9 พ.ย. 2561

การพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

การพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
1)ภาคภูมิศาสตร์
จังหวัดเพชรบูรณ์มีตำแหน่งทางอุตุนิยมวิทยาในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย โดยเกณฑ์การแบ่งภาคของราชบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดให้เพชรบูรณ์เป็นจังหวัดในภาคกลาง[3] จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่มีแนวเขตติดต่อระหว่างภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ประมาณเส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ กับเส้นแวง 101 องศาตะวันออก ส่วนที่กว้างที่สุดวัดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกยาว 55 กิโลเมตร ส่วนที่ยาวที่สุดวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ยาว 296 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 346 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21
สภาพทั่วไป จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนล่าง ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อ ของพื้นที่ระหว่างภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางตอนบน ประมาณเส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือกับเส้นแวง 101 องศาตะวันออก ส่วนยาวที่สุดวัดจากด้านเหนือสุดถึงใต้สุดยาว 296 กิโลเมตร
สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 114 เมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับจังหวัดเลย
ทิศใต้
ติดต่อกับจังหวัดลพบุรี
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดขอนแก่น
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดพิจิตร
2)ประวัติศาสตร์จังหวัดเพชรบูรณ์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการรวบรวมหัวเมืองตามชายแดนที่สำคัญตั้งเป็นเขตการปกครองใหม่ ขึ้นเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล ในปี พ.ศ. 2442 มณฑลเพชรบูรณ์ได้ตั้งขึ้นเป็นอิสระ เนื่องจากท้องที่มีภูเขาล้อมรอบ มีการเชื่อมต่อคมนาคมกับมณฑลอื่นไม่สะดวก ลำบากแก่การติดต่อราชการ และโอนเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า อำเภอวังสะพุง มาขึ้นกับมณฑลเพชรบูรณ์ ยุบเมืองวิเชียรบุรีเป็นอำเภอ โอนอำเภอบัวชุม (ปัจจุบันเป็นตำบล) อำเภอชัยบาดาลขึ้นกับเมืองเพชรบูรณ์ มณฑลเพชรบูรณ์จึงมีสองเมือง คือ หล่มสัก กับ เพชรบูรณ์
พ.ศ. 2447 ได้ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ และได้ตั้งเป็นมณฑลอีกในปี พ.ศ. 2450 และได้ยุบอีกครั้งในปี พ.ศ. 2459 จังหวัดเพชรบูรณ์ในขณะนั้นมี 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอวัดป่า (ปัจจุบันคือตำบลในอำเภอหล่มสัก) อำเภอวิเชียรบุรี และกิ่งอำเภอชนแดนจนกระทั่ง พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกมณฑลต่าง ๆ ทั่วประเทศ
3)ศาสนา  มีศาสนาพุทธ  คริสต์  ที่ทำให้ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
4) เที่ยวเพชรบูรณ์ ดินแดนแห่งไอหมอกที่เติมเต็มความสดชื่นไปด้วยไอเย็นและความชุ่มฉ่ำ เมืองที่เต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าจดจำหลายหลากเส้นทางมีที่ไหนบ้าง ตามไปชมกันเลย
เมื่อย่างก้าวเข้าสู่หน้าฝน...แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติก็จะเต็มไปด้วยความเย็นและความชุ่มฉ่ำ "จังหวัดเพชรบูรณ์" ก็เป็นอีกหนึ่งจังหวัดท่องเที่ยวที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติเขียวขจี รวมถึงศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลายซึ่งถูกรังสรรค์และถ่ายทอดปรากฏให้เห็นตามวัดวาอารามต่าง ๆ  วันนี้กระปุกดอทคอมจึงได้รวบรวม "ที่เที่ยวเพชรบูรณ์" ที่เพื่อน ๆ หลายคนไม่ควรพลาดเมื่อไปเยือนมาฝากกันค่ะ ว่าแล้วเก็บเสื้อผ้า พร้อมชุดกันฝนให้พร้อม แล้วออกไปท่องเมืองสุดน่ารักนี้กันดีกว่า

1. อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว
             เริ่มกันที่อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ถือเป็นหนึ่งในสถานที่นอนรับลมเย็น ๆ พร้อมนอนชมดาวในยามค่ำคืนได้เป็นอย่างดี ซึ่งพื้นที่อุทยานเป็นพื้นที่ป่าขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมถึง 2 จังหวัด คือจังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดชัยภูมิ และด้วยความสมบูรณ์ของอุทยานที่เต็มไปด้วยภูเขาสลับซับซ้อนทำให้มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี
             ส่วนสถานที่ท่องเที่ยว เช่น น้ำตกตาดพรานบา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่บนหน้าผาสูงประมาณ 20 เมตร, จุดชมวิวถ้ำผาหงษ์ สำหรับชมพระอาทิตย์ตกในยามเย็น, จุดชมวิวภูค้อ สำหรับชมพระอาทิตย์ขึ้นและชมวิวกว้างไกล สามารถมองเห็นภูกระดึงและภูผาจิตได้, สวนสนบ้านแปกหรือดงแปก ป่าที่เต็มไปด้วยต้นสนสองใบขึ้นอยู่จำนวนมาก รวมทั้งเป็นสถานที่ชมดอกกล้วยไม้ป่าและพันธุ์ไม้แปลกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคมได้, ภูผาจิต (ภูด่านอีป้อง) เป็นภูเขาที่มีที่ราบบนยอดเขาคล้ายภูกระดึงเหมาะสำหรับชมวิวป่าสน, น้ำตกเหวทราย เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดที่เกิดขึ้นจากห้วยสนามทราย ซึ่งเป็นแนวแบ่งเขตแดน และป่าเปลี่ยนสีในเดือนธันวาคม-มกราคมของทุกปี ผืนป่าบริเวณนี้จะผลัดใบเปลี่ยนสีอย่างสวยงาม เป็นต้น


                นอกจากนี้ยังตั้งอยู่ใกล้สะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ตอม่อสูงสุดในประเทศไทย สูงถึง 50 เมต คือ "สะพานข้ามห้วยตอง" และได้รับการตั้งชื่อเป็นทางการว่า "สะพานพ่อขุนผาเมือง" สถานที่ท่องเที่ยวสุดหวาดเสียวแต่แฝงไปด้วยความสวยงามและน่าทึ่ง ซึ่งผู้ที่เดินทางต้องระมัดระวังการเดินทางไปเที่ยวที่นี่เป็นอย่างมากด้วยค่ะ

2. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์

                ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ หรือชื่อเดิมสถานีทดลองเกษตรที่สูงเขาค้อ ตั้งอยู่เลขที่ 51 หมู่ 3 บ้านเสลียงแห้ง ตำบลสะเดาะพง อำเภอเขาค้อ เป็นหนึ่งในสถานีทดลองเกษตรที่สูงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยธรรมชาติจนได้รับการขนาน นามให้เป็น "สวิตเซอร์แลนด์แห่งเมืองไทย" ทำให้ที่นี่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวพักผ่อนในทุก ๆ ฤดู แถมยังสามารถเข้ามาชมแปลงผัก ผลไม้ ที่เป็นพืชเมืองหนาวได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีไม้ดอกไม้ประดับ สมุนไพร พร้อมทั้งป่าธรรมชาติที่เต็มไปด้วยต้นค้อ สัญลักษณ์ของอำเภอเขาค้ออีกด้วย

          เรียกได้ว่าเป็นดินแดนมหัศจรรย์แห่งการพักผ่อนเลยก็ว่าได้ สำหรับอำเภอเขาค้อ หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ดึงดูดผู้คนทุกฤดูกาล สำหรับชื่อเขาค้อนั้นมาจากเดิมบริเวณนี้มีต้นค้อ ซึ่งเป็นต้นไม้ตระกูลปาล์มอยู่เป็นจำนวนมาก และนอกจากอากาศที่เย็นสบายแล้วที่นี่ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลาย ที่ เช่น อนุสาวรีย์จีนฮ่อ อนุสาวรีย์ทหารอาสาจากหน่วยรบกองพลที่ 93 ซึ่งมาช่วยรบในพื้นที่เขาค้อและเสียชีวิตในการสู้รบ, ฐานอิทธิ จุดชมวิวที่สวยงาม ซึ่งในอดีตเคยเป็นฐานสำคัญทางยุทธศาสตร์ ปัจจุบันจัดเป็นพิพิธภัณฑ์อาวุธ จัดแสดงปืนใหญ่ ซากรถถัง และอาวุธที่ใช้สู้รบกันบนเขาค้อ, อนุสาวรีย์ผู้เสียสละจารึกชื่อผู้เสียชีวิตจากการสู้รบในสงคราม เป็นต้น

4. ภูทับเบิก
               เมื่อเอ่ยถึงชื่อภูทับเบิก หลายคนต้องนึกถึงวิวภูเขาไร่กะหล่ำปลี ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกขนาดใหญ่ของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง และด้วยสถานที่ตั้งที่อยู่บนจุดที่สูงที่สุดของจังหวัดเพชรบูรณ์ ทำให้ที่นี่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยว เพราะมีอากาศที่เย็นสบายตลอดทั้งปี สามารถนอนกางเต็นท์ชมดาวในตอนกลางคืน
               นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น สถานีวิจัยเพชรบูรณ์แปลงทดลองทับเบิก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แหล่งสาธิตการปลูกพืชเมืองหนาว และวัดป่าภูทับเบิก ซึ่งมีพระมหาเจดีย์โพธิปักขิยธรรม เจดีย์เพชร 37 ยอด บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์ธาตุไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมสักการะ และอีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญคือในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม จะมีดอกนางพญาเสือโคร่งสีชมพูบานสะพรั่งไปทั้งภูเขา ให้ได้ถ่ายภาพความ

5. ไร่กำนันจุล (ฟาร์มสเตย์)

                กำนันจุล คุ้นวงศ์ เป็นเกษตรกรเจ้าของไร่ส้มที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเพชรบูรณ์มายาวนาน และยังเป็นเกษตรกรตัวอย่างที่ชอบค้นคว้าทดลองเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้พัฒนาการด้านการเกษตรอยู่เสมอ จนกลายเป็นแหล่งผลิตส้มขนาดใหญ่ที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ ทำให้ชื่อเสียงของ "ไร่ส้มกำนันจุล" เป็นที่รู้จักมากขึ้น
             ปัจจุบันที่นี่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเพียบพร้อมไปด้วยผลิตภัณฑ์แปรรูปอร่อย ๆ ที่ผลิตจากวัตถุดิบหลักที่ได้จากไร่, กลุ่มสินค้าผ้าไหมไทย, สินค้าเครื่องสำอางสมุนไพร รวมทั้งเปิดเป็นฟาร์มสเตย์สำหรับผู้ที่ต้องการพักผ่อนด้วย ทั้งนี้สำหรับผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารได้จากเว็บไซต์
www.chulthai.com และ  เฟซบุ๊ก ไร่กำนันจุล

6.                 กำนันจุล คุ้นวงศ์ เป็นเกษตรกรเจ้าของไร่ส้มที่มีชื่อเสียงในจังหวัดเพชรบูรณ์มายาวนาน และยังเป็นเกษตรกรตัวอย่างที่ชอบค้นคว้าทดลองเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้พัฒนาการด้านการเกษตรอยู่เสมอ จนกลายเป็นแหล่งผลิตส้มขนาดใหญ่ที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ ทำให้ชื่อเสียงของ "ไร่ส้มกำนันจุล" เป็นที่รู้จักมากขึ้น 
             ปัจจุบันที่นี่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเพียบพร้อมไปด้วยผลิตภัณฑ์แปรรูปอร่อย ๆ ที่ผลิตจากวัตถุดิบหลักที่ได้จากไร่, กลุ่มสินค้าผ้าไหมไทย, สินค้าเครื่องสำอางสมุนไพร รวมทั้งเปิดเป็นฟาร์มสเตย์สำหรับผู้ที่ต้องการพักผ่อนด้วย ทั้งนี้สำหรับผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารได้จากเว็บไซต์ www.chulthai.com และ  เฟซบุ๊ก ไร่กำนันจุล

6. พระตำหนักเขาค้อ
            เป็นพระตำหนักที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เป็นที่ทรงงานและแปรพระราชฐานมาประทับแรมในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินทอด พระเนตรงานโครงการในพระราชดำริ และทรงตรวจเยี่ยมราษฎรอำเภอเขาค้อและอำเภอใกล้เคียงในอดีต ตั้งอยู่บนเขาย่า จุดชมวิวเมืองเขาค้อที่สามารถชมได้กว้าง 360 องศา ในส่วนของพระตำหนักเขาค้อเป็นอาคารเชื่อมต่อกันลักษณะรูปวงแหวน 2 ชั้น บริเวณโดยรอบเต็มไปด้วยสวนหย่อมที่ปลูกไม้ดอกนานาชนิด มีอากาศที่เย็นสบายเหมาะสำหรับการพักผ่อน บริเวณใกล้ ๆ กันมีบ้านพักทหารม้าซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวพักค้างคืนได้

7. วัดมหาธาตุ

            เป็นพระตำหนักที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เป็นที่ทรงงานและแปรพระราชฐานมาประทับแรมในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินทอด พระเนตรงานโครงการในพระราชดำริ และทรงตรวจเยี่ยมราษฎรอำเภอเขาค้อและอำเภอใกล้เคียงในอดีต ตั้งอยู่บนเขาย่า จุดชมวิวเมืองเขาค้อที่สามารถชมได้กว้าง 360 องศา ในส่วนของพระตำหนักเขาค้อเป็นอาคารเชื่อมต่อกันลักษณะรูปวงแหวน 2 ชั้น บริเวณโดยรอบเต็มไปด้วยสวนหย่อมที่ปลูกไม้ดอกนานาชนิด มีอากาศที่เย็นสบายเหมาะสำหรับการพักผ่อน บริเวณใกล้ ๆ กันมีบ้านพักทหารม้าซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวพักค้างคืนได้

8. วัดไตรภูมิ

                ตั้งอยู่บนถนนเพชรรัตน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง วัดโบราณที่ประดิษฐาน "พระพุทธมหาธรรมราชา" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิสมัยลพบุรี หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 18 นิ้ว ไม่มีฐาน พระพักตร์กว้าง มีลักษณะเป็นเหลี่ยม พระโอษฐ์แบะ ประดิษฐานบนโต๊ะบูชาในศาลาไม้ ซึ่งถูกพบครั้งแรกที่แม่น้ำป่าสัก มีจำนวนสององค์ องค์จริงคือองค์บนสุด ส่วนองค์ที่อยู่ด้านล่างหล่อจำลองขึ้นใหม่เพื่อใช้ประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำใน วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นประจำทุกปี

9. วัดช้างเผือก

                  วัดเก่าแก่อายุกว่า 300 ปี ตั้งอยู่ที่ตำบลวังชมภู อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ภายในวัดโดดเด่นด้วย รูปปั้นช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ ภายในวัดมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระเวสสันดรชาดก และเป็นที่เก็บรักษาสรีระที่ไม่เน่าเปื่อยของพระครูวิชิต พัชราจารย์ หรือ "หลวงพ่อทบ" พระที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เคารพของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียง บรรจุอยู่ในโลงแก้วภายในมณฑป พร้อมเปิดให้ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์และนักท่องเที่ยวได้สักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลกันเป็นจำนวนมาก

10. วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว

               ตั้งอยู่บนเนินเขาในหมู่บ้านทางแดง ตำบลแคมป์สน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 เพื่อเป็นที่สอนปฏิบัติการเจริญสติปัฏฐาน 4 ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันงดงามและเงียบสงบ มีภูเขาที่สูงใหญ่ซ้อนกันเป็นทิวเขาเรียงรายโอบรอบบริเวณศาลาปฏิบัติธรรม และบนยอดเขาสูงตระหง่านนั้นมีถ้ำอยู่บนปลายยอดเขา ซึ่งมีชาวบ้านทางแดงหลายคนได้เห็นลูกแก้วลอยเหนือฟากฟ้า และลับหายเข้าไปในถ้ำบนยอดผา ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมา และต่างถือว่าเป็นสถานที่มงคล มีความศักดิ์สิทธิ์และเรียกตาม ๆ กันว่า "ผาซ่อนแก้ว" 

11. อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง (หนองแม่นา)

              อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง (หนองแม่นา) หรือ "ทุ่งหญ้าสะวันนาแห่งเมืองไทย" สถานที่ท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่ครอบคลุม 2 จังหวัด คือจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดเพชรบูรณ์ มีหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ สล. 8 (หนองแม่นา) ตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ และอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานด้านจังหวัดพิษณุโลกประมาณ 60 กิโลเมตร ซึ่งจุดท่องเที่ยวด้านจังหวัดเพชรบูรณ์ส่วนใหญ่เป็นป่าสนธรรมชาติและทุ่งหญ้าสะวันนา ที่มีทิวทัศน์และพรรณไม้ดอกที่สวยงามโดยเฉพาะช่วงปลายฤดูฝน-ฤดูหนาว เหมาะแก่กิจกรรมเดินป่า กางเต็นท์พักแรม และปั่นจักรยานเสือภูเขา

             ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของที่นี่ ได้แก่ ทุ่งนางพญา ป่าสนสองใบสลับกับป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง ซึ่งตามกิ่งสนจะพบกล้วยไม้ป่าที่สวยงาม เช่น เอื้องชะนีและเอื้องคำปากไก่, แก่งวังน้ำเย็นเป็นแก่งหินขนาดใหญ่ยาวหลายร้อยเมตร ในระหว่างแก่งแต่ละแก่งเป็นวังน้ำลึกขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสถานที่ค้นพบแมงกะพรุนน้ำจืด และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ผีเสื้อบริเวณริมลำธารหลายชนิด เป็นต้น

12. ทุ่งทานตะวันที่บึงสามพัน
               ตั้งอยู่บริเวณบ้านเขาพลวง บ้านป่ายาง ตำบลสระแก้ว อำเภอบึงสามพัน มีการปลูกทานตะวันครอบคลุมเต็มไปทั้งพื้นที่กว่าหมื่นไร่ ซึ่งจะบานสะพรั่งต้อนรับสายลมหนาวในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคมของทุกปี นอกจากจะได้มาท่องเที่ยวถ่ายรูปสวย ๆ แล้วที่นี่ยังจัดงาน "ตะวันบานบนภูที่บึงสามพัน" ซึ่งภายในงานก็จัดให้มีกิจกรรมหลาย ๆ อย่าง เช่น การจัดประกวดดอกทานตะวันที่ใหญ่ที่สุด การประกวดธิดาตะวัน การแปรรูปเมล็ดทานตะวัน และการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถชมและซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้านได้อีกด้วย ทั้งนี้สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อบต. สระแก้ว โทรศัพท์ 0-5681-0801 หรือที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานพิษณุโลก โทรศัพท์  0-5525-2742-3

13. เนินมหัศจรรย์

               เรียกได้ว่าที่นี่ยังคงรอคอยให้นักท่องเที่ยวไปท้าพิสูจน์กันอยู่เสมอเลยก็ว่าได้ สำหรับเนินมหัศจรรย์ที่ตั้งอยู่บริเวณจุดผ่านเล็ก ๆ อยู่กิโลเมตร ที่ 17-18 ของทางหลวงหมายเลข 2258 (นางั่ว-สะเดาะพง) ตำบลริมสีม่วง อำเภอเขาค้อ  ความมหัศจรรย์ของเนินมหัศจรรย์ที่นิยมทดลองกันมากที่สุด คือจอดรถดับเครื่องและปล่อยเกียร์ว่าง รถจะไหลขึ้นเนินสูงได้เองไกลประมาณ 10 เมตร โดยมีการพิสูจน์ปรากฏการณ์ดังกล่าวมาแล้วพบว่าเกิดจากภาพลวงตา เนื่องจากวัดระดับความสูงของเนินจะมีระดับต่ำกว่าช่วงที่เป็นทางขึ้นเนิน ดังนั้นรถจึงถอยหลังตามแรงโน้มถ่วงของโลก


14. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

             แหล่งโบราณสถานที่สำคัญอายุกว่า 1,000 ปี ลักษณะเป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2,899 ไร่  แบ่งเป็น 2 ส่วน คือเมืองส่วนในบนพื้นที่ 1,300 ไร่ มีลักษณะเป็นรูปเกือบกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีช่องทางเข้าออก 6 ช่องทาง พื้นที่ภายในเป็นที่ราบลอนคลื่น มีสระน้ำ หนองน้ำกระจายอยู่ทั่วไป พบซากโบราณสถานกว่า 70 แห่ง บางแห่งได้รับการขุดแต่งบูรณะแล้ว และเมืองส่วนนอกบนพื้นที่ 1,589 ไร่ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าต่อกับเมืองส่วนใน ขนาดเป็น 2 เท่าของเมืองส่วนใน มีช่องทางเข้าออก 6 ช่องทาง มีสระน้ำกระจายอยู่ทั่วไป
  
15. ถนนคนเดินไทหล่ม

ถนนคนเดินไทหล่ม ตั้งอยู่ที่ถนนรณกิจ อำเภอหล่มสัก ตลอดสองฟากฝั่งถนนสายรณกิจนี้ยังคงเป็นบ้านเรือนไม้โบราณ 2 ชั้น ตั้งเรียงรายซึ่งถือว่าเป็นถนนสายเก่าแก่ของอำเภอหล่มสัก เปิดทุกเย็นวันเสาร์ เวลา 17.00-22.00 น. พ่อค้าแม่ค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอำเภอหล่มสักจะมาตั้งร้านค้าเรียงรายตลอด ถนนเส้นนี้จำหน่ายอาหารพื้นเมืองที่หารับประทานยาก เช่น ขนมจีนไทหล่ม ปิ้งไก่ข้าวเบือ ข้าวหลามพญาลืมแกง ฯลฯ สินค้าพื้นเมือง เสื้อผ้า เครื่องประดับ สินค้าทำมือของชาวบ้านที่สามารถซื้อเป็นของฝาก ของที่ระลึก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลเมืองหล่มสัก โทรศัพท์ 0 5670 1060                                                                                                                                                                                                                                                                                                                     16. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าผาแดง

              ปิดท้ายด้วย "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าผาแดง" ภายในอำเภอหล่มสัก อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวน่าไปที่หลายคนอาจจะไม่รู้จักมากนัก แต่ที่นี่กลับแอบซ่อนจุดชมวิวที่สวยงามเอาไว้ นั่นก็คือ "ผาแดง" มีลักษณะที่โดดเด่นด้วยชะง่อนผาที่ยื่นออกไปกลางอากาศ และเมื่อไปยืนอยู่บริเวณใกล้ ๆ ชะง่อนผาก็จะสามารถมองเห็นวิวความสวยงามของใบไม้เปลี่ยนสีบริเวณป่าแดง รวมทั้งยังสามารถชมพระอาทิตย์ตกในยามเย็นได้อย่างโรแมนติกอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับตั้งแคมปิ้ง (แต่ต้องเตรียมเสบียงมาเอง) ให้นักท่องเที่ยวได้พักค้างคืนเพื่อสัมผัสธรรมชาติได้อีกด้วย


5)คำขวัญของจังหวัดเพชรบูรณ์
  เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง
6)ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
           เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ใบเป็นใบประกอบ ออกเป็นคู่ เรียงกันตามก้านใบ ปลายใบและโคนใบมน ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ขนาดเล็ก มีกลีบสีเหลือง ผลมี 2 ชนิด คือ ชนิดฝักกลมเล็กยาวเรียกว่า มะขามขี้แมวชนิดฝักใหญ่แบนเรียกว่ามะขามกระดานเมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยงสีน้ำตาลเข้ม

7)ของดีประจำจังหวัดเพชรบูรณ์

           เพชรบูรณ์ได้ชื่อว่าเป็น เมืองมะขามหวานเนื่องจากมะขามหวานเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดนี้มาแต่ดั้งเดิม ภายในจังหวัดมีพื้นที่ปลูกมะขามหวานนับหมื่นไร่ ปลูกมากที่สุดในอำเภอหล่มสักและอำเภอเมือง พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก ได้แก่ พันธุ์ประกายทอง หรือ ตาแป๊ะ พันธุ์สีทอง (พันธุ์นายหยัด) พันธุ์ศรีชมพู พันธุ์ขันตี พันธุ์หมื่นจง พันธุ์อินทผาลัม พันธุ์ปากดุก พันธุ์นายเบื้อง เป็นต้น โดยส่วนมากมะขามจะออกผลพร้อมกินช่วงเดือนมกราคม ทางจังหวัดเพชรบูรณ์จึงจัดงานเทศกาลมะขามหวานขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงนั้น 

8)ประเพณีของจังหวัดเพชรบูรณ์

           อุ้มพระดำน้ำ  เป็น งานประเพณีเก่าแก่ของ ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่สืบทอดกันมายาวนานชั่วอายุคน เป็นประเพณีที่แปลกไม่มีปรากฎในที่อื่น ๆ ในวันสารทไทยของทุกปี ชาวเพชรบูรณ์จะเดินทาง ไปร่วมพิธีกันอย่างคับคั่ง

2.นำเนื้อหาดังกล่าวมาพิจารณาว่าจะเกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้ตัวอย่างจังหวัดเพชรบูรณ์
สาระการเรียนรู
เนื้อหาท้องถิ่น
1.ภาษาไทย
ภาษาไทยถิ่นเหนือ
2.คณิตศาสาตร์                                                        
ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ ดิน ฟ้า อากาศ ที่ทำ  กิน อาชีพ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
3.วิทยาศาสตร์
วิธีทำเกษตร การดูแลสภาพป่าต่างๆ
4.สังคมวิทยา ศาสนาวัฒนธรรม

วัฒนธรรมของคน  วิถีชีวิตความเป็นอยู่  อาหาร  อาชีพ  และเศรษฐกิจสังคม
5.สุขศึกษา พลศึกษา
คุณค่าทางโภชนาการ
6.ศิลปะ
เทศกาลเส็งกลอง ล่องโคมไฟ ผีตาโม่
7.การงานอาชีพ  และเทคโนโลยี
เศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบูรณ์ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับอาชีพเกษตรกรรม
8.ภาษาต่างประเทศ
ภาษาอังกฤษ



        ก) ใช้เป็นเนื้อหาสอน เช่น เมื่อสอนเรื่องตนเองและครอบครัวก็ใช้สภาพจริงเป็นเนื้อหา
        ข) ใช้เป็นแบบฝึกหัดให้นักเรียนไปทำ เช่น การประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่นมีกี่อาชีพ อะไรบ้างมีผู้ทำร้อยละเท่าไหร่
         ค) ใช้เป็นโครงงาน  ให้นักเรียนไปหาทางแก้ไข
         ง) ใช้ปัญหาเป็นฐาน  ให้นักเรียนไปหาทางแก้ไข
         จ) ใช้เป็นประเด็นให้นักเรียนไปค้นคว้า ตัวอย่างเช่น เพชรบูรณ์แปลว่าอะไร มีลักษณะอย่างไรมากน้อยเพียงใด มีอะไรสูญหายไปบ้าง หรือไม่ ถ้าสูญหายทำไมจึงสูญหายไป
         ฉ) ใช้เป็นสถานที่ไปทัศนศึกษา เช่น ภูทับเบิกเขาค้อ สวนดอกไม้สไตล์อังกฤษ  อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว





























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น