6 ต.ค. 2561

กิจกรรม(Activity) บทที่ 5

กิจกรรมท้ายบท 
1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
ตอบ การพัฒนาหลักสูตร พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
            การพัฒนาหลักสูตรมีสิ่งที่จะต้องกระทาเป็นประการแรก คือการกำหนดความมุ่งหมาย ในการกำหนดความมุ่งหมายจะต้องคำนึงถึงจิตวิทยา ปรัชญา เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง สังคม จริยธรรม วัฒนธรรม และเทคโนโลยีซึ่งแวดล้อมตัวผู้เรียน 

รูปแบบจาลองโลกแห่งการศึกษา 
            โลกแห่งการศึกษาประกอบด้วยวงกลมซึ่งเปรียบเสมือนโลกที่มีองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอย่างน้อย 3 ประการ คือ 1) พื้นฐานทางปรัชญา 2) พื้นฐานทางจิตวิทยา และ 3) พื้นฐานทางสังคม โดยมีสามเหลี่ยมแห่งการศึกษาที่มีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่
             1. K = ด้านความรู้ (Knowledge) กากับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสำรัตถุนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Parennialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง
             2. L = ด้านผู้เรียน (Learner) กากับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
             3. S = ด้านสังคม (Social) จะกากับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา
             พื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรโดยทั่วไปประกอบด้วยพื้นฐาน 4 ด้าน ได้แก่ พื้นฐานด้านปรัชญาการศึกษา พื้นฐานด้านจิตวิทยา พื้นฐานด้านสังคม และพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1. พื้นฐานทางด้านปรัชญาการศึกษา
             ปรัชญาการศึกษา คือแนวความคิด หลักการ และกฎเกณฑ์ในการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา ซึ่งนักการศึกษาได้ยึดเป็นหลักในการดาเนินการทางการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ปรัชญาการศึกษาพยายามทาการวิเคราะห์และทาความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษา ทาให้สามารถมองเห็นปัญหาของการศึกษาได้อย่างชัดเจน ปรัชญาการศึกษาจึงเปรียบเหมือนเข็มทิศนาทางให้นักการศึกษาดาเนินการทางการศึกษาดาเนินการทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ ชัดเจน และสมเหตุสมผล
ปรัชญาการศึกษา สามารถแบ่งเป็นยุคสมัยได้ดังนี้
              ยุคสมัยเก่า เน้นความรู้ (Knowledge) โดยใช้ปรัชญาการศึกษา ดังนี้
             -ปรัชญาสารัตถนิยมหรือสาระนิยม (essentialism) เป็นปรัชญาที่ได้รับอิทธิพลจากปรัชญาทั่วไปสาขาจิตนิยม (idealism) และสัจนิยม (realism) ถือว่าบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเป็นเครื่องมือของสังคม และสืบทอดวัฒนธรรมของสังคมให้คงอยู่ต่อไป การจัดการศึกษาตามแนวคิดนี้จึงมีลักษณะเป็นการถ่ายทอด และอนุรักษ์วัฒนธรรมของสังคม เนื้อหาวิชาที่นามาสอนจะเป็นการเตรียมผู้เรียนให้มีชีวิตที่ดี เช่น การอ่าน การเขียน เลขคณิต ประวัติศาสตร์วรรณคดี ปรัชญา ศาสนา เป็นต้น
             -ปรัชญานิรันตรนิยม (parennialism) ปรัชญานี้มีความเชื่อว่า สิ่งที่มีความคงทนถาวร ย่อมเป็นสิ่งที่ดีงามเป็นจริงมากกว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ การจัดการศึกษาจึงควรให้เรียนในสิ่งที่ดีงาม มั่นคง มีเสถียรภาพ เนื้อหาวิชาที่เรียนจะเป็นวิชาที่พัฒนาเชาวน์ปัญญาและจิตใจ เช่น วิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ ภาษาศาสตร์ วรรณคดี ไวทยากรณ์ศิลปะการพูด คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และดนตรี
             ยุคสมัยปัจจุบัน เน้นผู้เรียน (Learner) โดยใช้ปรัชญาการศึกษา ดังนี้
            -ปรัชญาอัตนิยม หรือปรัชญาอัตถิภาวนิยม หรือปรัชญาสวภาพนิยม(existentialism) ปรัชญานี้ มีความเชื่อว่า ธรรมชาติของคน สภาพแวดล้อมทางสังคมเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ ทุกคนสามารถกำหนดชีวิตของตนเองจึงเน้น การอยู่เพื่อปัจจุบัน การปรับตัวให้เข้ากับสภาพของสังคม เผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้อยู่อย่างมีความสุขการจัดการศึกษาจึงให้ ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ การตัดสินใจ สอนให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง มีเสรีภาพในการเรียน และเลือกเรียนมีความรับผิดชอบในตนเอง
แนวคิดใหม่ เน้นสังคม (Society) โดยใช้ปรัชญาการศึกษา ดังนี้
            -ปรัชญาปฏิรูปนิยม(reconstructionism) ปรัชญานี้มีความเชื่อว่าการศึกษาควรจะเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงสังคมโดยตรง เน้นการจัดการศึกษาเพื่อสร้างสังคมให้ดี รู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคม ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ดังนั้นผู้เรียนต้องหาประสบการณ์ด้วยตนเองให้มาก การจัดหลักสูตรยึดอนาคตเป็นศูนย์กลาง มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถและทัศนคติที่จะออกไปปฏิรูปสังคมให้ดีขึ้น
2. พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
             ข้อมูลพื้นฐานทางจิตวิทยาเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญและจาเป็นที่นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษาวิเคราะห์ หรืออาศัยนักจิตวิทยาให้ข้อมูลที่จาเป็นและถูกต้องไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดทาหลักสูตร ในประเด็น การกำหนดจุดมุ่งหมายหลักสูตร คาบเรียน เกณฑ์อายุมาตรฐานการเข้าเรียน การจัดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้
พื้นฐานทางด้านจิตวิทยาในการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้
             -ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist theory) มีความเชื่อว่าปัจจัยหลักที่มีผลต่อ พฤติกรรมของมนุษย์นั้นน่าจะมาจากสิ่งเร้าใน สภาพแวดล้อม นั่นคือ ถ้าครูสามารถจัดสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมแล้วก็จะสามารถทาให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             -ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มความรู้นิยมหรือปัญญานิยม (Cognitivist theory) นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยมให้ความสนใจในการศึกษาปัจจัยภายในตัวบุคคลที่เรียกว่าโครงสร้างทางปัญญา (cognitive structure) ที่มีผลต่อความจา การรับรู้และการแก้ปัญหาของบุคคล การกระทาต่าง ๆ ของบุคคลนั้นเกิดขึ้นจากตัวบุคคลนั้นเองไม่ใช่เกิดจากเงื่อนไข
              -ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanist theory) หรือกลุ่มแรงจูงใจ (motivationtheory) นักจิตวิทยากลุ่มนี้ไม่ยอมรับว่าการเรียนรู้เกิดจากการกำหนดเงื่อนไขและกลไกต่าง ๆ แต่เขาให้ความสนใจในลักษณะเฉพาะซึ่งเป็นลักษณะของปัจเจกบุคคลโดยเน้นสิ่งที่เรียกว่าตัวตน (self) ตลอดจนความมีอิสรภาพการที่ บุคคลได้มีโอกาสเลือก การกาหนด้วยตนเอง (self-determinism) ตามแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้จะเน้นที่เด็กเป็นศูนย์กลาง
              -ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสรรค์สร้างนิยม(Constructivism theory) เป็นปรัชญาการศึกษาที่ตั้งอยู่บนฐานความเชื่อที่ว่าผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งความรู้นี้จะฝังติดอยู่กับคนสร้าง ดังนั้นความรู้ของแต่ละคนเป็นความรู้เฉพาะตัวเป็นสิ่งที่ตนสร้างขึ้นเองเท่านั้น โดยนักเรียนจะเป็นผู้กำหนดหรือมีส่วนร่วมในการกำหนดสิ่งที่จะเรียนและวิธีการเรียนของตนเอง และเป็นผู้ตัดสินว่าตนเองจะได้เรียนรู้อะไร เรียนรู้อย่างไรและพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างไร สามารถนาสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในบริบทอื่นได้อย่างเหมาะสม เรียนรู้จากการปฏิบัติมีอิสระในการคิดและทาสิ่งต่างๆเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนด้วยตนเอง และเรียนรู้บรรยากาศการเรียนที่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ภายใต้การอานวยความสะดวกของครู
3. พื้นฐานทางด้านสังคม
                บทบาทหน้าที่ที่สำคัญของการศึกษา คือการอนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมที่ดีงามและสังคมไปสู่คนรุ่นหลังและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางสังคมให้สอดคล้อง ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้ง สนองความต้องการและช่วยแก้ปัญหาสังคมในด้านต่าง ๆ ดังนั้นการศึกษา จึงเป็นเครื่องมือในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงของสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่พึ่งปรารถนา การพัฒนาหลักสูตรจึงต้องให้มีความสอดคล้องกับสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมที่แปรเปลี่ยนได้อยู่เสมอ จึงจะสามารถแก้ปัญหาและสนองความต้องการของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพสังคม
                หนังสือคลื่นลูกที่ 5 ปราชญ์สังคม ของเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการคลื่นลูกที่ห้าอันเป็นคลื่นของสังคมแห่งอนาคต ซึ่งแสดงให้เห็นพัฒนาการของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดยั้ง คลื่นลูกใหม่ๆจะเกิดขึ้นตามมาอีก อันเป็นวัฏจักรธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อประมวลภาพที่นักอนาคตวิทยาพยายามฉายภาพให้เห็นเป็นรูปธรรมแล้วสามารถสรุปลักษณะของพัฒนาการของสังคมและพฤติกรรมการสื่อสารในยุคต่างๆได้ดังนี้ 
                1. ยุคสังคมเกษตรกรรม (Agricultural Society) เป็นสังคมเชิงซ้อนที่มีสมาชิกในครัวเรือนอยู่ร่วมกันหลายรุ่น รู้จักทาการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ สังคมอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการศึกษาจะสอนการดารงชีวิตตามสภาพ
                2. ยุคสังคมอุตสาหกรรม (Industrial Society) ในยุคนี้สังคมมีการพัฒนาแปรรูปเป็นสังคมเชิงเดี่ยว มีการใช้แรงงานเด็กและสตรนโรงงาน เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรกรรมมาสู่ภาคอุตสาหกรรม การจัดการศึกษาใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือทาเป็นขั้นตอน จัดระบบเป็นหมวดหมู่ เป็นระเบียบ
                3. ยุคสังคมข่าวสาร (Information Society) สังคมในยุคนี้มีการพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์ ด้านเครือข่ายการสื่อสารและคมนาคม ทาให้ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว มนุษย์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยในการสืบค้นข้อมูล จัดเก็บสารสนเทศเพื่อให้สามารถนามาใช้งานได้สะดวกรวดเร็วช่วยนกในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
                4. ยุคสังคมฐานการเรียนรู้ (Knowledge based Society) ในยุคนี้ทุกคนถูกบังคับให้ต้องให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นตามลาดับ โดยมีความรู้เป็นแกนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการปรับตัวไปในทิศทางที่เหมาะสม ดังนั้นสภาพของแรงงานในยุคนี้จะเป็นแรงงานที่มีความรู้
                5. ยุคสังคมปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence society) จะเน้นการใช้ปัญญาควบคู่กับการพัฒนา ความสำเร็จของประเทศและสังคมในยุคนี้ไม่ขึ้นอยู่กับจานวนทรัพยากรธรรมชาติหรือวัตถุดิบใดๆ แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถและวิสันทัศน์ทางปัญญาของประชาชนและผู้นาในสังคมที่สามารถบริหารจัดการให้เกิดการพัฒนาที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้สังคมอนาคตของมนุษยชาติ
4. พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย
                ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทาให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก นักพัฒนาหลักสูตรจึงต้องใช้ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประกอบการกำหนดเนื้อหาของหลักสูตร และวิธีการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือกำหนดเนื้อหาที่พอเพียง ทันสมัย ให้ผู้เรียนได้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กำหนดให้ใช้วิธีการและสื่อการเรียนที่มีความทันสมัย
พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเกี่ยวข้องกับการจัดทาหลักสูตรใน 2 ลักษณะคือ
         4.1 เป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาคนให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงในสังคม
         4.2 การนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2.แลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนนักศึกษา หรือผู้รู้ เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาของประเทศไทยได้รบอิทธิพลหรือปัจจัยสำคัญใด
ตอบ ผลการดาเนินงานบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ปัญหา/อุปสรรคในการดาเนินงานและข้อมูลจากการติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรทั้งหมด จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาในปีต่อ ๆ ไป
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้อง
               ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทาให้การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาประสบผลสำเร็จก็คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน เนื่องจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลักสูตรที่กระจายอำนาจการจัดการศึกษาแก่สถานศึกษา ทั้งในด้านการบริหารวิชาการ การบริหารจัดการ และการใช้หลักสูตร เป็นกระบวนการนาหลักสูตรแกนกลางในระดับชาติไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา จึงต้องได้รับการสนับสนุน ส่งเสริม และร่วมมือจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับ โดยที่การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเน้นความสำคัญในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 22 กำหนดแนวทางไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ”
                ดังนั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรและจัดกระบวนการเรียนรู้จึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีเป้าหมายที่การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือเป็น “คนเก่ง คนดี และมีความสุข” โดยมีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ดังนี้
1. ผู้บริหารสถานศึกษา
                ผู้บริหารสถานศึกษาที่ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา เข้าใจบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารอย่างถ่องแท้และนาไปปฏิบัติอย่างจริงจังแบบต่อเนื่อง จะช่วยให้การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาประสบผลสำเร็จได้อย่างมีคุณภาพ ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากการสั่งการมาเป็นผู้ร่วม คือ ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรมีบทบาทดังนี้
        1.1 จัดทาแผนพัฒนาสถานศึกษาเพื่อใช้ในการดาเนินการจัดการศึกษา
        1.2 เป็นผู้นาในการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษาโดยร่วมประสานกับบุคลากรทุกฝ่าย เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ตลอดจนสาระตามหลักสูตรสถานศึกษา
        1.3 ประชาสัมพันธ์หลักสูตรสถานศึกษา
        1.4 สนับสนุนให้บุคลากรทุกฝ่ายของสถานศึกษามีความรู้และความสามารถในการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษา รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
        1.5 มีการนิเทศภายใน เพื่อนิเทศ กากับ ติดตามการใช้หลักสูตรสถานศึกษาอย่างมีระบบ
        1.6 จัดให้มีการประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อปรับปรุง พัฒนาสาระของหลักสูตรสถานศึกษาให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและท้องถิ่น
2. ครูผู้สอน
                ครูผู้สอนมีบทบาทโดยตรงในการร่วมพัฒนาหลักสูตร จัดการเรียนรู้ ครูในยุคปฏิรูปการศึกษาจะต้องปรับเปลี่ยนจากการเป็นผู้สอน เป็นผู้เอื้ออานวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการชี้แนวทางการนาความรู้จากแหล่งต่างๆ มาใช้ประโยชน์ กล่าวคือ ทาให้ผู้เรียนรู้วิธีการเข้าถึงแหล่งข้อมูล มีทักษะในการใช้สื่อ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการสืบค้นข้อมูลมาใช้ได้สะดวก วิธีการที่ครูสามารถทาได้ในฐานะผู้เอื้ออานวยความสะดวกที่ดี เช่น ให้โอกาสผู้เรียนเข้าไปใช้บริการสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดของ
                โรงเรียน บอกแหล่งที่มาของข้อมูลให้ผู้เรียนที่สนใจสามารถสืบค้นได้จากซีดีรอม หรือจากโฮมเพจในอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
                นอกจากนี้ ครูยังต้องปรับบทบาทจากการเป็นผู้ป้อนข้อมูล เป็นผู้ให้คาแนะนาปรึกษา โดยครูจะต้องตระหนักเสมอว่า ตนเองไม่ใช่ผู้กำหนดความรู้ แต่เป็นผู้สอนแก่นความรู้ในวิชาที่สอน และแนะวิธีการคิด ให้กรอบในการวิเคราะห์เนื้อหาวิชาการ แนะนาการพิจารณาข้อมูลที่จะเลือกนามาใช้ แนะนาเรื่อง ทั่วๆ ไปที่จาเป็นต่อการดาเนินชีวิตของผู้เรียนด้วย เช่น ให้คาปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การพัฒนาบุคลิกภาพ มารยาท การป้องกันตนเองจากภัยอันตรายต่าง ๆ เป็นต้น 
                 ครูจะทาหน้าที่เป็นผู้ให้คาแนะนา ปรึกษาแก่นักเรียนและเป็นผู้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ก็ต่อเมื่อครูเป็นผู้ที่เรียนรู้มาก่อน นั่นหมายความว่า ครูจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ เป็นคนช่างสังเกตและคิดแตกฉานกับข้อมูลและความรู้ที่ผ่านเข้ามาในสมองด้วยการตั้งคาถามและหาทางพิสูจน์เรื่องเหล่านี้ให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ครูไม่เพียงแต่จะมีบทบาทหน้าที่ในการจัดการเรียนรู้เท่านั้น แต่ครูยังต้องมีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ดังต่อไปนี้ (กรมวิชาการ 2543 : 16)
          2.1 ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจนเข้าใจกระจ่าง
          2.2 ศึกษาหลักการ วิธีการพัฒนาหลักสูตรระดับสถานศึกษา
          2.3 ร่วมวางแผน และร่วมพัฒนาหลักสูตรระดับสถานศึกษา
          2.4 ตรวจสอบความสอดคล้องสัมพันธ์กันของสาระที่จัดทาขึ้นตามสภาพปัญหา/ความต้องการของชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น กับมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มวิชาและมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          2.5 วางแผนการจัดการเรียนการสอนตามขอบข่ายเนื้อหาสาระ มาตรฐาน สัดส่วนของเวลา และหน่วยการเรียนรู้
          2.6 นาหลักสูตรไปปฏิบัติให้เกิดผลในห้องเรียน โดยเลือกใช้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับธรรมชาติของสาระการเรียนรู้และเหมาะสมกับผู้เรียน
          2.7 วางแผนและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ได้ข้อมูลที่แสดงความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละช่วงนั้น และนาผลการประเมินมาพัฒนาผู้เรียนต่อไป
          2.8 ร่วมประเมินผลการใช้หลักสูตรกับสถานศึกษา
3. ผู้เรียน
                 เนื่องจากผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการกำหนดจุดหมายของการพัฒนาหลักสูตร หลักสูตรทุกหลักสูตรพัฒนาขึ้นเพื่อสนองความต้องการของผู้เรียนโดยตรง ผู้เรียนจึงควรมีส่วนแสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลที่สะท้อนความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียนให้ผู้รับผิดชอบพัฒนาหลักสูตรได้ทราบ และเนื่องจากผู้เรียนเป็นผลผลิตของการจัดการศึกษาโดยตรง ผู้เรียนจะมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์คือเป็นคนดี มีปัญญา และมีความสุขได้ ผู้เรียนจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ของตนจากการเป็นผู้รับมาเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความสามารถของตนเอง
บทบาทหน้าที่ของผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีดังนี้
        3.1 มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับผู้ปกครองและครู วางแผนการเรียนรู้ของตนเองตามความถนัด ความสนใจและความสามารถของตนเอง
        3.2 มีความรับผิดชอบ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และบริหารจัดการเรียนรู้ของตนเองให้มีคุณภาพ
        3.3 ปฏิบัติตนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ รู้วิธีแสวงหาความรู้ พร้อมทั้งสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
        3.4 มีการประเมินและพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
        3.5 มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับครูและเพื่อนโดยช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน
4. ผู้ปกครอง
                 การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้เปิดโอกาสให้บิดามารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายร่วมมือกับสถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพัฒนาผู้เรียน
                 ตามศักยภาพ (มาตรา 24) ฉะนั้น บิดามารดาและผู้ปกครองจะต้องปรับเปลี่ยนความคิดในการฝากบุตรหลานไว้ในความดูแลของครูมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยผู้ปกครองควรจะมีบทบาท ดังนี้
          4.1 กำหนดแผนการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกับครูและผู้เรียน
          4.2 มีส่วนร่วมในการกำหนดสาระของหลักสูตรสถานศึกษา และกำหนดแผนพัฒนาสถานศึกษาหรือธรรมนูญสถานศึกษา
          4.3 ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
          4.4 อบรมเลี้ยงดู เอาใจใส่ ให้ความรักความอบอุ่น ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่างๆ ของผู้เรียน
          4.5 สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษาตามความเหมาะสม
          4.6 ร่วมมือกับครูและผู้เกี่ยวข้อง ประสานงาน ป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้เรียน
          4.7 พัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีความรู้คู่คุณธรรม เป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อนาครอบครัวไปสู่สถาบันแห่งการเรียนรู้
          4.8 มีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนและการประเมินการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
5. ชุมชน
                พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทาหลักสูตรและบริหารจัดการให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่กลมกลืนกับท้องถิ่น และร่วมกับสถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยมีบทบาทดังนี้
        5.1 มีส่วนร่วมในการจัดทาแผนพัฒนาสถานศึกษาหรือธรรมนูญของสถานศึกษา
        5.2 มีส่วนร่วมในการกำหนดสาระของหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
        5.3 เป็นแหล่งการเรียนรู้ สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากสถานการณ์จริง
        5.4 ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของสถานศึกษา
        5.5 มีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา
การมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
              การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาจะประสบผลสำเร็จได้ด้วยดี จะต้องได้รับความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการดาเนินงานจากบุคลากรทุกฝ่าย ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน บิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลหรือหน่วยงานในชุมชน ได้แก่ องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น
               พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในลักษณะต่าง ๆ หลายลักษณะ โดยถือว่าการจัดการศึกษาเป็นภาระหน้าที่สาหรับทุกคน การมีส่วนร่วมของประชาชนหรือบุคลากรทุกฝ่ายอาจดาเนินการได้หลายทาง ได้แก่
1. การมีส่วนร่วมเป็นกรรมการ
                ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาจะต้องทาความเข้าใจกับประชาชนที่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการเกี่ยวกับการศึกษา ให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน เพราะการเป็นกรรมการไม่ใช่เรื่องของอภิสิทธิ์ส่วนตัว แต่เป็นภาระเพื่อประโยชน์ส่วนรวม กรรมการมีหน้าที่กากับ ดูแล ให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาทาหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน
               ดังนั้น กรรมการจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอน การบริหารและการจัดการศึกษา ระบบการประกันคุณภาพ การจัดทาหลักสูตร การประเมินคุณภาพการศึกษา การระดมทรัพยากรการเงินและบุคคลเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา เป็นต้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเป็นกรรมการได้เข้าใจบทบาทหน้าที่อย่างจริงจัง สถานศึกษาควรจัดทาคู่มือการเป็นกรรมการและนาเสนอผ่านสื่อ การปฐมนิเทศ หรือการฝึกอบรมสาหรับกรรมการที่ยังขาดประสบการณ์ รวมทั้งมีการติดตามประเมินผลการดาเนินงานของกรรมการด้วย
2. การร่วมจัดการศึกษา
                 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 57 กำหนดให้หน่วยงานการศึกษาระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยนาประสบการณ์ ความรอบรู้ ความชำนาญและภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคคลมาใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาและยกย่องเชิดชูผู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา
3. การร่วมสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
                 บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นจะร่วมสนับสนุนการศึกษาได้โดยร่วมกันให้ความรู้หรือประสบการณ์ในฐานะทรัพยากรบุคคลหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือสนับสนุนโดยการบริจาคทรัพย์สิน หรือทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา รวมทั้งการมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจาเป็นด้วย
4. การร่วมกำกับดูแล
                 เนื่องจากการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดเงื่อนไขใหม่ๆ เช่น ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องทาหน้าที่ให้เหมาะสม สอดคล้องกับจรรยาบรรณและมาตรฐานของวิชาชีพ สถานศึกษาต้องมีระบบประกันคุณภาพ เป็นต้น ดังนั้นประชาชนจึงควรมีส่วนร่วมเรียกร้องคุณภาพทางการศึกษาที่เป็นมาตรฐาน ทักท้วง ตักเตือน หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมประเมินคุณภาพของบุคคลและสถานศึกษา รวมทั้งร่วมยกย่องเชิดชูเกียรติครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมด้วย
                  หากบุคลากรในสถานศึกษาทุกคนได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเต็มที่ และเปิดโอกาสให้บุคคลและหน่วยงานนอกสถานศึกษาได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ทั้งในฐานะกรรมการสถานศึกษา วิทยากรหรือปราชญ์ชาวบ้าน หรือในฐานะผู้ให้การสนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษาและฐานะผู้ประเมินคุณภาพของสถานศึกษาแล้ว ย่อมเชื่อมั่นได้ว่าสถานศึกษานั้นจะประสบผลสำเร็จในการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาและการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา

สรุป(Summary)

             ข้อมูลหรือประองค์ประกอบต่างๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรมีมากมาย เพราะการพัฒนาหลักสูตรเป็นงานที่มีขอบเขตกว้างขวางจึงจำเป็นต้องอาศัยกำลังคนและกำลังสมองจากกลุ่มคนหลายๆ กลุ่ม เช่น นักวิชาการ นักวิจัย นักจิตวิทยา นักสังคมศาสตร์ นักการศึกษา นักการเมือง นักเศรษฐศาสตร์ ผู้บริหารทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง สถานประกอบการ และคนในชุมชน การพัฒนาหลักสูตรที่สมบูรณ์และรอบคอบจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจากบุคคลเหล่านี้ จึงจะเป็นหลักสูตรพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการทางการศึกษา ตอบสนองต่อผู้เรียน และตอบสนองต่อสังคม
             ข้อมูลพื้นฐานเป็นข้อมูลในด้านต่างๆ ที่จำเป็นซึ่งนักพัฒนาหลักจะต้องศึกษาวิเคราะห์ และใช้ประกอบการพิจารณาในการสร้างหรือจัดทำหลักสูตรในทุกองค์ประกอบของหลักสูตร อันได้แก่ ข้อมูลทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง การพัฒนาการทางเทคโนโลยี ประวัติศาสตร์การศึกษา หลักสูตรเดิม ข้อมูลจากบุคลากรและจิตวิทยาการศึกษา การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเป็นขั้นตอนแรกสุดของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวจะนำไปใช้ในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่กระบวนการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร กระบวนการกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและกระบวนการประเมินผลเพื่อให้ได้หลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสังคม อีกทั้งเหมาะสมกับลักษณะโครงสร้างของความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ และเป็นหลักสูตรที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศชาติไปในทิศทางที่ต้องการได้

Power point สรุปองค์ความรู้สัปดาห์ที่ 6



5 ต.ค. 2561

ข้อมูลพื้นฐานทางประวัติศาสตร์และการศึกษาหลักสูตรเดิม

             ประวัติศาสตร์มีความสำคัญต่อชีวิตและการกระทำในปัจจุบัน ดังคำกล่าวที่ว่า ปัจจุบันผลของอดีตและอนาคตเป็นผลปัจจุบัน เพราะฉะนั้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และการศึกษาหลักสูตรในอดีตย่อมมีประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาและการจัดทำหลักสูตรในปัจจุบัน การศึกษาไทยกับประวัติศาสตร์ไทยมีความผูกพันกันอย่างแน่นเฟ้น เพราะเหตุการณ์ในชาติย่อมมีผลกระทบต่อการศึกษาเสมอ นักการศึกษาและนักพัฒนาหลักสูตรจึงจำเป็นต้องมีความรู้หรือข้อมูลศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติ รวมทั้งประวัติศาสตร์ควบคู่กันไป เพราะเราต้องอาศัยพื้นฐานทางประวัติศาสตร์มาช่วยในการจัดการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรในปัจจุบัน การศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์จะทำให้เราเห็นภาพรวมความเจริญของชาติทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม การเมือง และวัฒนธรรมในอดีตที่ผ่านมา รวมทั้งผลกระทบที่มีต่อการศึกษา ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้นักพัฒนาหลักสูตรต้องวิเคราะห์ว่าการจัดการศึกษาหรือการจัดหลักสูตรอย่างนั้นในสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในขณะนั้นมีความถูกต้องและเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ส่วนใดเป็นลักษณะของการจัดการศึกษาหรือจัดหลักสูตรที่ดี ส่วนใดเป็นลักษณะการจัดทำหลักสูตรที่ผิดพลาดแก่ผู้จัดทำหลักสูตร การวิเคราะห์อดีตจะช่วยเพิ่มพูนความสามารถในการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน
            การที่ต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตรเก่าเนื่องจากในการพัฒนาหลักสูตรนั้น เราตั้งต้นจากสิ่งที่เรามีอยู่หรือใช้อยู่ จุดประสงค์ของการวิเคราะห์ก็เพื่อตรวจสอบหลักสูตรที่ใช้อยู่นั้นดีหรือไม่อย่างไร อะไรที่ดีอยู่แล้ว มีอะไรที่บกพร่อง ล้าสมัย หรือไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จุดเด่น จุดด้อย ข้อดี ข้อบกพร่องขององค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตรทั้งในแง่ของประสิทธิภาพของการนำไปใช้ รวมทั้งความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลในอดีตที่มีคุณค่าแก่การจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรปัจจุบัน ในการศึกษาประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์การศึกษาควบคู่กันไปนั้น ธำรง บัวศรี (2532:128) ได้แสดงความคิดเห็นว่า หากลองตั้งคำถามต่างๆ แล้วลองพิจารณาหาคำตอบจะช่วยให้เห็นความเหมาะสมของการจัดการศึกษาในขณะนั้น ตัวอย่างคำถาม เช่น ปัญหาเศรษฐกิจสังคม และการเมืองในขณะนั้นเป็นอย่างไร การจัดการศึกษามีจุดมุ่งหมายจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวหรือไม่ วิธีการที่ช่วยแก้ไขปัญหาช่วยได้หรือไม่ การจัดการศึกษามีส่วนช่วยให้ยกระดับเศรษฐกิจหรือทำให้ระบบสังคมดีขึ้นหรือไม่ มีสิ่งชี้บอกใดหรือไม่ ที่แสดงว่าหลักสูตรได้คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลหรือพัฒนาการของผู้เรียน หลักสูตรได้ส่งเสริมการถ่ายทอดวัฒนธรรมหรือปรับปรุงวัฒนธรรมอย่างไร หลักสูตรมีการส่งเสริมจิตสำนึกในการช่วยตนเองหรือไม่ เพราะฉะนั้นถ้านักพัฒนาหลักสูตรได้ศึกษาประวัติศาสตร์ และนำประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์หาคำตอบจากคำถามเหล่านี้หรือคำถามอื่นที่มีประโยชน์เหมาะสมที่จะช่วยให้ได้คำตอบที่เป็นประโยชน์และเป็นข้อมูลในการจัดการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี



ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับโรงเรียน ชุมชนหรือสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่

               ข้อมูลที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ควรศึกษาวิเคราะห์ คือข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพทั่วไปของโรงเรียน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนครูในโรงเรียน จำนวนอาคารสถานที่หรือห้องเรียนจำนวนอุปกรณ์และศักยภาพของโรงเรียนมากที่สุด นอกจากนี้ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนและสภาพสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่ก็เป็นข้อมูลที่ผู้จัดทำหลักสูตรหรือพัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษา เช่น สภาพแวดล้อมและสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้ง หรือสังคมโดยทั่วไปของผู้ใช้หลักสูตรหรือโรงเรียนนั้นเป็นอย่างไร การสนับสนุนหรือความร่วมมือของชุมชนสังคมที่มีต่อโรงเรียนเป็นอย่างไร ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการจัดทำหลักสูตร เช่น การกำหนดวิชาเรียนต่างๆ เพราะบางรายวิชาสภาพชุมชนและสังคมไม่สามารถเอื้ออำนวยหรือส่งเสริมเท่าที่ควร การศึกษาก็ไม่บรรลุผล เพราะฉะนั้นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน ชุมชน และสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ผู้จัดทำหลักสูตรต้องศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลมาจัดทำหลักสูตรที่โรงเรียนต่างๆ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้สามารถค้นคว้าและหาข้อมูลได้จากเอกสารในการรายงานต่างๆ การสำรวจ สอบถาม และการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวข้อง เช่น คนในชุมชน ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้ที่สำเร็จการศึกษา ซึ่งการศึกษาข้อมูลดังกล่าวจำเป็นสำหรับการพัฒนาหลักสูตรทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ เพื่อให้ได้หลักสูตรที่ทุกโรงเรียนสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะหลักสูตรระดับท้องถิ่นข้อมูลดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่ง ผู้พัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่นจะต้องให้ความสำคัญเพื่อที่จะเสริมสร้างได้หลักสูตรที่เหมาะสมและตอบสนองต่อท้องถิ่นนั้นๆ ได้อย่างเต็มที่

4 ต.ค. 2561

ข้อมูลพื้นฐานจากนักวิชาการจากสาขาต่างๆ

               ข้อมูลพื้นฐานจากนักวิชาการในวิชาสาขาต่างๆ เป็นข้อมูลสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรสามารถคลอบคลุมความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรได้อย่างกว้างขวาง ข้อมูลดังกล่าวได้แก่ ข้อมูลจากนักวิชาการในวิชาสาขาต่างๆ นักการศึกษา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ผลผลิตของการจัดการศึกษา คือสถานประกอบการที่จบการศึกษาเข้าไปสู่ หรืออาจจะเรียกข้อมูลจากสถานประกอบหรือตลาดแรงงานเป็นต้น
              1. ข้อมูลจากนักวิชาการ นักวิชาการแต่ละสาขาที่มีความรู้ ความสามารถความชำนาญเฉพาะทางย่อมรู้ทฤษฎีหลักธรรมชาติโครงสร้าง และระดับความยากง่ายของความรู้แต่ละศาสตร์ของตนเป็นอย่างดี คณะพัฒนาหลักสูตรต้องปรึกษาและร่วมมือกับนักวิชาการเหล่านี้เกี่ยวกับการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ในแต่ละสาขาวิชา ในการกำหนดเนื้อหาวิชา ความกว้าง ความลึก และความต่อเนื่องสัมพันธ์เนื้อหาในเรื่องการปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรของไทยยังขาดข้อมูลด้านนี้มาก ทำให้เกิดการสูญเปล่าทางการศึกษานักวิชาการสาขาต่างๆ จึงน่าจะมีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตรโดยร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรในแต่ละสาขา เพื่อสร้างหลักสูตรที่สมเหตุสมผลและสมจริงทางวิชาการ
               2. ข้อมูลจากสถานประกอบการ เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่นักพัฒนาหลักสูตรไม่สมควรมองข้าม เพราะหลักสูตรจะต้องผลิตคนสู่สถานประกอบการต่างๆ ในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาหลักสูตรในระดับอาชีวศึกษา ความต้องการของสถานประกอบการเป็นข้อมูลสำคัญที่นักพัฒนาหลักสูตรควรนำไปพิจารณา เพื่อจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้ผู้จบหลักสูตรสามารถเข้าไปสู่สถานประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลพื้นฐานทางสภาพทางสังคมในอนาคต

             จากสภาพการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นว่าในอนาคตประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่หลากหลายสาขา จากสภาพการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปดังนี้
             1. มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อม รวมทั้งอุตสาหกรรมท้องถิ่นเพิ่มขึ้น
             2. งานอาชีพอิสระมีแนวโน้มจะมีความสำเร็จมากขึ้นในอนาคตทั้งนี้เนื่องจากลักษณะการผลิตอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มักเป็นการผลิตใช้ทุนมากกว่าใช้แรงงาน
             3. ในอนาคตสภาพสังคมจะมีการแข่งขันและต่อสู้เพื่ออยู่รอดเฉพาะตัวเพราะที่ดินทำกินไม่สามารถขยายเพิ่มให้สมดุลกับประชากรได้ ทำให้เกิดการเข้ามาทำงานในเมืองมากขึ้น และภาคอุตสาหกรรมก็ไม่สามารถรองรับแรงงานได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดมีมากขึ้น
             4. การประพฤติปฏิบัติของคนไทยจะเปลี่ยนไปจากวัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ความเจริญด้านเทคโนโลยีและการหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และสิ่งแวดล้อมของสังคมไทย
             5. ในอนาคตคาดว่าการดำเนินชีวิตของคนไทยประสบกับปัญหา ทั้งในด้านสุขภาพและ การประกอบอาชีพมากขึ้น ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและการเพิ่มของประชากร
             จากสภาพการเปลี่ยนแปลงในลักษณะต่างๆ ดังกล่าวแล้ว หลักสูตรในอนาคตต้องมีบทบาทดังต่อไปนี้
             1. เตรียมกำลังคนให้เหมาะสมกับงานด้านอุตสาหกรรมขนาดย่อย และอุตสาหกรรมท้องถิ่น โดยเตรียมกำลังคนที่มีคุณภาพทางด้านความรู้ทักษะ และลักษณะนิสัย ตลอดจนเจตคติที่ดีต่อการทำงานอาชีพ
             2. ส่งเสริมอาชีพอิสระและเตรียมคนให้เห็นช่องทางในการประกอบอาชีพอิสระมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานของประชาชนส่วนหนึ่ง
             3. การศึกษาในอนาคตควรเน้นไปที่การสร้างค่านิยมด้านความสามัคคีในการอยู่ร่วมกัน โดยให้ทุกคนรู้จักเสียสละ มุ่งทำประโยชน์ให้แก่สังคมเป็นส่วนใหญ่ และหาจุดยืนที่เป็นที่ยอมรับ
             4. เตรียมคนให้เห็นคุณค่าของการดำรงรักษาวัฒนธรรมไทย รู้จักผสมผสานวัฒนธรรมดั่งเดิมกับวัฒนธรรมใหม่ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติตน มุ่งพัฒนาตนเองและสร้างสรรค์ความเจริญทางสังคม ตลอดจนมุ่งพัฒนาจิตใจให้ยึดมั่นในศาสนาและหลักธรรม มีคุณธรรมจริยธรรมอันจะนำไปสู่การมีชีวิตที่สงบสุข
             5. เตรียมฝึกคนให้สามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพและปัญหาต่างๆ ในการดำรงชีวิตพร้อมทั้งสามารถเลือกแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข



ข้อมูลพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

             ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไป ผู้เรียนเกิดความจำเป็นต้องเพิ่มความรู้ใหม่ ทักษะใหม่ และต้องเปลี่ยนแปลงเจตคติใหม่ ทำให้เกิดความจำเป็นจะต้องสร้างคุณธรรมและความคิดใหม่เพื่อให้คนในสังคมสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้ โดยใช้การศึกษาทำหน้าที่สร้างประชาชนที่มีคุณภาพและมีความสามารถปรับตัวให้กับความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม หลักสูตรที่นำมาใช้จำเป็นต้องมีความสอดคล้องกับความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปัจจุบันประเทศไทยได้นำเอาความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ในสังคมอย่างกว้างขวางในทุกๆ ด้าน ทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อมดังนั้น การจัดการศึกษาจึงควรจะให้ประชาชนตระหนักถึงสภาพข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เป็นผลกระทบจากความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมทั้งให้เขาได้รับข้อมูลต่างๆ อย่างเพียงพอ เพื่อให้เขาสามารถเลือกตัดสินใจใช้วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง ดังนั้น นักพัฒนาหลักสูตรต้องศึกษาข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและแนวโน้มความเจริญในอนาคต เพื่อที่จะได้พัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาคนให้สามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างเหมาะสมในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
           นอกจากจะพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว ความเจริญทางด้านนี้ยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเนื้อหาของหลักสูตรและการเรียนการสอน เช่น อุปกรณ์สอนใหม่ๆ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ คอมพิวเตอร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องบันทึกเสียง วีดีทัศน์ ไมโครฟิล์ม โพรเจกเตอร์ วิธีการสอนแบบใหม่ๆ ซึ่งใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วย เช่น วิทยุการศึกษา โทรทัศน์การศึกษา การศึกษาทางไกล การสอนแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นต้น
          วัสดุอุปกรณ์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และวิธีการสอนใหม่ที่อาศัยความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเหล่านี้ สามารถช่วยให้จัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงกว่าการสอนในอดีต ผู้พัฒนาหลักสูตรจึงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าในเรื่องดังกล่าวนำมาพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมด้วย



3 ต.ค. 2561

ข้อมูลพื้นฐานสภาพปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาในสังคม

             สภาพปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาของสังคมเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญที่ต้องศึกษา สังคมไทยปัจจุบันกำลังประสบปัญหายุ่งยากหลายประการ ทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาการเมือง ซึ่งการแก้ปัญหาเหล่านี้มีทั้งระยะสั้นระยะยาว และการแก้ปัญหาอาจทำได้ชั่วคราวหรืออย่างถาวร การจัดการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นเรื่องสำคัญที่นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษา แล้วนำมาสร้างเป็นหลักสูตร ปัญหาสำคัญๆ ที่ควรศึกษาคือ
             1. ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การขยายตัวของอุตสาหกรรม และการใช้เทคโนโลยี ทำให้เกิดปัญหาสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติในสังคมไทยมากขึ้น เช่น ปัญหาการทำลายป่าไม้ ปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน ปัญหาน้ำเสีย และอากาศเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ปัญหาต่างๆ สมควรที่จะได้ศึกษาข้อเท็จจริงถึงสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขเพื่อที่นำไปเป็นข้อมูลในการจัดการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร เช่น การกำหนดเนื้อหาในเรื่องสภาพแวดล้อม การปลูกฝังการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ฉลาดถูกต้อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราสามารถกำหนดลงในเนื้อหาของหลักสูตรในระดับต่างๆ ตามความเหมาะสม เพื่อที่ปลูกฝังความรับผิดชอบในสิ่งเหล่านี้ให้เกิดในผู้เรียน และประเทศก็จะมีพลเมืองที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศ ปัญหาเกี่ยวสิ่งแวดล้อมในอนาคตก็จะได้รับการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น
            2. ปัญหาทางด้านสังคม ปัญหาทางสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มักจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ซึ่งมีสาเหตุจากความเจริญทางด้านวัตถุและวัฒนธรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาอย่างรวดเร็วด้วยอิทธิพลของการสื่อสาร ทำให้คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาโดยเฉพาะในหนุ่มสาวหรือเยาวชน ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางด้านความคิดระหว่างคนหนุ่มสาวกับผู้ใหญ่ที่ยึดมั่นในวัฒนธรรมเดิม ทำให้เกิดปัญหากับยาเสพติด ปัญหาทางเพศ ปัญหาทางอาชญากรรม ซึ่งการศึกษาปัญหาเหล่านี้จะเป็นข้อมูลในการจัดหลักสูตรเพื่อเตรียมเยาวชนสามารถดำรงอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุขและไม่เกิดปัญหา
            3. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ โดยพื้นฐานนั้นประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพื้นฐานดั้งเดิมจากเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีพื้นฐานอยากจนและมีการศึกษาต่ำ ประชาชนเกิดการว่างงาน การย้ายถิ่นทำกินชนบทเข้าสู่เมือง หรืออัตราค่าจ้างแรงงานต่ำ สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจยาวนานของประเทศ ประกอบกับในปัจจุบันประเทศต่างๆ ประสบกับภาวะปัญหาทางด้านเศรษฐกิจของโลกทั้งประเทศไทยด้วย ทำให้ปัญหาทางเศรษฐกิจในอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มปัญหาที่เกิดในอนาคต เพื่อจะให้นำข้อมูลทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยกำหนดจุดหมายของหลักสูตร การสร้างหลักสูตรหลายวิชา หรือการบรรจุเนื้อหาสาระให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถและประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ที่จบการศึกษาในระดับต่างๆ สามารถออกไปประกอบอาชีพได้ และสามารถดำรงอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ โดยไม่เป็นปัญหาหรือภาระของสังคม หรือจัดการศึกษาเพื่อให้บุคคลสามารถสร้างงานได้
             4. ปัญหาทางด้านการเมืองการปกครอง สภาพปัญหาทางด้านการเมืองของไทยเป็นมาอย่างยาวนาน    สมควรที่การศึกษาจะเข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาด้านการเมือง คือการให้ความรู้และปลูกฝังในเรื่องของประชาธิปไตย เพราะประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในท้องถิ่นชนบทมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยไม่ดีพอ นอกจากนั้นประชาชนส่วนใหญ่ ยังขาดความสำนึกและความรับผิดชอบต่อวิถีทางแบบประชาธิปไตย ซึ่งจะเห็นได้จากการเข้ามีบทบาททางการเมืองยังเป็นเรื่องของคนกลุ่มน้อย หรือจำนวนผู้ไปใช้เสียงในการเลือกตั้งแต่ละครั้งมีจำนวนน้อยมากเมื่อเปรียบกับผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด แม้ว่านักศึกษามีอายุที่จะใช้สิทธิ์เลือกตั้งได้แล้วแต่อัตราส่วนผู้ใช้สิทธิ์ยังน้อยเหมือนเดิม ในเมื่อผู้ได้รับการศึกษาที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องประชาธิปไตยเป็นอย่างดี ยังขาดความสำนึกความรับผิดชอบเช่นนี้ นักพัฒนาหลักสูตรจึงควรที่จะได้ตระหนักและพัฒนาหลักสูตร เนื้อหาวิชาหรือกิจกรรมการเรียนการสอนให้สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีจิตสำนึก และความรู้สึงรับผิดชอบต่อการปกครองของประเทศ
             จากสภาพปัญหาต่างๆ ที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างที่นักพัฒนาหลักสูตรจะตั้งคำนึงถึง ทั้งนี้เพื่อให้หลักสูตรที่ร่างขึ้นมามีส่วนแก้ปัญหาสังคมและประเทศชาติโดยส่วนรวมบางปัญหาอาจแก้ได้โดยตรง บางปัญหาการศึกษาแก้ไขโดยทางอ้อม ซึ่งเป็นหน้าที่ของนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องพิจารณาปัญหาเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเลือกทิศทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อสร้างคนที่เป็นประโยชน์แก่สังคม หรือคนที่จะไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาสังคมต่อไป
ขั้นตอนในการพิจารณาปัญหาและแนวทางแก้ไขมีดังนี้
           1. พิจารณาปัญหาที่ระบบการศึกษาเอื้ออำนวยในการปรับปรุงให้ดีขึ้น
           2. พิจารณาสาเหตุ ข้อเท็จจริงสภาพปัญหา
           3. พิจารณาวิชา เนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสม
           4. พิจารณากิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม




ข้อมูลพื้นฐานทางด้านการเมืองการปกครอง

          การเมืองการปกครองเป็นที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบการอยู่ร่วมกันในสังคมหมู่มากจำเป็นต้องมีระเบียบแบบแผนหรือกติกาต่างๆ สำหรับสมาชิกในสังคมยึดถือเป็นแนวปฏิบัติต่อกันเพื่อความสงบเรียบร้อยและการอยู่รวมกันอย่างสันติ ดังนั้น การเมืองการปกครองจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่สิทธิ และความรับผิดชอบที่ทุกคนพึงมีต่อสังคมและประเทศชาติ
          การเมืองการปกครองมีความสัมพันธ์กับการศึกษา ในฐานะที่การศึกษามีหน้าที่ผลิตสมาชิกที่ดีให้แก่สังคมให้อยู่ในระบบการปกครองประเทศชาติ ช่วยให้ผู้เรียนทราบว่าตนมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไร และควรแสดงแนวคิดปฏิบัติตนอย่างไรหลักสูตรของประเทศต่างๆ จึงควรบรรจุเนื้อหาวิชาและประสบการที่จะปลูกฝังให้ประชากรอยู่ร่วมกันในสังคมได้ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสันติสุข
          ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ที่ควรจะนำมาเป็นเนื้อหาประกอบการพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตรก็คือ ระบบการเมืองและระบบการปกครอง นโยบายของรัฐและรากฐาน ของประชาธิปไตย
         1.ระบบการเมืองการปกครอง เนื่องจากการศึกษาเป็นเครื่องมืออันหนึ่งของสังคม ดังนั้น การศึกษาระบบการเมืองการปกครองจึงแยกกันไม่ออก หลักสูตรของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับประถมศึกษาซึ่งเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะบรรจุเนื้อหาสาระของระบบการเมืองการปกครองไว้ เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนอยู่ร่วมกันใจสังคมได้ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ในบางประเทศที่ต้องการปลูกฝังอุดมการณ์ทางการเมืองให้แก่ประชาชน เพราะฉะนั้นในการพัฒนาหลักสูตรควรเลือกเนื้อหาวิชาประสบการณ์การเรียนรู้ และการจัดให้มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครองที่ต้องการปลูกฝัง
          2.นโยบายของรัฐ เนื่องจากการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมจึงมีความจำเป็นต้องสอดคล้องกับระบบอื่นๆ ในสังคมการที่จะทำให้ระบบต่างๆ สามารถเกื้อหนุนส่งเสริมซึ่งกันและกันจึงจำเป็นต้องมีการประสานสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้รัฐบายจึงมีนโยบายแห่งรัฐเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของระบบต่างๆ ให้มีความต่อเนื่องและสอดคล้องซึ่งกันและกัน นโยบายของรัฐที่เห็นได้ชัดเจนคือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษา ในการพัฒนาหลักสูตรควรจะได้พิจารณานโยบายของรัฐด้วย เพื่อที่จะได้จัดการศึกษาให้สอดคล้องกัน
          3.รากฐานของประชาธิปไตย จากการที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์มาเป็นระบบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2475 นั้น ควรรู้ความเข้าใจตลอดจนความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เกี่ยวกับประชาธิปไตยในสังคมไทยยังไม่เพียงพอ หลักสูตรในฐานะที่เป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาคนควรที่จะวางรากฐานที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยให้แก่สังคม เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจให้ถูกต้องซึ่งจะสร้างสรรค์ให้ทุกคนอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข และไม่มีการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน นอกจากนี้การจัดการเรียนการสอน จึงควรมุ่งเน้นพฤติกรรมประชาธิปไตยด้วย สำหรับประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยมานานแล้ว แต่ทางปฏิบัติเราต้องยอมรับว่ายังไม่สมบูรณ์ ดังจะเห็นได้จากการราษฎรส่วนใหญ่ยังไม่รู้ถึงสิทธิหน้าที่ของตนต่อรัฐ ไม่รู้ว่าตนเองมีความสำคัญมีส่วนมีเสียงในการปกครอง ไม่รู้ว่าการเมืองมีส่วนสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของตน ไม่เห็นความจำเป็นในการเลือกตั้งเป็นต้น การศึกษาควรมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงแก้ไข การจัดการเรียนการสอนควรเน้นเรื่องความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง ให้ประชาชนรู้หน้าที่ของตนในระบอบประชาธิปไตย ให้สำนึกว่าการเมืองและการปกครองเป็นเรื่องของทุกคนในสังคม ทั้งที่ศึกษาอยู่ในระบบและนอกระบบ และ/ หรือจบการศึกษาแล้วได้ศึกษาและนำไปปฏิบัติจริงเพื่อสอดคล้องกับนโยบายที่ว่าการศึกษาและ/ หรือจบการศึกษาแล้วได้ศึกษาคือ กระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต เมื่อเป็นเช่นการจัดหลักสูตรให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองจึงกระทำได้หลายรูปแบบเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ มีจิตสำนึกในความร่วมมือ เข้าใจบทบาทตนเองในด้านการเมืองการปกครองอย่างแท้จริง
           เพื่อเป็นการวางรากฐานทางด้านประชาธิปไตย การจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับระบบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย ควรจัดตามลำดับดังนี้
           1. การจัดการศึกษาให้เท่าเทียมทั่วถึง
           2. ให้อำนาจการจัดการศึกษากระจายในท้องถิ่น
           3. ให้เสรีภาพและเสถียรภาพแก่บุคคล ให้โอกาสแสดงความคิดเห็น
          4. การเรียนการสอนควรส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ให้โอกาสผู้เรียนแสวงหาความรู้
          5. ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาตนเอง
          6. จัดหลักสูตรให้ยืดหยุ่นได้ง่าย
          7. เน้นวิชามนุษย์สัมพันธ์และจริยธรรมเป็นพิเศษ
          นอกจากนั้นการปลูกฝังอบรมสั่งสอนนักเรียน ก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ประชาธิปไตยของไทยมีความเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นด้วยวิธีการดังนี้
          1. ชี้ให้เห็นประโยชน์ประชาธิปไตยโดยการให้คำแนะนำและปฏิบัติ
          2. สร้างนิสัยให้มีความกระตือรือร้น สนใจเหตุการณ์บ้านเมือง
          3. ปลูกฝังการมีวินัยและการเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
          4. ฝึกการเคารพกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างเข้มผู้เข้มงวด
          5. กระตุ้นและปลูกฝังให้มีความตั้งใจเรียน ซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัวและประเทศชาติ
          6. ฝึกให้ความสนใจและร่วมกันพิจารณาปัญหาต่าง ของสังคมและหาทางแก้ไข
          7. หาโอกาสให้ให้ความร่วมมือประกอบกิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม
          8. ช่วยแก้ไขค่านิยมที่ไม่เหมาะสมในสังคมและสร้างค่านิยมที่ดีและเหมาะสม
          9. ปลูกฝังทัศนคติที่ว่าการเมืองเป็นเรื่องการให้ความร่วมมือ การเสียสละ และการช่วยชาติเพื่อบุคคลรุ่นใหม่จะได้เป็นนักการเรียนที่ดี
          10. ให้ความรู้และกระตุ้นให้สนใจการเมืองโดยคำนึงถึงหลักการ วิธีการ สิทธิหน้าที่ในฐานะพลเมืองของประเทศ
          11. ปลูกฝังให้มีความพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองทั้งในระดับโรงเรียน ท้องถิ่น และประเทศชาติ
          12. ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีแนวคิดว่าทุกคนควรมีบทบาททางการเมือง และการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งทางตรงและทางอ้อม
          13. เน้นให้เห็นความสำคัญของการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
  จากตัวอย่างดังกล่าวพอจะเป็นแนวทางกำหนดเนื้อหา กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนและประสบการณ์เรียนรู้ไว้เป็นหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนที่จบการศึกษาเป็นผลเมืองที่มีคุณภาพสอดคล้องกับระบบการเมืองการปกครองของประเทศ



2 ต.ค. 2561

ข้อมูลพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ

             การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคนซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบเศรษฐกิจ เพราะระบบเศรษฐกิจก้าวหน้าเพียงใดขึ้นอยู่กับคุณภาพของคนในสังคมนั้น การพัฒนาหลักสูตรให้ให้เหมาะกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ควรพิจารณาประเด็นต่อไปนี้
            1. การเตรียมกำลังคน การให้การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญในการผลิตกำลังคนในด้านต่างๆ ให้เพียงพอ พอเหมาะ และสอดคล้องกับความต้องการในแต่ละสาขาวิชาชีพ เพื่อป้องกันการสูญเปล่าทางการศึกษา และเพื่อลดปัญหาการว่างงานอันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
            นอกจากนี้การเตรียมกำลังคนให้สนองความต้องการของประเทศนั้นต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับระดับความ สามารถที่ต้องการ ซึ่งมีทั้งระดับผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการสาขาต่างๆ ระดับช่างฝีมือ และระดับกรรมกร รวมทั้งต้องพิจารณาถึงแนวโน้มความต้องการทางเศรษฐกิจของประเทศชาติในอนาคตด้วย
            2. การพัฒนาอาชีพ ประเทศไทยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางการเกษตร และประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรที่อาศัยอยู่ในชนบท อาชีพอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริการมีอยู่เพียงชุมชนในเมือง ปัจจุบันมีการโยกย้ายถิ่นที่อยู่เข้ามาทำงานอุตสาหกรรมในเมืองใหญ่ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่นสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เกิดชุมชนแออัด ปัญหาครอบครัว เด็กเร่ร่อน เป็นต้น เพราะฉะนั้นการพัฒนาหลักสูตรควรเน้นการส่งเสริมอาชีพส่วนใหญ่ของคนในประเทศ จัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพตามศักยภาพและท้องถิ่น เพื่อพัฒนาอาชีพให้เหมาะสมเป็นการยกระดับรายได้ คนในชนบทให้สูงขึ้น เพื่อลดปัญหาช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน ลดการหลั่งไหลของประชาชนเข้าไปทำงานตามเมืองใหญ่ สิ่งเหล่านั้นเป็นหน้าที่สำคัญที่นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องร่วมมือร่วมใจกันทำหลักสูตรอาชีพเพื่อพัฒนาอาชีพให้บรรลุผล
            3. การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม ปัจจุบันประเทศไทยกำลังพัฒนาจากเกษตรกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นเรื่อยๆ นักพัฒนาหลักสูตรควรศึกษาข้อแนวโน้มและทิศทางการขยายตัวในอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมด้านไหนที่จะได้รับการพัฒนา หลักสูตรที่สามารถพัฒนาเยาวชนให้มีความพร้อมสำหรับการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมสามารถผลิตผู้จบการศึกษาที่สามารถเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมอย่างเหมาะสม เท่าที่ผ่านมาจะเห็นว่าบางครั้งภาคอุตสาหกรรมไม่มีผู้มีความรู้ความสามารถด้านเฉพาะด้านเข้า ไปรับรองการการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมบางครั้งมีการผลิตผู้จบการศึกษากับความต้องการของแรงงานของไทยไม่สมดุลกันทำให้บางครั้งภาคอุสาหกรรมเหล่านั้นอย่างพอเพียง ฉะนั้นการศึกษาแนวโน้มการขยายตัวทางอุตสาหกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่นักพัฒนาการหลักสูตรจะละเลยเสียมิได้
            4. การใช้ทรัพยากร เศรษฐกิจเป็นเรื่องของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสอบสนองความต้องการที่ไม่จำกัดของมนุษย์ เพราะฉะนั้นนักพัฒนาหลักสูตรควรให้ความสำคัญในเรื่องของทรัพยากรโดยใช้หลักสูตรเป็นเครื่องปลูกฝังเกี่ยวกับความสำคัญของทรัพยากร จัดทำหลักสูตรเนื้อหาวิชา กิจกรรมและประสบการณ์ในหลักสูตรที่ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเน้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจครบวงจรอันได้แก่ การผลิต การจำหน่าย การบริโภค การแลกเปลี่ยนการบริการโดยเน้นการปฏิบัติจริงและการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้รู้จักและเข้าใจระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งในจุดนี้นักพัฒนาหลักสูตรควรให้ความสำคัญแล้วคิดพัฒนาหลักสูตรเพื่อสนองพระราชดำริดังกล่าว ในอนาคตประชาชนจะเห็นความสำคัญของทรัพยากรและสามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่นำมาใช้ประโยชน์ เกิดรายได้อย่างมีคุณค่า ไม่มีการสูญเสียทางทรัพยากร ปัญหาความยากจนและการอพยพย้ายถิ่นก็ไม่เกิดขึ้น
            5. การพัฒนาคุณลักษณะของบุคคลในระบบเศรษฐกิจของไทย คุณลักษณะของในบุคคลในระบบเศรษฐกิจของคนไทยยังขัดแย้งกับความเป็นจริงในระบบเศรษฐกิจ เช่นคนไทยมีรายได้ต่ำแต่ความต้องการจับจ่ายในระบบเศรษฐกิจในระบบเศรษฐกิจในระบบเปิดทำให้สินค้าฟุ่มเฟือยหลั่งไหลเกิดปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว หรือเป็นเศรษฐกิจในระบบเปิดทำให้สินค้าฟุ่มเฟือยหลั่งไหลเข้ามาสร้างวัฒนธรรมใหม่ในหมู่เยาวชน หรือการเอารัดเอาเปรียบต่อผู้ด้อยการศึกษาจากบุคคลผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นคุณลักษณะของคนไทยในระบบเศรษฐกิจที่ต้องได้รับการแก้ไขและพัฒนา การใช้การศึกษาเข้าไปแก้ไขจะเป็นวิธีการสำคัญและให้ผลในระยะยาว เพราะฉะนั้นการพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึงการพัฒนาคุณลักษณะของคนไทย ในหลักสูตรจะต้องบรรจุเนื้อหาสาระ และประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีการปลูกฝังจิตสำนึกในความรับผิดชอบร่วมกัน การสร้างค่านิยมในการทำงานร่วมกัน การไม่เอารัดเอาเปรียบกันความขยันหมั่นเพียร การรู้จักอดออม การมีสติรู้คิด การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การสร้างเสริมความสามารถในการผลิต การสร้างงานและแนวการประกอบอาชีพ ถ้าหลักสูตรในระดับต่างๆ ได้บรรจุและปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ไว้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึกตามระดับการศึกษาแล้วผู้จบการศึกษาก็จะเป็นบุคคลมีความสามารถพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจภายใต้ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจได้เหมาะสม
           6. การลงทุนการศึกษา การจัดการศึกษาในระดับต้องใช้งบประมาณของรัฐโดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดการศึกษาควรคำนึงถึงงบประมาณเพื่อการศึกษาแหล่งงานที่จะช่วยเหลือรัฐในรูปงบประมาณ  ในการพัฒนาพัฒนาหลักสูตรควรจัดให้สอดคล้องกับงบประมาณของรัฐ ไม่ว่าในด้านจัดการเรียนการสอน ด้านวัตถุอุปกรณ์ เพื่อให้มีการใช้หลักสูตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และต้องคำนึงถึงผลตอบแทนจากการลงทุน ในด้านกำลังคนปริมาณคน และคุณภาพ เช่น การพัฒนาหลักสูตรให้เยาวชนมีคาวามสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ การลงทุนด้านอุปกรณ์คือคอมพิวเตอร์ ให้ทุกโรงเรียนมีคอมพิวเตอร์สอนนักเรียน แต่บางโรงเรียนไม่มีไฟฟ้า หรือบางโรงเรียนยังไม่มีบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ การลงทุนในจุดดังกล่าวส่วนหนึ่งอาจเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า เฉพาะฉะนั้นในการพัฒนาหลักสูตรควรคำนึงถึงการลงทุนทางการศึกษาด้วยว่าเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าหรือไม่ ในอนาคตมีตัวอย่างในการพัฒนาหลักสูตรที่ทำให้เกิดการสูตรเปล่าทางการศึกษาอยู่เสมอ

ข้อมูลพื้นฐานทางด้านสังคมและวัฒนธรรม

            การศึกษาทำหน้าที่สำคัญคือ อนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมไปสู่คนรุ่นหลังและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของสังคมให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ โดยหน้าที่ดังกล่าวการศึกษาจะช่วยควบคุมการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ไปในทิศทางที่พึงปรารถนา เพราะฉะนั้นหลักสูตรที่จะนำไปสอนอนุชนเหล่านั้นจึงต้องมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคมอย่างแยกไม่ออก และโดยธรรมชาติของสังคมและวัฒนธรรมมักมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ จึงจะทำให้หลักสูตรมีความสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน สามารถแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการสังคมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการวิเคราะห์ความต้องการใหม่ ผลการวิเคราะห์ออกมาอย่างไรหลักสูตรก็จะเปลี่ยนจุดหมายไปในแนวนั้น สามารถจำแนกข้อมูลให้ชัดเจนได้ดังนี้
           1. โครงสร้างของสังคม โครงสร้างไทยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะสังคมชนบทหรือสังคมเกษตรกรรม และสังคมเมืองหรือสังคมอุตสาหกรรม ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาก สังคมอุตสาหกรรมมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นแต่ถึงอย่างไรก็ตามสังคมส่วนใหญ่ของประเทศก็ยังมีสภาพเป็นสังคมเกษตรกรรมอยู่ ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นจะต้องศึกษาโครงสร้างของสังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และแนวโน้มโครงสร้างในอนาคตเพื่อที่จะได้ข้อมูลมาจัดหลักสูตรว่า จะจัดหลักสูตรอย่างไรเพื่อยกระดับการพัฒนาสังคมเกษตรกรรมและเตรียมพื้นฐานเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมตามความจำเป็น
           2. ค่านิยมในสังคม ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่คนในสังคมเดียวกันมองเห็นว่ามีคุณค่าเป็นที่ยอมรับหรือเป็นที่ปรารถนาของคนทั่วไปในสังคมนั้นๆ เนื่องจากการศึกษาเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม ค่านิยมชนิดไหนที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงดำรงไว้หรือค่านิยมชนิดไหนควรสร้างขึ้นมาใหม่ เช่น ค่านิยมของสังคมไทยเกี่ยวกับความเฉื่อยชา การถือความสัมพันธ์ส่วนตัว การถือประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง
          3 ธรรมชาติของคนไทยในสังคม ธรรมชาติของคนไทยในแต่ละสังคมย่อมแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นฐานทางวัฒนธรรมและค่านิยมนั้นๆ ทำให้คนไทยส่วนใหญ่มีลักษณะบุคลิกภาพดังต่อไปนี้
          1. ยึดมั่นในตัวบุคคลมากกว่าหลักการและเหตุผล
          2. ยกย่องบุคคลที่มีความรู้หรือได้รับการศึกษาสูง
          3. เคารพและคล้อยตามผู้ได้รับวัยวุฒิสูง
          4. ยกย่องผู้มีเงินและผู้มีอำนาจ
          5. นิยมการเล่นพรรคเล่นพวก
          6. มีลักษณะเฉื่อยชาไม่กระตือรือร้น
           ในการพัฒนาหลักสูตร ควรคำนึกถึงลักษณะธรรมชาติ บุคลิกของคนในสังคม โดยพิจารณาว่าลักษณะใดควรไม่ควร เพราะหลักสูตรเป็นแนวทางในการสร้างลักษณะสังคมในอนาคต
          4. การชี้นำสังคมในอนาคต การศึกษาควรมีบทบาทในการชี้นำสังคมในอนาคตด้วยเพราะในอดีตที่ผ่านมาระบบการศึกษา เช่น การตั้งรับตามการเปลี่ยนต่างๆ เช่น กระแสการเจริญเติบโตของประเทศทางตะวันตก กระแสวิชาการตะวันตก ความต้องการและปัญหาสังคม จึงทำให้การศึกษาเป็นตัวตาม ฉะนั้นการจัดการเรียนรู้ต้องวางเป้าหมายให้ดี นักพัฒนาหลักสูตรจึงควรศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่เป็นเครื่องชี้นำสังคมในอนาคต เช่น แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การศึกษาไทยจะได้มีบทบาททางสังคมอย่างแท้จริง
          5 ลักษณะสังคมตามความคาดหวัง การเตรียมพัฒนาทรัพยากรให้มีคุณภาพมีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นเรื่องไม่คงที่ เรื่องของประเทศจะส่งผลกระทบการศึกษามีมากมายเช่น การเมือง เศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางวิชาการทั้งนี้ในต่างประเทศจึงตั้งคุณลักษณะของสังคมเปลี่ยนแปลงไป เพื่อที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าได้ในอนาคต 5-10 ปีข้างหน้าจะเป็นเช่นไร และคุณลักษณะของประชากรที่มีคุณภาพมีดังนี้
          1. มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี
          2. มีอาชีพเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัว
          3. เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ
          4. มีสติปัญญา
          5. มีนิสัยรักการทำงาน
          6. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
          หน้าที่ของนักพัฒนาหลักสูตรก็คือ จะต้องพิจารณาว่าจะจัดหลักสูตรอย่างไร รูปแบบใดจึงจะทำให้ประชากรมีคุณภาพดี
           6. ศาสนาและวัฒนธรรมในสังคม ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในสังคมวัฒนธรรมเป็นสัญลักษณ์อันสำคัญที่จะแสดงให้ทราบว่าเขาเหล่านั้นเป็นคนในสังคมเดียวกันหรือเป็นคนชาติเดียวกัน                ดังนั้น ศาสนาและวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการพัฒนาหลักสูตร ทั้งนี้เพราะจุดประสงค์สำคัญของหลักสูตรก็คือ การทะนุบำรุงรักษาและถ่ายทอดวัฒนธรรมที่ดีงามไว้ การพัฒนาหลักสูตรจึงต้องคำนึกถึงศาสนาและวัฒนธรรมความรู้หลักธรรมศาสนาต่างๆ นำมาบรรจุไว้ในหลักสูตรด้วยเหตุที่ว่าประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตยให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนในการนับถือศาสนา เพราะฉะนั้นสิ่งที่บรรจุไว้ควรจะเป็นหลักธรรมของศาสนาต่างๆ
             ข้อมูลพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนาหลักสูตรเป็นอย่างมาก เพราะเป็นหลักสูตรที่ต้องตอบสนองสังคมและพัฒนาไปพร้อมกัน การศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างรอบคอบจะทำให้เราสามารถนำไปพัฒนาหลักสูตรที่ดีตามลักษณะดังต่อไปนี้
             1. ตอบสนองความต้องการของสังคม
             2. สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคม
             3. เน้นในเรื่องรักชาติรักประชาชน
             4. แก้ปัญหาให้กับสังคมมิใช่สร้างปัญหากับสังคม
             5. ปรับปรุงสังคมให้ดีขึ้น
             6. สร้างความสำนึกในเรื่องของความเปลี่ยนแปลงทางสังคม
             7. ชี้นำในเรื่องการเปลี่ยนแปลงประเพณีและค่านิยม
             8. ต้องถ่ายทอดวัฒนธรรมและจริยธรรม

9. ปลูกฝังในเรื่องความซื่อสัตย์และความยุติธรรม ในสังคม

10. ให้ความสำคัญในเรื่องผลประโยชน์ในสังคม

1 ต.ค. 2561

ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร

                ในอดีตการพัฒนาหลักสูตรในระดับต่างๆ มักใช้ข้อมูลพื้นฐานประกอบการพิจารณาค่อนข้างน้อย แต่ให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเฉพาะด้านเนื้อหาในวิชาต่างๆ นำมาบรรจุไว้ในหลักสูตรและละเลยข้อมูลทางด้านศีลธรรม จริยธรรม และสภาพทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และแนวโน้มสภาพสังคมในอนาคต ทำให้การศึกษาของชาติที่ผ่านมาไม่สามารถช่วยให้คนไทยหลุดพ้นจากความฟุ่มเฟือย การยึดถือค่านิยมผิดๆ ในการดำรงชีวิตที่ผิดๆ ไม่ช่วยให้การว่างงานลดลง ไม่ช่วยให้แก้ปัญหาอาชญากรรมหมดไป ประเทศยังคงมีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ยังมีคนไทยที่พึ่งพาตนเองไม่ได้ ยังมีความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพยากร เพราะฉะนั้นในการพัฒนาหลักสูตรระดับต่างๆ ในอนาคตจะต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานในเรื่องต่างๆ จากหลายๆ แหล่งและจากบุคคลหลายๆ ฝ่ายเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงมาพัฒนาหลักสูตร สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และอารมณ์ เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อตนเองและประเทศชาติ หรือกล่าวโดยสรุปคือสามารถใช้หลักสูตรเป็นเครื่องมือในการสร้างสังคมใหม่ในทิศทางที่ถูกต้องได้
การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องศึกษา วิเคราะห์ สำรวจ วิจัย สภาพพื้นฐานด้านต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้สนับสนุน อ้างอิงในการตัดสินใจดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ได้หลักสูตรที่ดี สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ และทัศนคติที่นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้
           การพัฒนาหลักสูตรเป็นงานที่มีขอบเขตกว้างขวางมาก การที่จัดหลักสูตรให้มีคุณภาพนั้นผู้พัฒนาหลักสูตรต้องศึกษาข้อมูลหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน ข้อมูลเกี่ยวกับสังคม หรือข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เพื่อที่ให้ได้ข้อมูลที่สมจริงที่สุดเพราะข้อมูลเหล่านี้จะช่วยนักพัฒนาหลักสูตรในเรื่องต่างๆ คือ
           1. ช่วยให้มองเห็นภาพรวมว่า ในการจัดทำหลักสูตรนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้างและสิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อหลักสูตรอย่างไร
           2. ช่วยให้สามารถกำหนดองค์ประกอบของหลักสูตรได้อย่างเหมาะสม เช่น การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และการกำหนดเนื้อหารายวิชา ฯลฯ
           3. ช่วยให้สามารถกำหนดยุทธศาสตร์การเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
           4. ช่วยเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรอันจะส่งผลให้การดำเนินการในอนาคตประสบผลดียิ่งขึ้น
         ข้อมูลต่างๆ ที่นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรนั้น นักการศึกษาทั้งต่างประเทศ และนักการศึกษาไทย ได้แสดงแนวทางไว้ดังนี้
          เซย์เลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander ,1974:102-103) กล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรว่า
          1. ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน
          2. ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมซึ่งสนับสนุนโรงเรียน
          3. ข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติ และลักษณะของกระบวนการเรียนรู้
          4. ความรู้ที่ได้สะสมไว้และความรู้ที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้แก่นักเรียน
Taba
          ทาบา (Taba, 1962: 16-87) ได้กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตรโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์จะต้อง คำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
          1. สังคมและวัฒนธรรม
          2. ผู้เรียนและกระบวนการเรียน
          3. ธรรมชาติของความรู้
   ไทเลอร์ 
          ไทเลอร์ ( Tyler, 1949:1-43) กล่าวถึงสิ่งที่ควรพิจารณาในการสร้างจุดมุ่งหมายของการศึกษา คือ
          1. ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน ซึ่งได้แก่ ความต้องการของผู้เรียน และความสนใจของผู้เรียน
          2. ข้อมูลจากการศึกษาชีวิตภายนอกโรงเรียน
          3. ข้อมูลที่ได้จากข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ
          4. ข้อมูลทางด้านปัญญา
          5. ข้อมูลทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
          จากการรายงานของคณะกรรมการวางพื้นฐานการปฏิรูปการศึกษา (2518:20-50) ได้กำหนดข้อมูลต่างๆ ในการกำหนดจุดมุ่งหมายทางการศึกษา และในการจัดการศึกษาของประเภทดังนี้
         1. สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
         2. สภาพแวดล้อมทางประชากร
         3. สภาพแวดล้อมทางสังคม
         4. สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
         5. สภาพแวดล้อมทางการเมือง
         6. การปกครองและการบริหาร
         7. สภาพแวดล้อมทางศาสนาและวัฒนธรรม
         8. สภาพของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
         กาญจนา คุณารักษ์ ( 2521: 23-36 ) กล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
         1. ตัวผู้เรียน
         2. สังคมและวัฒนธรรม
         3. ธรรมชาติและคุณสมบัติของการเรียนรู้
        4. การสะสมความรู้ที่เพียงพอและเป็นไปได้เพื่อการให้การศึกษา
ศ.ดร.ธำรง บัวศรี
         ธำรง บัวศรี (2532:4) กล่าวถึงข้อมูลต่างๆ ในการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
        1. พื้นฐานทางปรัชญา
        2. พื้นฐานทางสังคม
        3. พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
        4. พื้นฐานทางความรู้และวิทยาการ
        5. พื้นที่ทางเทคโนโลยี
        6. พื้นฐานทางประวัติศาสตร์
        สงัด อุทรานันท์ (2532 : 46) กล่าวถึงพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
        1. พื้นฐานทางปรัชญา
        2. ข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรม
        3. พื้นฐานเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้เรียน
        4. พื้นฐานเกี่ยวทฤษฎีการเรียนรู้
        5. ธรรมชาติของความรู้
        สุมิตร คุณานุกร (2520 : 10) กล่าวถึงข้อมูลต่างๆ ในการพัฒนาหลักสูตรจำแนกตามแหล่งที่มาได้ 6 ประการ คือ
        1. ข้อมูลทางปรัชญา
        2. ข้อมูลที่ได้จากนักวิชาการแต่ละสาขา
        3. ข้อมูลที่ได้จากจิตวิทยาการเรียนรู้
        4. ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสังคมของผู้เรียน
        5. ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
        6. ข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการทางเทคโนโลยี
สาโรช บัวศรี
        สาโรช บัวศรี (2514 : 21-22) ได้กล่าวว่า ในการจัดการศึกษาหรือจัดหลักสูตรต้องอาศัยพื้นฐานหลัก 5 ประการ คือ
        1. พื้นฐานทางปรัชญา
        2. พื้นฐานทางจิตวิทยา
        3. พื้นฐานทางสังคม
        4. พื้นฐานทางประวัติศาสตร์
        5. พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี
        จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่นำมาศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรมีมากมายหลายด้านสำหรับประเทศไทยควรจัดลำดับข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
        1. สังคมและวัฒนธรรม
        2. เศรษฐกิจ
        3. การเมืองการปกครอง
        4. สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาในสังคม
        5. พัฒนาการทางเทคโนโลยีสภาพสังคมในอนาคต
        6. บุคคลภายนอกและนักวิชาการแต่ละสาขา
        7. โรงเรียน ชุมชน หรือสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
        8. ประวัติศาสตร์การศึกษาและหลักสูตร
        9. ธรรมชาติของความรู้
       10. ปรัชญาการศึกษา
       11. จิตวิทยา




ผลการเรียนรู้(Learning Outcome)

            1. มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเขียนประเด็นสำคัญที่ใช้พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้าน ต่างๆ ในการพัฒนาหลักสูตร
            2. สามารถนำความรู้ในการเขียนประเด็นสำคัญจากข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

30 ก.ย. 2561

มโนทัศน์(Concept)

                 นักพัฒนาหลักสูตรควรตระหนักและควรนำข้อมูลพื้นฐานทางด้านสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรในอนาคตว่า การจัดทำหลักสูตรข้อมูลพื้นฐานมีความสำคัญมาก ซึ่งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ควรละเลยที่จะศึกษา ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองในอนาคตได้ นอกจากนั้นข้อมูลจากบุคคลต่างๆ ไม่ว่านักการศึกษา นักวิชาการสาขาต่างๆ ความเห็นจากชุมชน ความต้องการกว้างไกลและลึกซึ้ง การจัดการศึกษาโดยบุคคลที่มีหน้าที่เพียงกลุ่มเดียวย่อมมีมุมมองที่แคบและไม่ชัดเจนเท่ากับหลายฝ่ายร่วมแรงร่วมใจกัน ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรโดยศึกษาข้อมูลหลากหลายอย่างครอบคลุมจึงสามารถพัฒนาหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

บทที่ 5 ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร