13 ต.ค. 2561

กิจกรรม(Activity) บทที่ 6

กิจกรรมท้ายบท
1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบอินเตอร์เน็ต เรื่อง แบบจาลองการพัฒนาหลักสูตร
ตอบ ทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทยและต่างประเทศ
ทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทยและต่างประเทศที่นาเสนอในที่นี้มีทั้งหมด 6 แบบ ได้แก่
       1) แบบจาลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
       2) แบบจาลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
       3) แบบการจาลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส
       4) แบบจาลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา
       5) แบบจาลองการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย วงษ์ใหญ่
       6) แบบจาลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model                                                                                
       -แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
             แบบจำลองของไทเลอร์ ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตร ไทเลอร์ให้คาแนะนาว่า ในการกาหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตรทาได้ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ประกอบด้วย ข้อมูลผู้เรียน ข้อมูลสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่ และข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา นาข้อมูลจากสามแหล่งนี้มาวิเคราะห์เชื่อมโยงเพื่อช่วยให้มั่นใจในข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา การเชื่อมโยงข้อมูลเป็นการสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนาข้อมูลไปกาหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร (ฉบับร่าง) ต่อจากนั้นจึงกลั่นกรองด้วยปรัชญาการศึกษาของสถานศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ แสดงดังภาพประกอบที่1
ภาพประกอบ 1 แบบจาลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
ที่มา : Allan C. Ornstien & Francis P. Hunkins, (1998 : 198).
 ไทเลอร์มองว่า นักการศึกษาจะต้องจัดการศึกษาที่มุ่งให้ความสาคัญกับสังคม ด้วยการยอมรับความต้องการของสังคม และในการดาเนินชีวิต ใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือที่มุ่งปรับปรุงสังคม ผู้สอนควรได้นาทั้งปรัชญาสังคมและปรัชญาการศึกษา มาเป็นเค้าโครงพิจารณาใน 4 ประเด็น คือ
            1. ความจาและการระลึกได้ของแต่ละคน เป็นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ ไม่จากัดว่าจะเป็นเชื้อชาติ สัญชาติ หรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
            2. โอกาสเพื่อการมีส่วนร่วมที่เปิดกว้างในทุกระยะของกิจกรรมในกลุ่มสังคม
            3. ให้การสนับสนุนของการเปลี่ยนแปลงมากกว่ามุ่งตอบความต้องการส่วนบุคคล
            4. ความเชื่อและสติปัญญาเป็นดังวิธีของความคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสาคัญมากกว่าที่จะขึ้นอยู่กับอานาจรัฐหรือผู้มีอานาจ
            ไทเลอร์ให้ความสาคัญในการใช้จิตวิทยา ไม่เพียงการตอบข้อค้นพบเฉพาะบางเรื่องเท่านั้น หากยังใช้จิตวิทยาในฐานะทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งช่วยในการกาหนดกรอบโครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้อีกด้วย ไทเลอร์กล่าวถึงความสาคัญของการกลั่นกรองด้วยจิตวิทยา สรุปได้ดังนี้
             1. ช่วยให้เราเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นที่แตกต่างกันและสามารถคาดหวังผลจากกระบวนการเรียนรู้หรือไม่ก็ได้ 
             2. ช่วยให้เรามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในจุดหมายที่เป็นไปได้ในระยะเวลาที่ยาวนานหรือความเป็นไปได้ที่จะบรรลุผลในแต่ละช่วงอายุ 
             3. ช่วยให้ความคิดบางอย่างเกี่ยวกับระยะเวลาที่ต้องการให้บรรลุผลตามจุดประสงค์และช่วงอายุซึ่งเป็นความพยายามสูงสุดที่จะเกิดผลดังความตั้งใจ
เมื่อผ่านการกลั่นกรองแล้ว ไทเลอร์ให้คาแนะนาการวางแผนหลักสูตร 3 ประเด็น คือ การเลือกประสบการณ์เรียนรู้ การจัดระบบโครงสร้างประสบการณ์เรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนต้องจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่มุ่งจะ:
             1. พัฒนาทักษะการคิด
             2. ช่วยให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
             3. ช่วยให้ได้พัฒนาเจตคติเชิงสังคม
             4. ช่วยให้ได้พัฒนาความสนใจ
         
           -แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา

             ทาบามีความเห็นว่าหลักสูตรต้องถูกออกแบบโดยครูผู้สอนไม่ใช่คนอื่น โดยส่งเสริมการสร้างสรรค์การสอนและการเรียนรู้มากกว่าการออกแบบหลักสูตร
แบบจาลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา (Taba 1962: 10) มีทั้งหมด 7 ขั้น ดังนี้
             ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการจาเป็น
             ขั้นที่ 2 การกาหนดวัตถุประสงค์
             ขั้นที่ 3 การเลือกเนื้อหาสาระ
             ขั้นที่ 4 การจัดการเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ
             ขั้นที่ 5 การเลือกประสบการณ์เรียนรู้
             ขั้นที่ 6 การจัดการเกี่ยวกับประสบการณ์เรียนรู้
            ขั้นที่ 7 การตัดสินใจว่าจะประเมินอะไรและวิธีการประเมิน

ภาพประกอบ 2 แบบจาลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา

-แบบการจาลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส
เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส (Saylor J.G, Alexander. W.M. and Lewis Arthur J 1981: 24) นาเสนอแบบจาลองในการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ภายใต้แนวคิดของการวางแผนให้โอกาสในการเรียนรู้เพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องสาหรับประชากร ดังนี้
1. จุดหมาย วัตถุประสงค์และขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา
            จุดหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรถูกเลือกหลังจากการพิจารณาตัวแปรภายนอก เช่น ผลการศึกษาจากการวิจัยทางการศึกษา การรับรองมาตรฐาน ความเห็นของกลุ่มสังคม และอื่นๆ
2. การออกแบบหลักสูตร
            นักวางแผนลักสูตรต้องดาเนินการออกแบบหลักสูตร ด้วยการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา ระบุวันเวลาและวิธีการในโอกาสการเรียนรู้ดังกล่าว การออกแบบหลักสูตรคานึงถึง ธรรมชาติของวิชา รูปแบบของสถาบันทางสังคมที่สัมพันธ์กับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
3. การนาหลักสูตรไปใช้
            ผู้สอนนาหลักสูตรไปใช้ในชั้นเรียน โดยจัดการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์และเลือกกลยุทธวิธีการสอนที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุผลการเรียนรู้
4. การประเมินหลักสูตร
            นักวางแผนลักสูตรและผู้สอนร่วมกันประเมินด้วยการเลือกเทคนิคการประเมินที่หลากหลาย การประเมินมีจุดเน้น 2 ประเภท คือ 1) การประเมินผลรวมของการใช้หลักสูตรทั้งโรงเรียน ประกอบด้วย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ จุดประสงค์การเรียน ประสิทธิภาพของการเรียนการสอน และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน 2) การประเมินกระบวนการหลักสูตรทั้งระบบ ตั้งแต่การออกแบบหลักสูตร การนาหลักสูตรไปใช้ เพื่อตัดสินใจว่าหลักสูตรมีประสิทธิภาพเพียงใด
แบบการจาลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส ดังภาพประกอบ 3

ภาพประกอบ 3 แบบการจาลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส

-แบบจาลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา
แบบจาลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวาเป็นความสัมพันธ์อย่างละเอียดระหว่างองค์ประกอบที่เป็นสาระสาคัญครอบคลุมกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตั้งแต่ต้นจนจบ นักพัฒนาหลักสูตรต้องทาความเข้าใจแต่ละขั้นโดยตลอด จากข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญาถึงการประเมินหลักสูตร ดังภาพประกอบ 4
ภาพประกอบ แบบจาลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา


ภาพประกอบ แบบการจาลองการพัฒนาหลักสูตรของโอลิวา
และจากภาพประกอบโอลิวา (Oliva.P.E 1992) นาเสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการเรียนการสอนอย่างเป็นขั้นตอน 12 ตอน ดังนี้
            ขั้นที่ 1 - กาหนดปรัชญา จุดหมายการศึกษา และความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
            ขั้นที่ 2 - วิเคราะห์ความต้องการจาเป็นของผู้เรียนและสังคม
            ขั้นที่ 3 และ 4 - กาหนดวัตถุประสงค์ที่ได้จากขั้นที่ 1 และ 2
            ขั้นที่ 5 - การบริหารและนาหลักสูตรไปใช้
            ขั้นที่ 6 และ 7 - การเพิ่มระดับจุดหมายของการเรียนการสอน
            ขั้นที่ 8 - การเลือกกลวิธีการสอน
            ขั้นที่ 9 - การเลือกวิธีการประเมินผลก่อนเรียน
            ขั้นที่ 10 - การดาเนินการจัดการเรียนการสอน
            ขั้นที่ 11 - เก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินผลการเรียนการสอน
            ขั้นที่ 12การประเมินหลักสูตรทั้งระบบ
          
           -แบบจาลองการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย วงษ์ใหญ่

วิชัย วงษ์ใหญ่ ได้สรุปแนวคิดและขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร โดยรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรจะเป็นฐานคิดในการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 ดังภาพประกอบที่ 6


ภาพประกอบ 6 รูปแบบและขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรและการสอนของวิชัย วงษ์ใหญ่
 ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้
             1. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ใช้ข้อมูลสภาพปัญหาและความต้องการของสังคม มากาหนดจุดมุ่งหมาย หลักการและโครงสร้าง และออกแบบหลักสูตร โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญประกอบ
             2. ยกร่างเนื้อหาสาระ แต่ละกลุ่มประสบการณ์ แต่ละหน่วยการเรียน และแต่ละรายวิชา โดยปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชา คณะกรรมการฯ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชาเป็นผู้กาหนดผลการเรียนรู้ จุดประสงค์ เชิงพฤติกรรมหรือจุดประสงค์การเรียนรู้ วางแผนการสอน ทาบันทึก ผลิต  สื่อการสอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
              3. ทดลองใช้หลักสูตรในสถานศึกษานาร่อง และแก้ไขข้อบกพร่อง
              4. อบรมผู้สอน ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาให้เข้าใจหลักสูตรใหม่
              5. ปฏิบัติการสอน กิจกรรมการใช้หลักสูตรใหม่มี 4 ประการ คือ
                      5.1 การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน คือจัดทาวัสดุ สื่อการสอน
                      5.2 ผู้บริหารจัดเตรียมสิ่งต่างๆ เช่น บุคลากร (ครู) วัสดุหลักสูตร และบริการต่างๆ
                      5.3 การสอน ผู้สอนประจาการ ทาหน้าที่ดาเนินการสอน
                      5.4 การประเมินผล ประเมินทั้งผลการเรียนและหลักสูตร แล้วนาไปแก้ไข

-แบบจาลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model
จากการศึกษาแนวคิดของนักพัฒนาหลักสูตรทั้งต่างประเทศและในประเทศ มีผู้สร้างแบบจาลองการพัฒนาหลักสูตรมากมาย เช่น โอลิวา (Oliva) ไทเลอร์ (Tyler) เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส ทาบา (Taba) และวิชัย วงษ์ใหญ่ เป็นต้น จากแบบจาลองของนักพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว จึงสามารถสรุปเป็นแบบจาลองการพัฒนาหลักสูตร SU Model ดังนี้

ภาพประกอบที่ 7 SU Model ที่มา สุเทพ อ่วมเจริญ 2555 : 78
             SU Model คือ รูปแบบจาลองโลกแห่งการศึกษา โดยประกอบด้วยวงกลม ซึ่งเปรียบเสมือนจักรวาลแห่งการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานที่สาคัญ 3 ด้าน คือ 1) พื้นฐานด้านปรัชญา 2) พื้นฐานด้านจิตวิทยา และ 3) พื้นฐานด้านสังคม ด้านสามเหลี่ยมระหว่างความรู้กับผู้เรียนมีพื้นฐานสาคัญคือ พื้นฐานด้านปรัชญา ด้านสามเหลี่ยมระหว่างผู้เรียนกับสังคมมีพื้นฐานสาคัญคือ พื้นฐานด้านจิตวิทยา และด้านสามเหลี่ยมระหว่างสังคมกับความรู้มีพื้นฐานสาคัญคือ พื้นฐานด้านสังคม
เมื่อพิจารณาพื้นฐานด้านปรัชญา แนวคิดของการพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ความรู้ (Knowledge) กากับด้วยปรัชญาทางการศึกษา 2 ปรัชญา คือ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) ซึ่งมีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณี และ ปรัชญานิรันดรนิยม (Perenialism) ที่มีแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนด้วยเหตุผล เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระที่มั่นคง การพัฒนาหลักสูตรที่มีจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ผู้เรียน (Learner) กากับด้วยปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) ซึ่งมีแนวคิดที่ให้บุคคลมีเสรีภาพในการเลือกด้วยตนเอง มีแนวทางการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการพัฒนาหลักสูตรที่มี
จุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น สังคม (Social) จะกากับด้วยปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (Reconstructionism) โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เนื่องจากสังคมมีปัญหา
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดแบบจำลอง SU Model
               กระบวนการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทาหลักสูตร โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
               สามเหลี่ยมแรก เป็นการวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) ซึ่งจะเห็นว่ากากับด้วยความรู้ (Knowledge) และสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์คาถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องมีจุดหมายที่ชัดเจน เพื่อนาไปวางแผนและกาหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร หลักสูตรต้องวางแผนให้มีเนื้อหาครบคลุมในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และต้องเรียน
การวางแผนหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
                1. ผู้พัฒนาหลักสูตรศึกษาสาระสาคัญของความรู้ในประเด็นการวางแผนหลักสูตรจากแหล่งความรู้ต่างๆให้กระจ่างแจ้ง
                2. ทาความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา แล้วนาข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
                3. ผู้พัฒนาหลักสูตรฝึกเขียนการวางแผนหลักสูตรโดยนาสาระสาคัญมาจาก 21st Century Skills: The Challenges Ahead; A World Class Education ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการเขียน วิสัยทัศน์ (Vision) ของหลักสูตร
สามเหลี่ยมรูปที่สอง เป็นการออกแบบ (Curriculum Design) คือการนาจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มาทากรอบการปฏิบัติ ซึ่งจะเห็นว่ากากับด้วยผู้เรียน (Learner) และสอดคล้องกับคาถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์การศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา 
                ดังนั้นการออกแบบหลักสูตรจึงเน้นการออกแบบเนื้อหา (Content) ประสบการณ์การเรียนรู้ หรือกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities) ที่ก่อให้เกิดความรู้แก่ผู้เรียน เพื่อให้ตอบสนองจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
                 1. ผู้พัฒนาหลักสูตรศึกษาสาระสาคัญของความรู้ในประเด็นการออกแบบหลักสูตรจากแหล่งความรู้ต่างๆให้กระจ่างแจ้ง
                 2. ทาความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา แล้วนาข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
                 3. ผู้พัฒนาหลักสูตรฝึกเขียนการออกแบบหลักสูตร โดยนาสาระสาคัญมาจากโมเดลต้นแบบเชิงวัตถุประสงค์ (Objective Model) หรือโมเดลต้นแบบเชิงเหตุผล การปรับปรุงโมเดลโดยฮิลดา ทาบา รูปแบบของการออกแบบหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา เน้าผู้เรียนเป็นสาคัญ และเน้นปัญหาสังคมเป็นสาคัญ หลักการออกแบบหลักสูตร 7 ประการของสก็อตแลนด์ แนวคิดการออกแบบหลักสูตรที่ส่งเสริมความเป็นเลิศในการเรียนรู้และการสอนของมหาวิทยาลัยกิฟฟิธ การออกแบบหลักสูตรรายวิชาตามแนวคิดของเวสมินส์เตอร์ เอ็กเชงจ์ มหาวิทยาลัยเวสมินเตอร์ และการออกแบบหลักสูตรด้วยแนวคิดวัตถุประสงค์เป็นฐาน เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการเขียนพันธกิจ (Mission) ของหลักสูตร
สามเหลี่ยมรูปที่สาม เป็นการจัดหลักสูตร (Curriculum Organization) ซึ่งจะเห็นว่ากากับด้วยผู้เรียน (Learner), ความรู้ (Knowledge) และสังคม (Society) ทั้งยังสอดคล้องกับคาถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ มีความหมายรวมถึง การบริหารจัดการหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา การนิเทศการสอน เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร พร้อมกับสามารถนาความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข
การจัดหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
                1. ผู้พัฒนา รวบรวมข้อมูลความรู้และทาความเข้าใจให้กระจ่างแจ้ง
                2. ทาความเข้าใจต่อข้อมูลที่ศึกษามา แล้วนาข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศ
                3. ยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่ โดยนาความรู้ตามแนวคิดของออร์นสไตน์และฮันกิน ไปออกแบบเป็นหลักสูตร
สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินหลักสูตร และผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร ซึ่งจะเห็นว่ากากับด้วยสังคม (Society) และสอดคล้องกับคาถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทาให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนาไปใช้ในสังคม
การประเมินหลักสูตร มีแนวปฏิบัติ ดังนี้
                1. ผู้พัฒนาศึกษาข้อมูลและทาความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินหลักสูตรให้กระจ่างแจ้ง
                2. นาความรู้ที่รวบรวมได้ มาประมวลเป็นข้อมูลใหม่ โดยนาเสนอในรูปแบบสารสนเทศ
                3. ผู้พัฒนาศึกษาแนวคิดการประเมินหลักสูตร แล้วเลือกใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรตามความสนใจเมื่อผู้พัฒนาต้องการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้พัฒนาต้องใช้เครื่องมือวัดในการประเมิน เช่น แบบทดสอบความรู้ตามสภาพจริง แบบสังเกตพฤติกรรม การประเมินการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมงาน แล้วกาหนดเกณฑ์การประเมินโดยใช้ The SOLO Taxonomy
     4.แลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนนักศึกษาหรือผู้รู้ จากคากล่าวว่า แบบจาลองในการพัฒนาหลักสูตร มีพื้นฐานมาจากแบบจาลองเชิงเหตุผลของไทเลอร์ ท่านเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร
ตอบ  เห็นด้วย เพราะ ถือว่าเป็นต้นแบบของการพัฒนาหลักสูตร ไทเลอร์ให้คาแนะนาว่า ในการกาหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตรทาได้ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ประกอบด้วย
             1. ข้อมูลผู้เรียน
             2. ข้อมูลสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
             3. ข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา
นาข้อมูลจาก 3 แหล่งนี้มาวิเคราะห์เชื่อมโยง เพื่อนาข้อมูลไปกาหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร ต่อจากนั้นจึงกลั่นกรองด้วยปรัชญาการศึกษาของสถาน
ศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้

สรุป(Summary)


              แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร เป็นวิธีที่ให้ความสะดวกง่ายๆ ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่จำเป็นของหลักสูตรในกระบวนการของการพัฒนาหลักสูตรส่วนที่จำเป็นของหลักสูตร คือจุดประสงค์/ผลที่ได้รับ เนื้อหาวิชา วิธีการสอนและการประเมินผล
              แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย แบบจำลองเชิงเหตุผล ของไทเลอร์และบาทา แบบจำลองวงจรของวีลเลอร์และนิโคลส์ และแบบจำลองที่ไม่หยุดนิ่ง หรือแบบจำลองปฏิสัมพันธ์ ของวอคเกอร์และสกิลเบค และแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของ นักการศึกษาอื่นๆ เช่น แบบจำลองของเซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ พริ้นท์ และ โอลิวา

Power point สรุปองค์ความรู้สัปดาห์ที่ 7


11 ต.ค. 2561

แบบจำลองของโอลิวา

    

                โอลิวา  (oliva)  ได้แสดงแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของตน เพื่อให้บรรลุเกณฑ์สามประการคือ  ประการแรก  แบบจำลองจะต้องเรียบง่าย (simple) มีความครอบคลุมกว้างขวาง(comprehensive) และมีความเป็นระเบียบ (systematic) ซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอนคือ หนึ่งประพจน์ของปรัชญา (statement of philosophy) สองประพจน์ของเป้าประสงค์  (statement of goals) สามประพจน์ของจุดประสงค์ (statement  of objectives) สี่การออกแบบของแผน (besign  of  plan)  ห้านำไปใช้ปฏิบัติ (implementation)  และสุดท้ายการประเมินผล ดังภาพ 8.14
               แม้ว่าแบบจำลองนี้จะเป็นตัวแทนขององค์ประกอบที่จำเป็นที่สุด  แต่ก็พร้อมที่จะขยายไปสู่แบบจำลองที่ขยายแล้ว  ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มเติมผนวกเข้าไป  และแสดงกระบวนการบางอย่างซึ่งปรับจากแบบจำลองเดิม  แบบจำลองโอลิวาที่ขยายแล้วมี  12  องค์ประกอบปรากกฎ  ดังภาพ ประกอบ 25
               องค์ประกอบสิบสองประการ   แบบจำลองที่ปรากฏในภาพที่ 8.14 แสดงความครอบคลุมกว้างเป็นกระบวนการที่เป็นไปทีละขั้นๆ (step- by-step) ที่นำผู้วางแผนหลักสูตรที่เริ่มจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ของหลักสูตรไปสู่การประเมินผล แต่ล่ะองค์ประกอบ (ออกแบบโดยใช้เลขโรมันจาก l ถึง xll จะได้รับการพรรณนาและแนะนำให้กับผู้วางแผนหลักสูตรและผู้มีส่วนร่วม โดยสรุปดังนี้
               เราสังเกตพบว่าในแบบจำลองนี้ใช้ทั้งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและวงกลม  รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสใช้เป็นตัวเป็นตัวแทนของระยะการวางแผน (Operational phase) กระบวนการเริ่มต้นด้วยองค์ประกอบที่ l ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ผู้พัฒนาหลักสูตร กำหนดความมุ่งหมายของการศึกษาหลังการทางปรัชญาและจิตวิทยาความมุ่งหมายเหล่านี้เชื่อว่าได้มาจากความต้องจากความต้องการจำเป็นของสังคม และความต้องการจำเป็นเช่นเดียวกับแบบจำลองของนักการศึกษาอื่นๆ แบบจำลองของโอลิวา ก็รวมทั้งแผนของการพัฒนาหลักสูตร (องค์ประกอบที่ I-และองค์ประกอบที่ XII) และการออแบบการเรียนการสอน (องค์ประกอบที่ VI-XI)
              ลักษณะสำคัญของแบบจำลองนี้คือ เส้นของข้อมูลป้อนกลับ (feedback lines) ซึ่งเป็นวงจรย้อนกลับจากการประเมินผลหลักสูตรไปยังเป้าประสงค์ของหลักสูตร และจากการประเมินผลการเรียนการสอนไปยังเป้าประสงค์ของการเรียนการสอน เส้นเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นของการแก้ไขปรับปรุงองค์ประกอบของแต่ละวงจรย่อยอย่างต่อเนื่อง
              การใช้แบบจำลอง แบบจำลองนี้สามารถนำไปใช้ได้อย่างหลากหลาย ทิศทางแรกแบบจำลองนี้ได้เสนอกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่สมบูรณ์ของโรงเรียน สาขาวิชาต่างๆ ในแต่ละสาขา เช่น ศิลปะภาษา ก็จะสามารถพัฒนาหลักสูตรโดยอาศัยแบบจำลองนี้ได้ แผนสำหรับหลักสูตรในสาขาวิชานี้และการออกแบบวิธีการใช้หลักสูตรด้วยการจัดการเรียนการสอน หรือ แต่ละสาขาวิชาอาจพัฒนาโปรแกรมสหวิทยาการของโรงเรียน โดยการผสมผสานระหว่างวิชาเฉพาะ เช่น การศึกษาอาชีพ (Career education) การแนะแนว (guidance) และกิจกรรมพิเศษของชั้นเรียน ทางที่สอง สาขาวิชาอาจเน้นองค์ประกอบหลักสูตรแบบจำลอง (องค์ประกอบที่ I-และ XII) เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับโปรแกรม หนทางที่สาม สาขาวิชาอาจเน้นที่องค์ประกอบของการเรียนการสอน (VI-XI)
              แบบจำลองย่อยสองแบบ แบบจำลองทั้งสิบสองระยะที่กล่าวถึงนี้เป็นการบูรนาการผสมผสานแบบจำลองทั่วไปสำหรับการพัฒนาหลักสูตร กับแบบจำลองทั่วไปสำหรับการเรียนการสอน องค์ประกอบที่ (I-และ XII)   ประกอบด้วยแบบจำลองย่อยของการพัฒนาหลักสูตรซึ่ง โอลิวา อ้างว่า เป็นแบบจำลองย่อยของหลักสูตร องค์ประกอบที่ VI-XI ประกอบด้วยแบบจำลองย่อยของการเรียน การสอน ในการแยกความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบของหลักสูตรและองค์ประกอบของการเรียน   การสอน โอลิวาได้ใช้เส้นประสำหรับแบบจำลองย่อยของการเรียนการสอน เมื่อไม่มีการแบบจำลองย่อย  (sub model) ของหลักสูตร ผู้วางแผนหลักสูตรต้องกำหนดในใจว่าภาระงานยังไม่เสร็จสมบูรณ์ จนกระทั่งได้มีการแปรเป้าประสงค์และจุดประสงค์ของหลักสูตรออกเป็นขั้นตอนย่อยๆสู่การเรียนการสอน ต่อจากนั้นเมื่อมีการใช้แบบจำลองของการเรียนการสอน ผู้วางแผนหลักสูตรต้องรับรู้เป้าประสงค์และจุดประสงค์หลักสูตรของโรงเรียนหรือของสาขาวิชาโดยรวม สำหรับผู้ที่ไม่ชอบขั้นตอนที่เป็นไดอาแกรมตามภาพ โอลิวาได้จัดเตรียมรายการของขั้นตอนโดยเรียงลำดับดังนี้
               1. ระบุความต้องการจำเป็นของนักเรียนโดยทั่วๆ ไป
               2. ระบุความต้องการของสังคม
               3. เขียนประพจน์ของปรัชญาและความมุ่งหมายของการศึกษา
               4. ระบุความต้องการจำเป็นของนักเรียนในโรงเรียน
               5. ระบุความต้องการจำเป็นของชุมชนเฉพาะ
               6. ระบุความต้องการจำเป็นของเนื้อหาวิชา
               7. ระบุเป้าประสงค์ของหลักสูตรในโรงเรียน
               8. ระบุจุดประสงค์ของหลักสูตรในโรงเรียน
               9. จัดหลักสูตรและนำไปใช้
               10. ระบุเป้าประสงค์การเรียน
               11. ระบุจุดประสงค์การเรียนนำกลยุทธ์การเรียนการสอน
               12. เลือกกลยุทธ์การเรียนการสอน
               13. เริ่มต้นเลือกกลยุทธ์การประเมินผล
               14. นำกลยุทธ์การเรียนการสอนไปปฏิบัติ
               15. เลือกกลยุทธ์การเรียนการสอนขั้นสุดท้าย  
               16. ประเมินผลการเรียนการสอนและปรับปรุงขององค์ประกอบของการเรียนการสอน
               17. ประเมินผลหลักสูตรและปรับปรุงองค์ประกอบของหลักสูตร
               ขั้นที่ 1-และ 17 ประกอบด้วยแบบจำลองย่อยของหลักสูตร ขั้นที่ 10-16 เป็นแบบจำลองย่อยของการเรียนการสอน  
ความเหมือนและความต่างของแบบจำลองต่างๆ
              แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรที่ได้อภิปรายมาแล้ว เผยให้เห็นทั้งความเหมือนและความต่าง ไทเลอร์ บาทา และคนอื่นๆ ได้กำหนดสังเขปลำดับขั้นตอนในการดำเนินการพัฒนาหลักสูตร ส่วนเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์ และลีวีส ได้เขียนแผนภูมิองค์ประกอบของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร (การออกแบบ การนำไปใช้ และการประเมินผล) ในทางตรงกันข้ามกับการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติหลักสูตรหรือโดยไม่คำนึงถึงการกระทำที่ผู้ปฏิบัติหลักสูตรจะต้องทำ (การวินิจฉัยความต้องการจำเป็น การกำหนดจุดประสงค์ และอื่นๆ) มโนทัศน์เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลและตะแกรงการกลั่นกรองเป็นสิ่งที่โดดเด่นในแบบจำลองของไทเลอร์
              แบบจำลองทั้งหลายไม่ได้มีความสมบูรณ์เสมอไปไม่สามารถแสดงรายละเอียดและความผิดแผกแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ ทุกอย่างของกระบวนการที่ซับซ้อนเช่นเดียวกับการพัฒนาหลักสูตรได้ ในแง่มุมหนึ่งผู้ริเริ่มออกแบบจำลอง กล่าวว่าบางครั้งในเชิงของแบบกราฟิก “ลักษณะเหล่านี้เป็นลักษณะที่ไม่ควรลืม” ในการพรรณนารายละเอียดทุกๆอย่างของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรควรจะกำหนด การวาดภาพที่สลับซับซ้อนมากๆ หรือให้มีแบบจำลองออกมาจำนวนมากๆ ภาระงานอย่างหนึ่งในการสร้างแบบจำลองการปรับปรุงหลักสูตร คือการตัดสินใจว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในกระบวนการ ซึ่งไม่ได้เป็นภาระงานที่ง่าย และจำกัดแบบจำลองให้อยู่ในกรอบขององค์ประกอบเหล่านั้น ผู้สร้างแบบจำลองพบว่าตนเองอยู่ระหว่างอันตราย (หนีเสือปะจระเข้) ของการทำให้เรียบง่ายเกินไป (Oversimplification) กับการทำให้ซับซ้อนและสับสน
              เมื่อพิจารณาแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรที่หลากหลายแล้วเราไม่สามารถกล่าวได้ว่า แบบจำลองแบบใดแบบหนึ่งมีความเหนือกว่าแบบจำลองอื่นๆ ตัวอย่างเช่นผู้วางแผนหลักสูตรบางคนอาจจะใช้แบบจำลองของไทเลอร์มานานหลายปีและพิจารณาได้ว่าประสบความสำเร็จหรืออีกนัยหนึ่งความสำเร็จนี้มิได้หมายความว่าแบบจำลองของไทเลอร์เป็นตัวแทนที่ดีสุดสำหรับการปรับปรุงหลักสูตรหรือนักการศึกษาทุกคนพอใจกับแบบจำลองนี้ เมื่อมีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ถึงความซับซ้อนของธรรมชาติการพัฒนาหลักสูตรแล้วเป็นที่สังเกตว่าการปรับปรุงแบบจำลองที่เกิดขึ้นก่อนสามารถที่จะกระทำได้
              ก่อนที่จะเลือกแบบจำลองหรือออกแบบจำลองใหม่ผู้วางแผนหลักสูตรอาจจะกำหนดเกณฑ์หรือคุณลักษณะที่ต้องการสำหรับการปรับปรุงหลักสูตร เป็นที่ยอมรับกันว่า แบบจำลองโดยทั่วไปควรแสดงถึงสิ่งต่อไปนี้
              1. องค์ประกอบที่สำคัญของกระบวนการถึงระยะของการวางแผนการนำไปใช้และการประเมินผล
              2. ธรรมเนียมการปฏิบัติ แต่ไม่จำเป็นต้องตายตัว คือมีจุด “เริ่มต้น” และ “จบ”
              3. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการเรียนการสอน
              4. ความแตกต่างระหว่างหลักสูตรและเป้าประสงค์และจุดประสงค์ของการเรียนการสอน
              5. ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างองค์ประกอบต่างๆ
              6. มีรูปแบบเป็นวงจรมากกว่าที่จะเป็นเส้นตรง
              7. มีเส้นการให้ข้อมูลป้อนกลับ
              8. มีความเป็นไปได้ที่จะเข้าไปในจุดใดจุดหนึ่งของวงจร
              9. มีความสอดคล้องภายในและมีตรรกะ
              10. มีความเรียบง่ายเพียงพอที่จะเข้าใจได้และทำได้
              11. มีการแสดงองค์ประกอบในรูปของไดอะแกรมหรือแผนภูมิ
              เกี่ยวกับสิ่งดังกล่าวนี้ โอลิวาได้ยอมรับว่า เป็นเกณฑ์ที่มีเหตุผลที่ปฏิบัติตามได้และเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายปลายทาง โอลิวาได้เสนอแบบจำลองที่ควบคู่ไปกับข้อแนะนำข้างต้นซึ่งจะทำให้บรรลุความมุ่งหมายสองประการ คือ
              1. เพื่อเสนอแนะระบบที่ผู้วางแผนหลักสูตรประสงค์จะปฏิบัติตาม
              2. เพื่อทำหน้าที่เป็นกรอบงานสำหรับการอธิบายระยะต่างๆ หรือองค์ประกอบต่างๆ ของกระบวนการปรับปรุงหลักสูตร
              เมื่อพิจารณาแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรต่างๆ ทั้งแบบจำลองเชิงเหตุผลของไทเลอร์และบาทา แบบจำลองวงจรของวีลเลอร์และนิโคลส์ และแบบจำลองที่ไม่หยุดนิ่ง (หรือแบบจำลองปฏิสัมพันธ์) ของวอคเกอร์และสกิลเบค ตลอดจนแบบจำลองของนักการศึกษาคนอื่นๆ ดังที่ได้กล่าวแล้ว แบบจำลองเหล่านี้มีขั้นตอนการปฏิบัติที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ในส่วนที่แตกต่างกันคือ บางแบบจำลองมีขั้นตอนละเอียดมากและแต่ละแบบจำลองก็มีขั้นตอนที่เป็นจุดร่วมที่เหมือนกันที่พอจะสรุปเป็นขั้นของการพัฒนาหลักสูตรที่ครอบคลุมได้ห้าขั้นตอน คือ
              1. การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
              2. การเลือกเนื้อหาวิชาและประสบการณ์
              3. การนำหลักสูตรไปปฏิบัติ
              4. การประเมินผลหลักสูตร
              5. การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตร