Beauchamp (1981:77) ได้เสนอว่าทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design theories) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories)
1. ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตร(Curriculum design) หมายถึง การจัดส่วนประกอบหรือองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา สาระ กิจกรรมการเรียนและการประเมินผล (Zais.1976:16) Herrick and Tyler (1950:41) ได้เสนอแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของหลักสูตร
Taba (1962:422) มีความเห็นว่าส่วนประกอบของหลักสูตรที่จะขาดเสีย มิได้ก็คือจุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะเนื้อหาสาระและประสบการณ์การเรียนรู้และการประเมินผล Beauchamp (1975:107-109) ได้สรุปองค์ประกอบสำคัญซึ่งจะต้องเขียนไว้ในเอกสารหลักสูตร 4 ประการ คือ เนื้อหาสาระและวิธีการจัด จุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะแนวทางการนำหลักสูตรไปใช้สู่การเรียนการสอน และการประเมินผลซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่งสำหรับหลักสูตร
Zais (1976:431-437) ได้สรุปว่าการออกแบบหลักสูตร ประกอบด้วยแนวคิดหลักสูตร 2 แบบคือ หลักสูตรแห่งความหลุดพ้น (Unencapsulation design) และหลักสูตรมนุษยนิยม (Humanistic design) หลักสูตรแห่งความหลุดพ้นมีความเชื่อว่าคนเราจะมีความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆ 4 ทางได้แก่ความมีเหตุผล (Rationalism) จะนำไปสู่การค้นพบความจริงการสังเกต (Empiricism) รับรู้จากการมอง การได้กลิ่น การได้ยิน การได้สัมผัส ฯลฯ สัญชาตญาณ (Intuition) ความรู้สึกต่อสิ่งหนึ่งโดยมิได้มีใครบอกกล่าวก็เป็นวิธีหนึ่งที่มนุษย์มีความรู้ในสิ่งต่างๆ และความเชื่อในสิ่งที่มีอำนาจ (Authoritarianism) เช่น ความเชื่อในทางศาสนา ความเชื่อในสิ่งที่ปราชญ์ผู้รู้ได้กล่าวไว้ เป็นต้น ส่วนหลักสูตรมนุษยนิยมก็มีความคล้ายคลึงกับหลักสูตรเพื่อความหลุดพ้นแต่การจัดหลักสูตรแบบนี้จะมุ่งเน้นเนื้อหา สาระมากกว่ากระบวนการการจัดหลักสูตรจึงยึดเนื้อหาสาระของวิชาเป็นศูนย์กลาง
2. ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร
วิศวกรรมหลักสูตร (Curriculum engineering) หมายถึงกระบวนการทุกอย่างที่จำเป็นในการทำให้ระบบหลักสูตรเกิดขึ้นในโรงเรียนได้แก่ การสร้างหรือจัดทำหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรและการประเมินระบบหลักสูตร(Beauchamp.1975:108)หลักสูตรที่มีคุณภาพและสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ถึงผู้เรียนได้มากที่สุดนั้นมีอยู่หลายรูปแบบได้แก่ รูปแบบการบริหาร รูปแบบการปฏิบัติการ รูปแบบการสาธิต รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ และรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสำหรับการกำหนดหลักสูตร
ทฤษฎีหลักสูตรจะช่วยในการบริหารงานเกี่ยวกับหลักสูตรมี หลักเกณฑ์ หลักการ และระบบมากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร และการประเมินหลักสูตรการจัดบุคลากร เกี่ยวกับหลักสูตร การทำให้องค์ประกอบของหลักสูตรที่จะนำไปใช้ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
ขั้นตอนการสร้างทฤษฏี
ในการสร้างทฤษฏีมีกฎพื้นฐาน 2 ประเด็นที่ควรคำนึงถึง ได้แก่
(1.) การนิยาม หรือการทำความชัดเจนเกี่ยวกับ “คำเฉพาะ” ถ้อยคำที่นำมาสร้างทฤษฎีต้องมีความกระจ่างชัด ในการนิยามต้องมีความเสมอต้นเสมอปลาย
(2.) การจัดหมวดหมู่ โดยนักทฤษฎีจะรวบรวมเนื้อหาสาระให้เป็นระบบระเบียบ และรวบรวมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น