1 ก.ย. 2561
28 ส.ค. 2561
คิดยกกำลังสอง : ทักษะสำหรับโลกในอนาคต
ในศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้แบบท่องจำ และการเรียนรู้เพื่อรู้แต่ข้อมูล (Information) เพียงอย่างเดียวจะมีประโยชน์น้อยลงทุกที หรือเรียกได้ว่า ความรู้จาก 1i (Information) ไม่เพียงพอต้องปรับเปลี่ยนเป็น 4i คือ
1. จินตนาการ (Imagination) หมายถึงความสามารถในการสร้างภาพในสมอง ซึ่งภาพเหล่านี้ไม่ได้รับรู้ผ่านการ
มองเห็น การได้ยิน หรือผ่านวิธีการรับรู้อื่น ๆ จินตนาการถือได้ว่าเป็นตัวช่วยสำคัญในการนำความรู้ไปใช้งานจริงและแก้ไข
ปัญหาต่าง ๆ และยังเป็นรากฐานในการรวมประสบการณ์และกระบวนการเรียนรู้เข้าด้วยกัน
2. แรงดลใจ (Inspiration) หมายถึง พลังอำนาจในตนเองชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในการขับเคลื่อนการคิดและ การกระทำใดๆ
ที่พึงประสงค์ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้ตามต้องการไม่ว่าสิ่งที่ตนกระทำนั้นจะยากสักเพียงใด ตนก็พร้อมที่จะฝ่าฟันอุปสรร
ทั้งหลายสู่ความสำเร็จที่ต้องการให้จงได้ แม้จะต้องเสียสละบางสิ่งของตนเองไปบ้าง ก็พร้อมที่จะเสียสละได้เสมอ ถ้าจะช่วย
นำมาซึ่งผลสำเร็จที่ต้องการนั้นได้จริง ๆ
3. ความเข้าใจลุ่มลึก (Insight) หมายถึง บุคคลเมื่อได้เห็นข้อมูลจำนวนมากๆ แล้วสามารถสังเคราะห์ข้อมูลจนมี
ความเข้าใจด้วยตนเองอย่างลึกซึ้ง
4. เกิดญานทัศน์ (Intuition) หมายถึง เป็นการเข้าถึงสภาวะจิตใจที่ทำให้เราเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ปัญญาญาณเป็น
ส่วนที่เป็นจิตเหนือสำนึก เป็นเรื่องของการหยั่งรู้ เป็นการรับรู้แบบปิ๊งแว้บ เป็นการรู้ที่ก้าวข้ามตรรกะและเหตุผลทักษะแห่ง
โลกอนาคตหรือทักษะแห่งศตวรรษที่ 21ที่ต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนนั้นมี3 องค์ประกอบ ซึ่งใช้ตัวย่อว่า ASK มีรายละเอียด ดังนี้
1. A (Attitude) เป็นเรื่องของทัศนคติ อุปนิสัยความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
2. S (Skill) เป็นเรื่องของทักษะ ทักษะการสื่อสาร ทักษะในการเรียนรู้ ทักษะการทำงานต่างๆ มีความอดทน อด
กลั้นต่อสิ่งต่างๆ
3. K (Knowledge) เป็นเรื่องของความรู้ การคิดเชิงวิพากษ์ และการเรียนรู้จากหลายๆ แหล่ง
ปัจจุบัน สถานศึกษาต่างๆ ให้ความสำคัญกับตัว K หรือ ตัวความรู้มากไปหน่อย ควรให้ความใส่ใจกับเรื่องของ A(Attitude) และ S (Skill) ให้มากขึ้น ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนต้องเปลี่ยนแปลงโดยให้ผู้เรียนมีบทบาทมากขึ้นหรือให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในลักษณะของ Active Learning การสอนโดยการ Lecture หรือให้ผู้เรียนนั่งฟังอย่างเดียว
องค์ประกอบสำหรับการเรียนในโลกอนาคต
องค์ประกอบสำหรับการเรียนในโลกอนาคต |
กล่าวโดยสรุป โลกใบใหม่เปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม เด็กในโลกอนาคตต้องเตรียมการทำงานที่ยังไม่มี ใช้เทคโนโลยีที่ยังไม่เกิด เพื่อการแก้ปัญหาที่ยังไม่รู้ การสร้างทักษะโลกอนาคต โลกในศตวรรษที่ 21 ด้วยการเรียนรู้จากการ “ทำ” หรือ “การลงมือปฏิบัติจริง” และต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายจึงเป็นคำพูดที่ไม่ผิดนักสำหรับทักษะของโลกอนาคตจะเกิดขึ้นและเป็นจริงได้
ทักษะ
27 ส.ค. 2561
ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรและการสังเคราะห์การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร/ความหมาย
ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
สงัด อุทรานันท์ กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การดำเนินการจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่ หรือจัดทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น
จากแนวคิดข้างต้นจึงสรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตร มี 2 ความหมายคือ 1. การนำหลักสูตรที่มีแล้วมาปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือเรียกว่า “การปรับปรุงหลักสูตร” 2. การสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน โดยใช้กระบวนการการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร/ความหมาย
นักวิชาการคนที่ ๑
|
นักวิชาการคนที่ ๒
|
นักวิชาการคนที่ ๓
|
นักวิชาการคนที่ ๔
|
สังเคราะห์ของชนกนันท์
|
สงัด อุทรานันท์ กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การดำเนินการจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่ หรือจัดทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น
จากแนวคิดข้างต้นจึงสรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตร มี 2 ความหมายคือ 1. การนำหลักสูตรที่มีแล้วมาปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือเรียกว่า “การปรับปรุงหลักสูตร” 2. การสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน โดยใช้กระบวนการการพัฒนาหลักสูตร
|
วิชัย วงษ์ใหญ่ กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตร คือ การพยายามวางโครงการที่จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ตรงตามจุดหมายที่กำหนดไว้ หรือการพัฒนาหลักสูตรและการสอนคือ ระบบโครงสร้างของการจัดโปรแกรมการสอน กำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ การปรับปรุงตำรา แบบเรียน คู่มือครู และสื่อการเรียนต่าง ๆ การวัดและประเมินผลการใช้หลักสูตรการปรับปรุงแก้ไข และการให้ การอบรมครูผู้ใช้หลักสูตรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาหลักสูตรและการสอน
|
เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander) ให้ความหมายว่า “ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน การพัฒนาหลักสูตร อาจหมายรวมถึงการสร้างเอกสารอื่นๆ สำหรับนักเรียนด้วย ”
|
กู๊ด (Good) ได้ให้ความเห็นว่า “ การพัฒนาหลักสูตรเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล ส่วนคำว่าเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่ ”
|
การพัฒนาหลักสูตร หมายถึงการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรเดิมหรือหลักสูตรใหม่ให้เหมาะกับผู้เรียนและยุคปัจจุบัน
การพัฒนาหลักสูตรเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล
|
26 ส.ค. 2561
ประมวลรายวิชาพัฒนาหลักสูตร
ประมวลรายวิชาพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development)ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนมวิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะครุศาสตร์ชื่อรายวิชา พัฒนาการหลักสูตร (Curriculum Development)รหัสรายวิชา 31300305หน่วยกิต 3 (3-0-6)หลักสูตร สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิตประเภทวิชา หมวดวิชาเฉพราะกลุ่มวิชา (วิชาบังคับ)อาจารย์ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิชภาคเรียนที่/ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561สถานที่เรียน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม1.จุดมุ่งหมายของรายวิชา1.1 มีความรู้ในเรื่องการพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีหลักสูตร และแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร1.2 วิเคราะห์พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา ด้านสังคม ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และด้านสาขาวิชา1.3 มีทักษะกระบวนการพัฒนาหลักสูตร การวางแผ่นหลักสูตร การออกแบบหลักสูตรการจัดหลักสูตรหรือการนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินหลักสูตร1.4 มีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน1.5 มีเจตคติที่ดีและให้ความสำคัญต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของหลักสูตร2.คำอธิบายรายวิชาศึกษาความหมายวิเคราะห์ อภิปรายถึงความสำคัญ หลักการ แนวคิด ทฤษฎีและพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ประเภทและองค์ประกอบของหลักสูตร รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทยและต่างประเทศ การวางแผนและการออกแบบหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรท้องถิ่น การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตรและการประเมินผลหลักสูตร
3.จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย
|
สอนเสริม
|
การฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม/การฝึกงาน
|
การศึกษาด้วยตัวเอง
|
3 ชั่วโมง/สัปดาห์
|
-
|
0 ชั่วโมง/สัปดาห์
|
6 ชั่วโมง/สัปดาห์
|
4. แผนการสอน
สัปดาห์
|
หัวข้อ/รายละเอียด
|
จำนวนชั่วโมง
|
กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อที่ใช้(ถ้ามี)
|
ผู้สอน
|
1
|
แนะนำรายวิชาวางแผนการเรียนรู้ร่วมกันการพัฒนามนุษย์
การศึกษาการเรียนรู้ของมนุษย์-การพัฒนาหลักสูตร
นิยาม/ความหมาย
|
3
|
-บรรยาย/อภิปราย/สรุป
-ประมวลการสอน
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
|
2
|
ประเภทของหลักสูตร
-หลักสูตรบูรณาการ
-หลักสูตกว้าง
-หลักสูตรเสริมประสบการณ์
-หลักสูตรหลายวิชา
-หลักสูตรแกน
-หลักสูตรแฝง
-หลักสูตรสัมพันธ์วิชา
-หลักสูตรเกลียวสว่าน
-หลักสูตรสูญ
|
3
|
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
|
3
|
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรความหมายของการพัฒนาหลักสูตรหลักการพัฒนาหลักสูตร ผลที่ได้จากการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการในการพัฒนาหลักสูตร รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
|
6
|
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
|
4
|
ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
|
3
|
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
|
5-6
|
แบบจำลองพัฒนาหลักสูตร หลักสูตรแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
|
6
|
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
|
สัปดาห์
|
หัวข้อ/รายละเอียด
|
จำนวนชั่วโมง
|
กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อที่ใช้(ถ้ามี)
|
ผู้สอน
|
7
|
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ความจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา แนวคิดการพัฒนาหลักสูตร ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
|
3
|
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
|
8
|
ประเมินผลกลางภาค
|
3
|
ทดสอบ แบบทดสอบ
| |
9-10
|
การวางแผนพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอนโดยการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
ประโยชน์ของการเรียนการสอนโดยการใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
|
6
|
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
|
11-12
|
การนำหลักสูตรไปใช้
หลักกรนำหลักสูตรไปใช้
ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้
ผู้เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
|
6
|
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
|
13-15
|
การประเมินหลักสูตร
รูปแบบของการประเมินหลักสูตรปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร
|
9
|
-การนำเสนอเป็นกลุ่ม/อภิปราย/บรรยาย
-Power Point/ตัวอย่างในหนังสือ
|
ผศ.ดร.พิจิตรา
|
16
|
ประเมินผลปลายภาค
|
3
|
ทดสอบ แบบทดสอบ
| |
รวม
|
48
|
5. แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
รายวิชา การพัฒนาลักสูตร มีแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivist) การเรียนรู้วิจัยเป็นฐาน (Research-Based Learning) และการเรียนรู้ตามแบบจำลอง NPU Model รายละเอียดดังต่อไปนี้
5.1 การวิเคราะห์ความต้องการในการเรียนรู้
5.2 วางแผนการเรียนรู้
5.3 ออกแบบการเรียนรู้
1) การวิเคราะห์และกำหนดผลการเรียนรู้ของตนเอง
2) การเข้าชั้นเรียน การร่วมสัมมนา เสนอประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร
3)การฝึกปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา หรือหลักสูตรตามความเข้าสนใจ
4)การประเมินหลักสูตร การวิพากษ์และรายงานคุณภาพหลักสูตรหลังนำไปใช้
5.4 การใช้ทรัพยากรในการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้
5.5 การประเมินผลการเรียนรู้
ออกแบบการเรียนรู้ วางแผนการเรียนรู้ และการประเมินการเรียนรู้
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงหลักการ 7 ประการในการออกแบบหน่วยดังแผนภาพ
ใช้หลักการออกแบบการสอนตามองค์ประกอบหลัก 4 ประการ คือ
1. หลักการสอน
2. จุดมุ่งหมายของการพัฒนาการสอน
3. การสอน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนปฏิบัติดังนี้ ขั้นที่1 วิเคราะห์จุดหมายในการเรียนรู้
ขั้นที่2 การวางแผนการเรียนรู้
ขั้นที่3 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้
ขั้นที่4 การสรุปความรู้ และการวิพากษ์ความรู้ ขั้นที่5 การประเมินการเรียนรู้ 4. การประเมินผล
ปรับจาก Ctatterji, Madhabi. (2003) Designing and using tools for educational assessment. Pearson Education, Inc. p.30
ซึ่งในแต่ระหน่วยการเรียนรู้จะประกอบไปด้วยหัวข้อต่างๆ ได้แก่
- มโนทัศน์(concept)
- ผลการเรียนรู้(Learning Outcome)
- สาระเนื้อหา(Content)
- สรุป(Summary)
- ตรวจสอบทบทวน(Self-test)
- กิจกรรม(Activities)
หลักการประเมินผลการเรียนรู้
กรอบที่ในการอ้างอิงทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการประเมินผลการศึกษาระดับอุดมศึกษาครั้งนี้คือ หลักการประเมินผลการเรียนรู้และการให้ข้อเสนอแนะที่ดี: ทฤษฎีและหลักการ ที่เป็นผลการศึกษาวิจับของเดวิด นิโคล (David Nicol University of Strathclyde) ซึ่งนำเสนอหลักการประเมินผลและการให้ข้อมูลย้อนกลับทีดี 10 ข้อ ดังนี้
1.ให้ความชัดเจนว่าการปฏิบัติงานที่ดีเป็นอย่างไร (เป้าหมาย เกณฑ์การวัด เกณฑ์มาตรฐาน)ขอบเขตของสิ่งที่ผู้เรียนต้องทำในหลักสูตรมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายของงเกณฑ์และมาตรฐานก่อนระหว่าง และหลังการประเมินผลแค่ไหน
2.ให้ “เวลาและความพยายาม” กับการเรียนรู้สิ่งที่ท้าทาย ขอบเขตของงานที่มอบหมายมีส่วนกระตุ้นการเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน อย่างลึกซึ้งแค่ไหน
3.ให้ข้อมูลย้อนกลับคุณภาพสูงที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตรวจสอบความถูกต้องได้ด้วยตนเอง ผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับแบบไหนและความคิดเห็นดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ปรับปรุงด้วยตัวเองได้อย่างไร
4.สร้างความเชื่อที่เป็นแรง บันดาลใจและความเคารพตนเองในทางบวกขอบเขตของการประเมินและการให้ข้อมูลย้อนกลับสามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนและความสำเร็จแก่ผู้เรียนได้แค่ไหน
5. สนับสนุนให้มีการปฏิสัมพันธ์และการพูดคุยในเรื่องการเรียนการสอน (เพื่อนและครูนักเรียน) มีโอกาสใดบ้างสำหรับการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องงานที่มอบหมายเพื่อการประเมินผลในรายวิชาที่สอน
6.อำนวยความสะดวกในการพัฒนาการประเมินตนเองและการสะท้อนความคิดทางด้านการเรียนขอบเขตของโอกาสอย่างเป็นทางการสำหรับการให้ข้อมูลย้อนกลับการประเมินตนเองการประเมินโดยเพื่อนในวิชาที่เรียนมีแค่ไหน
7.ให้โอกาสผู้เรียนเลือกการประเมินผล-เนื้อหาและกระบวนการขอบเขตของผู้เรียนสำหรับการเลือกหัวข้อวิธีการเกณฑ์การวัดผลค่าน้ำหนักคะแนนกำหนดเวลาและงานที่มอบหมายเพื่อการประเมินผล(งานที่ใช้ประเมินผล/การประเมินผลงาน) ในรายวิชาที่สอนมีแค่ไหน
8.ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการประเมินผลและปฏิบัติขอบเขตของข้อมูลผู้เขียนได้รับหรือมีการ ส่วนร่วมให้คำปรึกษา เพื่อการตัดสินใจเรื่องการประเมินผลมีแค่ไหน
9.สนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ขอบเขตของการประเมินผลและการให้ข้อมูลย้อนกลับช่วยสนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้แค่ไหน
10.ช่วยครูผู้สอนในการปรับสอนเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียน ดังนั้นการประเมินผลจะมีหลักการกระบวนการการประเมินการเรียนรู้ดังนี้
1.การประเมินผลต้องยึดตามจุดประสงค์การสอนที่ชัดเจน
2. ขั้นตอนและเทคนิคในการประเมินผลควรเลือกตามจุดประสงค์ในการประเมิน
3. การประเมินผลควรเป็นที่เข้าใจได้ตรงกัน
4. การประเมินผลควรทำอย่างต่อเนื่อง
5. การประเมินผลควรระบุจุดอ่อนจุดแข็งและใช้งานได้
6.การประเมินผลควรเป็นความพยายามร่วมกัน
7. การประเมินผลควรจะมีความละเอียดรอบคอบ
6. การประเมินผล
6.1 ประเด็นการ ประเมินผลของรายวิชาพร้อมค่าน้ำหนักเป็นร้อยละ
1. การสัมมนาประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร ร้อยละ 10
2. ประเมินกิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพความสนใจและเข้าชั้นเรียน ร้อยละ 10
3. การฝึกปฏิบัติ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาหรือตามความสนใจ ร้อยละ 10
4. การนำเสนอผลงานร้อยละ 30 5.การประเมินความรอบรู้กลางภาคเรียน ร้อยละ 20
5.การประเมินความรอบรู้กลางภาคเรียน ร้อยละ 20
6.การประเมินความรอบรู้ปลายภาคเรียน ร้อยละ 20
6.การประเมินความรอบรู้ปลายภาคเรียน ร้อยละ 20
6.2 การกำหนดค่าระดับเกรดแต่ละระดับ ช่วง(ร้อยละ)ของคะแนน
คะแนน (ร้อยละ)
|
เกรด
|
80-100
|
A
|
75-79
|
B+
|
70-74
|
B
|
65-69
|
C+
|
60-64
|
C
|
55-59
|
D+
|
50-54
|
D
|
ต่ำกว่า 50
|
F
|
7. ตำราและเอกสารหลัก
คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่21. การเรียนรู้ : ขุมทรัพย์ในตน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.1997.
8.เอกสารและข้อมูลสำคัญ
ทักษะศตวรรษที่ 21
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)