31 ธ.ค. 2561

เกี่ยวกับบล็อก




บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการพัฒนาหลักสูตร

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิจิตรา  ธงพานิช
สาขาวิชาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยนครพนม

ผู้จัดทำ นางสาวชนกนันท์  ตันติวิไล
รหัสนักศึกษา 603150110303  ชั้นปีที่ 2

สาขาการศึกษาปฐมวัย  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยนครพนม
ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา  2561

19 พ.ย. 2561

ปัญหาในกรพัฒนาหลักสูตร


1. 1.ปัญหาด้านการยอมรับในการเปลี่ยนแปลง
1.1. สาเหตุ
- การขาดความเข้าใจหรือประสบการณ์เดิมที่ผ่านมา
- บรรทัดฐานทางสังคม
- การยอมรับของกลุ่ม
- การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
- การให้อำนาจในการกำหนดกิจกรรม
1.2. การแก้ปัญหา
- การพัฒนานวัตกรรม
- คือทำให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นๆส่งผลดีกว่าเดิม
-การเปิดรับการเปลี่ยนแปลง
- ผู้นำการศึกษาควรเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงร่วมกับครูและเจ้าหน้าที่ทุกคน
- วิเคราะห์สถานการณ์
- วางแผนการเปลี่ยนแปลง
-พัฒนารูปแบบการเปลี่ยนแปลงในการกำหนดหลักสูตรร่วมกัน
-ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
2. 2.ปัญหาจากหลักสูตร
2.1. สาเเหตุ
 -การกำหนดความชัดเจนของกรอบแนวคิด
- ความซับซ้อนและความไม่กระจ่างของรายละเอียด
- กรอบแนวคิดและข้อความในการพัฒนาหลักสูตร
2.2. การแก้ปัญหา
- ผู้เรียนควรได้เรียนรู้และแนวคิดที่จะพัฒนาให้รู้จักลำดับความคิดเชิงระบบ
- หลักสูตรต้องเปิดช่องว่างเพื่อเปิดโอกาสให้ครูผู้ใช้หลักสูตรได้ตีความและเติมเต็ม
- พัฒนาหลักสูตรที่กำหนดเนื้อหาสาระที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- กำหนดหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้ที่อยู่แวดล้อมตัวเด็กมากกว่าครู
3. 3.ปัญหาจากการขาดภาวะผู้นำและการนิเทศติดตาม

3.1. สาเหตุ
- ความต้องการกำลังคนในอนาคต
3.2. การแก้ปัญหา
- นักศึกษาและนักพัฒนาหลักสูตรควรศึกษาเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน
- พัฒนาคนโดยผ่านระบบการจัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย
- ผู้บริหารเป็นผู้เริ่มต้นและนำพาองค์กร
- เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาหลักสูตรอยู่ตลอดเวลา
- เป็นผู้นำที่ช่วยให้เกิดความเจริญในการเรียนรู้ของนักเรียน
- เป็นผู้อำนวยความสะดวกและสนับสนุนการสอนและการเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน
- เป็นผู้ที่ต้องจัดโปรแกรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
- สร้างบรรยากาศเชิงบวกในโรงเรียน
- มีพฤติกรรมการบริหารและแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-. ให้คำแนะนำด้านหลักสูตรกับครูทุกคนและเป็นตัวกลางเชื่อมโยงด้านนโยบายในโรงเรียน
- เป็นแรงบันดาลใจ ให้พลังกับทีม ให้กำลังใจ
- เป็นที่ปรึกษา เป็นผู้คอยให้การสนับสนุนและคอยติดตามความก้าวหน้า
- เป็นผู้นำที่เข้าใจหลักสูตรสถานศึกษาทั้งหมดในภาพรวม
-. พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน การวัดผล
- ต้องทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า
- ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และประสบความสำเร็จได้
- ความสำเร็จในระดับต้นจะนำไปสู่ความสำเร็จในระดับต่อๆไป
- โรงเรียนเป็นสถาบันที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ประสบความสำเร็จ
- ผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียนเป็นตัวชี้วัดการจัดการศึกษาและการตัดสินใจของผู้บริหารกับครู
4. 4.ปัญหาที่เกิดจากครูผู้ปฏิบัติ
4.1. ตัวครูมีผลกระทบกับการพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตร
- ไม่พัฒนาตนเอง
- ไม่เรียนรู้สิ่งใหม่
- ไม่มีความคิดสร้างสรรค์
- สอนด้วยวิธีการเดิมๆ
- การไม่ได้รับการสนับสนุน
- หมดกำลังใจ ขาดแรงบันดาลใจ
4.2. การมองเป้าหมายของการศึกษาผิดไปจากเดิม
- ให้ความสำคัญกับตำแหน่ง รายได้ ความก้าวหน้า บทบาทหน้าที่และความมีหน้ามีตาทางสังคม การยอมรับจากสังคมภายนอก
- ลืมภารกิจและกลุ่มเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษาของโรงเรียน
- แสวงหารางวัลจากการประกวดการแข่งขัน
5. 5.ปัญหาจากผู้เรียน
5.1. ด้านความรู้พื้นฐานก่อนการเรียน
- พื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียนแต่ละคนไม่เท่ากัน
5.2. การสอนตามหลักที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง สวนทางกับเนื้อหาสาระที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
6. 6.ปัญหาจากปัจจัยภายนอก
6.1. นโยบายการจัดการศึกษาจากส่วนกลาง
- การประกันคุณภาพการศึกษา
- การประเมินผลการศึกษาระดับชาติ
6.2. ค่านิยม
- การยอมรับคนเก่ง โดยเฉพาะในเชิงวิชาการ
- หลักสูตรสถานศึกษาที่ใช้กันอยู่ในโรงเรียนไม่ได้รับการยอมรับในสถาบันการศึกษา
6.3. บริบทของสังคมที่อยู่รอบๆของโรงเรียน ผู้เรียน วัฒนธรรมของชั้นเรียนและโรงเรียน
7. สรุปได้ว่า ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร เกิดจากสาเหตุหลายประการ ทั้งด้านการยอมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ด้านตัวหลักสูตรเอง ด้านการขาดภาวะผู้นำ ด้านตัวครูผู้ปฏิบัติ และปัจจัยภายนอกอื่นๆ บริบทของสังคมและวัฒนธรรม ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรจึงต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินการเพื่อพัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับผู้เรียน เพื่อพัฒนาผูเรียนในทุกๆด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา และเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคปัจจุบัน

วิธีการวางแผนพัฒนาหลักสูตร


               โดยทั่วไปแล้วการวางแผนพัฒนาหลักสูตร จะเริ่มต้นจากการวิเคราะห์หลักสูตรเดิมที่ใช้กันก่อนแล้วว่ามีผลต่อการใช้ในปัจจุบันอย่างไร หากหลักสูตรเดิมไม่สนองต่อความต้องการของสังคมและผู้เรียนในปัจจุบัน อันจะส่งผลไปสู่อนาคต เพื่อการผลิตคนสู่อนาคตแล้วก็ให้นำผลที่ได้มาเป็นข้อมูลในการวางแผนสร้างหลักสูตรใหม่การจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆที่มีอยู่ในท้องถิ่น เริ่มจากครูและนักเรียนร่วมกันจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร องค์กรทางสังคม แหล่งการเรียนรู้ทางธรรมชาติและวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นที่สามารถนำมาใช้ในการประกอบการสอน เนื้อหาต่างๆไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน ครูอาจจะพาผู้เรียนไปศึกษาและฝึกการทำงานในสถานที่จริง ที่บ้าน หน่วยงาน หรือสถานประกอบการต่างที่มีในท้องถิ่น หรือครูอาจจะเชิญผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพต่างๆมาเป็นวิทยากรในโรงเรียน 

18 พ.ย. 2561

หลักสูตรท้องถิ่น "สานกระติบข้าว บ้านโพน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม"

Power point สรุปองค์ความรู้สัปดาห์ที่ 13



Power point สรุปองค์ความรู้สัปดาห์ที่ 12


Power point สรุปองค์ความรู้สัปดาห์ที่ 11


Power point สรุปองค์ความรู้สัปดาห์ที่ 10





Power point สรุปองค์ความรู้สัปดาห์ที่ 9



9 พ.ย. 2561

กิจกรรม

1. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง ปัญหาและแนวโน้มของ
หลักสูตร
ตอบ
ปัญหาในการพัฒนาหลักสูตร
         - ในอดีตการจัดศึกษาไทยเป็นระบบศูนย์รวม สถานศึกษาต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากส่วนกลาง ซึ่งไม่สะท้อนสภาพความต้องการที่แท้จริงของสถานศึกษาและท้องถิ่น
         - เกิดจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตร เช่น ครู ผู้บริหาร ผู้จัดทำหลักสูตร ไม่เข้าใจกระบวนการของการพัฒนาหลักสูตร มีเจตคติที่ไม่ดีต่อการพัฒนาหลักสูตร ไม่ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงของหลักสูตร มีความรู้ความสามารถไม่เพียงพอที่จะพัฒนาหลักสูตร
         - ขาดงบประมาณสนับสนุน เช่น ขาดงบประมาณในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เอกสาร เงินสนับสนุนช่วยเหลือครูแต่ละวันในการพัฒนาหลักสูตร เป็นต้น
         - การบริหารจัดการ เช่น ขาดการประสานงานี่ดีระหว่างระหน่วยงานต่างๆ ขาดผู้เชี่ยนชาญที่มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร ขาดการวางแผนด้านเวลา บรรยากาศของโรงเรียนไม่ส่งเสริมการทำงาน
แนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
         - เป็นหลักสูตรที่เน้นให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น วิเคราะห์เป็น ไม่เน้นท่องจำเหมือนในอดีต เช่น จัดการเรียนรู้แบบโครงการ ให้ครูและนักเรียนช่วยกันพัฒนาโจทย์ขึ้นด้วยกัน การเสาะแสวงหาข้อมูล การลงภาคสนาม การทดลองปฏิบัติ การจดบันทึกข้อมูล การสรุปบทเรียนด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นวิทยากรกระบวนการ ผู้ให้คำแนะนำปรึกษาต่อนักเรียน
         - สื่อและเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามีบทบาทในการเรียนเพิ่มมากขึ้น เช่น มีการค้นคว้าหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยตนเองซึ่งผู้เรียนจะสามารถค้นคว้า มีทักษะเข้าสู่ระบบข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายได้ตลอดเวลา จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนการสอนแบบทางไกล ซึ่งจะทำให้ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา สถานที่
         - เน้นการบูรณาการ แต่ยังคงเนื้อหาสาระของแต่ละรายวิชาอยู่ทั้งด้านภาษา การคิดคำนวณและด้านเหตุผลหรือวิทยาศาสตร์
         - เน้นการมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นและสถานศึกษาเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน แต่ส่วนกลางยังคงเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่ง
         - ให้ครูและผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรอย่างแท้จริง เช่น การจัดอบรมสัมมนา.เรื่องการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรมาให้คำแนะนำช่วยเหลือในการพัฒนาหลักสูตร
         - เน้นหลักสูตรท้องถิ่นที่มีความหลากหลายและให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
         - เนื่องจากในยุคปัจจุบันภาษาต่างประเทศมีความจำเป็นในดำรงชีวิตของผู้คนเพิ่มมากขึ้นประกอบกับประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาเวียดนาม ลาว มลายู อังกฤษ รวมไปถึงมีการเปิดหลักสูตรนานาชาติเพิ่มขึ้นด้วย

2.ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจากวิจารณ์ พานิช. วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21
ตอบ 
วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558
ทักษะครูเพื่อศิษย์ไทย ในศตวรรษที่ 21
ทักษะชีวิตและอาชีพ
     • ความยืดหยุ่นและปรับตัว
     • การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
     • ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
     • การเป็นผู้สร้างหรือผลิต (Productivity) และความรับผิดรับชอบ เชื่อถือได้ (Accountability)
     • ภาวะผู้นําและความรับผิดชอบ (Responsibility) นอกจากนั้นโรงเรียนและครูต้องจัดระบบสนับสนุนการเรียนรู้ต่อไปนี้
     • มาตรฐานและการประเมินในยุคศตวรรษที่ 21
     • หลักสูตรและการเรียนการสอนสําหรับศตวรรษที่ 21
     • การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21
     • สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่ 21

วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558 ศาสตราใหม่ สําหรับครูเพื่อศิษย์
ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยสิ้นเชิงเพื่อให้เป็น
“ครูเพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21” ไม่ใช่ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 20 หรือศตวรรษที่ 19 ที่เตรียม
คนออกไปทํางานในสายพานการผลิตในยุคอุตสาหกรรม การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทํางานที่ใช้ความรู้ (Knowledge Worker) และเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ (Learning Person) ไม่ว่าจะประกอบสัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ และเป็นคนทํางานที่ใช้ความรู้ แม้จะเป็นชาวนาหรือเกษตรกรก็ต้องเป็นคนที่พร้อมเรียนรู้ และเป็นคนทํางานที่ใช้ความรู้
ดังนั้น ทักษะสําคัญที่สุดของศตวรรษที่ 21 จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ (Learning
Skills) การศึกษาในศตวรรษที่ 21 จําต้องเป็นเช่นนี้ก็เพราะต้องเตรียมคน ไปเผชิญ
การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว รุนแรง พลิกผัน และคาดไม่ถึง คนยุคใหม่จึงต้องมีทักษะ
สูงในการเรียนรู้และปรับตัว   ครูเพื่อศิษย์จึงต้องพัฒนาตนเองให้มีทักษะของการเรียนรู้ด้วย และในขณะ
เดียวกันก็ต้องมีทักษะในการทําหน้าที่ครูในศตวรรษที่ 21 ซึ่งไม่เหมือนการทําหน้าที่
ครูในศตวรรษที่ 20 หรือ 19 ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจน
ถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C 3R ได้แก่ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้) และ (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)
7C ได้แก่ Critical Thinking & Problem Solving (ทักษะด้านการคิด อย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา) Creativity & Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)

วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558 การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ การเรียนรู้ 3R x 7C ครูเพื่อศิษย์เองต้องเรียนรู้ 3R x 7C และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต แม้เกษียณอายุ
จากการเป็นครูประจําการไปแล้ว เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง ระหว่างเป็นครูประจําการก็เรียนรู้สําหรับเป็นครูเพื่อศิษย์ และเพื่อการดํารงชีวิตของตนเอง Collaboration, Teamwork & Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทํางานเป็นทีม และภาวะผู้นํา)
Communications, Information & Media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ) Computing & ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
Career & Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

21 st Century Learning Framework 21 st Century Knowledge-and-Skills Rainbow
(http://www.schoollibrarymonthly.com/articles/img/Trilling-Figure1.jpg)
ทักษะครูเพื่อศิษย์ไทย ในศตวรรษที่ 21

วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้  ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558 ครูเพื่อศิษย์ต้องฝึกฝนตนเองให้มีทักษะในการเป็นโค้ช และเป็น “คุณอํานวย” (Facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Project-based Learning) ของศิษย์ ซึ่งผมจะเขียนรายละเอียดเรื่อง PBL ในบทต่อ ๆ ไปขอย้ําว่าครูต้องเลิกเป็น “ผู้สอน” ผันตัวเองมาเป็นโค้ช หรือ “คุณอํานวย” ของการเรียนของศิษย์ที่ส่วนใหญ่เรียนแบบ PBL นั่นหมายถึง โรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ต้องเลิกเน้นสอน หันมาเน้นเรียน ซึ่งต้องเน้นทั้งการเรียนของศิษย์และของครู ครูจะต้องปรับตัวมากซึ่งเป็นเรื่องยาก จึงต้องมีตัวช่วย คือ Professional
Learning Communities (PLC) ซึ่งก็คือ การรวมตัวกันของครูประจําการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทําหน้าที่ครูนั่นเองขณะนี้มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (มสส.) กําลังจะจัด PLC ไทย เรียกว่า ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (ชร.คศ.) หรือในภาษาการจัดการความรู้ (Knowledge Management หรือ KM) เรียกว่า CoP (Community of Practice) ของครูเพื่อศิษย์นั่นเอง ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (ชร.คศ.) คือ ตัวช่วยการเรียนรู้ของครู เพื่อให้การปรับตัวของครู และการเปลี่ยนชุดความรู้และชุดทักษะของครูไม่เป็น เรื่องยากแต่จะสนุกเสียด้วยซ้ํา

15 ธันวาคม 2553 http://www.gotoknow.org/blog/thaikm/415058
ที่มา:ทักษะครูเพื่ิอศิษย์ไทยในศตวรรษที่ 21 หน้า 15 - 21 ตีพิมพ์อยู่ใน
หนังสือวิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสดศรี สฤษดิวงศ์ 2555
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช
วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) นี้คือ ทักษะพื้นฐานที่มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ทุกคนต้องเรียน เพราะโลกจะยิ่งเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นเรื่อย ๆ และมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากขึ้น คนที่อ่อนแอในทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมจะเป็นคนที่ตามโลกไม่ทัน เป็นคนอ่อนแอ ชีวิตก็จะยากลําบากครูเพื่อศิษย์จึงต้องเอาใจใส่ พัฒนาขีดความสามารถของตนเองในด้านนี้
ให้สามารถออกแบบการเรียนรู้เพื่อให้ศิษย์เรียนรู้และพัฒนาทักษะของตนเองในด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมได้ตลอดชีวิต วิธีออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์มีทักษะนี้ ใช้หลักการว่า ต้องมีการเรียนรู้แบบ
ที่เด็กร่วมกันสร้างความรู้เอง คือ เรียนรู้โดยการสร้างความรู้ และ เรียนรู้เป็นทีม ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมนี้อยู่ที่ยอดของ Knowledge and Skills Rainbow ซึ่งเป็นหัวใจของทักษะเพื่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้ทักษะในการเรียนรู้ (Learning How to Learn หรือ Learning
Skills) และเรียนรู้ทักษะในการสร้างการเปลี่ยนแปลงไปในทางดีขึ้น (นวัตกรรม) ประกอบด้วยทักษะย่อย ๆ ดังต่อไปนี้
          1. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) และการแก้ปัญหา
(Problem Solving) ซึ่งหมายถึง การคิดอย่างผู้เชี่ยวชาญ (Expert Thinking)
          2. การสื่อสาร (Communication) และความร่วมมือ (Collaboration)
ซึ่งหมายถึง การสื่อสารอย่างซับซ้อน (Complex communicating)
          3. ความริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity) และนวัตกรรม (Innovation)
ซึ่งหมายถึง การประยุกต์ใช้จินตนาการและการประดิษฐ์ศิษย์ของท่านจะต้องใช้ทักษะเหล่านี้ในการดํารงชีวิต เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของตนเอง และเพื่อการทํางานสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าต่อการดํารงชีวิตในโลกของการงานที่เน้นความรู้ เป็นการท้าทายครูเพื่อศิษย์ว่า ท่านจะออกแบบการเรียนรู้ให้แก่ศิษย์
ของท่านอย่างไร ให้ศิษย์ได้เรียนรู้ทักษะเหล่านี้ติดตัวไป ทักษะเหล่านี้สอนโดยตรงไม่ได้ แต่จัดกระบวนการให้เรียนรู้ได้ทักษะครูเพื่อศิษย์ไทย ในศตวรรษที่ 21

วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558 เคล็ดลับอย่างหนึ่งของการบ่มเพาะทักษะทั้ง 3 คือ การฝึกตั้งคําถาม การตั้ง คําถามที่ถูกต้องสําคัญกว่าการหาคําตอบ
ครูเพื่อศิษย์จึงต้องชวนศิษย์หรือเปิดโอกาส ให้ศิษย์ตั้งคําถามแปลก ๆ และชวนกันหาทางทดลองหรือค้นคว้าเพื่อตอบคําถามนั้น ทุกโอกาสของทุกกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ควรชวนกันตั้งคําถาม ศิษย์ควรได้เรียนรู้ว่า คําถามที่ถูกต้องเป็นอย่างไร และนําไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ อย่างไร ที่จริงเรื่องนี้
ไม่ยากหากครูฝืนใจตัวเอง ไม่ยึดถูกผิดตามทฤษฎี แต่ชักชวนเด็กร่วมกันหาคําตอบที่ นําไปสู่การเรียนรู้หรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หัวใจของเรื่องนี้คือ จิตวิญญาณของความไม่รู้ หรือไม่รู้จริง หรือไม่เชื่อง่าย
แล้วหาทางพิสูจน์เพื่อท้าทายความรู้เดิม ๆ ทั้งของตนเองและของโลก มีความเข้าใจผิดที่เชื่อกันแพร่หลายในวงการศึกษาว่า นักเรียนต้องเรียนความรู้ รายวิชาจนเข้าใจคล่องแคล่วก่อน แล้วจึงจะสามารถนําความรู้นั้นไปใช้งานได้
          ผลการวิจัยสมัยใหม่บอกว่า การเรียนโดยประยุกต์ใช้ ความรู้เพื่อเรียนรู้ทักษะ ด้านการคิด
อย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา และความริเริ่มสร้างสรรค์ไปพร้อม ๆ กับเรียนเนื้อหาให้ผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้สูงกว่า เพราะเด็กมีความตั้งใจเรียนมากกว่าทฤษฎีใหม่คัดค้านทฤษฎีเก่าโดยสิ้นเชิงว่า การเรียนรู้ไม่ได้มีลักษณะ เรียงเป็นแถว จากเรียนรู้ทักษะหรือความรู้พื้นฐานไปสู่การเรียนรู้ทักษะที่ซับซ้อน (จากความรู้(Knowledge) ไปสู่ความเข้าใจ (Comprehension) การประยุกต์ใช้ (Application)
การวิเคราะห์ (Analysis) การสังเคราะห์ (Synthesis) และการประเมิน (Evaluation)(ตามลําดับ) แต่ในความเป็นจริง การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน และการเรียนรู้ จริงต้องเลย (Beyond) การรู้เนื้อหาไปสู่ความเข้าใจแท้จริงในระดับที่เอาไปใช้ได้ในสถานการณ์จริง การเรียนรู้เนื้อหาไปพร้อม ๆ กับการใช้ประโยชน์ในสถานการณ์จริงหรือ เรียนทุกขั้นตอนในวงเล็บข้างบนไปพร้อม ๆ กันในสถานการณ์จริง จึงให้ผลการเรียนรู้ที่ลึกและเชื่อมโยงกว่า คือ รู้จริงขั้นตอนการเรียนรู้จากผลการวิจัยในยุคปัจจุบันคือจําได้ (Remember) เข้าใจ(Understand) ประยุกต์ใช้ (Apply) วิเคราะห์ (Analyze) ประเมิน (Evaluate)
และสร้างสรรค์ (Create) โดยที่ขั้นตอนเหล่านี้เกิดพร้อม ๆ กันได้ หรืออะไรเกิดก่อนเกิดหลังได้ทั้งสิ้น รวมทั้งเกิดเรียงลําดับจากหลังไปหน้าก็ได้ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช11
วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558 1. การออกแบบการเรียนรู้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหาการออกแบบการเรียนรู้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาควรมีเป้าหมายและวิธีการดังต่อไปนี้
เป้าหมาย: นักเรียนสามารถใช้เหตุผล
          • คิดได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลหลากหลายแบบ ได้แก่ คิดแบบอุปนัย
(Inductive) คิดแบบอนุมาน (Deductive) เป็นต้น แล้วแต่สถานการณ์
เป้าหมาย: นักเรียนสามารถใช้การคิดกระบวนระบบ (Systems Thinking)
          • วิเคราะห์ได้ว่าปัจจัยย่อยมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร จนเกิดผลในภาพรวม
เป้าหมาย: นักเรียนสามารถใช้วิจารณญาณและตัดสินใจ
          • วิเคราะห์และประเมินข้อมูลหลักฐาน การโต้แย้ง การกล่าวอ้างและความเชื่อ
          • วิเคราะห์เปรียบเทียบและประเมินความเห็นหลัก ๆ
          • สังเคราะห์และเชื่อมโยงระหว่างสารสนเทศกับข้อโต้แย้ง
          • แปลความหมายของสารสนเทศและสรุปบนฐานของการ วิเคราะห์
          • ตีความและทบทวนอย่างจริงจัง (Critical Reflection) ในด้านการเรียนรู้
และกระบวนการ
เป้าหมาย: นักเรียนสามารถแก้ปัญหาได้
          •ฝึกแก้ปัญหาที่ไม่คุ้นเคยหลากหลายแบบ ทั้งโดยแนวทางที่ยอมรับกัน
ทั่วไป และแนวทางที่แหวกแนว
          • ตั้งคําถามสําคัญที่ช่วยทําความกระจ่างให้แก่มุมมองต่าง ๆ เพื่อนําไปสู่
ทางออกที่ดีกว่า
การเรียนทักษะเหล่านี้ทําโดย PBL (Project-based Learning) และต้องเรียน
เป็นทีม ไม่ใช่เรียนจากครูสอนในชั้นเรียน
           2. การออกแบบการเรียนรู้ทักษะการสื่อสารและความร่วมมือ โลกในศตวรรษที่ 21 ต้องการทักษะของการสื่อสารและความร่วมมือ ที่กว้างขวางและลึกซึ้งกว่าโลกสมัยก่อนอย่างเทียบกันไม่ได้เลย เป็นผลจากเทคโนโลยีดิจิตอล และเทคโนโลยีการสื่อสาร (Digital & Communication Technology)
ทักษะครูเพื่อศิษย์ไทย ในศตวรรษที่ 21

วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558 การออกแบบการเรียนรู้ทักษะการสื่อสารและความร่วมมือ ควรมีเป้าหมายและวิธีการดังต่อไปนี้
เป้าหมาย: ทักษะในการสื่อสารอย่างชัดเจน
          • เรียบเรียงความคิดและมุมมอง (Idea) ได้เป็นอย่างดีสื่อสารออกมาให้
เข้าใจง่ายและงดงาม และมีความสามารถสื่อสารได้หลายแบบ ทั้งด้วยวาจา
ข้อเขียนและภาษาที่ไม่ใช่ภาษาพูดและเขียน (เช่น ท่าทาง สีหน้า)
          • ฟังอย่างมีประสิทธิผล เกิดการสื่อสารจากการตั้งใจฟัง ให้เห็น ความหมาย
ทั้งด้านความรู้ คุณค่า ทัศนคติ และความตั้งใจ
          • ใช้การสื่อสารเพื่อบรรลุเป้าหมายหลายด้าน เช่น แจ้งให้ทราบ บอกให้ทําจูงใจ และชักชวน
          • สื่อสารอย่างได้ผลในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย รวมทั้งในสภาพที่สื่อสารกันด้วยหลายภาษา
เป้าหมาย: ทักษะในการร่วมมือกับผู้อื่น
          • แสดงความสามารถในการทํางานอย่างได้ผล และแสดงความเคารพให้เกียรติทีมงานที่มีความหลากหลาย
          • แสดงความยืดหยุ่นและช่วยประนีประนอมเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
          • แสดงความรับผิดชอบร่วมกันในงานที่ต้องทําร่วมกันเป็นทีม และเห็นคุณค่าของบทบาทของผู้ร่วมทีมคนอื่น ๆ
          3. การออกแบบการเรียนรู้ทักษะด้านความสร้างสรรค์และนวัตกรรมโลกในศตวรรษที่ 21 เป็นโลกที่ไม่หยุดนิ่ง เกิดการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว(และบางครั้งพลิกผัน) คนที่จะอยู่ได้อย่างสอดคล้องกับสังคมในยุคใหม่จึงต้องฝึกความสร้างสรรค์และนวัตกรรม ซึ่งที่จริงมีอยู่แล้วในความเป็นมนุษย์ แต่การเรียนรู้
และการฝึกฝนที่ดีจะช่วยให้แหลมคม ฉับไว และอดทน คนที่มีทักษะนี้สูงจะได้งานที่ดีกว่า ชีวิตก้าวหน้ากว่า และจะทําประโยชน์ให้แก่สังคมและแก่โลกได้ดีกว่าที่จริงโลกกําลังเปลี่ยนยุค จากยุคความรู้สู่ยุคนวัตกรรม การฝึกพลังสร้างสรรค์ และนวัตกรรมจึงสําคัญยิ่ง และผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การฝึกฝนนี้ ต้องทําตลอดชีวิตแต่น่าเสียดายว่า ระบบการศึกษาในปัจจุบันกลับเป็นตัวฆ่าพลังสร้างสรรค์และ
นวัตกรรม ด้วยการจัดการสอนแบบท่องจํา เน้นการอ่าน เขียนและคิดเลข
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช

วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558 ดังวิดีโอใน YouTube ที่เสนอโดย เซอร์ เคนเนธ โรบินสัน (Sir Kenneth Robinson) ความผิดพลาดอย่างยิ่งของการศึกษา คือ การทําให้การทําผิดเป็นเสมือนสิ่งชั่วร้าย ท่าทีเช่นนี้มีผลลดทอนความสร้างสรรค์ของเด็กความเข้าใจผิดที่จะต้องแก้คือ คนมักคิดว่าความสร้างสรรค์เป็นเรื่องของอัจฉริยะซึ่งเป็นคนจํานวนน้อย ในความเป็นจริงแล้วทุกคนมีความสร้างสรรค์อยู่แล้วในรูปของจินตนาการ และการศึกษาต้องเพิ่มความสร้างสรรค์ของเด็กและของประชากรไทยทุกคนความเข้าใจผิดประการที่สองคือ คิดว่าความสร้างสรรค์เป็นเรื่องของคนอายุน้อย ซึ่งไม่จริงเสมอไป เขายกตัวอย่าง ปิกาสโซ่ (Picasso) จิตรกร ผู้ยิ่งใหญ่นั้น ประสบความสําเร็จตอนอายุมาก และความเข้าใจผิดประการที่สามคือ คิดว่าความสร้างสรรค์เป็นพรสวรรค์เท่านั้น ในความเป็นจริงคือ มันเป็นทั้งพรสวรรค์และพรแสวงโรงเรียนสามารถฝึกฝนความสร้างสรรค์ให้เด็กได้ด้วยการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการตั้งคําถาม มีความอดทนและเปิด กว้างต่อมุมมองแปลก ๆ มีความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน และเรียนรู้จาก ความผิดพลาดหรือความล้มเหลววิธีหนึ่งของการฝึกความสร้างสรรค์คือ การจัดแข่งขันโครงการออกแบบการออกแบบการเรียนรู้ทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ควรมีเป้าหมายและวิธีการดังต่อไปนี้
เป้าหมาย: ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์
          •ใช้เทคนิคสร้างมุมมองหลากหลายเทคนิค เช่น การระดมความคิด
(Brainstorming)
          • สร้างมุมมองแปลกใหม่ ทั้งที่เป็นการปรับปรุงเล็กน้อยจากของเดิม หรือ
เป็นหลักการที่แหวกแนวโดยสิ้นเชิง
          • ชักชวนกันทําความเข้าใจ ปรับปรุง วิเคราะห์ และประเมินมุมมองของ
ตนเอง เพื่อพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับการคิด อย่างสร้างสรรค์
เป้าหมาย: ทักษะในการทํางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์
         • พัฒนา ลงมือปฏิบัติ และสื่อสารมุมมองใหม่กับผู้อื่นอยู่เสมอ
ทักษะครูเพื่อศิษย์ไทย ในศตวรรษที่ 21 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558
         • เปิดใจรับและตอบสนองต่อมุมมองใหม่ ๆ หาทางได้ข้อคิดเห็นจากกลุ่มรวมทั้งการประเมินผลงานจากกลุ่ม เพื่อนําไปปรับปรุง
         • ทํางานด้วยแนวคิดหรือวิธีการใหม่ ๆ และเข้าใจข้อจํากัดของโลกในการยอมรับมุมมองใหม่
         • มองความล้มเหลวเป็นโอกาสเรียนรู้ เข้าใจว่าความสร้างสรรค์ และนวัตกรรมเป็นเรื่องระยะยาว เข้าใจวัฏจักรของความสําเร็จเล็ก ๆ และความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ว่าจะนําไปสู่การสร้างสรรค์และนวัตกรรม
เป้าหมาย: ประยุกต์สู่นวัตกรรม
         • ลงมือปฏิบัติตามความคิดสร้างสรรค์เพื่อนําไปสู่ผลสําเร็จที่เป็นรูปธรรม ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมเป็นหัวใจสําหรับทักษะเพื่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 (21 st Century Skills) แต่ทักษะนี้ยังต้องมีทักษะอื่นมาประกอบและส่งเสริม อันได้แก่ทักษะอีก 3 ด้าน คือ ด้านสารสนเทศ (Information) ด้านสื่อ (Media) และด้านดิจิตอล (Digital Literacy) ซึ่งจะกล่าวถึงในบทต่อไป

สรุป

               ปัญหาและแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรพิจารณาได้จากข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรที่ถูกรวบรวมวิเคราะห์เชื่อมโยงเป็นชุดของจุดประสงค์การเรียนรู้ ที่ใช้ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร และนำไปออกแบบหลักสูตร โดยการอธิบายเหตุผลการได้มาของสาระความรู้ในหลักสูตร ที่มีเหตุผลประกอบหลักวิชาโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ และนักพัฒนาหลักสูตรนำมากำหนดเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียน กำหนดสาระเนื้อหาและผลการเรียนรู้  ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้สามารถเป็นแนวทางช่วยให้อธิบายแนวโน้มของหลักสูตรได้

แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร

         การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จโดยสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะครูผู้สอน และผู้บริหารสถานศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียงกันตามมิติความต้องการจำเป็นของแต่ละสถานศึกษา มีกิจกรรมร่วมมือกันในการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้านการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร และกิจกรรมอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งหมายถึงกระบวนการสร้างแผนหรือแนวทางในการจัดมวลประสบการณ์ที่จัดทำโดยบุคคลหรือคณะบุคคลในระดับสถานศึกษาเพื่อใช้พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วย ส่วนที่เป็นหลักสูตรแกนกลางที่กำหนดจากส่วนกลางที่ปรากฏในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  และส่วนที่เกี่ยวกับสภาพชุมชนและท้องถิ่นซึ่งพัฒนาโดยเขตพื้นที่การศึกษา และส่วนเพิ่มเติมที่สถานศึกษาพัฒนาขึ้นเพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับความสนใจ ความต้องการและความถนัดของผู้เรียนรวมทั้งความเหมาะสมกับสภาพสังคม กระบวนการใช้หลักสูตรสถานศึกษาและการประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษาโดยการศึกษาให้มากขึ้นแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรในปัจจุบันมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่นมากขึ้น และเปิดโอกาสให้แต่ละท้องถิ่นสามารถพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับความต้องการและเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นของตน เพื่อให้ผู้เรียนที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวมทั้งยังเป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรักและความผูกพันกับท้องถิ่นของตนมากขึ้นด้วย (มสธ2536)
            เมื่อกล่าวถึงแนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร มีประเด็นสำคัญเกี่ยวข้อง 2 ประเด็นคือ ข้อมูลที่นำมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร กับการวิจัยทางการศึกษา โดยจะพบว่า ในระยะเวลาประมาณ 10 ปี และจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องสรุปได้ดังนี้
รายงานการศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 1940 และ 1950 มุ่งศึกษา ตัวแปรทำนาย จากคุณสมบัติของครู มีความเชื่อว่าครูที่มีคุณสมบัติมีแนวโน้มที่จะสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ 1) เสียง รูปร่างหน้าตา 2) ความมั่นคงทางอารมณ์ 3) ความน่าเชื่อถือ 4) ความอบอุ่น และ 5) ความกระตือรือร้น
ต่อมาผลการศึกษาวิจัยความมีประสิทธิภาพของครู ในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 ได้ข้อสรุปและเสนอแนะในการพัฒนาวิชาชีพด้วย การนิเทศแบบคลินิก (Clinical Supervision) เทคนิควิธีการสังเกตการสอนชั้นเรียน เป็นต้น
              ต่อมาในทศวรรษ 1980 เมเดอลีน ฮันเตอร์ (Madeline Hunter) และคณะมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอใช้หลักทฤษฎีเป็นฐาน (Theory-based) ในการเรียนการสอน สรุปได้ดังนี้ 1) การสอนมีรากฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม 2) การอนุมานจากแนวคิดในด้านการเรียนรู้ เช่น แรงจูงใจ (Motivation) ความทรงจำ (Retention) การถ่ายโอนความรู้ (Transfer) เป็นต้น
และผลการศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990  การเปลี่ยนแปลงทัศนะการเรียนรู้แบบพฤติกรรมนิยม (Behaviorist) เป็นการเรียนรู้ด้วยปัญญา (Cognitive Learning Theory) สถานศึกษาใดที่มุ่งมั่นพัฒนาในด้านการประเมินที่มีประสิทธิภาพและการพัฒนาวิชาชีพการสอนจึงต้องเริ่มด้วยการกำหนดมาตรฐานการสอนซึ่งสะท้อนสิ่งที่ครูควรรู้ ในประเทศไทยหน่วยงานหรือองค์กรวิชาชีพครูที่เรียกว่า คุรุสภาได้เสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีความรู้สมรรถนะความสามารถในการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ
ดังนั้นแนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตรอาจพิจารณาได้จากผลการศึกษาวิจัย และข้อมูลพื้นฐานด้านต่าง  ๆ ที่นำมาใช้การพัฒนาหลักสูตร
แนวโน้มของหลักสูตร
            ออนสไตน์ (Ornstein, Allan C. 1994 : 4-20) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับแนวโน้มของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตรในอนาคต เนื้อหาวิชาจะถูกลดความสำคัญลงโดยเฉพาะเนื้อหาวิชาที่แยกแบบโดดเดี่ยว แต่จะมีลักษณะประสมประสานมากขึ้นและมีลักษณะเป็นองค์รวม ถึงแม้ว่าขอบข่ายเนื้อหาวิชาในหลักสูตรแบบดั้งเดิมจะยังคงอยู่ แต่จะมีลักษณะการบูรณาการข้ากลุ่มสาระการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ความรู้ไม่สามารถพิจารณาในแง่มุมของรายละเอียดปลีกย่อยหรือความต่อเนื่อง แต่จะมีความเป็นสหวิทยาการและหลากหลายมิติยิ่งขึ้น ความรู้จะบูรณาการกัน ความรู้มีมากกว่าแหล่งความรู้ภาพและเสียงเท่านั้น และมีความน่าเชื่อถือน้อยจากสื่อที่เป็นการพูดและการสื่อสารด้วยตัวอักษร ออนสไตน์ได้สรุปไว้ว่าแนวโน้มของหลักสูตรมีดังต่อไปนี้
            1. การศึกษาในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์ (Electronic Education) ความเจริญก้าวหน้าของ          วีดิทัศน์สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนได้ วีดิโอเทป คาสเสท และดิสค์สามารถนำมาใช้สอนได้ทั้งในห้องเรียน ห้องสมุด ศูนย์เรียนรู้ และที่บ้านของนักเรียน วีดิทัศน์มีความสะดวกที่นำมาเรียนได้ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยไม่ให้พลาดบทเรียนไปได้  มีวีดิทัศน์บทเรียนวิชาต่างมีจำนวนมากนับเป็นจำนวนพัน นอกจากนี้โรงเรียนหลายแห่งและครูจำนวนมากที่สามารถผลิตสื่อการสอนวิชาที่ตนเองรับผิดชอบในรูปของวีดิทัศน์ จากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สามารถที่จะพิมพ์วีดิทัศน์ หรือภาพจากจอภาพในรูปของ ภาพถ่าย ตาราง กราฟ หรือรูปภาพในแบบต่าง ๆ ลงในกระดาษสำหรับศึกษาต่อไปได้
            วีดิทัศน์ยังสามารถนำใช้ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้สามารถเรียนได้ในลักษณะแบบจำลองเหตุการณ์ที่เป็นจริง มีการโต้ตอบกัน สามารถนำเสนอได้เช่นเดียวกันกับการสอนให้ชั้นเรียน บทเรียนคอมพิวเตอร์สามารถให้คำตอบถูกหรือผิดให้กับผู้เรียนได้ทันที หรือในกรณีที่ผู้เรียนเลือกคำตอบ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถให้ผู้เรียนเห็นคำตอบและสามารถเลือกทางเลือกที่กำหนดให้ปฏิบัติได้ตามที่โปรแกรมกำหนดไว้ นอกจากนี้วีดิทัศน์ยังสามารถใช้เป็นบทเรียนเรียนแบบรายบุคคลหรือแบบกลุ่มย่อยก็ได้
            ความรู้ในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์นี้ยังสามารถจัดเก็บไว้ในสถานที่ที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้โดยผ่านระบบเครือข่าย ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศและสามารถใช้ประโยชน์ได้
            2. การรู้เทคโนโลยี (Technical Literycy) โรงเรียนในปัจจุบันเห็นความสำคัญในวิวัฒนาการของเทคโนโลยี จึงได้ให้การศึกษากับบุคลากรเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อีเล็กทรอนิกส์ เลเซอร์ และหุ่นยนต์ การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) เป็นทักษะพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากทักษะการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น หรือรู้จักกันว่า 3Rs
            ในวิถีทางเศรษฐกิจที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ผู้ปฏิบัติงานต้องมีการศึกษาที่ดี ต้องมีปัญญาที่ดีกว่า มีทักษะการสื่อสาร และการทำงานเป็นทีม บ้านและที่ทำงานจะมีเครื่องคิดเลข คอมพิวเตอร์ เครื่องแฟกซ์ และเครื่องมืออีเล็กทรอนิกส์ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะนำสู่จุดวิกฤติของคนที่ไม่สามารถใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆนี้ให้ทำงานได้ จึงมีความจำเป็นที่ภาคอุตสาหกรรมและรัฐบาล จะได้ร่วมกันสร้างโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรในการเตรียมคนเข้าสู่ตลาดแรงงานที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ในอนาคตการศึกษาจะเป็นการสร้างนักวิทยาศาสตร์เพื่อที่จะสามารถออกแบบ พัฒนา และประยุกต์เทคโนโลยีได้ในอนาคต
            สมาคมครูวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (The National Science Teachers Association : NSTA) ได้อนุมัติหลักสูตรเรียกว่าScience/Technology/Society ซึ่งไม่ได้มุ่งเน้นเพียงวิทยาศาสตร์เท่านั้น หากแต่ให้ความสำคัญกับสังคมและเทคโนโลยี ตัวอย่างหนึ่งของจุดประสงค์โปรแกรมนี้ก็เพื่อช่วยนักศึกษาจัดการกับผลกระทบของเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน
            ความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มแผนพัฒนาแห่งชาติแบบมีส่วนร่วม ของการศึกษา อุตสาหกรรมและรัฐบาล การประเมินความต้องการอาชีพในอนาคต และแผนความร่วมมือกันของโรงเรียนหรือสถานศึกษา
            3. การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) แนวโน้มของการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นความจำเป็นกับสังคมสมัยใหม่อันเป็นผลสืบเนื่องจากความรู้ที่มีมากมาย การเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจที่มีผลต่อประชาชนในการประกอบอาชีพที่ปรับเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาใหม่ที่มีผลต่อเป้าหมายของบุคคลและสังคม การศึกษาจะมีความต่อเนื่องตลอดชีวิตไม่ใช่เป็นเพียงการศึกษาในโรงเรียนเท่านั้น การศึกษาผู้ใหญ่จึงถูกคาดหวังเพิ่มขึ้นในปีคริสต์ศตวรรษที่ 1990s
            4. การศึกษานานาชาติ (International Education) สังคมอเมริกันถือได้ว่าความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาได้มาจากประเทศต่างๆ และได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ “หมู่บ้านโลก(global village) กล่าวถึงมาตรฐานของการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจของชาติ(อเมริกัน)มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในที่อื่นๆ ของโลก
            การสื่อสารผ่านดาวเทียมและบรรยากาศ รายการโทรทัศน์ เครือข่ายซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีเลเซอร์ และการเดินทางด้วยเครื่องบินเจ็ต ช่วยให้ดูเหมือนว่าโลกแคบลง ความจำเป็นในการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศมีมากยิ่งขึ้น ภาษาพูดที่รู้จักกันส่วนใหญ่คือ ภาษาจีนกลาง รองลงมาคือภาษาอังกฤษ ฮินดี และสเปน ภาษาญี่ปุ่น(อันดับที่ 10) และภาษาเยอรมันและฝรั่งเศส การฝึกอบรมนักศึกษาในสหรัฐอเมริกาให้เรียนรู้ภาษาต่าง ๆมีผลต่อความเจริญเติบโตทางด้านการค้าของสหรัฐอเมริกาและความเข้าใจในตลาดการค้าโลก
            5. สิ่งแวดล้อมศึกษา (Environmental Education) ผลจากปัญหาต่างๆ อาทิ มลภาวะ น้ำเสีย ประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาวะทุพโภชนาการ และแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น ปัญหาต่างๆ เหล่านี้นำไปสู่ความต้องการความรู้และโปรแกรมใหม่ในสาขาวิชานิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมศึกษา ถึงแม้ว่าเดิมทีมีวิชาที่เกี่ยวข้องคือ ธรณีวิทยา ชีววิทยา ภูมิศาสตร์ แต่ความต้องการความรู้ที่มีความหมายและมีความสัมพันธ์กับการแก้ปัญหาชีวิตและความเป็นอยู่ของมวลมนุษย์ในยามคับขันหรือช่วงเวลาเร่งด่วน
            โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาควรได้ทำหน้าที่เตรียมผู้เรียนสู่โลกอนาคต โดยช่วยให้เข้าใจในปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ สังคมและการเมืองว่าเป็นอย่างไร ด้วยเหตุที่ว่าความรู้ที่มีอยู่ไม่มั่นใจว่าใช้ได้อย่างเหมาะสม หลักสูตรต้องให้เกิดเจตคติ คุณค่า และความคิดเชิงจริยธรรม ที่ช่วยให้มีพฤติกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เกี่ยวกับนิเวศวิทยาต้องการการมองโลกยุคใหม่แบบบูรณาการ รู้ว่าอย่างไรที่เป็นการทำลาย รู้ว่าวิทยาศาสตร์ สังคม และการเมือง จะนำมาบูรณาการกันอย่างไรที่จะช่วยให้ลดปัญหาหรือนำไปสู่แนวทางการแก้ไข สิ่งต่างๆ โรงเรียนในอนาคตจะต้องนำแนวคิดดังกล่าวข้างต้นนี้มาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยเฉพาะการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
            6. การศึกษาเกี่ยวกับนิวเคลียร์ (Nuclear Education) ประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต รัสเซียถือว่าเป็นประเทศที่เป็นผู้นำด้านนิวเคลียร์ นอกจากนั้นประเทศจีน เกาหลีเหนือ เยอรมันนี และฝรั่งเศส นับได้ว่ามีการขายความรู้ด้านนิวเคลียร์ให้กับประเทศโลกที่สาม
             การใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติ ได้แก่ โรงไฟฟ้า การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การบำบัดด้วยการฉายรังสี ความรู้เรื่องหลังงานนิวเคลียร์มีความจำเป็นว่าพลังงานดังกล่าวนี้มีผลกระทบต่ออากาศ อาหาร และน้ำอย่างไร กรณีที่มีการรั่วไหลจะมีผลกระทบในขอบเขตห่างไกลเพียงใด และความเข้มข้นของรังสีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ทั้งที่อยู่ใกล้และไกลออกไปนับพันไมล์ ดังนั้นหลักสูตรที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเกี่ยวกับนิวเคลียร์ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรโลกศึกษา(Globally Oriented Curriculum)
            7. สุขศึกษาและการดูแลสุขภาพกาย (Health Education and Physical Fitness) แนวโน้มเกี่ยวกับสุขภาพของประชากรชาวอเมริกันจะต้องได้รับความรู้จากหลักสูตรใหม่ๆ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือนักการศึกษานำประเด็นเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่องที่รู้กันในชื่อว่า AIDS (acquired immunodeficiency syndrome) นำมาให้ความรู้กับผู้เรียน บรรจุเป็นเรื่องหนึ่งในหลักสูตร
            ถึงแม้ว่าในสังคมอมริกันประชากรวัยผู้ใหญ่มีนิสัยรักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วยการเล่นกีฬาและการดูแลสุขภาพร่างกาย(Fitness) จุดประสงค์เบื้องต้นของโปรแกรมมุ่งให้มีความสนุกสนานและด้านการสังคมในกิจกรรมกีฬา ไม่ได้มุ่งการแข่งขันเพื่อชัยชนะ มุ่งเพียงให้เป็นพฤติกรรมการออกกำลังกายเป็นสำคัญ
            8.การศึกษาต่างด้าว (Immigrant Education) สังคมอเมริกันหลังสงครามโลกครั้งที่สองมีชาวต่างด้าวเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก นัยสำคัญของคนต่างด้าวจำนวนมากมาจากครอบครัวที่เรียกว่า “ยากจน(structurally poor)”  เด็กที่มาจากประเทศต่าง ๆ จะถูกตีตราว่า “ด้อยความสามารถในการเรียนรู้(learning disabled or “slow” เพื่อช่วยให้คนต่างด้าวที่เข้ามาใหม่นักการศึกษาให้คำแนะนำว่าโรงเรียนควรได้จัดหลักสูตรสองภาษา(Bilingual programs) หลักสูตรพหุวัฒนธรรมจะช่วยให้เด็กต่างด้าวได้เรียนรู้และอยู่ในสังคมใหม่ได้ดียิ่งขึ้น
            9. ภูมิศาสตร์ย้อนกลับ (The Return of Geography) การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นผลมาจากการตีพิมพ์หนังสือชื่อ Nation at Risk ในปี ค.ศ.1983 เด็กอเมริกันจะได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวโลกรอบตัวเรา รวมถึงภูมิศาสตร์พื้นฐาน มีการทบทวนสาระสำคัญทางภูมิศาสตร์ อาทิเรื่องback to basic, การเรียนรู้วัฒนธรรม นิเวศวิทยาศึกษา และโลกศึกษา  เรื่องราวต่างๆ ที่ศึกษาเล่าเรียนจะเป็นพลังขับเคลื่อนให้รู้จักบทบาทของตนเองเพิ่มยิ่งขึ้น
            10. การศึกษาในช่วงเกรดกลาง (Middle-Grade Education) ผู้เรียนที่อายุระหว่าง 10 –15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่เปลี่ยนแปลงความเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างรวดเร็ว การศึกษาที่จัดให้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ ก่อนจะเป็นวัยรุ่น(Preadolescents) และวัยรุ่นตอนต้น(early adolescents) เมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนมัธยม(secondary school) โรงเรียนเกรดกลางมุ่งให้ความสำคัญกับการเรียนรู้สังคมหรือสังคมประกิต(Socialization) ไม่เน้นวิชาการ แต่ให้ความสำคัญกับ intramural sport แต่ก็ไม่เน้น interscholastic or competitive sports ถึงแม้ว่าโรงเรียนเกรดกลางจะมีอยู่โดยทั่วไป แต่หลักสูตรใหม่ที่เหมาะสมกับกลุ่มเด็กดังกล่าวนี้จำเป็นต้องพัฒนาขึ้น การพัฒนาครูผู้สอนจะต้องปรับเปลี่ยน โปรแกรมการพัฒนาครูจะต้องมีความแตกต่างจากครูประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในอนาคตสถาบันการผลิตครูจะต้องมุ่งพัฒนาความรู้ ทักษะที่จำเป็นสำหรับการสอนโรงเรียนเกรดกลาง(Middle school)
            11. การศึกษาสำหรับผู้สูงอายุ (Aging Education) สังคมปัจจุบันจำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นักการศึกษามีความเชื่อว่าโรงเรียนจะต้องสอนให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหาและความคาดหวังของผู้สูงอายุ และช่วยให้มีความรักต่อผู้สูงอายุ(ทั้งพ่อแม่และปู่ย่าตายาย)
          ในโรงเรียนจะต้องประสมประสานผู้สูงอายุทั้งผู้ที่มีความประสงค์จะเกษียณอายุและผู้เกษียณอายุจากงานประจำมาช่วยงานในโรงเรียนในรูปแบบ อาสาสมัคร ผู้ช่วยสอน และแหล่งทรัพยากรบุคคลในการเรียนรู้
            12. ธุรกิจการศึกษา(For-Profit Education)  โรงเรียนหรือสถานศึกษารูปแบบต่าง ๆเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในรูปแบบของเอกชนและหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจ อาทิ สถานเลี้ยงเด็กเล็ก(nursery) ศูนย์รับเลี้ยงเด็กช่วงเวลากลางวันและช่วงหลังเลิกเรียน ศูนย์กีฬาและโคชเอกชน ศูนย์ติวเตอร์แฟรนไชส์ วิทยาลัยเอกชนเพื่อให้บริการแนะแนว(ในการเลือกมหาวิทยาลัย) สถาบันติวเตอร์สอบ SAT และการทดสอบเพื่อขอรับในรับรองประกอบวิชาชีพ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นการนำการศึกษาเข้าสู่ตลาดการค้าที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการศึกษา จากผู้เรียนโดยตรง
            13. การศึกษาเพื่ออนาคต (Futuristic Education) จากงานเขียนของทอฟเลอร์(Toffler 1970) ที่กล่าวถึงอนาคตว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไม่สามารถที่กำหนดขอบข่ายของการเปลี่ยนแปลงได้เลยนั้น จึงนำมาเป็นหลักการของความมุ่งหมายการศึกษา ที่จะต้องเพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนเพื่อที่ผู้เรียนแต่ละคนสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่อง
         แนวทางหนึ่งในการเตรียมตัวผู้เรียนในอนาคตก็คือช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โปรแกรมหรือรายวิชาใหม่ จะถูกเรียกว่า การศึกษาเล่าเรียนเพื่ออนาคต(Futuristic studies) จะเริ่มในระดับอุดมศึกษา และมัธยมศึกษาในโอกาสต่อไป สาระสำคัญของการศึกษาดังกล่าวนี้พิจารณาจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสถานการณ์ในสังคมโดยไม่มีการแบ่งแยก แต่เป็นทั้งสององค์ประกอบที่ช่วยในการตัดใจในอนาคต  โดยทั่วไปการมองอนาคตไม่ใช่ภารกิจที่เล็กๆ แต่เป็นการนำเสนออนาคตที่มีจุดประสงค์การเรียนรู้โดยปกติทั่วไปที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และนำไปใช้โดยปรับให้เหมาะสมกับตนเองในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
         นักการศึกษาได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นในอนาคตที่เรียกกันว่า ทักษะในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรหรือรายวิชาที่เรียนก็ควรที่จะได้พิจารณาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามมาตรฐานดังกล่าวนี้ หลักสูตรต้องวางแผนเพื่อการบรรลุทักษะในศตวรรษที่ 21
        ในปี 1983 สมาคมการพัฒนาหลักสูตรและการนิเทศ (Association for Supervision and curriculum development : ASCD) ได้เผยแพร่บทความวิจัย ของ Benjamin I. Troutman and Robert D. Palombo เรื่อง Identifying Futures Trends in Curriculum Planning โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 36 คน จากโรงเรียน Virginia Beach Public Schools ข้อมูลที่ได้สรุปได้ว่า ในอนาคตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเป็นตัวชี้การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร อันเป็นผลจาก การขยายความรู้ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว และความรู้มีความเป็นศาสตร์เฉพาะการเพิ่มขึ้น ซึ่งมีการศึกษาผลต่อหลักสูตรใน 3 ประเด็น คือ1) ความเป็นความรู้ที่ร่วมกันของวิทยาการที่เจริญก้าวหน้า 2) ความสมดุลระหว่างความยากลำบากในการได้มาของข้อเท็จจริงกับการพัฒนาทักษะกระบวนการ 3) เอกสารความรู้ที่ใช้เป็นแหล่งความรู้ในหลักสูตร จากขอบข่ายดังกล่าวนี้กลุ่มตัวอย่างจากโรงเรียน Virginia Beach Public Schools ให้ความเห็นว่าแนวโน้มในอนาคตที่มีผลต่อการวางแผนหลักสูตรมี 15 ประเด็น คือ
1.ทักษะพื้นฐานทางวิชาการ (Basic Academic Skills)จะต้องให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นกับ ทักษะการสื่อสาร คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะหลักสูตรอาชีวศึกษา
2.คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น ๆ (Computers and Other Information Technologies) คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น ๆ มีรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันแล้วอุปมาดั่งเช่นเป็นพาหนะขับเคลื่อนการศึกษาสำหรับผู้เรียนทุกคน การพัฒนาแผนสำหรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในระบบโรงเรียน Virginia Beach Public Schools ตั้งแต่อนุบาลถึงเกรดสิบสอง
3.ความยืดหยุ่นของหลักสูตร(Curriculum Flexibility) ให้โอกาสอันยิ่งใหญ่ที่มั่งคั่งสมบูรณ์และรวดเร็วจากหลักสูตร สำหรับอนุบาลถึงเกรดสิบสอง
4.การทบทวนหลักสูตร (Curriculum Revision) พัฒนาแผนปฏิบัติการที่แน่ใจว่าสามารถดำเนินการต่อไปได้ หลักสูตรได้รับการทบทวนและมีการประเมินอย่างเป็นระบบ
5.ความเป็นประชาธิปไตย (Democratic Ideals) ทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
6.โปรแกรมสำหรับเด็กเล็ก(Early Childhood Programs) ขยายโปรแกรมสำหรับเด็กเล็ก (เด็กก่อนอนุบาล) ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้
7.การมองอนาคต (Futures Perspective) การรวมขอบเขตสาระเป็นหลักสูตรเดียว โดยสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นประเด็นสะท้อนและอธิบายประเด็นร่วมสมัย แนวโน้มอนาคต และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจุบันกับเหตุการณ์ที่ผ่านไปและทางเลือกในอนาคต
8.สัมพันธภาพระดับสากล (Global Interrelationships) ให้ความสำคัญกับมุมมองของความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม-ชาติพันธุ์ของมนุษย์ที่หลักสูตรต้องมีความหลากหลาย
9.การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ขยายโอกาสสำหรับสมาชิกของชุมชนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนที่สนใจเรียนรู้ในรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
10.สื่อมวลชน(Mass Media) ให้ความสำคัญกับทักษะในการวิเคราะห์วิจารณ์ การฟัง และการดู ที่เกี่ยวข้องกับการแปลความหมายจากสื่อ
11.การเติมเต็มบุคลิกภาพ (Personal Fulfillment) โรงเรียนเป็นสถานที่อันยิ่งใหญ่ที่จะสร้างความคิดต่อตนเองเชิงบวก และพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
12.การประยุกต์กระบวนการ (Process Approach) หลักสูตรมุ่งที่การแก้ปัญหา การตัดสินใจ ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการคิดขั้นสูง ทักษะการนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า
13.การพัฒนาทีมงาน (Staff Development) เพิ่มโอกาสให้พัฒนาทีมงาน โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยี
14.ใช้ชุมชน (Use of Community) เพิ่มบทบาทของผู้ปกครองและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนในการจัดโปรแกรมการศึกษา เชื่อมโยงการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับประสบการณ์ในชุมชน
            15.การอาชีวและอาชีพศึกษา (Vocational and Career Education) แน่ใจว่าการศึกษาอาชีวและอาชีพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ในการทำงานและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียน


ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร

            ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร  คือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ที่เป็นปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิด ร่วมทำ  ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้ มีดังนี้
            1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร  ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
            2. ขาดการประสานงานหน้าที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร
            3. ผู้บริหารระดับต่างๆ เห็นว่าหลักสูตรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะ
            4. ปัญหาการไม่เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนของครูตามแนวทางของหลักสูตร
            5. ปัญหาการเผยแพร่หลักสูตร การสื่อสารทำความเข้าใจในหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นใหม่

ผลการเรียนรู้

1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
2. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร ในศตวรรษที่ 21