9 พ.ย. 2561

กิจกรรม

1. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง ปัญหาและแนวโน้มของ
หลักสูตร
ตอบ
ปัญหาในการพัฒนาหลักสูตร
         - ในอดีตการจัดศึกษาไทยเป็นระบบศูนย์รวม สถานศึกษาต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากส่วนกลาง ซึ่งไม่สะท้อนสภาพความต้องการที่แท้จริงของสถานศึกษาและท้องถิ่น
         - เกิดจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตร เช่น ครู ผู้บริหาร ผู้จัดทำหลักสูตร ไม่เข้าใจกระบวนการของการพัฒนาหลักสูตร มีเจตคติที่ไม่ดีต่อการพัฒนาหลักสูตร ไม่ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงของหลักสูตร มีความรู้ความสามารถไม่เพียงพอที่จะพัฒนาหลักสูตร
         - ขาดงบประมาณสนับสนุน เช่น ขาดงบประมาณในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เอกสาร เงินสนับสนุนช่วยเหลือครูแต่ละวันในการพัฒนาหลักสูตร เป็นต้น
         - การบริหารจัดการ เช่น ขาดการประสานงานี่ดีระหว่างระหน่วยงานต่างๆ ขาดผู้เชี่ยนชาญที่มีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร ขาดการวางแผนด้านเวลา บรรยากาศของโรงเรียนไม่ส่งเสริมการทำงาน
แนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
         - เป็นหลักสูตรที่เน้นให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น วิเคราะห์เป็น ไม่เน้นท่องจำเหมือนในอดีต เช่น จัดการเรียนรู้แบบโครงการ ให้ครูและนักเรียนช่วยกันพัฒนาโจทย์ขึ้นด้วยกัน การเสาะแสวงหาข้อมูล การลงภาคสนาม การทดลองปฏิบัติ การจดบันทึกข้อมูล การสรุปบทเรียนด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นวิทยากรกระบวนการ ผู้ให้คำแนะนำปรึกษาต่อนักเรียน
         - สื่อและเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามีบทบาทในการเรียนเพิ่มมากขึ้น เช่น มีการค้นคว้าหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยตนเองซึ่งผู้เรียนจะสามารถค้นคว้า มีทักษะเข้าสู่ระบบข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายได้ตลอดเวลา จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนการสอนแบบทางไกล ซึ่งจะทำให้ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา สถานที่
         - เน้นการบูรณาการ แต่ยังคงเนื้อหาสาระของแต่ละรายวิชาอยู่ทั้งด้านภาษา การคิดคำนวณและด้านเหตุผลหรือวิทยาศาสตร์
         - เน้นการมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นและสถานศึกษาเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน แต่ส่วนกลางยังคงเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่ง
         - ให้ครูและผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรอย่างแท้จริง เช่น การจัดอบรมสัมมนา.เรื่องการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรมาให้คำแนะนำช่วยเหลือในการพัฒนาหลักสูตร
         - เน้นหลักสูตรท้องถิ่นที่มีความหลากหลายและให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
         - เนื่องจากในยุคปัจจุบันภาษาต่างประเทศมีความจำเป็นในดำรงชีวิตของผู้คนเพิ่มมากขึ้นประกอบกับประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาเวียดนาม ลาว มลายู อังกฤษ รวมไปถึงมีการเปิดหลักสูตรนานาชาติเพิ่มขึ้นด้วย

2.ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจากวิจารณ์ พานิช. วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21
ตอบ 
วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558
ทักษะครูเพื่อศิษย์ไทย ในศตวรรษที่ 21
ทักษะชีวิตและอาชีพ
     • ความยืดหยุ่นและปรับตัว
     • การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
     • ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
     • การเป็นผู้สร้างหรือผลิต (Productivity) และความรับผิดรับชอบ เชื่อถือได้ (Accountability)
     • ภาวะผู้นําและความรับผิดชอบ (Responsibility) นอกจากนั้นโรงเรียนและครูต้องจัดระบบสนับสนุนการเรียนรู้ต่อไปนี้
     • มาตรฐานและการประเมินในยุคศตวรรษที่ 21
     • หลักสูตรและการเรียนการสอนสําหรับศตวรรษที่ 21
     • การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21
     • สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่ 21

วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558 ศาสตราใหม่ สําหรับครูเพื่อศิษย์
ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยสิ้นเชิงเพื่อให้เป็น
“ครูเพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21” ไม่ใช่ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 20 หรือศตวรรษที่ 19 ที่เตรียม
คนออกไปทํางานในสายพานการผลิตในยุคอุตสาหกรรม การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทํางานที่ใช้ความรู้ (Knowledge Worker) และเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ (Learning Person) ไม่ว่าจะประกอบสัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ และเป็นคนทํางานที่ใช้ความรู้ แม้จะเป็นชาวนาหรือเกษตรกรก็ต้องเป็นคนที่พร้อมเรียนรู้ และเป็นคนทํางานที่ใช้ความรู้
ดังนั้น ทักษะสําคัญที่สุดของศตวรรษที่ 21 จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ (Learning
Skills) การศึกษาในศตวรรษที่ 21 จําต้องเป็นเช่นนี้ก็เพราะต้องเตรียมคน ไปเผชิญ
การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว รุนแรง พลิกผัน และคาดไม่ถึง คนยุคใหม่จึงต้องมีทักษะ
สูงในการเรียนรู้และปรับตัว   ครูเพื่อศิษย์จึงต้องพัฒนาตนเองให้มีทักษะของการเรียนรู้ด้วย และในขณะ
เดียวกันก็ต้องมีทักษะในการทําหน้าที่ครูในศตวรรษที่ 21 ซึ่งไม่เหมือนการทําหน้าที่
ครูในศตวรรษที่ 20 หรือ 19 ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจน
ถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C 3R ได้แก่ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้) และ (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)
7C ได้แก่ Critical Thinking & Problem Solving (ทักษะด้านการคิด อย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา) Creativity & Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)

วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558 การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ การเรียนรู้ 3R x 7C ครูเพื่อศิษย์เองต้องเรียนรู้ 3R x 7C และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต แม้เกษียณอายุ
จากการเป็นครูประจําการไปแล้ว เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง ระหว่างเป็นครูประจําการก็เรียนรู้สําหรับเป็นครูเพื่อศิษย์ และเพื่อการดํารงชีวิตของตนเอง Collaboration, Teamwork & Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทํางานเป็นทีม และภาวะผู้นํา)
Communications, Information & Media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ) Computing & ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
Career & Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

21 st Century Learning Framework 21 st Century Knowledge-and-Skills Rainbow
(http://www.schoollibrarymonthly.com/articles/img/Trilling-Figure1.jpg)
ทักษะครูเพื่อศิษย์ไทย ในศตวรรษที่ 21

วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้  ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558 ครูเพื่อศิษย์ต้องฝึกฝนตนเองให้มีทักษะในการเป็นโค้ช และเป็น “คุณอํานวย” (Facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Project-based Learning) ของศิษย์ ซึ่งผมจะเขียนรายละเอียดเรื่อง PBL ในบทต่อ ๆ ไปขอย้ําว่าครูต้องเลิกเป็น “ผู้สอน” ผันตัวเองมาเป็นโค้ช หรือ “คุณอํานวย” ของการเรียนของศิษย์ที่ส่วนใหญ่เรียนแบบ PBL นั่นหมายถึง โรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ต้องเลิกเน้นสอน หันมาเน้นเรียน ซึ่งต้องเน้นทั้งการเรียนของศิษย์และของครู ครูจะต้องปรับตัวมากซึ่งเป็นเรื่องยาก จึงต้องมีตัวช่วย คือ Professional
Learning Communities (PLC) ซึ่งก็คือ การรวมตัวกันของครูประจําการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทําหน้าที่ครูนั่นเองขณะนี้มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ (มสส.) กําลังจะจัด PLC ไทย เรียกว่า ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (ชร.คศ.) หรือในภาษาการจัดการความรู้ (Knowledge Management หรือ KM) เรียกว่า CoP (Community of Practice) ของครูเพื่อศิษย์นั่นเอง ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (ชร.คศ.) คือ ตัวช่วยการเรียนรู้ของครู เพื่อให้การปรับตัวของครู และการเปลี่ยนชุดความรู้และชุดทักษะของครูไม่เป็น เรื่องยากแต่จะสนุกเสียด้วยซ้ํา

15 ธันวาคม 2553 http://www.gotoknow.org/blog/thaikm/415058
ที่มา:ทักษะครูเพื่ิอศิษย์ไทยในศตวรรษที่ 21 หน้า 15 - 21 ตีพิมพ์อยู่ใน
หนังสือวิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 จัดพิมพ์โดยมูลนิธิสดศรี สฤษดิวงศ์ 2555
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช
วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) นี้คือ ทักษะพื้นฐานที่มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ทุกคนต้องเรียน เพราะโลกจะยิ่งเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นเรื่อย ๆ และมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากขึ้น คนที่อ่อนแอในทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมจะเป็นคนที่ตามโลกไม่ทัน เป็นคนอ่อนแอ ชีวิตก็จะยากลําบากครูเพื่อศิษย์จึงต้องเอาใจใส่ พัฒนาขีดความสามารถของตนเองในด้านนี้
ให้สามารถออกแบบการเรียนรู้เพื่อให้ศิษย์เรียนรู้และพัฒนาทักษะของตนเองในด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมได้ตลอดชีวิต วิธีออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์มีทักษะนี้ ใช้หลักการว่า ต้องมีการเรียนรู้แบบ
ที่เด็กร่วมกันสร้างความรู้เอง คือ เรียนรู้โดยการสร้างความรู้ และ เรียนรู้เป็นทีม ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมนี้อยู่ที่ยอดของ Knowledge and Skills Rainbow ซึ่งเป็นหัวใจของทักษะเพื่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้ทักษะในการเรียนรู้ (Learning How to Learn หรือ Learning
Skills) และเรียนรู้ทักษะในการสร้างการเปลี่ยนแปลงไปในทางดีขึ้น (นวัตกรรม) ประกอบด้วยทักษะย่อย ๆ ดังต่อไปนี้
          1. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) และการแก้ปัญหา
(Problem Solving) ซึ่งหมายถึง การคิดอย่างผู้เชี่ยวชาญ (Expert Thinking)
          2. การสื่อสาร (Communication) และความร่วมมือ (Collaboration)
ซึ่งหมายถึง การสื่อสารอย่างซับซ้อน (Complex communicating)
          3. ความริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity) และนวัตกรรม (Innovation)
ซึ่งหมายถึง การประยุกต์ใช้จินตนาการและการประดิษฐ์ศิษย์ของท่านจะต้องใช้ทักษะเหล่านี้ในการดํารงชีวิต เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของตนเอง และเพื่อการทํางานสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าต่อการดํารงชีวิตในโลกของการงานที่เน้นความรู้ เป็นการท้าทายครูเพื่อศิษย์ว่า ท่านจะออกแบบการเรียนรู้ให้แก่ศิษย์
ของท่านอย่างไร ให้ศิษย์ได้เรียนรู้ทักษะเหล่านี้ติดตัวไป ทักษะเหล่านี้สอนโดยตรงไม่ได้ แต่จัดกระบวนการให้เรียนรู้ได้ทักษะครูเพื่อศิษย์ไทย ในศตวรรษที่ 21

วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558 เคล็ดลับอย่างหนึ่งของการบ่มเพาะทักษะทั้ง 3 คือ การฝึกตั้งคําถาม การตั้ง คําถามที่ถูกต้องสําคัญกว่าการหาคําตอบ
ครูเพื่อศิษย์จึงต้องชวนศิษย์หรือเปิดโอกาส ให้ศิษย์ตั้งคําถามแปลก ๆ และชวนกันหาทางทดลองหรือค้นคว้าเพื่อตอบคําถามนั้น ทุกโอกาสของทุกกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ควรชวนกันตั้งคําถาม ศิษย์ควรได้เรียนรู้ว่า คําถามที่ถูกต้องเป็นอย่างไร และนําไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ อย่างไร ที่จริงเรื่องนี้
ไม่ยากหากครูฝืนใจตัวเอง ไม่ยึดถูกผิดตามทฤษฎี แต่ชักชวนเด็กร่วมกันหาคําตอบที่ นําไปสู่การเรียนรู้หรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หัวใจของเรื่องนี้คือ จิตวิญญาณของความไม่รู้ หรือไม่รู้จริง หรือไม่เชื่อง่าย
แล้วหาทางพิสูจน์เพื่อท้าทายความรู้เดิม ๆ ทั้งของตนเองและของโลก มีความเข้าใจผิดที่เชื่อกันแพร่หลายในวงการศึกษาว่า นักเรียนต้องเรียนความรู้ รายวิชาจนเข้าใจคล่องแคล่วก่อน แล้วจึงจะสามารถนําความรู้นั้นไปใช้งานได้
          ผลการวิจัยสมัยใหม่บอกว่า การเรียนโดยประยุกต์ใช้ ความรู้เพื่อเรียนรู้ทักษะ ด้านการคิด
อย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา และความริเริ่มสร้างสรรค์ไปพร้อม ๆ กับเรียนเนื้อหาให้ผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้สูงกว่า เพราะเด็กมีความตั้งใจเรียนมากกว่าทฤษฎีใหม่คัดค้านทฤษฎีเก่าโดยสิ้นเชิงว่า การเรียนรู้ไม่ได้มีลักษณะ เรียงเป็นแถว จากเรียนรู้ทักษะหรือความรู้พื้นฐานไปสู่การเรียนรู้ทักษะที่ซับซ้อน (จากความรู้(Knowledge) ไปสู่ความเข้าใจ (Comprehension) การประยุกต์ใช้ (Application)
การวิเคราะห์ (Analysis) การสังเคราะห์ (Synthesis) และการประเมิน (Evaluation)(ตามลําดับ) แต่ในความเป็นจริง การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน และการเรียนรู้ จริงต้องเลย (Beyond) การรู้เนื้อหาไปสู่ความเข้าใจแท้จริงในระดับที่เอาไปใช้ได้ในสถานการณ์จริง การเรียนรู้เนื้อหาไปพร้อม ๆ กับการใช้ประโยชน์ในสถานการณ์จริงหรือ เรียนทุกขั้นตอนในวงเล็บข้างบนไปพร้อม ๆ กันในสถานการณ์จริง จึงให้ผลการเรียนรู้ที่ลึกและเชื่อมโยงกว่า คือ รู้จริงขั้นตอนการเรียนรู้จากผลการวิจัยในยุคปัจจุบันคือจําได้ (Remember) เข้าใจ(Understand) ประยุกต์ใช้ (Apply) วิเคราะห์ (Analyze) ประเมิน (Evaluate)
และสร้างสรรค์ (Create) โดยที่ขั้นตอนเหล่านี้เกิดพร้อม ๆ กันได้ หรืออะไรเกิดก่อนเกิดหลังได้ทั้งสิ้น รวมทั้งเกิดเรียงลําดับจากหลังไปหน้าก็ได้ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช11
วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558 1. การออกแบบการเรียนรู้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหาการออกแบบการเรียนรู้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาควรมีเป้าหมายและวิธีการดังต่อไปนี้
เป้าหมาย: นักเรียนสามารถใช้เหตุผล
          • คิดได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลหลากหลายแบบ ได้แก่ คิดแบบอุปนัย
(Inductive) คิดแบบอนุมาน (Deductive) เป็นต้น แล้วแต่สถานการณ์
เป้าหมาย: นักเรียนสามารถใช้การคิดกระบวนระบบ (Systems Thinking)
          • วิเคราะห์ได้ว่าปัจจัยย่อยมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร จนเกิดผลในภาพรวม
เป้าหมาย: นักเรียนสามารถใช้วิจารณญาณและตัดสินใจ
          • วิเคราะห์และประเมินข้อมูลหลักฐาน การโต้แย้ง การกล่าวอ้างและความเชื่อ
          • วิเคราะห์เปรียบเทียบและประเมินความเห็นหลัก ๆ
          • สังเคราะห์และเชื่อมโยงระหว่างสารสนเทศกับข้อโต้แย้ง
          • แปลความหมายของสารสนเทศและสรุปบนฐานของการ วิเคราะห์
          • ตีความและทบทวนอย่างจริงจัง (Critical Reflection) ในด้านการเรียนรู้
และกระบวนการ
เป้าหมาย: นักเรียนสามารถแก้ปัญหาได้
          •ฝึกแก้ปัญหาที่ไม่คุ้นเคยหลากหลายแบบ ทั้งโดยแนวทางที่ยอมรับกัน
ทั่วไป และแนวทางที่แหวกแนว
          • ตั้งคําถามสําคัญที่ช่วยทําความกระจ่างให้แก่มุมมองต่าง ๆ เพื่อนําไปสู่
ทางออกที่ดีกว่า
การเรียนทักษะเหล่านี้ทําโดย PBL (Project-based Learning) และต้องเรียน
เป็นทีม ไม่ใช่เรียนจากครูสอนในชั้นเรียน
           2. การออกแบบการเรียนรู้ทักษะการสื่อสารและความร่วมมือ โลกในศตวรรษที่ 21 ต้องการทักษะของการสื่อสารและความร่วมมือ ที่กว้างขวางและลึกซึ้งกว่าโลกสมัยก่อนอย่างเทียบกันไม่ได้เลย เป็นผลจากเทคโนโลยีดิจิตอล และเทคโนโลยีการสื่อสาร (Digital & Communication Technology)
ทักษะครูเพื่อศิษย์ไทย ในศตวรรษที่ 21

วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558 การออกแบบการเรียนรู้ทักษะการสื่อสารและความร่วมมือ ควรมีเป้าหมายและวิธีการดังต่อไปนี้
เป้าหมาย: ทักษะในการสื่อสารอย่างชัดเจน
          • เรียบเรียงความคิดและมุมมอง (Idea) ได้เป็นอย่างดีสื่อสารออกมาให้
เข้าใจง่ายและงดงาม และมีความสามารถสื่อสารได้หลายแบบ ทั้งด้วยวาจา
ข้อเขียนและภาษาที่ไม่ใช่ภาษาพูดและเขียน (เช่น ท่าทาง สีหน้า)
          • ฟังอย่างมีประสิทธิผล เกิดการสื่อสารจากการตั้งใจฟัง ให้เห็น ความหมาย
ทั้งด้านความรู้ คุณค่า ทัศนคติ และความตั้งใจ
          • ใช้การสื่อสารเพื่อบรรลุเป้าหมายหลายด้าน เช่น แจ้งให้ทราบ บอกให้ทําจูงใจ และชักชวน
          • สื่อสารอย่างได้ผลในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย รวมทั้งในสภาพที่สื่อสารกันด้วยหลายภาษา
เป้าหมาย: ทักษะในการร่วมมือกับผู้อื่น
          • แสดงความสามารถในการทํางานอย่างได้ผล และแสดงความเคารพให้เกียรติทีมงานที่มีความหลากหลาย
          • แสดงความยืดหยุ่นและช่วยประนีประนอมเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
          • แสดงความรับผิดชอบร่วมกันในงานที่ต้องทําร่วมกันเป็นทีม และเห็นคุณค่าของบทบาทของผู้ร่วมทีมคนอื่น ๆ
          3. การออกแบบการเรียนรู้ทักษะด้านความสร้างสรรค์และนวัตกรรมโลกในศตวรรษที่ 21 เป็นโลกที่ไม่หยุดนิ่ง เกิดการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว(และบางครั้งพลิกผัน) คนที่จะอยู่ได้อย่างสอดคล้องกับสังคมในยุคใหม่จึงต้องฝึกความสร้างสรรค์และนวัตกรรม ซึ่งที่จริงมีอยู่แล้วในความเป็นมนุษย์ แต่การเรียนรู้
และการฝึกฝนที่ดีจะช่วยให้แหลมคม ฉับไว และอดทน คนที่มีทักษะนี้สูงจะได้งานที่ดีกว่า ชีวิตก้าวหน้ากว่า และจะทําประโยชน์ให้แก่สังคมและแก่โลกได้ดีกว่าที่จริงโลกกําลังเปลี่ยนยุค จากยุคความรู้สู่ยุคนวัตกรรม การฝึกพลังสร้างสรรค์ และนวัตกรรมจึงสําคัญยิ่ง และผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า การฝึกฝนนี้ ต้องทําตลอดชีวิตแต่น่าเสียดายว่า ระบบการศึกษาในปัจจุบันกลับเป็นตัวฆ่าพลังสร้างสรรค์และ
นวัตกรรม ด้วยการจัดการสอนแบบท่องจํา เน้นการอ่าน เขียนและคิดเลข
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช

วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558 ดังวิดีโอใน YouTube ที่เสนอโดย เซอร์ เคนเนธ โรบินสัน (Sir Kenneth Robinson) ความผิดพลาดอย่างยิ่งของการศึกษา คือ การทําให้การทําผิดเป็นเสมือนสิ่งชั่วร้าย ท่าทีเช่นนี้มีผลลดทอนความสร้างสรรค์ของเด็กความเข้าใจผิดที่จะต้องแก้คือ คนมักคิดว่าความสร้างสรรค์เป็นเรื่องของอัจฉริยะซึ่งเป็นคนจํานวนน้อย ในความเป็นจริงแล้วทุกคนมีความสร้างสรรค์อยู่แล้วในรูปของจินตนาการ และการศึกษาต้องเพิ่มความสร้างสรรค์ของเด็กและของประชากรไทยทุกคนความเข้าใจผิดประการที่สองคือ คิดว่าความสร้างสรรค์เป็นเรื่องของคนอายุน้อย ซึ่งไม่จริงเสมอไป เขายกตัวอย่าง ปิกาสโซ่ (Picasso) จิตรกร ผู้ยิ่งใหญ่นั้น ประสบความสําเร็จตอนอายุมาก และความเข้าใจผิดประการที่สามคือ คิดว่าความสร้างสรรค์เป็นพรสวรรค์เท่านั้น ในความเป็นจริงคือ มันเป็นทั้งพรสวรรค์และพรแสวงโรงเรียนสามารถฝึกฝนความสร้างสรรค์ให้เด็กได้ด้วยการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการตั้งคําถาม มีความอดทนและเปิด กว้างต่อมุมมองแปลก ๆ มีความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน และเรียนรู้จาก ความผิดพลาดหรือความล้มเหลววิธีหนึ่งของการฝึกความสร้างสรรค์คือ การจัดแข่งขันโครงการออกแบบการออกแบบการเรียนรู้ทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ควรมีเป้าหมายและวิธีการดังต่อไปนี้
เป้าหมาย: ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์
          •ใช้เทคนิคสร้างมุมมองหลากหลายเทคนิค เช่น การระดมความคิด
(Brainstorming)
          • สร้างมุมมองแปลกใหม่ ทั้งที่เป็นการปรับปรุงเล็กน้อยจากของเดิม หรือ
เป็นหลักการที่แหวกแนวโดยสิ้นเชิง
          • ชักชวนกันทําความเข้าใจ ปรับปรุง วิเคราะห์ และประเมินมุมมองของ
ตนเอง เพื่อพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับการคิด อย่างสร้างสรรค์
เป้าหมาย: ทักษะในการทํางานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์
         • พัฒนา ลงมือปฏิบัติ และสื่อสารมุมมองใหม่กับผู้อื่นอยู่เสมอ
ทักษะครูเพื่อศิษย์ไทย ในศตวรรษที่ 21 วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม–ธันวาคม 2558
         • เปิดใจรับและตอบสนองต่อมุมมองใหม่ ๆ หาทางได้ข้อคิดเห็นจากกลุ่มรวมทั้งการประเมินผลงานจากกลุ่ม เพื่อนําไปปรับปรุง
         • ทํางานด้วยแนวคิดหรือวิธีการใหม่ ๆ และเข้าใจข้อจํากัดของโลกในการยอมรับมุมมองใหม่
         • มองความล้มเหลวเป็นโอกาสเรียนรู้ เข้าใจว่าความสร้างสรรค์ และนวัตกรรมเป็นเรื่องระยะยาว เข้าใจวัฏจักรของความสําเร็จเล็ก ๆ และความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ว่าจะนําไปสู่การสร้างสรรค์และนวัตกรรม
เป้าหมาย: ประยุกต์สู่นวัตกรรม
         • ลงมือปฏิบัติตามความคิดสร้างสรรค์เพื่อนําไปสู่ผลสําเร็จที่เป็นรูปธรรม ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมเป็นหัวใจสําหรับทักษะเพื่อการดํารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 (21 st Century Skills) แต่ทักษะนี้ยังต้องมีทักษะอื่นมาประกอบและส่งเสริม อันได้แก่ทักษะอีก 3 ด้าน คือ ด้านสารสนเทศ (Information) ด้านสื่อ (Media) และด้านดิจิตอล (Digital Literacy) ซึ่งจะกล่าวถึงในบทต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น