9 พ.ย. 2561

สรุป


  การวางแผนพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ในที่นี้เป็นการนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา ใช้ข้อมูลหรือแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น กล่าวคือ  การวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และทรัพยากรบุคคลในท้องถิ่น มาบูรณาการการจัดกระบวนการทางการศึกษาการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการวางแผนพัฒนาหลักสูตรจะเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ หลักสูตรเดิมที่ใช้กันอยู่ก่อนแล้วว่ามีผลต่อการใช้ปัจจุบันอย่างไรหากหลักสูตรเดิมไม่สนองต่อความต้องการของสังคมและผู้เรียนในปัจจุบันอันจะส่งผลไปสู่อนาคตเพื่อการผลิตคนสู่อนาคตแล้วก็ให้นำผลที่ได้มาเป็นข้อมูลในการวางแผนสร้างหลักสูตรใหม่
                การจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น  เริ่มจากครูและนักเรียนร่วมกันสำรวจและจัดทำข้องมูลเกี่ยวกับบุคลากร  องค์กรทางสังคม  แหล่งการเรียนรู้ทางธรรมชาติ  และวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นที่สามารถนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนเนื้อหาต่างๆ ไว้อย่างเป็นระบบระเบียบเพื่อความสะดวกในการใช้งาน  ครูอาจจะพาผู้เรียนไปศึกษาและฝึกการทำงานในสถานที่จริงที่บ้านหรือ หน่วยงาน หรือสถานประกอบการต่างๆ ที่มีในท้องถิ่น  ครูอาจจะเชิญผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ  หรือผู้ที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพต่างๆ มาเป็นวิทยากรในโรงเรียน   การเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นของตน  จะทำให้ผู้เรียนไม่เกิดความแปลกแยกกับท้องถิ่น  สามารถนำเนินชีวิตและพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริงรอบๆ ตัว  การเปิดโอกาสให้บุคลากรในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน เป็นการประสานความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน  เป็นการผนึกกำลังร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์พัฒนาการศึกษาและท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าตามความต้องการและเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมต่างๆ  ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา วัฒนธรรม ฯลฯ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยื

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น