1. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง ประเภทของหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร
ตอบ ประเภทของหลักสูตร
หลักสูตรบูรณาการ
เป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรกว้างโดยนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ
มาหลอมรวม ทำให้ความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวิชาหมดไป
¤ ลักษณะของหลักสูตรบูรณาการที่ดี
1. บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้
อาจใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้อย่างง่ายๆ เช่น การบอกเล่า การบรรยาย และการท่องจำ
2. บูรณาการระหว่างพัฒนาการทางความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ
คือมุ่งในด้านพุทธิพิสัย อันได้แก่ความรู้ ความคิด และการแก้ปัญหา
มากกว่าด้านจิตพิสัย คือ เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ และความสุนทรียภาพ
3. บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ
การสร้างสหสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการกระทำมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าระหว่างความรู้และจิตใจ
โดยเฉพาะในด้านจริยศึกษา
การเรียนรู้เรื่องค่านิยมและการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเลือกค่านิยมที่เหมาะสม
4. บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียนสิ่งหนึ่งที่จะพิสูจน์ว่าหลักสูตรดีหรือไม่ดี
5. บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ นำเอาเนื้อหาของวิชาหนึ่งมาเสริมอีกวิชาหนึ่ง
เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้และเกิดเจตคติตามที่ต้องการ โดยอาศัยเนื้อหาของหลายๆ
วิชา มาช่วยในการแก้ปัญหานั้น
¤ รูปแบบของบูรณาการ
1. บูรณาการภายในหมวดวิชา เป็นการสอดคล้องกับแนวความคิดของหลักสูตรที่ว่าการเรียนรู้ต้องมีลักษณะเป็นสหวิทยาการ
2. บูรณาการ ภายในหัวข้อ และโครงการคือการนำเอาความรู้ ทักษะและประสบการณ์
ของวิชาหรือหมวดวิชาตั้งแต่สองวิชาหรือหมวดวิชาขึ้นไปมาผสมผสานกันในลักษณะที่เป็นหัวข้อหรือโครงการ
3. บูรณาการโดยการผสมผสานปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและของสังคม
ผู้เรียนจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้จากวิทยาการต่างๆหลายสาขา
รวมทั้งมีทักษะที่จำเป็นเพื่อที่จะแก้ปัญหาสิ่งที่ปรากฎชัดในการเรียนรู้ได้
หลักสูตรกว้าง
มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นที่น่าสนใจและเร้าใจ
ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถปรับตนให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
รวมทั้งให้มีพัฒนาการในด้านต่างๆ ทุกด้าน
¤ พัฒนาการ/วิวัฒนาการหลักสูตร
หลักสูตรกว้างเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ
โดยวิชาที่สอนนี้กล่าวถึงแผ่นดินแถบลุ่มแม่น้ำเทมส์และกิจกรรมต่างๆของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นแผ่นดินนั้น
เป็นการนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ หลายวิชามาศึกษาในเวลาเดียวกัน
สหรัฐอเมริกาเริ่มนำเอาหลักสูตรนี้มาใช้ครั้งแรกเมื่อปี
ค.ศ. 1914 จัดทำเป็นวิชากว้างๆ
เรียกว่าสถาบันสังคมและเศรษฐกิจ
ประเทศไทยได้นำหลักสูตรมาใช้ครั้งแรกเมื่อ
พ.ศ. 2503 โดยเรียงลำดับเนื้อหาต่างๆที่มีความคล้ายคลึงกันไว้ในหลักสูตรและให้ชื่อวิชาเสียใหม่ให้มีความหมายกว้าง
ครอบคลุมวิชาที่นำมาเรียงลำดับไว้
ลักษณะสำคัญของหลักสูตร
1. จุดหมายของหลักสูตรมีความกว้างขวางกว่าหลักสูตรรายวิชา
2. จุดประสงค์ของแต่ละหมวดวิชา เป็นจุดประสงค์ร่วมกันของวิชาต่างๆ
ที่นำมารวมกันไว้
3. โครงสร้างหลักสูตรมีลักษณะเป็นการนำเอาเนื้อหาของแต่ละวิชาซึ่งได้เลือกสรรแล้วมาเรียงลำดับกันเข้า
¤ ส่วนดีส่วนเสียของหลักสูตร
ส่วนดี
- ในการสอน
ทั้งผู้เรียนและผู้สอนเกิดความเข้าใจและมีทัศนคติเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนกว้างขึ้น
- เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างกว้างขวาง
เป็นการเอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรม ที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
- เป็นหลักสูตรที่ทำให้วิชาต่างๆที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมีความสัมพันธ์กันดีขึ้น
ส่วนเสีย
- ลักษณะของหลักสูตรทำให้การเรียนการสอนไม่ส่งเสริมให้เกิดความรู้เนื้อหาอย่างลึกซึ้ง
เข้าทำนองรู้รอบมากกว่ารู้สึก
- การสอนอาจไม่บรรลุจุดประสงค์ เพราะต้องสอนหลายวิชาในขณะเดียวกัน
หลักสูตรประสบการณ์
เริ่มต้นหลักสูตรนี้มีชื่อว่าหลักสูตรกิจกรรม
และเปลี่ยนเป็นหลักสูตรประสบการณ์ในปัจจุบัน เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่ว่าหลักสูตรเดิมที่ใช้อยู่
ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรรายวิชาหรือหลักสูตรกว้าง
ล้วนไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนเท่าที่ควร
พัฒนาการ/วิวัฒนาการของหลักสูตร
หลักสูตรประสบการณ์ถูกมาใช้ครั้งแรกที่โรงเรียนทดลองของมหาวิทยาลัยซิคาโก
ในปี ค.ศ. 1896 ถ้าจะให้ผู้เรียนสนใจและเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนจะต้องอาศัยแรงกระตุ้น 4 อย่างคือ
1. แรงกระตุ้นทางสังคม
2. แรงกระตุ้นทางสร้างสรรค์
3. แรงกระตุ้นทางการค้นคว้าทดลอง
4. แรงกระตุ้นทางการแสดงออกด้วยคำพูด การกระทำ และทางศิลปะ
¤ ลักษณะสำคัญของหลักสูตร
1. ความสนใจของผู้เรียนเป็นตัวกำหนดเนื้อหาและเค้าโครงหลักสูตร
2. วิชาที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียน คือวิชาที่ผู้เรียนมีความสนใจเรียนกัน
3. โปรแกรมการสอนไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
4. ใช้วิธีแก้ปัญหาเป็นหลักใหญ่ในการเรียนการสอน
¤ ปัญหาของหลักสูตรประสบการณ์
1. ปัญหาการกำหนดวิชาในหลักสูตร
หลักสูตรนี้นำเอาแนวความคิดใหม่มาใช้แทนที่จะคิดในรูปแบบของวิชาอย่างหลักสูตรรายวิชา
กับมองความสนใจปัจจุบันของผู้เรียนเป็นหลักการกำหนดเนื้อหาจึงทำได้ยาก
2. ปัญหาการจัดแบ่งวิชาเรียนในชั้นต่างๆ ไม่สามารถสร้างความต่อเนื่องของเนื้อหาวิชาระหว่างชั้นเรียนได้และบางทีก็มีการจัดกิจกรรมซ้ำๆกันทุกปี
ได้มีการแก้ไขโดยการจัดทำตารางสอนของแต่ละปีขึ้น
แต่ก็ไม่ได้ผลเพราะตารางสอนเหล่านั้นเป็นเรื่องของเก่าไม่ได้ชี้ชัดลงไปว่าในปีใหม่
ควรทำอะไรกัน
หลักสูตรรายวิชา
เป็นหลักสูตรที่ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิม
โดยโครงสร้างเนื้อหาวิชาในหลักสูตร
จะถูกแยกออกจากกันเป็นรายวิชาโดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกัน
ไม่ว่าในด้านเนื้อหาหรือการสอน หลักสูตรของไทยเราที่ยังเป็นหลักสูตรรายวิชา ได้แก่
หลักสูตรมัธยมและอุดมศึกษา
¤ ลักษณะสำคัญของหลักสูตร
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
มุ่งส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนโดยใช้วิชาต่างๆเป็นเครื่องมือ
2. จุดมุ่งหมายของหลักสูตรอาจมีส่วนสัมพันธ์กับสังคมหรือไม่ก็ได้
และโดยทั่วไปหลักสูตรนี้ไม่คำนึงถึงผลที่เกิดแก่สังคมเท่าใดนัก
3. จุดประสงค์ของแต่ละวิชาในหลักสูตรเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และลักษณะในวิชานั้นๆ
เป็นสำคัญ
4. โครงสร้างของเนื้อหาวิชาประกอบด้วยเนื้อหาของแต่ละวิชาที่เป็นเอกเทศไม่เกี่ยวข้องกับวิชาอื่น
และถูกจัดไว้อย่างมีระบบเป็นขั้นตอนเพื่อสะดวกแก่การเรียนการสอน
5. กิจกรมการเรียนการสอนเน้นเรื่องการถ่ายทอดความรู้
ด้วยการมุ่งให้ผู้เรียนจำเนื้อหาวิชา
6. การประเมินผลการเรียนรู้
มุ่งในเรื่องความรู้ละทักษะในวิชาต่างๆที่ได้เรียนมา
¤ ส่วนดีส่วนเสียของหลักสูตร
ส่วนดี
- จุดมุ่งหมายของหลักสูตรช่วยให้เนื้อหาวิชาเป็นไปโดยง่าย
- เนื้อหาวิชาจะถูกจัดไว้ตามลำดับขั้นอย่างมีระบบเป็นการง่ายและทุ่นเวลาในการเรียนการสอน
- การจัดเนื้อหาวิชาอย่างมีระบบทำให้การเรียนรู้เนื้อหาวิชาดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
- การประเมินผลการเรียนทำได้ง่าย
ส่วนเสีย
- หลักสูตรแบบนี้ทำให้ผู้สอนละเลยการเรียนรู้อื่นๆ
ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่เรียนเนื้อหา
- หลักสูตรนี้มักจะละเลยความสนใจของผู้เรียนด้วยเหตุผลที่ว่ายึดหลักเหตุผลด้านเนื้อหาสาระของวิชาเกณฑ์โดยไม่คำนึงถึงหลักจิตวิทยา
- หลักสูตรเน้นการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาที่กำหนดไว้จึงมักละเลยต่อสภาพและปัญหาของสังคมและท้องถิ่นทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ไม่สามรถนำไปประยุกต์ใช้ในสังคมได้
¤ การปรับปรุงหลักสูตร
1. จัดเรียงลำดับเนื้อหาให้ต่อเนื่องกัน
คือจัดเนื้อหาที่อยู่ในชั้นเดียวกันหรือระหว่างชั้นให้ต่อเนื่องกัน
โดยรักษาความเป็นวิชาของแต่ละวิชาไว้ การจัดมีอยู่ 2 แบบคือ
- จัดให้ต่อเนื่องตามแนวนอน
คือการจัดเนื้อหาของวิชาหนึ่งให้สัมพันธ์หรือต่อเนื่องกับของอีกวิชาหนึ่งซึ่งอยู่ในชั้นเดียวกัน
- จัดให้ต่อเนื่องในแนวตั้ง คือ การจัดเนื้อหาที่อยู่ต่างชั้นกัน
2. จัดโดยการเชื่อมโยงเนื้อหาเข้าด้วยกัน
คือจัดเนื้อหาของแต่ละวิชาให้เชื่อมโยงกัน ในลักษณะที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันทำได้ 2 ระดับ คือ
- ระดับความคิด คือการพัฒนาความสามรถทางปัญญา อันได้แก่ความรู้ ความเข้าใจ
ทักษะ เจตคติและความพึงพอใจ
- ระดับโครงสร้าง คือ การจัดให้เนื้อหาในแต่ละวิชาเอื้อประโยชน์แต่กันและกัน
อีกทั้งยังเกิดประโยชน์ต่อวิชาอื่นๆด้วย
หลักสูตรแกน
เป็นหลักสูตรที่พยายามจะปลีกตัวออกจากการเรียนที่ต้องแบ่งแยกวิชาออกเป็นรายวิชาย่อยๆ
และเพื่อที่จะดึงเอาความต้องการ และปัญหาของสังคมมาเป็นศูนย์กลางของหลักสูตร
¤ พัฒนาการ/วิวัฒนาการของหลักสูตร
เริ่มจากการใช้วิชาเป็นแกนกลาง
โดยเชื่อมเนื้อหาของวิชาที่สามารถนำมาสัมพันธ์กันได้ เข้าด้วยกัน
แล้วกำหนดหัวข้อขึ้นให้มีลักษณะเหมือนเป็นวิชาใหม่เช่น
นำเอาเนื้อหาของวิชาชีววิทยา สังคมศึกษา และสุขศึกษามาเชื่อมโยงกันภายใต้หัวข้อ “สุขภาพละอนามัยของท้องถิ่น” โดยหลักสูตรแกนคือหลักสูตรที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียน
และเป็นหลักสูตรที่เน้นให้เรื่องปัญหาสังคมและค่านิยมของสังคม
โดยมีกำหนดเค้าโครงของสิ่งที่จะสอนไว้อย่างชัดเจน
หลักสูตรแกนในเอเชีย
ประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ใช้หลักสูตรแกนอยู่ในปัจจุบันนี้มีหลายปะเทศ
เช่นจีน อินเดีย อินโดนีเซีย เนปาล ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย
ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์
เพื่อช่วยให้มองเห็นภาพของหลักสูตรแกนของประเทศต่างๆในเอเชียชัดเจนยิ่งขึ้นขอนำเอาสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องมาสรุปเปรียบเทียบให้เห็นดังต่อไปนี้
- ระดับการผสมผสานวิชาในหลักสูตร ที่มีการผสมผสานกันอย่างมากมาย ได้แก่
หลักสูตรของประเทศศรีลงกา ไทย เวียดนาม และนิวซีแลนด์ ผสมผสานระดับปานกลาง ไดแก่
ของจีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น
ส่วนหลักสูตรของเนปาลนั้นมีการผสมผสากันน้อยมาก
¤ ข้อสรุปเกี่ยวกับหลักสูตรแกน
หลักสูตรแกน
เป็นหลักสูตรที่บังคับให้ทุกคนต้องเรียน อาจเป็นหนึ่งของหลักสูตรของแม่บท
หรือเป็นตัวหลักสูตรแม่บทก็ได้ จุดเน้นของหลักสูตร จะอยู่ที่วิชาหรือสังคมก็ได้
ส่วนใหญ่จะเน้นสังคม โดยยึดหน้าที่ของบุคคลในสังคมหรือปัญหาของสังคม
หรือการสร้างเสริมสังคมเป็นหลัก
หลักสูตรแฝง
เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้กำหนดแผนการเรียนรู้เอาไว้ล่วงหน้า
และเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่โรงเรียนไม่ได้ตั้งใจจะจัดให้
หลักสูตรแฝงกับพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย
โดยทั่วไปโรงเรียนจะประสบความสำเร็จมากในการสอนให้เกิดการเรียนรู้
ทางด้านพุทธิพิสัย และทักษะพิสัย ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
มีการสอนและการประเมินผลที่จัดให้เกิดความสอดคล้องกันได้ง่าย และกระทำได้ง่าย
แต่โรงเรียนจะมีปัญหาในการสอนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ทางด้ายจิตพิสัย
เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้โดยการบรรยาย
เด็กจะเรียนรู้สิ่งเหล่านี้จากตัวอย่างและการกระทำของผู้ใหญ่
และผู้อยู่ใกล้ชิดมากกว่า
หลักสูตรแฝงจะช่วยให้ครู และนักการศึกษาได้แง่คิด และเข้าใจสัจธรรมเกี่ยวกับการเรียนรู้ในเรื่องเจตคติ ค่านิยม พฤติกรรม
คุณธรรม และจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนจึงไม่ควรเน้นและทุ่มเทในด้านการสอนสิ่งเหล่านี้
ตามตัวหลักสูตรปกติมากจนเกินไป หรือเกินความจำเป็น
แต่ให้เพิ่มความสนใจแก่หลักสูตรแฝงมากขึ้น
หลักสูตรสัมพันธ์วิชา
เป็นหลักสูตรรายวิชาที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ
การแก้ไขข้อบกพร่องทำโดยการนำเอาเทคนิค การสอนใหม่ๆมาใช้
เช่นให้ผู้เรียนร่วมในการวางแผนการเรียน และให้ผู้เรียน ทำกิจกรรมต่างๆ
นอกเหนือจากการท่องจำ เพื่อให้ผู้เรียน รู้เนื้อห้าที่ต้องการ
สำหรับวิธีการที่ใช้ในการสัมพันธ์วิชามีอยู่ 3 วิธี ได้แก่
1. สัมพันธ์ในข้อเท็จจริง
คือใช้ข้อเท็จจริงของวิชาส่วนหนึ่งมาช่วยประกอบการสอนอีกวิชาหนึ่ง
2. สัมพันธ์ในหลักเกณฑ์
เป็นการนำเอาหลักเกณฑ์หรือแนวความคิดของวิชาหนึ่งไปใช้อธิบายเรื่องราว
หรือแนวความคิดของอีกวิชาหนึ่ง
3. สัมพันธ์ในแง่ศีลธรรม และหลักปฏิบัติในสังคม วิธีนี้คล้ายวิธีที่สองแค่แตกต่างกันที่ว่า
แทนที่จะใช้หลักเกณฑ์หรือแนวความคิดเป็นตัวเชื่อมโยง กลับใช้หลักศีลธรรม
และหลักปฏิบัติของสังคมเป็นเครื่องอ้างอิง
หลักสูตรสัมพันธ์วิชา
ช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจในสิ่งที่เรียนมากขึ้น
ทำให้ผู้เรียนมองโปรแกรมในการเรียนมากขึ้น และกว้างขวางกว่าเดิม
และเปิดทางให้สามารถขยายงานด้านตำราเรียนได้กว้างขวางขึ้น
แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องที่แก้ไม่ได้ คือ
รูปแบบของหลักสูตรยังคงเป็นหลักสูตรรายวิชาอยู่นั่นเอง
หลักสูตรเกลียวสว่าน
เป็นการจัดเนื้อหา
หรือหัวข้อเนื้อหาเดียวกันในทุกระดับชั้น แต่มีความยากง่ายและความลึกซึ้งแตกต่างกัน
กล่าวคือ ในชั้นต้นๆจะสอนในเรื่องง่ายๆและค่อยเพิ่มความยาก
และความลึกลงไปตามระดับชั้นที่สูงขึ้นไป
¤ ที่มาของแนวความคิดเรื่องหลักสูตรเกลียวสว่าน
บรูเนอร์
มีความเชื่อว่าในเนื้อหาของแต่ละเนื้อหาวิชาจะมีโครงสร้าง
และการจัดระบบที่แน่นอนจึงควรนำความจริงในข้อนี้มาใช้กับการจัดหลักสูตรโดยการจัดลำดับเนื้อหาให้ก้าวหน้าไปเรื่อยๆอย่างมีระบบจากง่ายไปหายาก
จากแนวความคิดนี้จึงมีการพัฒนาหลักสูตรในลักษณะบันไดวนหรือเกลียวสว่าน
คือให้ลึกและกว้างออกไปเรื่อยๆ ตามอายุและพัฒนาการของเด็ก
หลักสูตรเกลียวสว่านตามแนวคิดของดิวอี้
ดิวอี้มีความเชื่อว่า
การเจริญงอกงามขึ้นอยู่กับการฝึกใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาที่ได้มาจากประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่าจากปัญหาที่กำหนดให้จากภายนอก
และในขณะที่ผู้เรียนฝึกใช้สติปัญญาจากการแก้ปัญหาเหล่านี้
เขาจะได้ความคิดใหม่ๆจากการทำงาน
หลักสูตรสูญ
เป็นชื่อประเภทของหลักสูตรที่ไม่แพร่หลายและไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก
โดยไอส์เนอร์ เขาได้อธิบายถึงความเชื่อของเขาในเรื่องนี้ว่า
เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้มีปรากฏอยู่ให้เห็นในแผนการเรียนรู้
และเป็นสิ่งที่ในโรงเรียนไม่ได้สอน
¤ ประเด็นที่ควรพิจารณา
ในการกำหนดหลักสูตรสูญขึ้นมานั้นมีสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาอยู่ 2 ประเด็นคือ
1.กระบวนการทางปัญญา ที่โรงเรียนเน้นและละเลย
เป็นกระบวนการทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการรู้ โดยเริ่มจากการรับรูสิ่งต่างๆ
ไปจนคิดหาเหตุผลทุกรูปแบบ
2. เนื้อหาสาระที่มีอยู่และที่ขาดหายไปจากหลักสูตร
การนำความคิดของหลักสูตรสูญ ไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตร
เมื่อจะพิจารณาว่ามีกระบวนการใด
หรือเนื้อหาใดขาดไปจากหลักสูตร ก็จะต้องมีการกำหนดกรอบที่เป็นกลางๆเอาไว้อ้างอิง
ถ้าหากหลักสูตรไม่ได้ครอบคลุมถึงสิ่งที่เป็นเนื้อหากลางๆที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนหลักสูตรเหล่านั้นก็จะด้อยคุณค่าทันที
จากตัวอย่างการพิจารณา นำวิชาตรรกวิทยามาบรรจุในหลักสูตรอนุบาลนั้น
ต้องถือว่าต้องถือว่าหลักสูตรสากลของอนุบาลศึกษา จะต้องไม่มีการเรียนวิชาตรรกวิทยา
¤ สรุป
ความคิดเกี่ยวกับ “ประเภทของหลักสูตร” ที่กล่าวมานี้ จะมีประโยชน์ต่อการประเมินผล และการวิเคราะห์หลักสูตร
เป็นการช่วยให้นักพัฒนาหลักสูตรได้หันมาพิจารณาหลักสูตรให้ครบอีกครั้งว่า
จุดหมายและเนื้อหาของหลักสูตรที่กำหนดไว้แล้วนั้นเหมาะสมแล้วหรือยัง
มีเนื้อหาในกระบวนการคิด และความรู้สึกประเภทใดที่เป็นประโยชน์
และสำคัญควรที่ผู้เรียนรู้ แต่ไม่มีในหลักสูตรก็จะได้ประชุมหารือกันระหว่าง นักพัฒนาหลักสูตร
และผู้รับผิดชอบ เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขต่อไป
§ การออกแบบหลักสูตร (curriculum design)
การจัดรายละเอียดองค์ประกอบของหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย
เป้าหมาย จุดหมาย เนื้อหาสาระ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผล
ดังนั้นหากจะเปรียบการพัฒนาหลักสูตร คือ การสร้างบ้าน
การออกแบบหลักสูตรก็คือการออกแบบให้ได้มาซึ่งพิมพ์เขียว หรือรูปแบบของบ้าน ที่มีรายละเอียดของห้องต่าง
ๆ เป็นการจัดส่วนประกอบต่าง ๆ ของบ้านให้เหมาะสมกลมกลืน เหมาะกับการใช้งาน
ส่วนประกอบหลักสูตร 4 ส่วนหลัก
1.เป้าหมาย จุดหมาย และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
2.เนื้อหาสาระ
3.กิจกรรมการเรียนการสอน
4.การประเมินผล
ออนสไตน์และฮันคินส์ และ เฮนเสน
กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า
การออกแบบหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการพิจารณา 6 ประการดังนี้
1. การกำหนดขอบข่ายหลักสูตร หมายถึง
การกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นสำคัญต่าง ๆ แนวคิด ค่านิยม
หรือคุณธรรมที่สำคัญ สำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตรแต่ละระดับชั้น
2. การจัดลำดับการเรียนรู้ หมายถึง
การจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นที่สำคัญต่าง ๆ
ให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตาม วัย วุฒิภาวะ และพัฒนาการทางสติปัญญา
3. ความต่อเนื่อง หมายถึง
การจัดเนื้อหา ประสบการณ์ การเรียนรู้ ทักษะต่าง ๆ ให้มีความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร
หลักสูตรที่ดีนอกจากมีการจัดขอบข่ายและลำดับการเรียนรู้ที่ดีแล้ว
ยังต้องมีความต่อเนื่องของเนื้อหาที่เหมาะสมอีกด้วย
4. ความสอดคล้องเชื่อมโยง การจัดหลักสูตรที่ดีควรคำนึงถึง ความสอดคล้องเชื่อมโยง ให้มี
ความต่อเนื่องกันของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้
และทักษะที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน เช่น การจัดหลักสูตรสังคมศึกษา ชั้น ม.1 ให้เนื้อหาภูมิศาสตร์ประเทศไทยมีความสัมพันธ์สอดคล้องเชื่อมโยงกับเนื้อหาประวัติศาสตร์ไทย
เป็นต้น
5. การบูรณาการ เป็นการจัดขอบข่ายเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยง
จากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งของรายวิชานั้น หรือ
จากรายวิชาหนึ่งไปยังอีกรายวิชาหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกัน
6. ความสมดุล หลักสูตรที่ดีนอกจากจะต้องคำนึงถึงการจัดขอบข่ายเนื้อหา
และมีลำดับการเรียนรู้ ที่ดีแล้ว ยังควรต้องพิจารณาด้านความสมดุลของเนื้อหา
ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะของรายวิชาต่าง ๆ
ความสมดุลระหว่างเนื้อหาสาระกับวุฒิภาวะของผู้เรียน ความสมดุลของหลักสูตร
จึงเป็นสิ่งที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องให้ความสนใจ
ประโยชน์ของการออกแบบหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตรที่ดีจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา
ฮอลล์ (Hall.1962 อ้างถึงใน ปราณี สังขะตะวรรธน์และสิริวรรณ ศรีพหล.2545 : 97 –
98) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการออกแบบหลักสูตรไว้ ดังนี้
1. การออกแบบเป็นการเน้นที่เป้าหมาย จุดหมาย และวัตถุประสงค์ของงานเป็นสำคัญ
การออกแบบหลักสูตรจึงเป็นการสร้างความมั่นใจว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้น
สามารถนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ
หรือจุดหมายของการจัดการศึกษานั้นได้
2. การออกแบบหลักสูตรที่ดีช่วยเพิ่มโอกาสของความสำเร็จในการจัดการศึกษา
การออกแบบเป็นการจัดองค์ประกอบหลักสูตรทั้ง 4 ที่จะเป็นแนวทางให้กับผู้ใช้หลักสูตรได้ดำเนินการ
โดยเริ่มตั้งแต่การศึกษาวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย การให้สาระความรู้ที่จำเป็น
วิธีการนำเสนอสาระความรู้ หรือ แนวการดำเนินการเรียนการสอน
และการประเมินผลหรือการตัดสินว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่เพียงใด
3. การออกแบบช่วยประหยัดเวลาและแรงงาน การออกแบบเป็นการสร้างพิมพ์เขียว
เพื่อให้ผู้ใช้หลักสูตรได้เห็นประสบการณ์ที่จำเป็นที่ผู้เรียนต้องได้รับ
การกำหนดรูปแบบต่าง ๆ การกำหนดวิธีการนำหลักสูตรไปใช้
การกำหนดทิศทางรูปแบบการเรียนการสอน
ช่วยให้ผู้ใช้หลักสูตรมีความเข้าใจในกระบวนการต่าง ๆ
สามารถนำไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้
4. การออกแบบที่ดีช่วยในการสื่อสารและประสานงาน
นักออกแบบที่สามารถออกแบบหลักสูตร เอกสารการสอน และคู่มือต่าง ๆ ช่วยเพิ่มความเข้าใจในการนำหลักสูตรไปใช้
โดยอาจจะไม่ต้องใช้เวลามาจัดอบรม เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับหลักสูตร
และการนำหลักสูตรไปใช้
5. การออกแบบช่วยลดภาวะความตึงเครียด เนื่องจากการออกแบบหลักสูตรเป็น
การวางแผนสำหรับการจัดการศึกษาที่มีเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน การออกแบบหลักสูตรเป็นการสร้างพิมพ์เขียวจากสิ่งที่เป็นนามธรรมไปสู่สิ่งที่เป็นรูปธรรม
เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างไม่ยุ่งยาก
การออกแบบหลักสูตรประเภทต่างๆ
หลักสูตรประเภทต่างๆ
ได้มีการจำแนกประเภทหรือรูปแบบของหลักสูตรไว้หลายรูปแบบด้วยกัน
ซึ่งแต่ละ รูปแบบก็มีแนวคิดจุดมุ่งหมาย และโครงสร้างที่แตกต่างก็ออกไป
ทั้งนี้เพื่อให้หลักสูตรมีความเหมาะสมกับสถานการณ์การจัดการเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย
หรือเพื่อให้สนองเจตนารมณ์ของการจัดการเรียนรู้ลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามระดับการศึกษา
ดังนั้นหลักสูตรแต่ละรูปแบบจึงมีลักษณะเฉพาะของตนเอง
รวมทั้งต่างก็มีข้อดีและข้อด้อยด้วยกันทั้งสิ้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจในรูปแบบของหลักสูตร
(curriculum
desigh) แบบต่าง ๆ ซึ่งมีไม่ต่ำกว่า 10รูปแบบได้ดียิ่งขึ้น จึงได้มีการจัดประเภทรูปแบบของหลักสูตร
ตามเกณฑ์ที่ยึดเป็นประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. หลักสูตรที่ยึดสาขาวิชาและเนื้อหาสาระเป็นหลัก (disciplines /
subjects curriculum) กลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการจัดเนื้อหาสาระวิชาที่จะเรียน
มีรูปแบบของหลักสูตร 5 รูปแบบ ดังนี้
1.1 หลักสูตรรายวิชา หรือหลักสูตรเนื้อหาวิชา (subject
matter curriculum)
1.2 หลักสูตรกว้าง หรือหลักสูตรหมวดวิชา (broad field
curriculum) หรือหลักสูตรหลอมรวมวิชา(fusion
-curriculum)
1.3 หลักสูตรสัมพันธ์วิชา หรือหลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ (correlated
curriculum)
1.4 หลักสูตรแบบแกนกลาง หรือหลักสูตรแบบแกนร่วมกัน
หรือหลักสูตรแบบแกน (core curriculum)
1.5 หลักสูตรแบบบูรณาการ (integrated curriculum)
2. หลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นหลัก (learners centred) หลักการของหลักสูตรนี้ยึด ผู้เรียนเป็นสำคัญ
จัดหลักสูตรเพื่อสนองความต้องการ ความสามารถและความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก มีรูปแบบของหลักสูตร
3 รูปแบบดังนี้
2.1 หลักสูตรแบบเอกัตบุคคล (individualized curriculum)
2.2 หลักสูตรแบบส่วนบุคคล (personalized curriculum)
2.3 หลักสูตรที่เน้นผู้เรียน (child – centered
curriculum) หรือหลักสูตรที่ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(leaner
– centred curriculum)
3. หลักสูตรที่ยึดกระบวนการทางทักษะหรือประสบการณ์เป็นหลัก (process
skill or experiencecurriculum) การจัดหลักสูตรประเภทนี้เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
และให้ผู้เรียนได้รู้จักการแก้ปัญหา ถ้าเป็นหลักสูตรที่ยึดกระบวนการเป็นหลักจะมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนมีรูปแบบของหลักสูตร 3 รูปแบบ ดังนี้
3.1 หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม
หรือหลักสูตรที่ยึดกิจกรรมกระบวนการทางสังคมและการดำรงชีวิต (socialprocess
and life function curriculum)
3.2 หลักสูตรประสบการณ์ (experience curriculum) หรือหลักสูตรแบบกิจกรรมและประสบการณ์(activity and experience
curriculum)
3.3 หลักสูตรกระบวนการ (the process approach
curriculum)
3.4 หลักสูตรเกณฑ์ความสามารถ (the competency – based
curriculum)
1. หลักสูตรรายวิชาหรือหลักสูตรเนื้อหาวิชา (subject matter
curriculum) เป็นรูปแบบการจัดหลักสูตรที่เก่าแก่ที่สุดและยังใช้มาจนถึงปัจจุบัน
หลักสูตรประเภทนี้ได้รับอิทธิพลมาจากปรัชญาสารัตถนิยม (essentialism) และปรัชญาสัจวิทยานิยม (parennialism) เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชา
สาระ และความรู้ของวิทยาการต่าง ๆ เป็นหลักในการจัดการเรียนรู้
ใช้วิธีสอนแบบบรรยายโดยมีครูผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ดังเช่นหลักสูตรการศึกษาของไทย ปี
พ.ศ. 2493
ลักษณะของหลักสูตร
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร ใช้วิชาต่าง ๆ
เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียน
ซึ่งอาจจะสัมพันธ์กับสังคมหรือไม่ก็ได้ มักจะไม่คำนึงถึงผลที่เกิดแก่สังคม
2. โครงสร้างของเนื้อหาวิชา จะแยกเป็นแต่ละวิชาไม่เกี่ยวข้องกัน เช่น
ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม การจัดการเรียนรู้
และการวัดผลแยกจากกันเป็นเอกเทศ
3. เนื้อหาวิชาจะประกอบด้วย ความรู้ ความคิดรวบยอด ทักษะ กฎ หลักเกณฑ์
คุณธรรม และการปฏิบัติงาน โดยมีการจัดเนื้อหาให้เรียงลำดับอย่างมีระเบียบระบบ
ตามลำดับเหตุการณ์ หรือตามลำดับความยากง่าย
4. การจัดการเรียนรู้ เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและความรู้ โดยครูผู้สอนเป็น
ผู้ดำเนินการ ดังนั้นความสามารถของครูจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ไม่ให้ความสำคัญกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนมากนัก
ผู้เรียนทุกคนเรียนทุกสิ่งทุกอย่างเหมือน ๆ กัน และ ไม่ถือว่าจิตวิทยาในการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ
5. การประเมินผลการเรียนรู้ มุ่งในเรื่องความรู้และทักษะในวิชาต่าง ๆ
ที่เรียนมา เน้นเรื่องการสอน ถ้าผู้เรียนสอบผ่านก็ถือว่าใช้ได้
ถ้าสอบไม่ผ่านก็ต้องเรียนซ้ำ ต้องซ้ำจนกว่า จะสอบผ่าน
6. การพัฒนาหลักสูตร เน้นที่ผลการเรียนรู้ หลักสูตรจะเปลี่ยนแปลงก็ต่อเมื่อ
เนื้อหาวิชาเปลี่ยนแปลงไปไม่ได้เนื่องมาจากความต้องการหรือความเปลี่ยนแปลงในสังคม
ข้อดี
1. ง่ายต่อการเลือกเนื้อหาวิชาที่จะนำมาใช้สอน
2. สอนง่ายและทุ่นเวลาในการจัดการเรียนรู้เนื่องจากเนื้อหาถูกจัดไว้อย่างเป็นระบบ
ขั้นตอน ครูผู้สอนสามารถถ่ายทอดเนื้อหาสาระและความรู้ได้คราวละมาก ๆ
และวัดผลได้ง่าย
3. การจัดเนื้อหาที่เป็นระบบขั้นตอนทำให้ผู้เรียนมีความรู้เป็นหมวดหมู่
เพียงพอต่อการเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อไป และทำให้ผู้เรียนมีระบบในการคิด
ทำให้สามารถพัฒนา เชาวน์ปัญญาได้รวดเร็วขึ้น และความรู้ใหม่ที่ได้จะสัมพันธ์กับความรู้เก่าเกิดความต่อเนื่องใน
การเรียนรู้
4. การประเมินผลการเรียนรู้ทำได้ง่าย
เพราะมุ่งเน้นในเรื่องความรู้
5. เหมาะสำหรับการถ่ายทอดวัฒนธรรม
6. ช่วยสร้างระเบียบวินัยในชั้นเรียนได้ดี
ข้อด้อย
1. ขัดกับหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ ธรรมชาติและพัฒนาการของผู้เรียน
2. ความมุ่งหมายของหลักสูตรแคบเกินไป เน้นแต่ด้านวิชาการไม่ครอบคลุม
พฤติกรรมและพัฒนาการด้านอื่นของผู้เรียน เช่น เจตคติ ทักษะ ด้านสังคม
3. เน้นครูเป็นศูนย์กลาง ไม่ส่งเสริมการแสดงความคิดเห็นของผู้เรียน
ผู้เรียนขาดโอกาสในการพัฒนาความคิดไม่เป็นอิสระ
จึงไม่ส่งเสริมให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4. การจัดเนื้อหาสารที่แยกเป็นแต่ละวิชาไม่เกี่ยวข้องกัน
ทำให้ผู้เรียนมองไม่เห็นภาพรวมของสิ่งที่เรียนนอกจากนี้เนื้อหาที่เรียนยังไม่คำนึงถึงความต้องการของสังคมอย่างแท้จริงทำให้ผู้เรียนไม่สามารถนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
5. ถ้าครูผู้สอนไม่มีความรู้ในเนื้อหาสาระที่สอนอย่างเพียงพอ
และไม่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้อย่างดีพอ ผู้เรียนก็เกิดการเรียนรู้ได้ยาก
6. บรรยากาศในห้องเรียนเคร่งเครียด
ทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน
2. หลักสูตรกว้างหรือหลักสูตรหมวดวิชา (broad field curriculum)
เป็นรูปแบบหลักสูตรที่มีการผสมผสานความรู้ โดยรวมวิชาต่าง
ๆ ที่มีเนื้อหาสาระใกล้เคียงกันมารวมกันเป็นหมวดวิชาเดียวกัน เช่น
หมวดวิชาคณิตศาสตร์จะรวมวิชา เลขคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ เรขาคณิตไว้ด้วยกัน
การจัดการเรียนรู้ยึดครูเป็นศูนย์กลางเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ
การวัดผลการเรียนรู้จึงมุ่งเน้นวัดความรู้ที่ได้เป็นหลัก
ตัวอย่างของหลักสูตรแบบนี้คือ
หลักสูตรการศึกษาของไทย ปี พ.ศ. 2503
ลักษณะของหลักสูตร
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตรมีขอบเขตกว้างขึ้น
อาจครอบคลุมไปถึงผลที่เกิดขึ้นกับสังคม
2. นำจุดประสงค์การเรียนรู้ของแต่ละวิชามารวมกันเป็นจุดประสงค์ของหมวดวิชา
3. โครงสร้างของหลักสูตรมีลักษณะเป็นการนำเอาเนื้อหาของแต่ละวิชาจึงได้เลือกสรรแล้วมาเรียงลำดับกันเข้า
โดยไม่มีการผสมผสานกันแต่อย่างใด หรือมีน้อยมาก
ข้อดี
1. เนื้อหาวิชามีการประสานสัมพันธ์กันมากขึ้น เกิดการผสมผสานความรู้ ทำให้
ผู้เรียนมีความรอบรู้ในแต่ละหมวดวิชากว้างขวางขึ้น
ตามความต้องการหรือตามความสนใจของตน เกิดความคิดรวบยอด (concept) ได้ง่ายขึ้น และสามารถนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. เนื้อหาวิชาที่เรียนไม่ซ้ำซ้อนกัน
3. บริหารหลักสูตรได้คล่องตัวขึ้น เพราะมีลักษณะเป็นหมวดวิชา
4. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ
ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำกิจกรรม
การเรียนรู้ได้หลากหลายสอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียนจึงทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายในการเรียน
ข้อด้อย
1. ไม่เกิดการผสมผสานความรู้เท่าที่ควร
เนื่องจากการสอนของครูยังยึดวิธีสอนแบบเดิม คือแยกสอนเป็นแต่ละวิชา
แทนที่จะสอนแบบผสมผสานวิชา
2. การที่ผู้เรียนได้รับความรู้ที่กว้างขวางขึ้น
อาจทำให้ขาดความรู้ที่ลึกซึ้งในเนื้อหา หรือไม่มีการแม่นยำในความรู้นั้น ๆ และความรู้ที่ได้รับไม่เป็นระเบียบเท่าที่ควร
3. ขาดความสัมพันธ์กับหมวดวิชาอื่น ๆ
4. การสอนอาจไม่บรรลุประสงค์
เนื่องจากครูผู้สอนต้องสอนหลายวิชาในขณะเดียวกันต้องใช้เวลาในการเตรียมการสอนมาก
หรืออาจจะไม่มีความรู้ในบางวิชาดีพอ
3. หลักสูตรสัมพันธ์วิชาหรือหลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ (correlated curriculum)
เป็นรูปแบบของหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการขาดความสัมพันธ์กันของรายวิชาที่เกี่ยวข้องกัน
โดยนำเอาเนื้อหาของวิชาต่าง ๆ
ที่สอดคล้องหรือส่งเสริมซึ่งกันและกันมาเชื่อมโยงเข้าหากันแล้ววิชาสอนเนื้อหาเหล่านั้นในคราวเดียวกัน
แต่ถึงกระนั้นความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวิชาก็ยังคงอยู่ เช่น
นำวิชาศิลปะไปสัมพันธ์กับวิชาประวัติศาสตร์ทำหลักเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์มาเชื่อมโยงกับวิชาวิทยาศาสตร์
เป็นต้น การจัดการเรียนการสอนยึดครูเป็นศูนย์กลาง
การวัดผลการเรียนรู้ยังเน้นพัฒนาการด้านเชาวน์ปัญญา
ลักษณะของหลักสูตร
เนื้อหาวิชามีความสัมพันธ์กันในหมวดวิชา
หรือระหว่างวิชาโดยพยายามกำหนดเนื้อหาวิชาใดวิชาหนึ่ง
หรือหมวดวิชาใดหมวดวิชาหนึ่งตามเนื้อหาสาระและโครงสร้างของวิชา นั้น ๆ
แล้วนำเนื้อหาสาระวิชาอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กันมารวมเข้าไว้ด้วยกัน
ข้อดี
1. เนื้อหาวิชามีความสัมพันธ์สอดคล้องและผสมผสานกันดียิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่เชื่อมโยงกัน
2. ครูผู้สอนได้มีโอกาสวางแผนการสอนและดำเนินการสอนร่วมกัน
ส่งผลให้เกิด จุดมุ่งหมายการเรียนรู้ที่แน่นอน
3. สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย
ผู้เรียนมีโอกาสเข้าร่วม กิจกรรม และมีประสบการณ์ตรงมากขึ้น
4. ผู้เรียนมีโอกาสเรียนในสิ่งที่ตนสนใจ
และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
5. ขจัดความซ้ำซ้อนในเนื้อหาวิชาหรือหมวดวิชา
ข้อด้อย
1. การจัดเนื้อหาให้สัมพันธ์กันทำได้ยาก
หากนำวิชาที่มีความสัมพันธ์กันน้อยเข้ามาสัมพันธ์กัน
อาจทำให้วิชานั้นมีเนื้อหามากเกินไป
2. หากครูผู้สอนเตรียมการสอนไม่ดีพอ
หรือขาดความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจะทำให้ ผู้เรียนเกิดความสับสน
3. ทำให้คาบเวลาเรียนยาวนานเกินไป
4. ครูผู้สอนอาจจะมีปัญหาในเรื่องเวลาที่จะต้องมาวางแผนร่วมกัน
หรือเกิดการ ไม่ยอมรับ เนื่องจากทำให้ยุ่งยากมากขึ้น
4. หลักสูตรแบบแกนกลาง หรือหลักสูตรแบบแกนร่วมกัน หรือหลักสูตรแบบแกน (core
curriculum)
หลักสูตรรูปแบบนี้จัดตามปรัชญาปฏิรูปนิยม (reconstructionism) เป็นการรวบรวมเนื้อหาความรู้และประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนเข้าด้วยกันให้มีความสัมพันธ์และผสมผสาน
กัน ให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้และคำนึงถึงความต้องการของสังคมเป็นหลัก
การจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการแก้ปัญหา
เข้าใจชีวิตและสังคม การวัดผลการเรียนรู้เน้นวัดพัฒนาการทุก ๆ
ด้านของผู้เรียนในวงการศึกษาไทยรู้จักหลักสูตรแกนกลางในนามของ
"การเรียนการสอนแบบหน่วย" ตัวอย่างของหลักสูตรแบบนี้คือ
หลักสูตรประถมศึกษาและหลักสูตรมัธยมศึกษา พุทธศักราช 2521 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533
5. หลักสูตรแบบบูรณาการ (intergrated curriculum)
เป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรกว้างโดยนำเอาเนื้อหาของวิชาต่าง
ๆ มาหลอมรวมกัน ทำให้ความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวิชาหมดไป
โดยรวมเอาประสบการณ์การเรียนรู้จากหลาย ๆวิชา
มาจัดเป็นหมวดหมู่ของประสบการณ์เป็นการบูรณาการเนื้อหาเข้าด้วยกัน
จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่ต่อเนื่อง มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิต
และพัฒนาผู้เรียนในทุก ๆ ด้าน การจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
การวัดผลการเรียนรู้จะวัดพัฒนาการทุก ๆ ด้าน
ตัวอย่างของหลักสูตรประเภทนี้คือ
หลักสูตรประถมศึกษา ปี พ.ศ. 252
ลักษณะของหลักสูตร
หลักสูตรประเภทนี้รวมประสบการณ์จากทุกรายวิชามาสัมพันธ์กันจนไม่ปรากฏ
เด่นชัดว่าเป็นวิชาใดจัดเป็นประสบการณ์ต่อเนื่อง
หลักสูตรเช่นนี้อาจอาศัยประเด็นหรือปัญหาบางอย่างเป็นแกน
แล้วหลอมทุกสาระวิชาที่เกี่ยวข้องเข้าไว้ด้วยกัน
ข้อดี
1. มีความสัมพันธ์ระหว่างวิชาสูงสุด
ทำให้เกิดการผสมผสานทางด้านการเรียนรู้และเนื้อหาวิชา
2. ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง
จึงสามารถนำสิ่งที่เรียนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้มาก
3. เนื้อหาผสมผสานกัน
สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ ทำให้สอดคล้องกับความสนใจ และความต้องการของผู้เรียนและสังคม
4. มีการคัดเลือกเนื้อหาอย่างรอบคอบ
และการเรียบเรียงประสบการณ์อย่างดี ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน
5. ส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาทั้งผู้เรียนและครูผู้สอน
รวมทั้งส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย
6. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้
ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนา คุณลักษณะต่าง ๆ
ในตนเองและส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ข้อด้อย
1. การบูรณาการเนื้อหาและประสบการณ์ทำได้ดีในระดับชั้นประถมศึกษา
แต่ในระดับมัธยมศึกษาและสูงกว่าทำได้ยาก
2. เป็นหลักสูตรที่ยากแก่การสอน ดังนั้นครูผู้สอนต้องมีความรู้
ความสามารถที่ดีพอ
ต้องมีการเตรียมการสอนอย่างดีและตระหนักถึงความสำคัญของหลักการบูรณาการ
3. ต้องใช้สื่อการเรียนรู้หลายอย่าง
4. ความกว้างขวางของหลักสูตร
อาจทำให้ผู้เรียนไม่มีความรู้ลึกซึ้งในเนื้อหาที่เรียน
นอกจากนั้นหากครูผู้สอนไม่เก่งพออาจทำให้ผู้เรียนมองไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาต่าง
ๆ
5. ครูผู้สอนมักอาจสอนไม่ครอบคลุมเนื้อหาครบถ้วนหรือมักสอนแยกวิชาตามความเคยชิน
ทำให้ขาดความเป็นบูรณาการ
6. หลักสูตรแบบเอกัตบุคคล (individualized curriculum)
เป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อสนองความต้องการ
และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน
การจัดหลักสูตรแบบนี้ทำให้ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถ และอัตราเร็วของแต่ละคน
มีโอกาสเลือกได้มาก ทั้งยังส่งเสริมให้ผู้เรียนแต่ละคนมีความรับผิดชอบ
โดยยึดหลักปรัชญา สวภาพนิยม (existentialism) ให้ความสำคัญกับผู้เรียน
รายบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอย่างเป็นอิสระจากคนอื่น
ครูผู้สอนจะจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนแต่เพียงลำพังหรือร่วมกันจัดกับผู้เรียนก็ได้
7. หลักสูตรแบบส่วนบุคคล(personalized curriculum)
เป็นหลักสูตรที่ครูและนักเรียนวางแผนร่วมกันตามความเหมาะสมและความสนใจของผู้เรียน
เรียกว่า
สัญญาการเรียนเพื่อส่งเสริมและดึงเอาศักยภาพของผู้เรียนออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
ทำให้เกิดความยุติธรรมทางการศึกษามากขึ้น ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียน
มีทางเลือกกิจกรรมการเรียนหลายด้าน เป็นการศึกษาที่ประกันได้ว่าผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้จริง สอดคล้องกับความต้องการ ความสามารถ ความสนใจของตนเองและชุมชน
เป็นการจัดหลักสูตรโดยยึดหลักปรัชญาสวภาพนิยาม (existentialism)
8. หลักสูตรที่เน้นผู้เรียน(child – centered curriculum) หรือหลักสูตรที่ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (learnercentred curriculum)
หลักสูตรประเภทนี้คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็นหลักการ
ที่สำคัญ เน้นบทบาทของผู้เรียนในการเรียน
ดังนั้นในหนึ่งวิชาอาจจะมีหลักสูตรที่แตกต่างกัน
ออกไปทั้งในด้านเนื้อหากิจกรรมการเรียน สื่อการเรียนรู้ และการวัดประเมินผล เช่น
ในวิชาภาษาไทย นักเรียนคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งต้องการเรียนการแต่งคำประพันธ์ในขณะที่นักเรียนอีกคนหนึ่งหรืออีกกลุ่มหนึ่งต้องการเรียนการเขียนเรียงความ
ฉะนั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ก็ต้องจัดให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนทุกคนทุกกลุ่ม
ดังนั้นหลักสูตรจึงต้องมีการกำหนดให้เลือกได้และเหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน
การจัดหลักสูตรประเภทนี้ทำได้ยากมาก เพราะต้องจัดเนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้และการวัดผลไว้หลากหลาย รวมทั้งต้องใช้ครูผู้สอนหลายรูปแบบ
9. หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม หรือหลักสูตรที่ยึดกิจกรรมกระบวนการทางสังคมและการดำรงชีวิต (social process and life function curiiculum)
การจัดหลักสูตรแบบนี้ยึดชีวิตจริงของผู้เรียนและสังคมเป็นหลัก
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมของสังคม
จึงเป็นหลักสูตรที่ถูกคาดว่ามีคุณค่ามากที่สุดสำหรับผู้เรียน
หลักสูตรนี้ได้รับแนวความคิดมาจากนักการศึกษา จอห์น ดิวอี้ (John
Dewey) โดยยึดปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (progressivism) และปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (reconstructionism) เป็นแนวทางในการจัดหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ครูทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษา
การประเมินผลการเรียนรู้จะประเมินผลในทุกด้านลักษณะของหลักสูตร
1. จัดเนื้อหาวิชาให้สัมพันธ์กับชีวิตจริง
หรือประสบการณ์จริงให้มากที่สุด เช่น การประกอบอาชีพ การดำรงชีวิตในครอบครัว
การป้องกันชีวิตและสุขภาพ เป็นต้น
2. เตรียมผู้เรียนให้ร่วมมือกับสังคม
เพื่อให้เรียนรู้เกี่ยวกับหน้าที่ทางสังคม กระบวนการทางสังคม หรือปัญหาทางสังคม
3. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจจัดเป็นหน่วยหรือรายวิชา
เรียนในสิ่งที่ใกล้ตัวก่อน หรือจากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยาก
เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง
ข้อดี
1. ช่วยพัฒนาความคิด และช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายและความสำคัญของ
สิ่งที่ได้เรียนรู้มากขึ้น ทำให้เกิดแรงจูงใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน
รู้จักศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
2. ช่วยเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ active learning คือการเรียนอย่างกระตือรือร้น ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้
บรรยากาศในการเรียนมีชีวิตชีวา
4. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาความซับซ้อนและความเป็นจริงของสังคม
5. มีความยืดหยุ่น สามารถปรับให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม
6. เป็นแนวคิดพื้นฐานที่สนับสนุนให้เกิดโรงเรียนชุมชนขึ้น
ข้อด้อย
1. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสังคมได้เพียงบางส่วนเท่านั้นเนื่องจากกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของคนในสังคมมีหลากหลายไม่สามารถนำมาสอนได้ทั้งหมด
2. เนื้อหาสาระอาจจะขาดความสมบูรณ์ไป
เนื่องจากการจัดการเรียนรู้มุ่งเพื่อความสนใจในการปฏิบัติของผู้เรียนมากเกินไป
3. มีปัญหาในเรื่องการผสมผสานและการจัดหมวดหมู่ของประสบการณ์การเรียนรู้
เพราะผู้จัดไม่ทราบแน่ว่ากิจกรรมหรือประสบการณ์ชีวิตอะไรที่มีค่า มีความสำคัญ
และจำเป็นที่สุดต่อผู้เรียนที่จะนำมาสอนอีกทั้งยังไม่มีวิธีการจัดหมวดหมู่ความรู้ที่สมบูรณ์อย่างแท้จริงได้
4. ครูผู้สอนอาจไม่มีความชำนาญในการจัดการเรียนรู้ลักษณะนี้
ดังนั้นในทางปฏิบัติ ครูส่วนใหญ่ยังใช้วิธีสอนแบบเดิม ๆ ในการบรรยาย เป็นต้น
5. จัดกิจกรรมการเรียนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ทำได้ยาก
6. การจัดตารางสอนแบบตายตัวทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับครูผู้สอนได้
10. หลักสูตรประสบการณ์ (experience
curriculum) หรือหลักสูตรแบบกิจกรรมและประสบการณ์ (activity
and experience curriculum)
เป็นรูปแบบของหลักสูตรที่เน้นประสบการณ์และกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลัก
เป็นหลักสูตรที่มุ่งแก้ไขการเรียนรู้ที่ยึดครูผู้สอนเป็นศูนย์กลาง
โดยไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน เช่น
หลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชาเป็นหลัก หลักสูตรนี้ที่ยึดหลักการที่ว่า
การเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์และประสบการณ์สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้
ดังนั้นการจัดหลักสูตรจึงเน้นเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
ผู้เรียนต้องรู้จักวิธีการแก้ปัญหาลงมือกระทำ วางแผนด้วยตนเอง
เป็นการเรียนรู้ด้วยการกระทำ (learning by doing) การจัดการเรียนรู้ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นการแก้ปัญหา ครูต้องเป็นนักวางแผน
นักจิตวิทยา นักแนะแนวและนักพัฒนาการ การประเมินผลการเรียนรู้
จะประเมินพัฒนาการของผู้เรียนในทุก ๆ ด้าน ยึดปรัชญาการศึกษาแบบพิพัฒนาการ progressivism)
ลักษณะของหลักสูตร
1. ความสนใจของผู้เรียนเป็นตัวกำหนดเนื้อหา กิจกรรม
หรือประสบการณ์ต้องสอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน
2. วิชาที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนคือวิชาที่ผู้เรียนมีความสนใจร่วมกัน
ดังนั้นจึงกำหนดเนื้อหาจากความสนใจของผู้เรียนเป็นคราว ๆ
ไปมิได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า
3. โปรแกรมการสอนไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า
นั่นคือครูผู้สอนไม่สามารถกำหนด กิจกรรมการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้า
ดังนั้นก่อนทำการสอนต้องสำรวจความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนและทั้งชั้น
และช่วยผู้เรียนตัดสินใจเลือกเรื่องที่มีคุณค่าควรแก่การศึกษา
4. ใช้วิธีแก้ปัญหาเป็นหลักในการจัดการเรียนรู้
ข้อดี
1. ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้มาก
สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
ได้รู้จักการวางแผนการเรียนด้วยตนเอง ได้มีโอกาสทดลอง
แก้ไขปัญหาได้อย่างมีเหตุมีผล มีความรับผิดชอบในตนเองต่อการศึกษา
3. ผู้สอนและผู้เรียนมีโอกาสได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด
และมีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น
4. สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
5. ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม
ทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการเรียน
6. มีความยืดหยุ่นในเรื่องของเวลา
และวิธีจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย กิจกรรม การเรียนรู้ครอบคลุมเนื้อหาได้กว้างขวาง
กระบวนการเรียนรู้เป็นไปตามขั้นตอน
ข้อด้อย
1. การจัดทำหลักสูตรทำได้ยาก
2. ถ้าครูผู้สอนไม่มีความกระตือรือร้น
ไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการสอน
ขาดความเข้าใจในจิตวิทยาการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียนแล้ว
การจัดการเรียนรู้ก็ไม่ประสบ ความสำเร็จ
3. การจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง หรือชีวิตจริงของเด็กแต่ละคนกระทำได้ยาก
4. เนื้อหาสาระที่ผู้เรียนได้รับ อาจจะไม่สัมพันธ์กับพัฒนาการของผู้เรียน
หรือ ได้เนื้อหาสาระไม่ครบถ้วนและขาดความต่อเนื่องของความรู้
ไม่ได้รับความรู้เป็นกอบเป็นกำ หลักสูตรนี้ใช้ได้ดีกับผู้เรียนระดับประถมศึกษา
เพราะสามารถจัดกิจกรรมหรือประกอบการเรียนรู้ได้ง่ายกว่าเด็กโต
5. ต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ เช่น ห้องเรียน
สื่อการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆมิฉะนั้นการจัดการเรียนรู้จะไม่บังเกิดผล
11. หลักสูตรกระบวนการ (the process approach curriculum)
หลักสูตรรูปแบบนี้เน้นวิธีการมากกว่ารูปแบบ
กล่าวคือหลักสูตรอาจเป็นแบบ รายวิชาหรือแบบยึดปัญหาสังคมก็ได้
แต่วิธีการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการ
ดังนั้นการจัดหลักสูตรจะมุ่งการพัฒนาทักษะของกระบวนการเรียนรู้ซึ่งมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีระบบ
เช่น หลักสูตรทักษะทางคณิตศาสตร์ หลักสูตรทักษะทางวิทยาศาสตร์ จึงใช้การสังเกต
ทดลอง จำแนก พยากรณ์ ฯลฯ ให้ผู้เรียนคิด ค้นคว้าหาความรู้
และฝึกปฏิบัติจนรู้แจ้งฉะนั้นสิ่งสำคัญที่ผู้เรียนจะเรียนรู้ไม่ใช่เนื้อหาวิชา
แต่เป็นวิธีการต่างๆเนื้อหาวิชาเป็นเพียงเครื่องมือ ที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะในวิธีการเหล่านั้น
ตัวอย่างหลักสูตรนี้ได้แก่ หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ที่
กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้จัดขึ้น
12. หลักสูตรเกณฑ์ความสามารถ (the competency – based curriculum)
หลักสูตรรูปแบบนี้จัดทำขึ้นเพื่อความแน่ใจว่าผู้ที่จบการศึกษาระดับหนึ่ง
ๆนั้น จะมีทักษะและความสามารถในด้านต่าง ๆ ตามที่ต้องการ
เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้มุ่งเรื่องความรู้หรือเนื้อหา
ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลาแต่จะมุ่งในด้านทักษะ ความสามารถเจตคติและค่านิยม
อันจะมีประโยชน์ต่อชีวิตปัจจุบันและอนาคตของผู้เรียน ในอนาคตถึงแม้ว่าความรู้
จะเปลี่ยนแปลงพัฒนาไป
แต่ผู้เรียนซึ่งเติบโตออกไปในสังคมก็ยังคงสามารถปรับตัวทันความต้องการของสังคมได้
ตัวอย่างของหลักสูตรประเภทนี้คือ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ซึ่งส่วนหนึ่งของหลักสูตรดังกล่าวมีลักษณะแบบนี้ลักษณะของหลักสูตรหลักสูตรนี้มีโครงสร้างซึ่งแสดงให้เห็นถึงเกณฑ์ความสามารถในด้านต่าง
ๆ ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีในแต่ละระดับการศึกษาและในแต่ละชั้นเรียน
ทักษะและความสามารถใน แต่ละชั้นเรียนจะถูกกำหนดให้มีความต่อเนื่องกัน
โดยใช้ทักษะและความสามารถที่ได้รับการฝึกฝนอบรมเบื้องต้นเป็นฐานสำหรับการเพิ่มพูนทักษะและความสามารถในอันดับต่อไป
ข้อดี
1. ง่ายต่อการจัดการเรียนรู้และการวัดผล
2. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความไม่เสมอภาคในการศึกษา
อันเนื่องมาจากความ แตกต่างทางภูมิศาสตร์ของที่ตั้งของโรงเรียน
โดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ในชนบทและในท้องถิ่น ห่างไกลย่อมเสียเปรียบโรงเรียนในเมือง
การจัดครูผู้สอนที่มีคุณภาพตลอดจนสื่อการเรียน
การสอนไม่ใช่ว่าจะประกันในเรื่องความเสมอภาคได้เสมอไป
แต่สิ่งที่พอจะประกันได้ก็คือ
การสร้างทักษะและความสามารถพื้นฐานอย่างต่ำตามเกณฑ์ที่เราคิดว่าผู้เรียนควรมีผลสัมฤทธิ์
หลังจากที่ได้ผ่านการเรียนการสอนแต่ละชั้นหรือแต่ละระดับการศึกษาไปแล้ว
ข้อด้อย
การจัดทำหลักสูตรค่อนข้างยาก
ต้องอาศัยความชำนาญจากนักพัฒนาหลักสูตรรวมทั้งความร่วมมือของบุคคลที่เกี่ยวข้องอีกหลายฝ่าย
เนื่องจากการกำหนดทักษะและ ความสามารถทั้งหมดของผู้เรียนให้ได้มาตรฐานครบถ้วนมีความยุ่งยากและมีหลายขั้นตอนพื้นฐานในการจัดทำหลักสูตรในการจัดทำหลักสูตรหรือที่เรียกว่าการพัฒนาหลักสูตรนั้น
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา สำรวจ วิเคราะห์วิจัย ถึงข้อมูลพื้นฐานในด้านต่าง ๆ
อย่างเพียงพอเพื่อใช้ในการสนับสนุน อ้างอิง และตัดสินใจดำเนินการต่าง ๆ ให้ได้หลักสูตรที่สมบูรณ์ดีพร้อม
ดังที่ธำรง ได้กล่าวถึง ข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้ว่าสามารถช่วยนักพัฒนาหลักสูตร
จากการศึกษาทำให้เกิดความรู้ พอสรุปได้ดังนี้
การออกแบบหลักสูตรเป็นการสร้างความมั่นใจว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้นสามารถนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
เป็นการสร้างพิมพ์เขียว
เพื่อให้ผู้ใช้หลักสูตรได้เห็นประสบการณ์ที่จำเป็นที่ผู้เรียนต้องได้รับ
เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จหรือจุดหมายของการจัดการศึกษานั้นได้
การออกแบบหลักสูตรที่ดีช่วยเพิ่มโอกาสของความสำเร็จในการจัดการศึกษา
2. ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ “การพัฒนาหลักสูตร
: การออกแบบหลักสูตร”
ตอบ คำว่า “หลักสูตร” ภาษาอังกฤษ เขียนว่า Curriculum มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า“currere” หมายถึง “race – course” หรือเส้นทางที่ใช้วิ่งแข่งขัน
เมื่อนำมาใช้ในบริบทของการศึกษา จึงหมายถึง running sequence of
courses or learning experience เปรียบเสมือน
เส้นทางที่ผู้เรียน จะต้องเรียนรู้และฝึกประสบการณ์ นำไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ
(วิชัย วงษ์ใหญ่,2554:105)
ความหมายของ“หลักสูตร” ตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2546 คือ
ประมวลวิชาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในการศึกษา
เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ความหมายของหลักสูตรของนักวิชาการต่างประเทศ
ความหมายของหลักสูตร
ตามความเชื่อทางการศึกษาและความเข้าใจที่แตกต่างกัน
ในส่วนนักการศึกษาและนักพัฒนาหลักสูตรของต่างประเทศ
ได้ให้ความหมายและคำจำกัดความของหลักสูตรไว้ โดยสรุปดังนี้ (สุเทพ อ่วมเจริญ,
2555 : 2-3)
บอบบิต (Bobbit, F. 1918) อธิบายคำว่า หลักสูตร หมายถึง
วิถีทางที่เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ที่เด็กแต่ละคน จะต้องก้าวผ่าน เพื่อเติบโตขึ้น
นอกจากโรงเรียนแล้ว ประสบการณ์นอกโรงเรียนก็นับเป็นส่วนหนึ่งเช่นกัน
เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์ และเลวิส (Salor,
Alexzander and Lewis 1981) ได้ให้คำนิยาม หลักสูตรไว้ว่า
หลักสูตร คือ การจัดเตรียมมวลประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดสัมฤทธิ์ผล
ความมุ่งหมายทางการศึกษาอย่างกว้างๆ และจุดมุ่งหมายเฉพาะโรงเรียน
ปริ้น (Print.M., 1993:9) ได้ศึกษานิยามของนักพัฒนาหลักสูตรแล้ว สรุปว่า หลักสูตรจะกล่าวถึง
· แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
· สิ่งที่เสนอในสถาบันการศึกษา/โปรแกรมการศึกษา
· การนำเสนอในรูปเอกสาร
· รวมถึงผลของประสบการณ์จากการนำเอกสารต่างๆไปใช้
สมิธ (Smith,M.K. 1996) “ได้ให้แนวคิดในการนิยาม“หลักสูตร” ตามทฤษฎีและการปฏิบัติหลักสูตร
4 ทิศทาง ดังนี้
1. หลักสูตรเป็นองค์ความรู้ที่จะส่งผ่านให้ผู้เรียน
2. หลักสูตรเป็นความพยายามที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์
3. หลักสูตรเป็นกระบวนการ
4. หลักสูตรเป็น Praxis หมายถึง
การปฏิบัติของมนุษย์และความเข้าใจในการปฏิบัตินั้น
โอลิว่า (Oliva, 1997) สรุปไว้ว่าหลักสูตร
หมายถึง :
· สิ่งที่นำมาสอนในโรงเรียน
· ชุดของวิชา
· เนื้อหาวิชา
· โปรแกรมการเรียนของนักเรียน
· ชุดของวัสดุ
· ลำดับของรายวิชา
· ชุดของจุดประสงค์การปฏิบัติ
· รายวิชาที่เรียน
· เป็นทุกสิ่งที่ช่วยให้โรงเรียนก้าวหน้าไป
รวมถึงกิจกรรมเสริมในชั้นเรียน การแนะแนว และ
สัมพันธภาพระหว่างบุคคล
· ทุกๆสิ่งที่เป็นแผนงานของบุคลากรในโรงเรียน
· เป็นอนุกรมของประสบการณ์โดยผู้เรียนในโรงเรียน
นอกจากนี้ ผศ. ดร.มาเรียม นิลพันธุ์
ยังได้รวบรวมแนวคิดของนักการศึกษา และนักพัฒนาหลักสูตรของต่างประเทศ
เกี่ยวกับความหมายของหลักสูตร นอกจากที่กล่าวมาแล้ว (มาเรียม นิลพันธุ์,
2543 : 6) ดังนี้
คาสเวลและแคมเบล (Caswell and Cambell,
1935 : 66) ได้ให้คำจำกัดความว่า
หลักสูตรเป็นสิ่งที่ประกอบด้วยประสบการณ์ทั้งมวลของเด็ก ภายใต้การแนะแนวของครู
ไทเลอร์ (Tyler, 1949 : 79) ได้สรุปว่าหลักสูตร เป็นสิ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้ทั้งหมด
โดยมีโรงเรียนเป็นผู้วางแผนและกำกับเพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายของการศึกษา
ทาบา (Taba, 1962 : 11) ให้คำสรุปเกี่ยวกับหลักสูตรอย่างสั้น ๆ ว่า
หลักสูตรเป็นแผนการเกี่ยวกับการเรียนรู้
ไทเลอร์ |
ทาบา |
กู๊ด (Good, 1973 : 157) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ 3 ประการ ดังนี้ คือ
1. หลักสูตร หมายถึง
เนื้อหาวิชาที่จัดไว้เป็นระบบให้ผู้เรียนได้ศึกษา
เพื่อสำเร็จหรือรับประกาศนียบัตรในสาขาวิชาหนึ่ง
2. หลักสูตร หมายถึง
เค้าโครงสร้างทั่วไปของเนื้อหาหรือสิ่งเฉพาะที่จะต้องสอน
ซึ่งโรงเรียนจัดให้แก่เด็กเพื่อให้สำเร็จการศึกษาและสามารถเข้าศึกษาต่อในทางอาชีพต่อไป
3. หลักสูตร หมายถึง
กลุ่มวิชาและการจัดประสบการณ์ที่กำหนดไว้ให้ผู้เรียนได้เรียนภายใต้การแนะนำของโรงเรียนและสถานศึกษา
โอลิวา (Oliva, 1992 : 8-9) ได้ให้นิยามความหมายของหลักสูตรโดยแบ่งเป็นการให้นิยามโดยยึดจุดประสงค์ บริบทหรือสภาพแวดล้อม และวิธีดำเนินการหรือยุทธศาสตร์ ดังนี้
โอลิวา (Oliva, 1992 : 8-9) ได้ให้นิยามความหมายของหลักสูตรโดยแบ่งเป็นการให้นิยามโดยยึดจุดประสงค์ บริบทหรือสภาพแวดล้อม และวิธีดำเนินการหรือยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. การให้นิยามโดยยึดจุดประสงค์ (Purpose) หลักสูตรจึงมีภาระหน้าที่ที่จะทำให้ผู้เรียนควรจะเป็นอย่างไร
หรือมีลักษณะอย่างไรหลักสูตรในแนวคิดนี้จึงมีความหมายในลักษณะที่เป็นวิธีการที่นำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายนั้น
ๆ เช่น หลักสูตร คือ การถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม หลักสูตร คือ
การพัฒนาทักษะการคิดผู้เรียน เป็นต้น
2. การให้นิยามโดยยึดบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Contexts) นิยามของหลักสูตร ในลักษณะนี้จึงเป็นการอธิบายถึงลักษณะทั่วไปของหลักสูตรซึ่งแล้วแต่ว่าเนื้อหาสาระของหลักสูตรนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร
เช่น หลักสูตรที่ยึดเนื้อหาวิชา หรือหลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
หรือหลักสูตรที่เน้นการปฏิรูปสังคม เป็นต้น
3. การให้นิยามโดยยึดวิธีดำเนินการการหรือยุทธศาสตร์ (Strategies) เป็นการนิยามในเชิงวิธีดำเนินการที่เป็นกระบวนการ
ยุทธศาสตร์หรือเทคนิควิธีการในการจัดการเรียนการสอน เช่น หลักสูตร คือ
กระบวนการแก้ปัญหา หลักสูตร คือ การอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม การทำงานกลุ่ม หลักสูตร
คือ การเรียนรู้เป็นรายบุคคล หลักสูตร คือ โครงการหรือแผนการจัดการเรียนการสอน
เป็นต้น
โอลิวา ได้สรุปความหมายของหลักสูตรไว้ว่า
หลักสูตร คือ แผนงานหรือโครงการที่จัดประสบการณ์ทั้งหมดให้แก่ผู้เรียน
ภายใต้การดำเนินงานของโรงเรียน
และในทางปฏิบัติหลักสูตรประกอบด้วยจำนวนของแผนการต่าง ๆ
ที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร และมีขอบเขตกว้างหลากหลาย
เป็นแนวทางของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ต้องการ ดังนั้น หลักสูตรอาจเป็นหน่วย (Unit) เป็นรายวิชา (course) หรือเป็นรายวิชาย่อยต่าง
ๆ (sequence of courses) แผนงานหรือโครงการทางการศึกษาดังกล่าวนี้อาจจัดขึ้นได้ทั้งในและนอกชั้นเรียนหรือโรงเรียนก็ได้
ความเห็นของนักวิชาการไทย
นักวิชาการและนักการศึกษาในประเทศไทย
ได้ให้คำจำกัดความของหลักสูตรไว้ ดังนี้
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2521
: 12) ให้ความหมายว่า หลักสูตร คือ
ข้อกำหนดที่ประกอบด้วยหลักการ จุดหมาย โครงสร้าง แนวทาง วิธีการ เนื้อหา
วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการเรียนการสอน
ธวัชชัย ชัยจิรฉายากุล (2529 : 10-11) กล่าวว่าหลักสูตร หมายถึง
กิจกรรมหรือประสบการณ์ทั้งหลายที่โรงเรียนจัดให้กับผู้เรียน
สวัสดิ์ ประทุมราช และคณะ (2521 : 1) ให้ความหมายเกี่ยวกับหลักสูตรว่า
เป็นแผนหรือแนวทางของการจัดการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน
ที่ชี้แนะให้ผู้บริหารการศึกษา ครู อาจารย์
ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้พยายามจัดสรรประสบการณ์ทั้งมวล
ตามที่หลักสูตรกำหนดให้แก่ผู้เรียนหรือเยาวชนในชาติได้พัฒนาตนเอง
ทั้งในด้านความรู้
ทักษะและคุณสมบัติที่พึงประสงค์ตามจุดหมายของการจัดการศึกษาชาตินั่นเอง
มาเรียม นิลพันธุ์ (2543 : 6) หลักสูตร หมายถึง
เอกสารข้อกำหนดเกี่ยวกับมวลประสบการณ์
เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาไปในแนวทางที่ต้องการ
ศักดิ์ศรี ปาณะกุล (2543 : 2) หลักสูตร หมายถึง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เขียนขึ้นอย่างเป็นทางการ
หรือผ่านการยกร่างอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยรายละเอียดของหลักการ จุดหมาย
โครงสร้างเนื้อหา กิจกรรม แนวทางหรือวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ
การวัดผลและประเมินผล รวมทั้งข้อกำหนดเกี่ยวกับเวลาของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
นิรมล ศตวุฒิ (2543 : 87) หลักสูตร หมายถึง
ประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งหมดที่ผู้รับผิดชอบจัดการศึกษาจัดให้แก่ผู้เรียน
ซึ่งประสบการณ์การเรียนรู้เหล่านี้
ครอบคลุมตั้งแต่ประสบการณ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง
อันได้แก่ประสบการณ์เรียนรู้ที่กำหนดไว้ในจุดหมายของหลักสูตร
ประสบการณ์ในขั้นดำเนินการ อันได้แก่
ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากเนื้อหาวิชา
และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นผลของการจัดการเรียนการสอนอันได้แก่ประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับไปแล้ว
และจะนำไปใช้ต่อไปโดยสรุปผลที่ได้จากแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และการประเมินหลักสูตร
กาญจนา คุณารักษ์ (2553 : 38) หลักสูตรคือ โครงการหรือแผน หรือข้อกำหนด อันประกอบด้วยหลักการ จุดหมาย โครงสร้าง กิจกรรมและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆในการจัดการเรียนการสอนที่จะพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ โดยส่งเสริมให้เอกัตบุคคลไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนเอง รู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน ในสังคม และในโลกอย่างมีคุณภาพและอย่างมีความสุข
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2554:6) วิเคราะห์ความหมายของหลักสูตรซึ่งโอลิวา (Oliva,
2009:3) ให้ไว้ พบว่าความหมายที่แคบของหลักสูตรคือ วิชาที่สอน
ส่วนความหมายที่กว้างของหลักสูตรคือ มวลประสบการณ์ทั้งหลายที่จัดให้กับผู้เรียน
ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ซึ่งเป็นทั้งทางตรงและทางอ้อม
ธำรง บัวศรี (2542 : 7) ได้กล่าวถึงความหมายของหลักสูตร คือ
แผนซึ่งได้ออกแบบจัดทำขึ้นเพื่อแสดงจุดหมาย การจัดเนื้อหากิจกรรม
และประมวลประสบการณ์ ในแต่ละโปรแกรมการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในด้านต่างๆ
ตามจุดหมายที่กำหนดไว้
สุเทพ อ่วมเจริญ (2555:4) สรุปว่าหลักสูตร
หมายถึง
ศาสตร์ที่เรียนรู้เพื่อนำไปกำหนดวิถีทางที่นำไปสู่การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเพื่อการเรียนรู้
ผศ. ดร.มาเรียม นิลพันธุ์ |
ศักดิ์ศรี ปาณะกุล |
นิรมล ศตวุฒิ |
กาญจนา คุณารักษ์ (2553 : 38) หลักสูตรคือ โครงการหรือแผน หรือข้อกำหนด อันประกอบด้วยหลักการ จุดหมาย โครงสร้าง กิจกรรมและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆในการจัดการเรียนการสอนที่จะพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ โดยส่งเสริมให้เอกัตบุคคลไปสู่ศักยภาพสูงสุดของตนเอง รู้จักตนเอง มีชีวิตอยู่ในโรงเรียน ในสังคม และในโลกอย่างมีคุณภาพและอย่างมีความสุข
วิชัย วงษ์ใหญ่ |
ธำรง บัวศรี |
สุเทพ อ่วมเจริญ |
สรุปความหมาย “หลักสูตร”
หลักสูตร คือ โครงสร้างของเนื้อหาวิชา
หรือประสบการณ์ต่าง ๆ หรือศาสตร์ต่างๆ
ที่กำหนดให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ
รวมทั้งการมีส่วนร่วมกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์
1.2 วิพากษ์/นิยาม ความหมายของหลักสูตร
การให้ความหมาย “หลักสูตร”ของนักการศึกษาต่างประเทศ และนักการศึกษาไทยแตกต่างกันมากมาย
เนื่องจากคำว่า“หลักสูตร”มีความหมายกว้าง
และไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะรายวิชาที่อยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น
แต่มีความหมายที่หลากหลาย ทั้งศาสตร์และศิลป์ที่อยู่นอกห้องเรียน
บ้างก็ว่าคือข้อกำหนด บ้างก็ว่าคือแผนงาน บ้างก็ว่าคือประสบการณ์
การให้คำนิยามดังกล่าวอยู่ที่ความเชื่อ ความเข้าใจ และมวลประสบการณ์เดิมของคนนั้นๆ
นอกจากนั้นก็ให้นิยามตามวิธีดำเนินการ กระบวนการ ยุทธศาสตร์ หรือแม้แต่เทคนิค
วิธีจัดการเรียนการสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น