ข้อกฎหมายที่สถานศึกษาต้องไปดำเนินการให้สถานศึกษาหรือโรงเรียนสามารถพัฒนาหลักสูตรได้เองภายใต้กรอบของหลักสูตรแกนกลางเป็นเรื่องที่จะต้องมี
การเตรียมการให้พร้อมเพื่อตอบสนองการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดแนวการจัดการศึกษาในมาตรา 22 ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
และในมาตรา 23 กำหนดการจัดการศึกษา
ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
ต้องเน้นความสามารถทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้
และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา ในเรื่องต่อไปนี้
1. ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง
และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.
ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รวมทั้งความรู้และความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษา
การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
3. ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ
วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ ภูมิปัญญา
4.
ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง
5.
ส่งเสริมการสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน
และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้
รวมทั้งสามารถใช้ในการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน
และแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
6.
จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา
มารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
จากข้อกำหนดจากมาตรา 22, 23, 24 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2524 นำไปสู่การกำหนดคุณภาพมาตรฐานของผู้จบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ซึ่งที่ผ่านมาในอดีต กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
(2544: 4) กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ดังนี้ คือ
1. เห็นคุณค่าของตนเอง
มีวินัยในตนเอง ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ มีคุณธรรม
จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์
2. ความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน รักการเรียน
และรักการค้นคว้า
3. มีความรู้อันเป็นสากล
ที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ
มีทักษะและศักยภาพในการจัดการ การสื่อสารและเทคโนโลยี
ปรับวิธีการคิดวิธีการทำงานได้เหมาะสมกับสถานการณ์
4. มีทักษะและกระบวนการ
โดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทักษะการคิดและ การสร้างปัญญา
และทักษะในการดำเนินชีวิต
5. รักการออกกำลังกาย
ดูแลตนเองให้มีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี
6.
มีประสิทธิภาพในการผลิตและการบริโภค มีค่านิยมเป็นผู้ผลิตมากกว่าผู้บริโภค
7.
เข้าใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย เป็นพลเมืองดี
ยึดมั่นในวิถีและการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
8.
มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา
ภูมิปัญญาไทยทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
9. รักประเทศชาติและท้องถิ่น
มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามให้สังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น