ์เรียนรู้ การจัดระบบโครงสร้างประสบการณ์เรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนต้องจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่มุ่งจะ:
1. พัฒนาทักษะการคิด
2. ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
3. ช่วยให้ได้พัฒนาเจตคติเชิงสังคม                                                                                                       4. ช่วยให้ได้พัฒนาความสนใจ
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
            ทาบามีความเห็นว่าหลักสูตรต้องถูกออกแบบโดยครูผู้สอนไม่ใช่คนอื่น โดยส่งเสริมการสร้างสรรค์การสอนและการเรียนรู้มากกว่าการออกแบบหลักสูตร
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา (Taba 1962: 10) มีทั้งหมด ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น
ขั้นที่ การกำหนดวัตถุประสงค์
ขั้นที่ การเลือกเนื้อหาสาระ
ขั้นที่ การจัดการเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ
ขั้นที่ การเลือกประสบการณ์เรียนรู้
ขั้นที่ การจัดการเกี่ยวกับประสบการณ์เรียนรู้
ขั้นที่ การตัดสินใจว่าจะประเมินอะไรและวิธีการประเมิน
แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส
เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส (Saylor J.G, Alexander. W.M. and Lewis Arthur J 1981: 24) นำเสนอแบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย ขั้นตอน ภายใต้แนวคิดของการวางแผนให้โอกาสในการเรียนรู้เพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องสำหรับประชากร ดังนี้
1. จุดหมาย วัตถุประสงค์และขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา
               จุดหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรถูกเลือกหลังจากการพิจารณาตัวแปรภายนอก เช่น ผลการศึกษาจากการวิจัยทางการศึกษา การรับรองมาตรฐาน ความเห็นของกลุ่มสังคม และอื่นๆ
2. การออกแบบหลักสูตร
               นักวางแผนลักสูตรต้องดำเนินการออกแบบหลักสูตร ด้วยการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา ระบุวันเวลาและวิธีการในโอกาสการเรียนรู้ดังกล่าว การออกแบบหลักสูตรคำนึงถึง ธรรมชาติของวิชา รูปแบบของสถาบันทางสังคมที่สัมพันธ์กับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
3. การนำหลักสูตรไปใช้
      ผู้สอนนำหลักสูตรไปใช้ในชั้นเรียน โดยจัดการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์และเลือกกลยุทธวิธีการสอนที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุผลการเรียนรู้
4. การประเมินหลักสูตร
      นักวางแผนลักสูตรและผู้สอนร่วมกันประเมินด้วยการเลือกเทคนิคการประเมินที่หลากหลาย การประเมินมีจุดเน้น ประเภท คือ 1) การประเมินผลรวมของการใช้หลักสูตรทั้งโรงเรียน ประกอบด้วย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ จุดประสงค์การเรียน ประสิทธิภาพของการเรียนการสอน และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน 2) การประเมินกระบวนการหลักสูตรทั้งระบบ ตั้งแต่การออกแบบหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ เพื่อตัดสินใจว่าหลักสูตรมีประสิทธิภาพเพียงใด

แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา

แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวาเป็นความสัมพันธ์อย่างละเอียดระหว่างองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญครอบคลุมกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตั้งแต่ต้นจนจบ นักพัฒนาหลักสูตรต้องทำความเข้าใจแต่ละขั้นโดยตลอด จากข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญาถึงการประเมินหลักสูตร ดังภาพประกอบ 4
และจากภาพประกอบ โอลิวา (Oliva.P.E 1992) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการเรียนการสอนอย่างเป็นขั้นตอน 12 ตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 - กำหนดปรัชญา จุดหมายการศึกษา และความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
ขั้นที่ 2 - วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนและสังคม
ขั้นที่ และ 4 - กำหนดวัตถุประสงค์ที่ได้จากขั้นที่ และ 2
ขั้นที่ 5 - การบริหารและนำหลักสูตรไปใช้
ขั้นที่ และ 7 - การเพิ่มระดับจุดหมายของการเรียนการสอน
ขั้นที่ 8 - การเลือกกลวิธีการสอน
ขั้นที่ 9 - การเลือกวิธีการประเมินผลก่อนเรียน
ขั้นที่ 10 - การดำเนินการจัดการเรียนการสอน
ขั้นที่ 11 - เก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินผลการเรียนการสอน
ขั้นที่ 12 – การประเมินหลักสูตรทั้งระบบ
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย วงษ์ใหญ่
วิชัย วงษ์ใหญ่ ได้สรุปแนวคิดและขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร โดยรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรจะเป็นฐานคิดในการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 ดังภาพประกอบที่ 6

ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้
1. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ใช้ข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการของสังคม มากำหนดจุดมุ่งหมาย หลักการและโครงสร้าง และออกแบบหลักสูตร โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญประกอบ
2. ยกร่างเนื้อหาสาระ แต่ละกลุ่มประสบการณ์ แต่ละหน่วยการเรียน และแต่ละรายวิชา โดยปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชา คณะกรรมการฯ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชาเป็นผู้กำหนดผลการเรียนรู้ จุดประสงค์ เชิงพฤติกรรมหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ วางแผนการสอน ทำบันทึก ผลิตสื่อการสอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3. ทดลองใช้หลักสูตรในสถานศึกษานำร่อง และแก้ไขข้อบกพร่อง
4. อบรมผู้สอน ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาให้เข้าใจหลักสูตรใหม่
5. ปฏิบัติการสอน กิจกรรมการใช้หลักสูตรใหม่มี ประการ คือ
5.1 การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน คือจัดทำวัสดุ สื่อการสอน
5.2 ผู้บริหารจัดเตรียมสิ่งต่างๆ เช่น บุคลากร (ครู) วัสดุหลักสูตร และบริการต่างๆ
5.3 การสอน ผู้สอนประจำการ ทำหน้าที่ดำเนินการสอน
5.4 การประเมินผล ประเมินทั้งผลการเรียนและหลักสูตร แล้วนำไปแก้ไข
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model
จากการศึกษาแนวคิดของนักพัฒนาหลักสูตรทั้งต่างประเทศและในประเทศ มีผู้สร้างแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรมากมาย เช่น โอลิวา (Oliva) ไทเลอร์ (Tyler) เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส ทาบา (Taba) และวิชัย วงษ์ใหญ่ เป็นต้น จากแบบจำลองของนักพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว จึงสามารถสรุปเป็นแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model ดังนี้
SU Model คือ รูปแบบจำลองโลกแห่งการศึกษา โดยประกอบด้วยวงกลม ซึ่งเปรียบเสมือนจักรวาลแห่งการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานที่สำคัญ ด้าน คือ 1) พื้นฐานด้านปรัชญา 2) พื้นฐานด้านจิตวิทยา และ 3) พื้นฐานด้านสังคม ด้านสามเหลี่ยมระหว่างความรู้กับผู้เรียนมีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านปรัชญา ด้านสามเหลี่ยมระหว่างผู้เรียนกับสังคมมีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านจิตวิทยา และด้านสามเหลี่ยมระหว่างสังคมกับความรู้มีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านสังคม
เมื่อพิจารณาพื้นฐานด้านปรัชญา แนวคิดของการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ความรู้ (Knowledge) กำกับด้วยปรัชญาทางการศึกษา ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง การพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ผู้เรียน (Learner) กำกับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น สังคม (Social) จะกำกับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา                                                                กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดแบบจำลอง SU Model
        กระบวนการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตร โดยประกอบด้วย ขั้นตอน ดังนี้
        สามเหลี่ยมแรก เป็นการวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยความรู้ (Knowledge) และสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องมีจุดหมายที่ชัดเจน เพื่อนำไปวางแผนและกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร หลักสูตรต้องวางแผนให้มีเนื้อหาครบคลุมในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และต้องเรียน
      การวางแผนหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนาหลักสูตรศึกษาสาระสำคัญของความรู้ในประเด็นการวางแผนหลักสูตรจากแหล่งความรู้ต่างๆให้กระจ่างแจ้ง
2. ทำความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
3. ผู้พัฒนาหลักสูตรฝึกเขียนการวางแผนหลักสูตรโดยนำสาระสำคัญมาจาก 21st Century Skills: The Challenges Ahead; A World Class Education ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการเขียน วิสัยทัศน์ (Vision) ของหลักสูตร
             สามเหลี่ยมรูปที่สอง เป็นการออกแบบ (Curriculum Design) คือการนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มาทำกรอบการปฏิบัติ ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner) และสอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา ดังนั้นการออกแบบหลักสูตรจึงเน้นการออกแบบเนื้อหา (Content) ประสบการณ์การเรียนรู้ หรือกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities) ที่ก่อให้เกิดความรู้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ตอบสนองจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนาหลักสูตรศึกษาสาระสำคัญของความรู้ในประเด็นการออกแบบหลักสูตรจากแหล่งความรู้ต่างๆให้กระจ่างแจ้ง
2. ทำความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
3. ผู้พัฒนาหลักสูตรฝึกเขียนการออกแบบหลักสูตร โดยนำสาระสำคัญมาจากโมเดลต้นแบบเชิงวัตถุประสงค์ (Objective Model) หรือโมเดลต้นแบบเชิงเหตุผล การปรับปรุงโมเดลโดยฮิลดา ทาบา รูปแบบของการออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา เน้าผู้เรียนเป็นสำคัญ และเน้นปัญหาสังคมเป็นสำคัญ หลักการออกแบบหลักสูตร ประการของสก็อตแลนด์ แนวคิดการออกแบบหลักสูตรที่ส่งเสริมความเป็นเลิศในการเรียนรู้และการสอนของมหาวิทยาลัยกิฟฟิธ การออกแบบหลักสูตรรายวิชาตามแนวคิดของเวสมินส์เตอร์ เอ็กเชงจ์ มหาวิทยาลัยเวสมินเตอร์ และการออกแบบหลักสูตรด้วยแนวคิดวัตถุประสงค์เป็นฐาน เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการเขียนพันธกิจ (Mission) ของหลักสูตร
      สามเหลี่ยมรูปที่สาม เป็นการจัดหลักสูตร (Curriculum Organization) ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยผู้เรียน (Learner), ความรู้ (Knowledge) และสังคม (Society) ทั้งยังสอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ มีความหมายรวมถึง การบริหารจัดการหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การนิเทศการสอน เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร พร้อมกับสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข
การจัดหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนา รวบรวมข้อมูลความรู้และทำความเข้าใจให้กระจ่างแจ้ง
2. ทำความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
3. ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่ โดยนำความรู้ตามแนวคิดของออร์นสไตน์และฮันกิน ไปออกแบบเป็นหลักสูตร
      สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินหลักสูตร และผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร ซึ่งจะเห็นว่ากำกับด้วยสังคม (Society) และสอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม
การประเมินหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
1. ผู้พัฒนาศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรให้กระจ่างแจ้ง
2. นำความรู้ที่รวบรวมได้ มาประมวลเป็นข้อมูลใหม่ โดยนำเสนอในรูปแบบสารสนเทศ
3. ผู้พัฒนาศึกษาแนวคิดการประเมินหลักสูตร แล้วเลือกใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรตามความสนใจเมื่อผู้พัฒนาต้องการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้พัฒนาต้องใช้เครื่องมือวัดในการประเมิน เช่น แบบทดสอบความรู้ตามสภาพจริง แบบสังเกตพฤติกรรม การประเมินการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมงาน แล้วกำหนดเกณฑ์การประเมินโดยใช้ The SOLO Taxonomy