ตอบ การนำหลักสูตรไปใช้
การนำหลักสูตรไปใช้เป็นขั้นตอนสำคัญของการพัฒนาหลักสูตร เป็นกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆในการนำหลักสูตรไปสู่โรงเรียนและจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้เป็นงานเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย ตั้งแต่ระดับกระทรวงศึกษาธิการ แต่ละฝ่ายมีความเกี่ยวข้องในแต่ละส่วนของการนำหลักสูตรไปใช้ เช่น หน่วยงานส่วนกลางเกี่ยวข้องในด้านการบริหารและบริหารหลักสูตรกับการนิเทศและติดตามผลการใช้หลักสูตร
การนำหลักสูตรไปใช้จำต้องเป็นขั้นตอนตามลำดับ นับแต่ขั้นการวางแผน และเตรียมการในการประชาสัมพันธ์หลักสูตร และการเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ขั้นต่อมาคือการดำเนินการนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีระบบ นับแต่การจัดครูเข้าสอนตามหลักสูตร การบริการวัสดุหลักสูตรและสิ่งอำนวยความสะดวกในการนำหลักสูตรไปใช้ และดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
ส่วนขั้นสุดท้ายต้องติดตามประเมินผลการนำหลักสูตรไปใช้ นับแต่การนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตร การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญ ที่จะทำให้หลักสูตรที่สร้างขึ้นบรรลุผลตามจุดหมาย และเป็นกระบวนการที่ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย และที่สำคัญที่สุดคือครูผู้สอน
แนวคิดเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้
โบแชมป์ (Beauchamp, 1975: 164-169) กล่าวถึง สิ่งแรกที่ควรทำคือ การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ครูผู้นำหลักสูตรไปใช้มีหน้าที่แปลงหลักสูตรไปสู่การสอน โดยใช้หลักสูตรเป็นหลักในการพัฒนากลวิธีการสอน สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการนำหลักสูตรไปใช้ให้ได้ผลตามเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนควรมีส่วนร่วมในการร่างหลักสูตร และ ผู้บริหาร ครูใหญ่ ต้องเห็นความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จได้
จากเอกสารการประชุมของประเทศต่างๆ ในเอเชีย (APEID, 1977: 29) มีการทบทวนประสบการณ์ต่างของประเทศในเอเชีย เรื่องยุทธศาสตร์การนำหลักสูตรไปใช้ได้สรุปเป็นหลักการที่สำคัญดังนี้
1. วางแผนและเตรียมการนำหลักสูตรไปใช้โดยให้คนหลายกลุ่มเข้าร่วมการแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชนและจัดเตรียมทรัพยากร (มนุษย์และวัสดุ) ให้พร้อม
2. จัดหน่วยงานส่งเสริมการนำหลักสูตรไปใช้ให้ทำได้สะดวกเเละรวดเร็วขึ้น
3. กำหนดแนวทางและกระบวนการนำหลักสูตรไปใช้อย่างเป็นขั้นตอน รวมเหตุผลต่างๆที่จะใช้ในการจูงใจครูและติดตามผลในการปฏิบัติงาน
สรุปจากที่มา: สุเทพ อ่วมเจริญ (2557). การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร
ขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้
1. ขั้นการเตรียมการใช้หลักสูตร
- การตรวจสอบลักษณะหลักสูตร
- การวางแผนและการทำโครงการศึกษานำร่อง
- การประเมินโครงการศึกษานำร่อง
- การประชาสัมพันธ์หลักสูตร
- การเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
2. ขั้นดำเนินการใช้หลักสูตร
- การบริหารและบริการหลักสูตร
-การดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร
- การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร
3. ขั้นติดตามและประเมินผล
- การนิเทศและการใช้หลักสูตรในโรงเรียน
- การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร
การประเมินหลักสูตร
1. การตรวจสอบประสิทธิผลและความตกต่ำของคุณภาพของหลักสูตร
2. การตรวจสอบหาเหตุที่ทำให้คุณภาพตกต่ำ
3. แก้ไขและตรวจสอบประสิทธิผลของวิธีการที่นำมาแก้ไข
-ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักสูตรไปใช้
บทบาทของหน่วยงานส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นในการนำหลักสูตรไปใช้
1. การใช้หลักสูตรโดยหน่วยงานส่วนกลางที่มีบทบาทเต็มที่
2. การใช้หลักสูตรโดยให้โรงเรียนมีบทบาทเต็มที่
3. การใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนกลางมีบทบาทเป็นส่วนใหญ่ และมีหน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ
4. ใช้หลักสูตรโดยให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญ และหน่วยงานส่วนกลางเป็นผู้ให้การสนับสนุน
-บทบาทของบุคลากรในการนำหลักสูตรไปใช้
1. ผู้บริหารโรงเรียน
2. หัวหน้าหมวดวิชาหรือสาขาวิชา
3. ครูผู้สอน
นอกจากนี้ วิชัย วงษ์ใหญ่ (2521: 140-141) อ้างจากหนังสือ การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฏีการพัฒนาหลักสูตร ได้ให้ความเห็นว่า ผู้ที่มีบทบาทในการนำหลักสูตรไปใช้ให้บรรลุจุดหมายมี 3 กลุ่ม คือ ผู้บริหาร ครูประจำชั้น และะชุมชน ในจำนวนนี้ครูใหญ่เป็นผู้ที่บทบาทมากที่สุดที่จะต้องศึกษาและวางแผนเกี่ยวการใช้หลักสูตรโดยมีขั้นตอนสรุปสั้นๆ ดังนี้
1. เตรียมวางแผน
2. เตรียมจัดอบรม
3. การจัดครูเข้าสอน
4. การจัดตารางสอน
5. การจัดวัสดุประกอบหลักสูตร
6. การประชาสัมพันธ์
7. การจัดสภาพแวดล้อมและการเลือกกิจกรรมเสริมหลักสูตร
8. การจัดโครงการประเมินผล
ตัวอย่าง การนำหลักสูตรไปใช้ในรายวิชา 462 201การพัฒนาหลักสูตร
ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง Where are you from? จำนวน 1 ชั่วโมง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครูผู้สอน นางสาวพิมพ์ณารา อาวุธเทวินทร์ รหัสนักศึกษา 06550041, นางสาวฟิรดาวส์ นามทอง รหัสนักศึกษา 06550042, นางสาววนิดา รอดบำรุง รหัสนักศึกษา 06550047, นางสาววิมลวรรณ เวชวิบูลย์ รหัสนักศึกษา 06550050, นางสาววิลาสินี สังข์ป่า รหัสนักศึกษา 06550051, นางสาวศิริพร ภาวงศ์ รหัสนักศึกษา 06550053, นางสาวอรณภัค นุชประไพ รหัสนักศึกษา 06550060, วิชาเอกภาษาอังกฤษ
.........................................................................................................................................................................................
1. มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ต ๑.๑ เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
2. ตัวชี้วัด
ป. 5/1 ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง และ คำแนะนำง่ายๆ ที่ฟังและอ่าน
ป. 5/3 ระบุ/วาดภาพ สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายตรงตามความหมายของประโยคและข้อความสั้นๆ ที่ฟังหรืออ่าน
3. สาระการเรียนรู้
การบอกทิศทาง
4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
4.1) ความสามารถในการสื่อสาร
4.2) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
5.1) ใฝ่เรียนรู้
5.2) มุ่งมั่นในการทำงาน
6. ชิ้นงาน/ภาระงาน
ภาระงาน: ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมุติในการถามตอบทาง
7. กิจกรรมการเรียนรู้ (CBLใช้เทคนิคการเรียนร่วมกันและบทบาทสมมติ)
ขั้นเกริ่นนำ (5 นาที)
7.1) ผู้สอนเข้าห้องเรียนทักทายผู้เรียน และแจ้งให้ทราบว่าวันนี้จะสอนเรื่อง การบอกทิศทาง
7.2) ผู้สอน 1 คนแสดงบทบาทสมมติว่าตนเองเป็นชาวต่างชาติแล้วต้องการจะไปห้องน้ำ ว่า Where is the toilet? และให้เด็กๆ ช่วยตอบเป็นภาษาอังกฤษ หลังจากแสดงเสร็จผู้สอน ถามว่าความสำคัญของการบอกทิศทางเป็นภาษาอังกฤษว่าใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพใดได้บ้าง
ขั้นสอน
7.3) แบ่งกลุ่มกลุ่มละ5 คน 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะได้หัวข้อคำศัพท์ต่างๆ ได้แก่ 1. Places 2. Directions 3. Conversation 4. Vehicles
7.4) ผู้สอนให้เวลาทุกกลุ่ม 20 นาทีเพื่ออภิปรายเกี่ยวหัวข้อที่ได้กับสมาชิกในกลุ่มตนเองพร้อมกันเป็นการเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้โดยจะมีครูผู้สอน 4 คน ประจำแต่ละหัวข้อเพื่อแนะนำผู้เรียน
7.5) ผู้สอนหลัก ให้นักเรียนแต่ละคนในแต่ละกลุ่มนับ1-5 จากนั้นให้นักเรียนจับกลุ่มตามเลขที่ได้อยู่ด้วยกัน ครูแจกใบงาน และอภิปรายหัวข้อของตนให้กับ สมาชิกในกลุ่ม โดยใช้เวลา 20 นาที
7.6) ผู้สอนแสดงแผนที่และฝึกถามตอบกับเด็กนักเรียนแต่ละกลุ่มเพื่อทดสอบความเข้าใจ
7.7) ผู้สอนให้ผู้เรียนกลับกลุ่มเดิม
7.8) ผู้สอนให้แผนที่บริเวณชุมชนใกล้โรงเรียนจะมีหลายเส้นทางที่สามารถเดินทางได้ และให้เวลาเตรียมตัวในการแสดงบทบาทสมมติในการถามตอบ 15นาที หลังจากนั้นให้แสดงบทบาทสมมติกลุ่มละ 5 นาทีโดยเส้นทางกลุ่มละ 5 นาที
ขั้นสรุป
7.9) ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละคนโหวตกลุ่มที่พูดดีที่สุดโดยห้ามโหวตกลุ่มตัวเองพร้อมให้เหตุผล
7.10) ตัดสินผลคะแนนจากผู้เรียนและแจกรางวัลให้แก่กลุ่มผู้ที่ได้รับการโหวตมากที่สุด
7.11) ผู้สอนกล่าวอำลาผู้เรียน
8.สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้
8.1) ใบความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ ได้แก่ 1. Places 2. Directions 3. Conversation 4. Vehicles
8.2) แผนที่
9. การวัดและประเมินผล
เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ ภาระงาน
7-8 คะแนน หมายถึง ดีมาก
5-6 คะแนน หมายถึง ดี
3-4 คะแนน หมายถึง พอใช้
0-2 คะแนน หมายถึง ปรับปรุง
เกณฑ์การตัดสินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน (ผ่านเกณฑ์ 70 %)
ระดับคะแนน 6 – 8 หมายถึง นักเรียนมีคะแนนผ่านเกณฑ์การประเมิน
ระดับคะแนน 0 – 5 หมายถึง นักเรียนมีคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
เกณฑ์การตัดสินสมรรถนะของผู้เรียน (ผ่านเกณฑ์ 70 %)
ระดับคะแนน 7 – 9 หมายถึง นักเรียนมีคะแนนผ่านเกณฑ์การประเมิน
ระดับคะแนน 0 – 6 หมายถึง นักเรียนมีคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
.........................................................................................................................................................................................
1. มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ต ๑.๑ เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
2. ตัวชี้วัด
ป. 5/1 ปฏิบัติตามคำสั่ง คำขอร้อง และ คำแนะนำง่ายๆ ที่ฟังและอ่าน
ป. 5/3 ระบุ/วาดภาพ สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายตรงตามความหมายของประโยคและข้อความสั้นๆ ที่ฟังหรืออ่าน
3. สาระการเรียนรู้
การบอกทิศทาง
4. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
4.1) ความสามารถในการสื่อสาร
4.2) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
5.1) ใฝ่เรียนรู้
5.2) มุ่งมั่นในการทำงาน
6. ชิ้นงาน/ภาระงาน
ภาระงาน: ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมุติในการถามตอบทาง
7. กิจกรรมการเรียนรู้ (CBLใช้เทคนิคการเรียนร่วมกันและบทบาทสมมติ)
ขั้นเกริ่นนำ (5 นาที)
7.1) ผู้สอนเข้าห้องเรียนทักทายผู้เรียน และแจ้งให้ทราบว่าวันนี้จะสอนเรื่อง การบอกทิศทาง
7.2) ผู้สอน 1 คนแสดงบทบาทสมมติว่าตนเองเป็นชาวต่างชาติแล้วต้องการจะไปห้องน้ำ ว่า Where is the toilet? และให้เด็กๆ ช่วยตอบเป็นภาษาอังกฤษ หลังจากแสดงเสร็จผู้สอน ถามว่าความสำคัญของการบอกทิศทางเป็นภาษาอังกฤษว่าใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพใดได้บ้าง
ขั้นสอน
7.3) แบ่งกลุ่มกลุ่มละ5 คน 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะได้หัวข้อคำศัพท์ต่างๆ ได้แก่ 1. Places 2. Directions 3. Conversation 4. Vehicles
7.4) ผู้สอนให้เวลาทุกกลุ่ม 20 นาทีเพื่ออภิปรายเกี่ยวหัวข้อที่ได้กับสมาชิกในกลุ่มตนเองพร้อมกันเป็นการเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้โดยจะมีครูผู้สอน 4 คน ประจำแต่ละหัวข้อเพื่อแนะนำผู้เรียน
7.5) ผู้สอนหลัก ให้นักเรียนแต่ละคนในแต่ละกลุ่มนับ1-5 จากนั้นให้นักเรียนจับกลุ่มตามเลขที่ได้อยู่ด้วยกัน ครูแจกใบงาน และอภิปรายหัวข้อของตนให้กับ สมาชิกในกลุ่ม โดยใช้เวลา 20 นาที
7.6) ผู้สอนแสดงแผนที่และฝึกถามตอบกับเด็กนักเรียนแต่ละกลุ่มเพื่อทดสอบความเข้าใจ
7.7) ผู้สอนให้ผู้เรียนกลับกลุ่มเดิม
7.8) ผู้สอนให้แผนที่บริเวณชุมชนใกล้โรงเรียนจะมีหลายเส้นทางที่สามารถเดินทางได้ และให้เวลาเตรียมตัวในการแสดงบทบาทสมมติในการถามตอบ 15นาที หลังจากนั้นให้แสดงบทบาทสมมติกลุ่มละ 5 นาทีโดยเส้นทางกลุ่มละ 5 นาที
ขั้นสรุป
7.9) ผู้สอนให้ผู้เรียนแต่ละคนโหวตกลุ่มที่พูดดีที่สุดโดยห้ามโหวตกลุ่มตัวเองพร้อมให้เหตุผล
7.10) ตัดสินผลคะแนนจากผู้เรียนและแจกรางวัลให้แก่กลุ่มผู้ที่ได้รับการโหวตมากที่สุด
7.11) ผู้สอนกล่าวอำลาผู้เรียน
8.สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้
8.1) ใบความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ ได้แก่ 1. Places 2. Directions 3. Conversation 4. Vehicles
8.2) แผนที่
9. การวัดและประเมินผล
เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ ภาระงาน
7-8 คะแนน หมายถึง ดีมาก
5-6 คะแนน หมายถึง ดี
3-4 คะแนน หมายถึง พอใช้
0-2 คะแนน หมายถึง ปรับปรุง
เกณฑ์การตัดสินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน (ผ่านเกณฑ์ 70 %)
ระดับคะแนน 6 – 8 หมายถึง นักเรียนมีคะแนนผ่านเกณฑ์การประเมิน
ระดับคะแนน 0 – 5 หมายถึง นักเรียนมีคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
เกณฑ์การตัดสินสมรรถนะของผู้เรียน (ผ่านเกณฑ์ 70 %)
ระดับคะแนน 7 – 9 หมายถึง นักเรียนมีคะแนนผ่านเกณฑ์การประเมิน
ระดับคะแนน 0 – 6 หมายถึง นักเรียนมีคะแนนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ “การพัฒนาหลักสูตร : การจัดหลักสูตร การประเมินหลักสูตร”
ตอบ การพัฒนาหลักสูตร:ทฤษฎีและการปฏิบัติ
เป็นตำราที่มุ่งเน้นกระบวนการที่ช่วยในการกำหนดจุดหมายของการศึกษา พร้อมทั้งแนวทางในการจัดกิจกรรมการศึกษา ผู้เขียนได้เรียบเรียงตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตร การวางแผนหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร การจัดระบบหลักสูตรและการประเมินหลักสูตร
โดยนำแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรและปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรมารวบรวมเป็นความรู้ในวิชาการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเป็นแนวทางนำไปปฏิบัติได้
ภายในตำราได้แยกหมวดหมู่ไว้ จำนวน5บท ประกอบด้วย
บทที่1 การพัฒนาหลักสูตร นิยาม แบบจำลองและทฤษฎีหลักสูตร
บทที่2 การวางแผนหลักสูตร
บทที่3 การออกแบบหลักสูตร
บทที่4 การจัดระบบหลักสูตร
บทที่5 การประเมินหลักสูตร
ซึ่งในแต่ละบทนั้นมีการยกวิธี การขั้นตอน แนวคิดและแบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตรของนักทฤษฎีสำคัญทางการศึกษาไว้ด้วย อาทิเช่น ไทเลอร์ ทาบา เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส โอลิวา หรือนักทฤษฎีทางการศึกษาของไทยอย่างวิชัย วงษ์ใหญ่ไว้อีกด้วย
มีเรื่องการวางแผนพัฒนาและแนวคิดในการวางแผนหลักสูตร เรื่องหลักการ การกำหนดคุณลักษณะและแนวคิดในการออกแบบหลักสูตรต่างๆ รวมถึงแนวคิดในการจัดระบบ การนำหลักสูตรใช้ หลักการทางจิตวิทยาสำหรับการเรียนรู้และหลักการส่งเสริมความเป็นเลิศในการเรียนรู้และการสอนด้วยศาสตร์และศิลป์ อีกทั้งกลยุทธ์ วิธีการต่างๆ เช่น กลยุทธ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ การประเมินความรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพ จวบจนขั้นตอนการประเมินหลักสูตร(curriculum evaluation) ให้ทราบถึงการนิยามการประเมินหลักสูตร แนวคิดการประเมิน ประเมินความก้าวหน้า ประเมินผลสรุป ประเมินก่อน ระหว่างและหลังการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อการพัฒนาตน ผู้เขียนอกจากจะรวบรวมหลักการ แนวคิด แบบจำลองทฤษฎีของนักการศึกษาที่สำคัญระดับโลกแล้ว ผู้เขียนยังสร้างรูปแบบและหลักการอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาอีกด้วย
ทั้งนี้ขอยกตัวอย่างขั้นตอนรวม วิธีการและการบรรยายความหมายของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด su model โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ อ่วมเจริญ
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด su model
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร(สามเหลี่ยมใหญ่)จะประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตร(สามเหลี่ยมเล็กๆ4ภาพ) โดยประกอบด้วย4ขั้นตอนดังนี้
-สามเหลี่ยมแรกเป็นการวางแผนหลักสูตร(Curriculum Planing) อาศัยแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา
-สามเหลี่ยมรูปที่สอง เป็นการออกแบบ(Curriculum Design) ซึ่งจะนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มาจัดทำกรอบการปฏิบัติ
-สามเหลี่ยมรูปที่สาม เป็นการจัดการหลักสูตร(Curriculum Organize)ซึ่งจะสังเกตเห็นว่ารูปสามเหลี่ยมนี้กลับหัวคล้ายเงาสะท้อนของสามเหลี่ยมรูปแรก ในทางปฏิบัติการจัดการหลักสูตรต้องพิจารณาว่าเป็นไปตามการวางแผนหรือไม่ สอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
-สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมิน(Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินทั้งหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร
การสร้างแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดSU Model
SU Model คือ แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งมีลำดับขั้นในการสร้างแบบจำลอง ดังนี้
เริ่มจากการเขียนรูปวงกลม มีความหมายดั่ง จักรวาลแห่งการเรียนรู้ เรียกง่ายๆว่าโลกแห่งการศึกษาและเขียนรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ลงบนเส้นรอบวงของวงกลม มีความหมายแทน กระบวนการพัมนาหลักสูตร โดยให้มุมบนสุดของสามเหลี่ยมแสดงจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ความรู้(Knowledge) มุมล่างด้านซ้ายมือแสดงจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ผู้เรียน(Learner) และมุมล่างด้านขวามือ แสดงจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นสังคม(Society)
ในพื้นที่วงกลมยังระบุพื้นฐาน3ด้าน ประกอบด้วย ปรัชญา จิตวิทยาและสังคม ทั้งนี้ผู้เขียนได้นำแนวคิดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรมากำหนดชื่อสามเหลี่ยมทั้งสี่รูปให้เป็นไปตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
1) การวางแผนหลักสูตร(Curriculum planing)
2) การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design)
3) การจัดดการหลักสูตร (Curriculum Organize)
4) การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation)
กล่าวโดยสรุป หนังสือการพัฒนาหลักสูตร:ทฤษฎีและการปฏิบัติ เป็นหนังสือที่อัดแน่นด้วยสารประโยชน์ทางการศึกษา อันเป็นผลดีต่อผู้สนใจในการสืบค้นข้อมูลและความเข้าใจในรูปแบบจำลอง อีกทั้ง ยังเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร จวบจนการสรุปและประเมินผล อันเป็นผลพวงที่ดีต่อความก้าวหน้าของวงการการศึกษาของไทย
อ้างอิงงจาก:
หนังสือการพัฒนาหลักสูตร:ทฤษฎีและการปฏิบัติ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ อ่วมเจริญ
สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เป็นตำราที่มุ่งเน้นกระบวนการที่ช่วยในการกำหนดจุดหมายของการศึกษา พร้อมทั้งแนวทางในการจัดกิจกรรมการศึกษา ผู้เขียนได้เรียบเรียงตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตร การวางแผนหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร การจัดระบบหลักสูตรและการประเมินหลักสูตร
โดยนำแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรและปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรมารวบรวมเป็นความรู้ในวิชาการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเป็นแนวทางนำไปปฏิบัติได้
ภายในตำราได้แยกหมวดหมู่ไว้ จำนวน5บท ประกอบด้วย
บทที่1 การพัฒนาหลักสูตร นิยาม แบบจำลองและทฤษฎีหลักสูตร
บทที่2 การวางแผนหลักสูตร
บทที่3 การออกแบบหลักสูตร
บทที่4 การจัดระบบหลักสูตร
บทที่5 การประเมินหลักสูตร
ซึ่งในแต่ละบทนั้นมีการยกวิธี การขั้นตอน แนวคิดและแบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตรของนักทฤษฎีสำคัญทางการศึกษาไว้ด้วย อาทิเช่น ไทเลอร์ ทาบา เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์และเลวีส โอลิวา หรือนักทฤษฎีทางการศึกษาของไทยอย่างวิชัย วงษ์ใหญ่ไว้อีกด้วย
มีเรื่องการวางแผนพัฒนาและแนวคิดในการวางแผนหลักสูตร เรื่องหลักการ การกำหนดคุณลักษณะและแนวคิดในการออกแบบหลักสูตรต่างๆ รวมถึงแนวคิดในการจัดระบบ การนำหลักสูตรใช้ หลักการทางจิตวิทยาสำหรับการเรียนรู้และหลักการส่งเสริมความเป็นเลิศในการเรียนรู้และการสอนด้วยศาสตร์และศิลป์ อีกทั้งกลยุทธ์ วิธีการต่างๆ เช่น กลยุทธ์การเรียนรู้แบบบูรณาการ การประเมินความรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพ จวบจนขั้นตอนการประเมินหลักสูตร(curriculum evaluation) ให้ทราบถึงการนิยามการประเมินหลักสูตร แนวคิดการประเมิน ประเมินความก้าวหน้า ประเมินผลสรุป ประเมินก่อน ระหว่างและหลังการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อการพัฒนาตน ผู้เขียนอกจากจะรวบรวมหลักการ แนวคิด แบบจำลองทฤษฎีของนักการศึกษาที่สำคัญระดับโลกแล้ว ผู้เขียนยังสร้างรูปแบบและหลักการอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาอีกด้วย
ทั้งนี้ขอยกตัวอย่างขั้นตอนรวม วิธีการและการบรรยายความหมายของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด su model โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ อ่วมเจริญ
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด su model
กระบวนการพัฒนาหลักสูตร(สามเหลี่ยมใหญ่)จะประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตร(สามเหลี่ยมเล็กๆ4ภาพ) โดยประกอบด้วย4ขั้นตอนดังนี้
-สามเหลี่ยมแรกเป็นการวางแผนหลักสูตร(Curriculum Planing) อาศัยแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา
-สามเหลี่ยมรูปที่สอง เป็นการออกแบบ(Curriculum Design) ซึ่งจะนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มาจัดทำกรอบการปฏิบัติ
-สามเหลี่ยมรูปที่สาม เป็นการจัดการหลักสูตร(Curriculum Organize)ซึ่งจะสังเกตเห็นว่ารูปสามเหลี่ยมนี้กลับหัวคล้ายเงาสะท้อนของสามเหลี่ยมรูปแรก ในทางปฏิบัติการจัดการหลักสูตรต้องพิจารณาว่าเป็นไปตามการวางแผนหรือไม่ สอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
-สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมิน(Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินทั้งหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิ์ผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร
การสร้างแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดSU Model
SU Model คือ แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งมีลำดับขั้นในการสร้างแบบจำลอง ดังนี้
เริ่มจากการเขียนรูปวงกลม มีความหมายดั่ง จักรวาลแห่งการเรียนรู้ เรียกง่ายๆว่าโลกแห่งการศึกษาและเขียนรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ลงบนเส้นรอบวงของวงกลม มีความหมายแทน กระบวนการพัมนาหลักสูตร โดยให้มุมบนสุดของสามเหลี่ยมแสดงจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ความรู้(Knowledge) มุมล่างด้านซ้ายมือแสดงจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้น ผู้เรียน(Learner) และมุมล่างด้านขวามือ แสดงจุดหมายของหลักสูตรที่มุ่งเน้นสังคม(Society)
ในพื้นที่วงกลมยังระบุพื้นฐาน3ด้าน ประกอบด้วย ปรัชญา จิตวิทยาและสังคม ทั้งนี้ผู้เขียนได้นำแนวคิดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรมากำหนดชื่อสามเหลี่ยมทั้งสี่รูปให้เป็นไปตามกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
1) การวางแผนหลักสูตร(Curriculum planing)
2) การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design)
3) การจัดดการหลักสูตร (Curriculum Organize)
4) การประเมินหลักสูตร (Curriculum Evaluation)
กล่าวโดยสรุป หนังสือการพัฒนาหลักสูตร:ทฤษฎีและการปฏิบัติ เป็นหนังสือที่อัดแน่นด้วยสารประโยชน์ทางการศึกษา อันเป็นผลดีต่อผู้สนใจในการสืบค้นข้อมูลและความเข้าใจในรูปแบบจำลอง อีกทั้ง ยังเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร จวบจนการสรุปและประเมินผล อันเป็นผลพวงที่ดีต่อความก้าวหน้าของวงการการศึกษาของไทย
อ้างอิงงจาก:
หนังสือการพัฒนาหลักสูตร:ทฤษฎีและการปฏิบัติ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ อ่วมเจริญ
สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น