แบบจำลองโอลิวา
ลักษณะสำคัญของแบบจำลองโอลิวานี้ก็คือ “เส้นของข้อมูลป้อนกลับ” (feedback lines) ซึ่งเป็นวงจรย้อนกลับจากการประเมินผลหลักสูตรไปยังเป้าประสงค์ของหลักสูตร และจากการประเมินผลการเรียนการสอนไปยังเป้าประสงค์ของการเรียนการสอน เส้นเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นของการแก้ไขปรับปรุงองค์ประกอบของแต่ละวงจรอย่างต่อเนื่อง (ดังภาพ)
และถ้าองค์ประกอบในการพัฒนาหลักสูตรหายไปจะเกิดอะไร ? หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นนั้นก็คงไม่ครบสมบูรณ์ตามองค์ประกอบ และกลายเป็นหลักสูตรที่ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการนำไปใช้งาน ตลอดจนไม่มีความน่าเชื่อถือสำหรับผู้เรียน
จากคำถามข้อที่ 3ที่กล่าวว่า จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาเหล่านั้นอย่างไรให้มีประสิทธิภาพนั้นโดยการจัดเรียงลำดับประสบการณ์การเรียนรู้ (organization of learning experiences) เป็นการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เรียงตามลำดับขั้นตอน ต้องมีเนื้อหาครบทุกด้าน ทั้งด้านความคิด หลักการ ค่านิยม และทักษะ ต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน และธรรมชาติของเนื้อหาที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งการกำหนดเนื้อหาสาระความรู้ต่างๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ เพื่อให้ได้ความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม กระบวนการขั้นนี้ จึงครอบคลุมถึงการคัดเลือกเนื้อหาวิชาแล้วพิจารณาจัดลำดับเนื้อหาเหล่านั้นว่า เนื้อหาสาระใดควรเป็นพื้นฐานของเนื้อหาใดบ้าง ควรให้เรียนอะไรก่อนอะไรหลัง แล้วแก้ไขเนื้อหาที่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งแง่สาระและการจัดลำดับที่เหมาะสม ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ นั้นมีดังต่อไปนี้
ราล์ฟ ดับเบิลยู ไทเลอร์ (Ralph W. Tyler) ให้หลักการและเหตุผลในการสร้างหลักสูตรไว้ 4 ประการ ซึ่งเรียกว่า "Tyler's rationale" โดยเขาให้หลักเกณฑ์ไว้ว่าในการจัดหลักสูตรและการสอนนั้น ควรจะตอบคำถามที่เป็นพื้นฐาน 4 ประการ ไทเลอร์เน้นว่าคำถามจะต้องเรียงลำดับกันลงมา ดังนั้นการตั้งจุดมุ่งหมายจึงเป็นขั้นที่สำคัญที่สุดของไทเลอร์
คำถามพื้นฐาน 4 ประการ
1. What is the purpose of the education? (มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจะ แสวงหา)
2. What educational experiences will attain the purposes? (มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้)
3. How can these experiences be effectively organized? (จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร จึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ)
4. How can we determine when the purposes are met? (จะประเมินผลประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร จึงจะตัดสินได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้)
1. What is the purpose of the education? (มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจะ แสวงหา)
2. What educational experiences will attain the purposes? (มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้)
3. How can these experiences be effectively organized? (จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร จึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ)
4. How can we determine when the purposes are met? (จะประเมินผลประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร จึงจะตัดสินได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้)
หลักการสร้างหลักสูตร
1. การวางแผนหลักสูตร (Planning)
2. การออกแบบหลักสูตร (Design)
3. การจัดการหลักสูตร (Organize)
4. การประเมินหลักสูตร (Evaluation)
1. การวางแผนหลักสูตร (Planning)
2. การออกแบบหลักสูตร (Design)
3. การจัดการหลักสูตร (Organize)
4. การประเมินหลักสูตร (Evaluation)
โดยเมื่อนำหลักการนั้นมาเทียบเคียงกันจะพบว่ามีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้
โมเดลการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของไทเลอร์นี้ ได้ดัดแปลงมาจากโมเดลของ Ornstein and Hunkin (1998) โดยได้นำคำถามที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการทำหลักสูตรของไทเลอร์ (สัญลักษณ์ Q) มากำกับในขั้นตอนต่างๆของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามหลักการของไทเลอร์
การสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึง การกำหนดจุดมุ่งหมาย การกำหนดประสบการณ์ทางการศึกษา การจัดประสบการณ์ทางการศึกษาให้ผู้เรียน และการประเมินสัมฤทธิผลของหลักสูตรด้วย โดยรูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์เริ่มจาก
คำถามข้อที่ 1: What is the purpose of the education? (Planning)
จากคำถามข้อที่ 1 คือการวางแผนในการกำหนดจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ว่า จะสอนอะไร เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์แบบชั่วคราว หรือ Tentative Objectives เราต้องดูว่าจะสอนอะไรเด็กและจะเอาอะไรมาสอน ทั้งนี้ต้องอาศัยข้อมูลจากแหล่งต่างๆ หรือSourcesแหล่งแรกคือสังคม ได้แก่ ค่านิยม ความเชื่อ และแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิตในสังคม โครงสร้างที่สำคัญในสังคม และความมุ่งหวังทางสังคม แหล่งที่สองเกี่ยวกับผู้เรียนซึ่งเกี่ยวข้องกับความต้องการความสนใจความสามารถและคุณลักษณะที่ประเทศชาติต้องการ แหล่งที่สามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ
Sources หรือแหล่งที่มาประการแรกที่ต้องพิจารณาได้ 1) Subject matter หรือว่าผู้รู้ สำหรับผู้รู้ในสถานศึกษา ก็คือ โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคมที่พวกเราเลือกและเข้าไปสอบถามข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสภาพทั่วไป ข้อมูลพื้นฐาน และหลักสูตรสถานศึกษา ได้แก่ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ อาจารย์ประจำวิชา และนักศึกษาฝึกสอน นอกจากนี้ Subject matter ยังรวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา เช่น นักการ ภารโรง แม่ค้า ชาวบ้าน เป็นต้น
2) Learner คือด้านผู้เรียน เหตุผลที่เราจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านผู้เรียนก็เนื่องจากว่า• เราจะพัฒนาความรู้ด้านพุทธิพิสัยหรือ cognitive domain ของเด็ก ได้แก่ ด้านความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์การสังเคราะห์ และการประเมินค่า• พัฒนาด้านภาษาศาสตร์ (linguistic)
• พัฒนาด้านจิตสังคม ปลูกฝังให้เด็กมีจิตสาธารณะ• พัฒนาด้านจิตพิสัย และคุณธรรม• เน้นด้านอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต
3) Society คือด้านสังคม เกี่ยวข้องกับสถาบันทางสังคม จะครอบคลุมถึงครอบครัว ศาสนา และการศึกษา นอกจากนี้ยังมีเรื่องระบบการศึกษาไทยและแผนพัฒนาการศึกษาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เหตุผลที่เราจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านสังคมก็เพราะว่าเราจะนำความรู้ไปพัฒนาทักษะด้านต่างๆของผู้เรียน ได้แก่ การอ่านออกเขียนได้ ทักษะด้านอาชีพ การจัดระเบียบทางสังคมและด้านคุณธรรม ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ การถ่ายทอดค่านิยมทางความคิดและวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
2) Learner คือด้านผู้เรียน เหตุผลที่เราจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านผู้เรียนก็เนื่องจากว่า• เราจะพัฒนาความรู้ด้านพุทธิพิสัยหรือ cognitive domain ของเด็ก ได้แก่ ด้านความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์การสังเคราะห์ และการประเมินค่า• พัฒนาด้านภาษาศาสตร์ (linguistic)
• พัฒนาด้านจิตสังคม ปลูกฝังให้เด็กมีจิตสาธารณะ• พัฒนาด้านจิตพิสัย และคุณธรรม• เน้นด้านอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต
3) Society คือด้านสังคม เกี่ยวข้องกับสถาบันทางสังคม จะครอบคลุมถึงครอบครัว ศาสนา และการศึกษา นอกจากนี้ยังมีเรื่องระบบการศึกษาไทยและแผนพัฒนาการศึกษาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เหตุผลที่เราจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านสังคมก็เพราะว่าเราจะนำความรู้ไปพัฒนาทักษะด้านต่างๆของผู้เรียน ได้แก่ การอ่านออกเขียนได้ ทักษะด้านอาชีพ การจัดระเบียบทางสังคมและด้านคุณธรรม ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ การถ่ายทอดค่านิยมทางความคิดและวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
จากคำถามข้อที่ 2 ของไทเลอร์ ประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่สามารถจัดได้และสนองตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ทำให้เกิดหลักการออกแบบหลักสูตร โดยมีหลักในการออกแบบดังนี้
1. หลัก 7 ประการในการออกแบบหลักสูตร (7 Principles of Curriculum Design)
- Challenge and enjoyment (ค้นหาศักยภาพและความสุข) คือต้องออกแบบหลักสูตรให้นักเรียนได้ค้นหาศักยภาพและกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในการเรียนรู้
- Breadths (ความกว้าง) คือหลักสูตรที่ดีต้องเปิดกว้างในการเรียนรู้ เพราะว่าบางครั้งในการเรียนรู้มีแนวทางในการเรียนได้หลายทาง
- Progressions (ความก้าวหน้า) คือหลักสูตรต้องออกแบบมาให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไปสู้ความก้าวหน้าที่ผู้เรียนตั้งเป้าไว้
- Depths (ความลึกซึ้ง) คือหลักสูตรต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งสำคัญ คือ หลักสูตรต้องให้โอกาสนักเรียนได้ใช้
- Coherence (ความเกี่ยวข้อง) คือหลักสูตรที่ดีต้องมีเนื้อหาและจุดประสงค์ที่ต้องสนองกับบริบทที่จะนำหลักสูตรไปใช้
- Relevance (ความสัมพันธ์กัน) คือเนื้อหาในหลักสูตรต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับจุดประสงค์
- Personalization and choice (ความเป็นเอกลักษณ์และตัวเลือก) คือหลักสูตรที่ดีต้องให้นักเรียนได้ค้นพบเอกลักษณ์ของตนเองและมีทางเลือกในการแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง
2. ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills)
- Personalization and choice (ความเป็นเอกลักษณ์และตัวเลือก) คือหลักสูตรที่ดีต้องให้นักเรียนได้ค้นพบเอกลักษณ์ของตนเองและมีทางเลือกในการแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง
2. ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills)
เป็นหลักการเกี่ยวทักษะที่สำคัญที่ผู้เรียนพึงมีในศตวรรษที่21 ซึ่งหลักสูตรต้องส่งเสริมให้ผู้ เรียนได้มีทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่21 เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะและสามารถนำใช้ชีวิตในสังคมศตวรรษที่21ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งก็คือหลัก 7Cs หรือในปัจจุบันมีการรวมเข้ากับหลัก 3Rs ที่มีก่อนหน้า จนกลายเป็นหลัก 3Rs+7Cs ดังนี้
3Rs
- Reading (อ่านออก)
- Writing (เขียนได้)
- Arithmetic (คิดเลขเป็น)
7Cs
- Critical Thinking & Problem solving คือทักษะในการคิดวิเคราะห์ หมายความว่าคุณต้องคิด เข้าใจ แก้ปัญหา
- Creativity & Innovation คือทักษะที่เมื่อคุณคิดวิเคราะห์แล้ว คุณต้องสร้างสรรค์ได้ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ได้
- Cross-Cultural understanding คือทักษะที่เน้นความเข้าใจในกลุ่มคนในหลากหลายชาติพันธ์ เพราะเราเป็นสังคมโลก
- Collaboration Teamwork & leadership คือทักษะการทำงานเป็นทีม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความเป็นผู้นำ คือเนื่องจากหากเราทำงานคนเดียว จะมีความเป็นปัจเจกสูง โตขึ้นเราจะไม่สามารถที่จะยอมรับคนอื่นได้ ความคิดเห็นมีทั้งด้านถูกและผิด ไม่มีอะไรบนโลกใบนี้ที่มัน 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นหาเราไม่ทำงานร่วมกันเป็นทีม แล้วเราจะขาดความสามัคคี ซึ่งเป็นปัญหาหลักของประเทศในขณะนี้
- Communication information and media literacy คือความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการรู้จักข้อมูล ความสามารถในการเข้าใจสื่อ ซึ่งเป็นสาระที่สำคัญ เพราะในโลกของ Digital age ในปัจจุบันข้อมูลข่าวสาร มีมากมาย website มีเป็นร้อยพันล้านเว็บ ข้อมูลหลั่งไหลเข้ามา สิ่งดีๆจากคนสร้างดีๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่นเดียวกัน สิ่งไม่ดีจากคนไม่ดี ก็มีมากมาย เราในฐานะผู้บริโภคข้อมูลอยู่ตลอดเวลาจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความสามารถในการรับรู้ข้อมูล สื่อ และการสื่อสารต่อออกไปได้
- Computing and ICT literacy คือความสามารถในยุคของ Digital age เราต้องใช้เครื่องมือ เราต้องมีความสามารถในการใช้เครื่อง เราหลีกเหลี่ยงไม่ได้ เทคโนโลยี ที่ช่วยเราให้สะดวกมากขึ้น ถ้าเราหนีได้ก็แล้วไป หากหนีมันไม่ได้เราก็จำเป็นต้องมีความสามารถในการใช้มัน
- Career and Life skill คือ ทักษะการใช้ชีวิต คือทักษะการประกอบอาชีพ แปลตามตัวอักษรนะ แต่ในความรู้สึกผม มันน่าจะหมายถึงทักษะที่เราจะใช้ชีวิตที่อยู่กับโลกนี้ มองโลกนี้เป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่มองตัวเราเป็นศูนย์กลาง หมายถึงความรับผิดชอบต่ออาชีพชีวิต และสังคมของเรา
จากสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นถ้าเราแบ่ง 7Cs ออกได้ 3 ส่วนด้วยกัน คือ
- ส่วนของการพัฒนาด้านความคิด (Critical Thinking Creativity Collaboration Cross-Culture)
- ส่วนของ( Literacy) คือ ความสามารถความเข้าใจ (Information Communication Media ICT Literacy)
- ส่วนของ (Life Skill) คือ มองโลกหรือคนอื่นรอบๆ เป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่มองเราเป็นศูนย์กลาง
3. สี่เสาหลักของการศึกษา (The four Pillars of Education)
พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำอธิบายไว้ว่าหมายถึง หลักสำคัญ ๔ ประการของการศึกษาตลอดชีวิต ตามคำอธิบายของคณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งได้เสนอรายงานเรื่อง Learning: The Treasure Within ต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อ ค.ศ. ๑๙๙๕ ว่าการศึกษาตลอดชีวิตมีหลักสำคัญ ๔ ประการ ได้แก่
1. การเรียนเพื่อรู้ คือการเรียนที่ผสมผสานความรู้ทั่วไปกับความรู้ใหม่ในเรื่องต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง การเรียนเพื่อรู้หมายรวมถึงการฝึกฝนวิธีเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต
2. การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง คือการเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ และปฏิบัติงานได้ เป็นการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมและในการประกอบอาชีพ ซึ่งอาจเป็นการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสภาพในท้องถิ่นหรือประเทศนั้น ๆ หรืออาจเป็นการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน โดยใช้หลักสูตรซึ่งประกอบด้วยการเรียนในภาคทฤษฎีสลับกับการฝึกปฏิบัติงาน
3. การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน คือการเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลเข้าใจผู้อื่นและตระหนักดีว่า มนุษย์เราจะต้องพึ่งพาอาศัยกัน ดำเนินโครงการร่วมกันและเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ โดยตระหนักในความแตกต่างหลากหลาย ความเข้าใจอันดีต่อกันและสันติภาพ ว่าเป็นสิ่งล้ำค่าคู่ควรแก่การหวงแหน
4. การเรียนรู้เพื่อชีวิต คือการเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถปรับปรุงบุคลิกภาพของตนได้ดีขึ้น ดำเนินงานต่าง ๆ โดยอิสระยิ่งขึ้น มีดุลพินิจ และความรับผิดชอบต่อตนเองมากขึ้น การจัดการศึกษาต้องไม่ละเลยศักยภาพในด้านใดด้านหนึ่งของบุคคล เช่น ความจำ การใช้เหตุผล ความซาบซึ้งในสุนทรียภาพ สมรรถนะทางร่างกาย ทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
คำถามข้อที่ 3: How can these experiences are effectively organized? (Organize)
จากคำถามข้อที่ 3ที่กล่าวว่า จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาเหล่านั้นอย่างไรให้มีประสิทธิภาพนั้นโดยการจัดเรียงลำดับประสบการณ์การเรียนรู้ (organization of learning experiences) เป็นการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เรียงตามลำดับขั้นตอน ต้องมีเนื้อหาครบทุกด้าน ทั้งด้านความคิด หลักการ ค่านิยม และทักษะ ต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน และธรรมชาติของเนื้อหาที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งการกำหนดเนื้อหาสาระความรู้ต่างๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ เพื่อให้ได้ความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม กระบวนการขั้นนี้ จึงครอบคลุมถึงการคัดเลือกเนื้อหาวิชาแล้วพิจารณาจัดลำดับเนื้อหาเหล่านั้นว่า เนื้อหาสาระใดควรเป็นพื้นฐานของเนื้อหาใดบ้าง ควรให้เรียนอะไรก่อนอะไรหลัง แล้วแก้ไขเนื้อหาที่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งแง่สาระและการจัดลำดับที่เหมาะสม ตามหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ นั้นมีดังต่อไปนี้
1. มีความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
2. การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
3. บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม
2. การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
3. บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม
สุมิตร คุณากร (2523) กล่าวว่า การนำหลักสูตรไปใช้เป็นการรวมกิจกรรม 3 ประเภท โดยได้อธิบายกิจกรรมทั้ง 3 ประเภทดังนี้ 1. การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน หลักสูตรระดับชาติจะกำหนดจุดหมาย เนื้อหาวิชา การประเมินผลไว้อย่างกว้างๆ ครูจึงไม่สามารถนำหลักสูตรไปสอนได้หากยังไม่มีการดัดแปลงให้เหมาะ
2. การจัดปัจจัยและสภาพต่างๆภายในโรงเรียนให้หลักสูตรบรรลุถึงเป้าหมาย การนำหลักสูตรมาปฏิบัตินั้นเกิดขึ้นที่โรงเรียน ผู้บริหารควรสำรวจปัจจัยและสภาพต่างๆของโรงเรียนว่าเหมาะสมกับการนำหลักสูตรมาปฏิบัติหรือไม่
3. การสอนของครู การเอาใจใส่ต่อการสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การเลือกวิธีการสอนที่เหมาะสม เหล่านี้เป็นปัจจัยที่จะชี้ชะตาหลักสูตรทั้งสิ้น ส่วนผู้บริหารก็ต้องคอยให้ความสะดวกและกำลังใจแก่ครู
2. การจัดปัจจัยและสภาพต่างๆภายในโรงเรียนให้หลักสูตรบรรลุถึงเป้าหมาย การนำหลักสูตรมาปฏิบัตินั้นเกิดขึ้นที่โรงเรียน ผู้บริหารควรสำรวจปัจจัยและสภาพต่างๆของโรงเรียนว่าเหมาะสมกับการนำหลักสูตรมาปฏิบัติหรือไม่
3. การสอนของครู การเอาใจใส่ต่อการสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การเลือกวิธีการสอนที่เหมาะสม เหล่านี้เป็นปัจจัยที่จะชี้ชะตาหลักสูตรทั้งสิ้น ส่วนผู้บริหารก็ต้องคอยให้ความสะดวกและกำลังใจแก่ครู
ดังนั้นจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้จึงต้องจัดให้มีความสอดคล้องกับหลักสูตร ซึ่งสามารถทำ ได้โดยการออกแบบการแผนการจัดการเรียนรู้ โดยต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานดังต่อไปนี้
1. ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ 2. ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนช่วงชั้น 3. วิเคราะห์หลักสูตร 4. ศึกษาธรรมชาติของกลุ่มสาระการเรียนรู้ 5. ศึกษาการวัดผลและการประเมินผล 6. ศึกษาแหล่งเรียนรู้และสื่อ 7. ศึกษาองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ 8. ศึกษาเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย 9. ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ 10.จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
หลักในการจัดทำแผนการสอนว่ามีดังต่อไปนี้
1. ควรรู้ว่าสอนเพื่ออะไร
2. ใช้วิธีการสอนอย่างไร
3. สอนแล้วผลเป็นอย่างไร
โดยองค์ประกอบของแผนการสอน ประกอบด้วย 1. สาระสำคัญ 2. จุดประสงค์การเรียนรู้ 3. เนื้อหา/สาระการเรียนรู้ 4. กิจกรรมการเรียนรู้ 5. การวัดและประเมินผล (มีเกณฑ์การวัดผลที่ชัดเจน) 6. สื่อและแหล่งเรียนรู้ 7. ความคิดเห็นของผู้บริหาร/ผู้นิเทศ
8. บันทึกผลหลังสอน
คำถามข้อที่ 4: How can we determine when the purposes are met? (Evaluation)
หลักการประเมิน (Evaluation) โดยกระบวนการพัฒนาหลักสูตรมีการจัดการประเมินผลออกเป็น 2 ด้าน คือ
1. การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
2. การประเมินหลักสูตร
การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้สอนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเกณฑ์การกำหนดคุณภาพของ Bloom หรือ Bloom’s Taxonomy ซึ่งหากศึกษาดูแล้วเราจะพบว่า Bloom’s Taxonomy นั่นมีแนวโน้มที่จะถูกใช้โดยผู้สอนเสียเป็นส่วนมาก แต่ถ้าหากการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นมีผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดด้วยแล้ว หลักการที่จะต้องพูดถึงนั่นก็คือ SOLO Taxonomy ซึ่งเป็นการกำหนดระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะแค่การสอนและการให้คะแนนจากผลงานแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนการประเมินผลที่ให้ความสำคัญว่า ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร และผู้สอนมีวิธีการอย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการทางปัญญาที่มีความซับซ้อนและก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
Bloom’s Taxonomy
การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนจำเป็นต้องมีการกำหนดคุณภาพการเรียนรู้โดยเกณฑ์การกำหนดคุณภาพที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายคือ Bloom’s Taxonomy โดยแบ่งระดับการเรียนรู้ออกเป็น 6 ระดับ หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของ “Bloom’s Taxonomy แบบดั้งเดิม” จนกระทั่งปี 1990 นักจิตวิทยากลุ่มใหม่ นำโดย Lorin Anderson (ศิษย์ของ Bloom) ได้ทำการปรับปรุงกลุ่มพฤติกรรมขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้นำคำกริยามาใช้ในการกำหนดระดับการเรียนรู้แทนคำนามตามแบบดั้งเดิมที่ Bloom ได้เคยกำหนดไว้ กล่าวโดยสรุปคือ “Bloom’s Taxonomy แบบใหม่” เป็นการเปลี่ยนจากนามเป็นกริยาเพื่ออธิบายระดับที่แตกต่างกันของกลุ่มพฤติกรรรม
· SOLO Taxonomy
SOLO Taxonomy หรือ The Structure of Observed Learning Outcome Taxonomy จึงเป็นแบบ (Model) ที่ใช้ในการใช้ระบุ บรรยาย หรืออธิบาย ระดับความเข้าใจอันซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของผู้เรียนในสาระหรือรายวิชา ซึ่งผู้เสนอแนวคิดนี้จนกลายเป็นที่นิยมคือ John B. Biggs และ Kelvin Collis (1982) แบบของ SOLO Taxonomy ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ ดังนี้
1. Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน) ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริง และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา เช่น ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญ
2. Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว) การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว เช่น สามารถระบุชื่อได้ จำได้ และทำตามคำสั่งง่ายๆได้
3. Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง) การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ เช่น สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
4. Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์) การบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง แสดงความสัมพันธ์ อธิบายเชิงเหตุผล และ/หรือนำไปใช้ได้
5. Extended abstract (ระดับขยายนามธรรม) จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูง หรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น
การประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรแบ่งออกได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นพัฒนาหลักสูตร เป็นขั้นตอนการประเมินโครงร่างหลักสูตร
- โครงสร้างหลักสูตร
- ความมุ่งหมายของหลักสูตร
- เนื้หา
- กิจกรรมการเรียนการสอน
- อุปกรณ์ สื่อการสอน
- การประเมินผลการเรียนการสอน
- บรรยากาศในการเรียน
- สิ่งแวดล้อมในสถาบันการศึกษา
2. ขั้นการใช้หลักสูตร เป็นขั้นตอนการประเมินหลักสูตรที่ใช้จริง
- ประเมินในระหว่างดำเนินการใช้หลักสูตร (Formative evaluation)
- ประเมินจุดเด่นและจุดด้อยของหลักสูตร
- การจัดการเรียนการสอน
- การบริหารหลักสูตร
3. ขั้นผลิตผลของหลักสูตร เป็นขั้นตอนของการประเมินติดตามผล
- คุณภาพของบัณฑิต
- การทำงานของบัณฑิต
- ความพึงพอใจและความต้องการของนายจ้าง
เมื่อคณะกรรมการร่างหลักสูตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนจะนำหลักสูตรไปใช้จะต้อง ตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรเพื่อศึกษาความเป็นไปได้พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขบางส่วนก่อนนำไปใช้จริงการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรทำได้หลายวิธี เช่น
- วิธีการประชุมสัมมนา โดยให้ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ตรงในเรื่องนั้นตรวจสอบ
- วิธีตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรโดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique)
- การทดลองใช้หลักสูตรนำร่อง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของหลักสูตร มีคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการทดลองใช้หลักสูตรแต่ละระยะอย่างมีระบบ เพื่อรวบรวมข้อมูลนำมาสังเคราะห์ สำหรับการปรับแก้ก่อนจะนำไปใช้ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น