11 ก.ย. 2561

การพัฒนาหลักสูตรระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน


              การเรียนการสอนจะดำเนินไปตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้บริหารและครูผู้สอนจะต้องรู้ถึงหลักการของหลักสูตรและวิธีใช้ ด้วยการรู้หลักการจะช่วยให้ครูผู้สอน อ่านหลักสูตรได้เข้าใจและดียิ่งขึ้นหลักสูตรแบ่งตามแบบต่างๆ
              1. หลักสูตรระดับชาติหรือหลักสูตรแม่บท (Nationai level) เป็นหลักสูตรแกนที่เขียนไว้กว้างและบรรจุสาระที่จำเป็นต่อทุกคนในประเทศที่จะต้องเรียนรู้เหมือนกัน เพื่อเสริมสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไว้ หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจึงเน้นเป็นวิชาบังคับให้ทุกคนต้องเรียนการพัฒนา      
              2. หลักสูตรระดับชาติมีหน่วยงานที่พัฒนาหลักสูตร คือ สูตรพัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ศูนย์นี้มีหน้าที่ประสานงานในการบรับปรุงหลักสูตรทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษา หลักสูตรระดับท้องถิ่น (Local level) เป็นการนำเอาหลักสูตรระดับชาติมาใช้พิจารณาถึงลักษณะของท้องถิ่นเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะพิเศษของแต่ละท้องถิ่นและลักษณะของผู้เรียนและเป็นการเรียนรู้ที่นำไปใช้ในชีวิตจริง
              3. หลักสูตรระดับห้องเรียน (Classroom level) สังคมจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักสูตรระดับนี้ ผู้สอนส่วนมากมักเข้าใจผิดมักคิดว่าตนเองไม่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรแต่จริงแล้วผู้สอนนำเอาหลักสูตรระดับชาติและระดับท้องถิ่นมาใช้ให้เหมาะสมและบรรลุจุดมุ่งหมายตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ ผู้สอนแต่ละคนในวิชาต่างๆ ก็จะทำให้กระบวนการพัฒนาหลักสูตรเกิดขึ้นทั้งระบบ คือ รู้จักจุดมุ่งหมายการสอนเรื่องวิชานั้นๆ ว่ามีความหมายความจำเป็นต่อผู้เรียนอย่างไร ทำไมจึงต้องสอน สามารถใช้วิธีการสอน สื่อการสอน หนังสือเรียน แบบฝึกหัด สามารถวัดผลและประเมินผล เพื่อพิจารณาพฤติกรรมของผู้เรียนว่าได้เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่
              การพัฒนาหลักสูตร จำเป็นต้องมีการดำเนินงานเป็นระเบียบแบบแผนต่อเนื่องกันไป การวางแผนจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานนี้จะต้องคำนึงถึงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาหลักสูตรว่าจะเริ่มต้นที่ใดก่อน และดำเนินการอย่างไรจึงจะเป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ได้สร้างขึ้นมาใหม่อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าหลักสูตรเดิม ต้องคำนึงถึงการดำเนินงานวิธีการต่างๆ รวมทั้งหลักการและแนวปฏิบัติเพื่อให้การพัฒนาหลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการฝึกอบรมครูประจำการให้เข้าใจในหลักสูตรใหม่รวมทั้งทักษะในด้านต่างๆ และต้องคำนึงถึงประโยชน์ในด้านการพัฒนาจิตใจและทัศนคติของผู้เรียนด้วย ต้องได้รับความร่วมมือและการประสานงานอย่างดีจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในทางด้านทางด้านหลักสูตรทุกๆ ด้าน
              ระดับประถมศึกษา  การพัฒนาหลักสูตรในระดับนี้เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง ชุมชน และสังคม โดยเชื่อว่าหากพัฒนาตนแล้วรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม สามารถอ่านออก เขียนได้คำนวณได้ ซึ่งนับว่าเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในอนาคต ผู้เรียนรู้จักรักและเข้าใจในธรรมชาติ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตัวและทำความเข้าใจสุขพลานามัยส่วนร่วมแล้ว ย่อมรู้จักรักทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดจิตภาพต่อการดำรงชีวิตร่วมกันอย่างเป็นปกติสุข และคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดโยชน์คุ้มค่า วิเคราะห์เหตุผลและเสนอแนวทางแก้ปัญหาของตนเองและครอบครัว รักการอ่านและแสวงหาความรู้อยู่เสมอทำงานร่วมกับคนอื่นได้ ไม่เอาเปรียบผู้อื่น รักการทำงาน และทำงานเป็น รู้เข้าใจสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่บ้าน สามารถปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ในฐานะสมาชิกที่ดีของบ้านตลอดจนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
              ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  การพัฒนาหลักสูตรในระดับนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รู้จักรักและแสวงหาความรู้ กำแนวทางที่เหมาะสมกับตนในการทำประโยชน์ให้แก่สังคม มีความรู้และทักษะในวิชาสามัญ  เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based society) และติดตามความเจริญก้าวหน้าวิทยาการต่างๆ รู้จักรักและเอาใจใส่ในสุขภาพของตน บุคคลรอบข้าง และสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างสุขภาพอนามัยส่วนตน และชุมชน  ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมพัฒนาการด้านต่างๆ สำหรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ผู้เรียนสามารถเสนอแนะทางเลือกอย่างหลากหลายในการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ ช่วยเหลือผู้อื่น ปรับปรุงการปฏิบัติงานอยู่เสมอ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รักการทำงานและรู้กระบวนการจัดการ เข้าใจสภาพการเปลี่ยนแปลงสังคมในชุมชน สามารถเสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนภูมิใจในการปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ในฐานะสมาชิกที่ดีในชุมชน สิ่งแวดล้อมศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจคุณค่าตนเอง วัฒนธรรมท้องถิ่นและชุมชน ตลอดจนเกิดความรู้สึกรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
              ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  การพัฒนาหลักสูตรในระดับนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำประโยชน์ให้สังคมตามความสามารถของตน มีความรู้และทักษะในวิชาสามัญเฉพาะด้านและรอบรู้ทันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งเสริมการอนามัยชุมชนและการสร้างเสริมสุขภาพ วางแนวปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาของสังคมได้ ช่วยเหลือทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ใช้แนวทางและวิธีการใหม่ๆในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รักการทำงานมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต เข้าใจสภาพและการเปลี่ยนแปลงของสังคมในประเทศและโลกมุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศและเข้าใจร่วมกิจกรรมการพัฒนาสังคมตามบทบาทหน้าที่ของตนตลอดจนอนุรักษ์และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมของประเทศ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นตามแนวทางประชาธิปไตย
              การที่จะช่วยให้ผู้สอนเกิดความชำนาญ และมั่นใจในการใช้หรือพัฒนาหลักสูตรนั้นควรจะมีบริการช่วยผู้สอนให้คำปรึกษาหรือวิธีสอนในการจัดบริการหลักสูตรนี้ ซึ่งจะช่วยผู้สอนในการพัฒนาหลักสูตรในการนำหลักสูตรไปใช้โดยเป็นไปอย่างมีเหตุผล การพัฒนาหลักสูตรจะเกิดขึ้นเมื่อมีวิทยาการต่างๆ ของสังคมและของโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปตามนโยบาย ปรัชญา และแนวทางการพัฒนาการศึกษา
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการต่างประเทศ
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร
           “โอลิวา” เป็นคนแรกที่ใช้คำว่าแบบจำลอง (Model) ในการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งจะมีการกำหนดกรอบแนวคิดและเกณฑ์ที่ใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร 
โดยที่แบบจำลองนั้นจะแสดงองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
            1. องค์ประกอบหลักของกระบวนการ
            2. การปฏิบัติที่ชัดเจน
            3. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการสอน
            4. จุดหมายเฉพาะที่แตกต่างระหว่างหลักสูตรและการสอน
            5. การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง
            6. วัฎจักรความสัมพันธ์ต้องไม่แสดงแต่เพียงนัยลำดับขั้นตอน
            7. มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ
            8. จุดเริ่มต้นสามารถเริ่มที่ตำแหน่งใดก็ได้ในวงจร
            9. ความเป็นเหตุเป็นผลและความแน่นอนภายในแบบจำลอง
            10. ให้ความคิดที่เรียบง่าย

            11. มีองค์ประกอบแสดงความสัมพันธ์ในรูปแบบไดอะแกรมหรือแผนภาพ
แบบจำลองของไทเลอร์
          ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตร ไทเลอร์ให้คำแนะนำว่า ในการกำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตรทำได้ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ประกอบด้วย
                      1. ข้อมูลผู้เรียน     
                      2. ข้อมูลสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่    
                      3. ข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา
            นำข้อมูลจาก 3 แหล่งนี้มาวิเคราะห์เชื่อมโยง เพื่อนำข้อมูลไปกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร ต่อจากนั้นจึงกลั่นกรองด้วยปรัชญาการศึกษาของสถาน
ศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
การพิจารณาโครงสร้างหลักสูตรของไทเลอร์ (Tyler, 1949 :53)
                ไทเลอร์มองว่า นักการศึกษาจะต้องจัดการศึกษาที่มุ่งให้ความสำคัญกับสังคม ด้วยการยอมรับความต้องการของสังคม และในการดำเนินชีวิต ใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือที่มุ่งปรับปรุงสังคม ผู้สอนควรได้นำทั้งปรัชญาสังคมและปรัชญาการศึกษา มาเป็นเค้าโครงพิจารณาใน 4 ประเด็น คือ
            1. ความจำและการระลึกได้ของแต่ละคน เป็นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ ไม่จำกัดว่าจะเป็นเชื้อชาติ สัญชาติ หรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
            2. โอกาสเพื่อการมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างในทุกระยะของกิจกรรมในกลุ่มสังคม
            3. ให้การสนับสนุนของการเปลี่ยนแปลงมากกว่ามุ่งตอบความต้องการส่วนบุคคล
            4. ความเชื่อและสติปัญญาเป็นดังวิธีของความคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสำคัญมากกว่าที่จะขึ้นอยู่กับอำนาจรัฐหรือผู้มีอำนาจ
นิยาม “ประสบการณ์การเรียนรู้” ของไทเลอร์
           ไทเลอร์ให้นิยาม “ประสบการณ์การเรียนรู้” ว่าหมายถึง “ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเงื่อนไขปัจจัยภายนอกที่เป็นสิ่งแวดล้อมที่ผู้เรียนสามารถโต้ตอบได้
โดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ 4 ประการ คือ
            1. พัฒนาทักษะในการคิด
            2. ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
            3. ช่วยให้ได้พัฒนาเจตคติเชิงสังคม
            4. ช่วยให้ได้พัฒนาความสนใจ
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
            บาทามีความเห็นว่าหลักสูตรต้องถูกออกแบบโดยครูผู้สอนไม่ใช่คนอื่น โดยส่งเสริมการสร้างสรรค์การสอนและการเรียนรู้มากกว่าการออกแบบหลักสูตร  มี 7 ขั้นตอนดังนี้
        ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น
        ขั้นที่ 2 การกำหนดวัตถุประสงค์
        ขั้นที่ 3 การเลือกเนื้อหาสาระ
        ขั้นที่ 4 การจัดการเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ
        ขั้นที่ 5 การเลือกประสบการณ์เรียนรู้
        ขั้นที่ 6 การจัดการเกี่ยวกับประสบการณ์เรียนรู้
        ขั้นที่ 7 การตัดสินใจว่าจะประเมินอะไรและวิธีการประเมิน
 แบบการจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส
            เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส (Saylor J.G, Alexander. W.M. and Lewis Arthur J 1981: 24) นำเสนอแบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ภายใต้แนวคิดของการวางแผนให้โอกาสในการเรียนรู้เพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องสำหรับประชากร ดังนี้
            1. จุดหมาย วัตถุประสงค์และขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา
            2. การออกแบบหลักสูตร
            3. การนำหลักสูตรไปใช้
            4. การประเมินหลักสูตร
 แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา
            เป็นความสัมพันธ์อย่างละเอียดระหว่างองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญครอบคลุมกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตั้งแต่ต้นจนจบ นักพัฒนาหลักสูตรต้องทำความเข้าใจแต่ละขั้นโดยตลอด จากข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญาถึงการประเมินหลักสูตร
            รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร 12 ขั้นตอนของโอลิวา
        ขั้นที่ 1 - กำหนดปรัชญา จุดหมายการศึกษา และความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
        ขั้นที่ 2 - วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนและสังคม
        ขั้นที่ 3 กับ 4 - กำหนดวัตถุประสงค์ที่ได้จากขั้นที่ 1 และ 2
        ขั้นที่ 5 - การบริหารและนำหลักสูตรไปใช้
        ขั้นที่ 6 กับ 7 - การเพิ่มระดับจุดหมายของการเรียนการสอน
        ขั้นที่ 8 - การเลือกกลวิธีการสอน
        ขั้นที่ 9 - การเลือกวิธีการประเมินผลก่อนเรียน
        ขั้นที่ 10 - การดำเนินการจัดการเรียนการสอน
        ขั้นที่ 11 - เก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินผลการเรียนการสอน
        ขั้นที่ 12 - การประเมินหลักสูตรทั้งระบบ
 สรุป
            การศึกษากระบวนการพัฒนาหลักสูตร จากแนวคิดของไทเลอร์ ทาบา เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์ ออร์นสไตน์ และฮันกิน โอลิวา สรุปกระบวนการพัฒนาหลักสูตรออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
            1. การวางแผนหลักสูตร (Curriculum planning)
            2. การออกแบบหลักสูตร (Curriculum design)
            3. การจัดหลักสูตร (Curriculum organization)
            4. การประเมินหลักสูตร (Curriculum evaluation)
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทย
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย วงษ์ใหญ่
            วิชัย วงษ์ใหญ่ ได้สรุปแนวคิดและขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร โดยรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรจะเป็นฐานคิดในการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552
 ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้
        1.คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ใช้ข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการของสังคม มากำหนดจุดมุ่งหมาย หลักการและโครงสร้าง และออกแบบหลักสูตร โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญประกอบ
         2.ยกร่างเนื้อหาสาระ แต่ละกลุ่มประสบการณ์ แต่ละหน่วยการเรียน และแต่ละรายวิชา โดยปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชา คณะกรรมการฯ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชาเป็นผู้กำหนดผลการเรียนรู้ จุดประสงค์ เชิงพฤติกรรมหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ วางแผนการสอน ทำบันทึก ผลิตสื่อการสอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
        3.ทดลองใช้หลักสูตรในสถานศึกษานำร่อง และแก้ไขข้อบกพร่อง
        4.อบรมผู้สอน ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาให้เข้าใจหลักสูตรใหม่
        5.ปฏิบัติการสอน กิจกรรมการใช้หลักสูตรใหม่มี 4 ประการ คือ
            5.1 การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน คือจัดทำวัสดุ สื่อการสอน
            5.2 ผู้บริหารจัดเตรียมสิ่งต่างๆ เช่น บุคลากร (ครู) วัสดุหลักสูตร และบริการต่างๆ 
            5.3 การสอน ผู้สอนประจำการ ทำหน้าที่ดำเนินการสอน 
            5.4 การประเมินผล ประเมินทั้งผลการเรียนและหลักสูตร แล้วนำไปแก้ไข
 กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดแบบจำลอง SU Model
        กระบวนการพัฒนาหลักสูตร (สามเหลี่ยมใหญ่) จะประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำหลักสูดร (สามเหลี่ยมเล็กๆ 4 ภาพ) โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้
                1.สามเหลี่ยมแรก การวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) อาศัยแนวคิดพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพื่อนำไปวางแผ่นหลักสูตร กำหนดจุดหมายหลักสูตร
                2. สามเหลี่ยมรูปที่สอง การออกแบบ (Curriculum Design) นำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาจัดทำกรอบการปฏิบัติ ม่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์คือมีประสบการณ์ศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา การออกแบบหลักสูตรเพื่อให้มีจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ตอบสนองจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
               3.สามเหลี่ยมรูปที่สาม การจัดระบบหลักสูตร (Curriculum Organize) จัดหลักสูตรเพื่อตอบสนองการวางแผนหลักสูตร สองคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือ จัดประสบการณ์เรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึงการบริหารที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และรวมถึงการนิเทศการศึกษา
                4.สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมิน (Curriculum Evaluation) ประเมินทั้งระบบหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร
             พื้นฐานแนวคิด SU Model มาจากการพัฒนาสามเหลี่ยมมุมบน มุ่งเน้นให้การศึกษา 3 ส่วน คือ จริยศึกษา เป็นการอบรมศีลธรรมอันดีงาม พุทธิศึกษา ให้ปัญญาความรู้ และพลศึกษา เป็นการฝึกหัดให้มีร่างกายสมบูรณ์ เมื่อนำมาใช้จะได้ว่า เป้าหมายหมายของสูตรจะมุ่งเน้นให้เกิด ความรู้ (knowledge) พัฒนาผู้เรียน (leader) และสังคม (society) มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนที่ “เก่ง ดี มีสุข” การพัฒนาหลักสูตรจะประกอบไปด้วย 3 ด้าน คือ ด้านปรัชญาการศึกษา ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม มีการพัฒนาหลักสูตรจากรูปสามเหลี่ยมไปสู่การวางแผนหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินหลักสูตร ดังภาพ SU Model มีขั้นตอนดังนี้

             1.เริ่มจากวงกลม หมายถึง จักรวาลแห่งการเรียนรู้ รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า หมายถึง กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
             2.ระบุพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ในพื้นที่วงกลมซึ่งมีพื้นฐานหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร ระบุพื้นฐาน 3 ด้าน (ปรัชญา จิตวิทยา สังคม) ลงในช่องว่างนอกรูปโดยกำหนดให้ด้านสามเหลี่ยมระหว่างความรู้กับผู้เรียนมีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านปรัชญา ด้านสามเหลี่ยมระหว่างผู้เรียนกับสังคมมีพื้นฐานผู้เรียนกับสังคมมีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านจิตวิทยา และด้านสามเหลี่ยมระหว่างสังคมกับความรู้มีพื้นฐานสำคัญคือ พื้นฐานด้านสังคม
             3.พื้นฐานด้านปรัชญา ได้แนวคิดว่าการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นความรู้ มาจากพื้นฐานสามรัตถนิยมกับปรัชญานิรันตรนิยม การพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นผู้เรียน มาจากพื้นฐานปรัชญาอัตถิภาวะนิวม และการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นสังคม มาจากพื้นฐานปรัชญาปฏิรูปนิยม
             4.กำหนดจุดกึ่งกลางของด้านสามเหลี่ยมทั้งสามด้าน เพื่อแทนความหมายว่าในการพัฒนาหลักสูตรต้องใช้ข้อมูลพื้นฐานด้านปรัชญา จิตวิทยา และสังคม
             5.พิจารณากระบวนการพัฒนาหลักสูตร นำแนวคิดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรมากำหนดชื่อสามเหลี่ยมเล็กๆทั้งสี่รูป ได้แก การวางแผนหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร การจัดหลักสูตร และการประเมินหลักสูตร
             หลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีพื้นฐานที่สำคัญจากปรัชญาพิพัฒนาการ ที่มีความเชื่อว่าสาระสำคัญและความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายนั้นไม่ได้หยุดนิ่ง ฉะนั้นวิธีการทางการศึกษาจึงต้องพยายามปรับปรุงให้สอดคล้องกับกาลเวลาและสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น