พระธรรมปิฎก (2539 : 2-4) กล่าวว่า ทรัพยากรมนุษย์เป็นคำที่เกิดมาไม่นานนักเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในช่วงที่เน้นเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและต่อมาก็ขยายไปถึงการพัฒนาสังคม เป็นการมองคนอย่างเป็นทุน เป็นเครื่องมือ เป็นปัจจัยหรือเป็นองค์ประกอบที่ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งต่อมาเราเห็นว่าการที่จะพัฒนา โดยมุ่งเน้นแต่ในด้านเศรษฐกิจนั้นไม่ถูกต้องแต่สิ่งสำคัญคือคนเรานี่เอง ซึ่งควรจะให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เราจึงหันมาเน้นในเรื่องการพัฒนาคนแต่ก็ยังมีการใช้ศัพท์ที่ปะปนกันบางทีใช้คำว่า ”ทรัพยากรมนุษย์” บางทีใช้คำว่า ”พัฒนามนุษย์”
การพัฒนามนุษย์ในฐานะที่เป็นมนุษย์กับการพัฒนามนุษย์ในฐานะที่เป็นทรัพยากรมนุษย์นี้ มีความหมายต่อการศึกษา เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการในการพัฒนาคนทั้งในฐานะที่เป็นมนุษย์ โดยตัวของมันเองและในฐานะที่เป็นทรัพยากร ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ การศึกษาเพื่อพัฒนาตัวมนุษย์นั้นเป็นการศึกษาที่เรียกได้ว่าเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน(การศึกษาระยะยาว) ส่วนการศึกษาเพื่อพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์มีความหมายขึ้นกับกาลเทศะหรือยุคสมัยมากกว่า คือ เป็นการศึกษาที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของสมัยนั้น(การศึกษาระยะสั้น) เช่น เพื่อสนองความต้องการของสังคมในด้านกำลังคนในสาขางานและกิจการต่างๆ ฉะนั้นเราจึงควรจัดการศึกษาทั้งสองอย่างนี้ให้สัมพันธ์กันเพราะถ้าเราสามารถพัฒนาทั้งสองส่วนนี้ให้สัมพันธ์กันจนเกิดดุลยภาพขึ้นก็จะเป็นผลดีต่อชีวิตและสังคมอย่างมาก
พระธรรมปิฎก(2540 : 1) กล่าวว่า ชีวิตจะดีงามมีความสุขประเทศชาติจะรุ่งเรืองมั่นคงและสังคมจะร่มเย็นเกษมสันต์ด้วยปัจจัยที่สำคัญ คือ การพัฒนาคนซึ่งจะทำให้คนเป็นคนดีมีความสุขและเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ การพัฒนาคน คือ การศึกษาที่มีการศึกษาตลอดจนจบการศึกษาและเรียกว่า
“บัณฑิต” โดยบัณฑิตก็คือ คนที่ดำเนินชีวิตด้วยปัญญาเป็นอยู่ด้วยความไม่ประมาทพัฒนาชีวิตตนบรรลุถึงประโยชน์ที่เป็นจุดมุ่งหมายของชีวิต
การพัฒนา (Development) เป็นการฝึกอบรมมีความสามารถใหม่ เพื่อรับรองเทคโนโลยีใหม่มุมมองใหม่ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถสร้างสรรค์งานได้ผลดียิ่งขึ้น มีบริการที่รวดเร็วกว่ามีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น เป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนารายบุคคลแต่ไม่เกี่ยวข้องกับงานปัจจุบันหรืออนาคต บุคลากรในองค์กรทำให้องค์กรได้เปรียบในการแข่งขัน ทำให้อยู่ในแนวหน้าปัจจุบันเราเรียกองค์กรนี้ว่า “องค์กรแห่งความรู้” การพัฒนามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์กรที่เป็นระบบ ทำให้องค์กรเกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง มีการปรับบทบาทหน้าที่การคงอยู่ขององค์กร
กล่าวโดย สรุปการศึกษาในฐานะเครื่องมือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มุ่งการจัดระบบประสบการณ์การเรียนรู้ การดำเนินการภายในเวลาที่จำกัด เพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จในการเจริญเติบโตของงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development) ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 มีเจตนารมณ์ที่ต้องการเน้นย้ำว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไป เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบคือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยหลักสูตรการศึกษาระดับต่างๆต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้จัดให้ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติทั้ง 3 ฉบับนี้ถือได้ว่า เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการศึกษา สรุปหลักการด้านหลักสูตรปรากฏตามมาตราต่างๆ ดังนี้
มาตรา 8(3) การพัฒนา สาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
มาตรา 27 ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรภาคบังคับ การศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพตลอดจน เพื่อการศึกษาต่อให้สถาบันขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่นคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ
มาตรา ๒๘ หลักสูตรสถานศึกษาต่างๆรวมทั้งหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับคนพิการต้องมี หลากหลาย ทั้งนี้ให้จะตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมกับวัยและศักยภาพ
สาระของหลักสูตรทั้งที่เป็นวิชาการและวิชาชีพต้องมุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ความคิด ความสามารถ ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคม
นอกจากคุณลักษณะในวรรคหนึ่งและวรรคสองแล้วยังมีจุดมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการวิชาชีพชั้นสูงและด้านการค้น คว้าวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาทางสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น