28 ส.ค. 2561

คิดยกกำลังสอง : ทักษะสำหรับโลกในอนาคต




ในศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้แบบท่องจำ  และการเรียนรู้เพื่อรู้แต่ข้อมูล (Information) เพียงอย่างเดียวจะมีประโยชน์น้อยลงทุกที  หรือเรียกได้ว่า  ความรู้จาก 1i (Information)  ไม่เพียงพอต้องปรับเปลี่ยนเป็น 4i  คือ
1. จินตนาการ (Imagination) หมายถึงความสามารถในการสร้างภาพในสมอง ซึ่งภาพเหล่านี้ไม่ได้รับรู้ผ่านการ
มองเห็น การได้ยิน หรือผ่านวิธีการรับรู้อื่น ๆ จินตนาการถือได้ว่าเป็นตัวช่วยสำคัญในการนำความรู้ไปใช้งานจริงและแก้ไข
ปัญหาต่าง ๆ และยังเป็นรากฐานในการรวมประสบการณ์และกระบวนการเรียนรู้เข้าด้วยกัน
2. แรงดลใจ (Inspiration) หมายถึง พลังอำนาจในตนเองชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในการขับเคลื่อนการคิดและ การกระทำใดๆ
ที่พึงประสงค์ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้ตามต้องการไม่ว่าสิ่งที่ตนกระทำนั้นจะยากสักเพียงใด ตนก็พร้อมที่จะฝ่าฟันอุปสรร
ทั้งหลายสู่ความสำเร็จที่ต้องการให้จงได้ แม้จะต้องเสียสละบางสิ่งของตนเองไปบ้าง ก็พร้อมที่จะเสียสละได้เสมอ ถ้าจะช่วย
นำมาซึ่งผลสำเร็จที่ต้องการนั้นได้จริง ๆ
3. ความเข้าใจลุ่มลึก (Insight) หมายถึง บุคคลเมื่อได้เห็นข้อมูลจำนวนมากๆ แล้วสามารถสังเคราะห์ข้อมูลจนมี
ความเข้าใจด้วยตนเองอย่างลึกซึ้ง
4. เกิดญานทัศน์ (Intuition) หมายถึง เป็นการเข้าถึงสภาวะจิตใจที่ทำให้เราเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ปัญญาญาณเป็น
ส่วนที่เป็นจิตเหนือสำนึก เป็นเรื่องของการหยั่งรู้ เป็นการรับรู้แบบปิ๊งแว้บ เป็นการรู้ที่ก้าวข้ามตรรกะและเหตุผลทักษะแห่ง
โลกอนาคตหรือทักษะแห่งศตวรรษที่ 21ที่ต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนนั้นมีองค์ประกอบ ซึ่งใช้ตัวย่อว่า ASK มีรายละเอียด ดังนี้
1. A (Attitude) เป็นเรื่องของทัศนคติ อุปนิสัยความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
2. S (Skill) เป็นเรื่องของทักษะ ทักษะการสื่อสาร ทักษะในการเรียนรู้ ทักษะการทำงานต่างๆ มีความอดทน อด
กลั้นต่อสิ่งต่างๆ
3. K (Knowledge) เป็นเรื่องของความรู้ การคิดเชิงวิพากษ์ และการเรียนรู้จากหลายๆ แหล่ง
ปัจจุบัน สถานศึกษาต่างๆ ให้ความสำคัญกับตัว K หรือ ตัวความรู้มากไปหน่อย ควรให้ความใส่ใจกับเรื่องของ A(Attitude) และ S (Skill) ให้มากขึ้น ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนต้องเปลี่ยนแปลงโดยให้ผู้เรียนมีบทบาทมากขึ้นหรือให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในลักษณะของ Active Learning การสอนโดยการ Lecture หรือให้ผู้เรียนนั่งฟังอย่างเดียว
องค์ประกอบสำหรับการเรียนในโลกอนาคต
องค์ประกอบสำหรับการเรียนในโลกอนาคต


             กล่าวโดยสรุป โลกใบใหม่เปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม เด็กในโลกอนาคตต้องเตรียมการทำงานที่ยังไม่มี ใช้เทคโนโลยีที่ยังไม่เกิด เพื่อการแก้ปัญหาที่ยังไม่รู้ การสร้างทักษะโลกอนาคต โลกในศตวรรษที่ 21 ด้วยการเรียนรู้จากการ “ทำ” หรือ “การลงมือปฏิบัติจริง” และต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตตั้งแต่เกิดจนตายจึงเป็นคำพูดที่ไม่ผิดนักสำหรับทักษะของโลกอนาคตจะเกิดขึ้นและเป็นจริงได้

ทักษะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น