28 ก.ย. 2561

รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทย


             การพัฒนาหลักสูตรเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานเท่าที่ผ่านมาเป็นหน้าที่ของหน่วยงานระดับนโยบาย โดยกรมวิชาการ เป็นผู้พัฒนาหลักสูตรแกนกลางหรือหลักสูตรระดับชาติ รวมทั้งเป็นผู้จัดเนื้อหาสาระแบบเรียน สื่อรายวิชาต่างๆ ให้โรงเรียนใช้เหมือนกันทั่วประเทศ แม้ว่าในคู่มือหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521  (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช2533) เปิดโอกาสให้โรงเรียนพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนได้เอง แต่ก็มีโรงเรียนจำนวนไม่น้อยมากคือประมาณร้อยละ 27 (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.2543 : 296)   ที่มีหลักสูตรสอดคล้องกับท้องถิ่นและผู้เรียน ดังนั้น การศึกษารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งส่งเสริมให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรได้ในบริบทของประเทศจากแนวคิดของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกำหนดรูปแบบ รวมทั้งแนวคิดของนักวิชาการ อันนำไปสู่การสังเคราะห์เป็นรูปแบบสำหรับการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนในครั้งนี้ มีดังต่อไปนี้
5.2.รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของกรมวิชาการ
              กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2539 : 2-35) ได้กำหนดให้โรงเรียนสามารถพัฒนาหลักสูตรเองได้ภายใต้แนวทางการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นซึ่งมีรูปแบบการดำเนินงานพัฒนาหลักสูตร 4 ลักษณะ ดังต่อไปนี้
                   1. การพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับกิจกรรมการเรียนการสอน
                   2. การพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับรายละเอียดของเนื้อหา
                   3. การพัฒนาหลักสูตรโดยการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
                   4. การพัฒนาหลักสูตรโดยการจัดทำวิชา/รายวิชาเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่
              1. การพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับกิจกรรมการเรียนการสอน
              การพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับกิจกรรมการเรียนการสอน โดยศึกษาจากคำอธิบายหรือคำอธิบายวิชาที่กำหนด ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ
                   1.1 กิจกรรม ได้แก่ ส่วนที่ระบุถึงแนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ต้องจัดให้แก่ผู้เรียนสังเกตได้จากคำว่า ศึกษาค้นคว้า ทดลอง สำรวจ ฝึก ปฏิบัติ วิเคราะห์ อภิปราย ฯลฯ
                   1.2 เนื้อหา ได้แก่ ส่วนที่ระบุถึงหัวข้อหรือขอบข่ายของเนื้อหาที่จะนำมาให้ผู้เรียนหรือฝึกเพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์
                   1.3 จุดประสงค์ ได้แก่ ส่วนที่ระบุถึงพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน หลังจากที่ได้เรียนรู้หรือฝึกทักษะตามที่ได้ระบุไปแล้วในข้อ 1.และ 1.พฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้นนี้ประกอบด้วนส่วนที่เป็นความรู้ ทักษะ เจตคติ และกระบวนการ
                   ผลที่ได้จากการศึกษา วิเคราะห์  คำอธิบาย หรือคำอธิบายรายวิชานี้ ช่วยทำให้ผู้สอนมองเห็นภาพงานสอนของเนื้อหาหรือรายวิชาดังกล่าวได้ชัดเจนขึ้น ว่าต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิธีใด มีขอบข่ายเนื้อหาที่ต้องเรียนรู้หรือฝึกทักษะอะไรบ้าง และประการสุดท้ายต้องการให้ผู้เรียนมีหรือเกิดพฤติกรรมทั้งในด้านความรู้ ทักษะ เจตคติ รวมทั้งการจัดการอะไรบ้าง กิจกรรมต่างๆ ที่วิเคราะห์ออกมานี้ หลักสูตรกำหนดไว้กว้างๆ เป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่ต้องพิจารณาว่ากิจกรรมดังกล่าวควรจัดโดยวิธีใด จัดอย่างไรให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น เนื้อหาและตัวผู้เรียน เช่น
                   กิจกรรม ศึกษา” สามารถจะจัดรูปแบบหรือวิธีการ ศึกษา” ได้หลายวิธี เช่น
-       ฟังคำอธิบายจากครู
-       ค้นคว้าจากห้องสมุดของโรงเรียน
-       ค้นคว้าจากแหล่งวิทยาการอื่นๆ
-       เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่นมาบรรยาย
-       ออกไปสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เกี่ยวข้องในท้องถิ่น
-       ออกไปสำรวจดูสภาพจริงในพื้นที่
-       สังเกตสิ่งแวดล้อม
-       ออกไปทัศนศึกษา
-       รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
-       นำหรือพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้
-       วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ เช่น ความสัมพันธ์ด้านความเหมือนและความแตกต่างสิ่งที่เป็นเหตุและผล
                        ฯลฯ
                   จะเห็นได้ว่ากิจกรรมการ ศึกษา” นั้น โรงเรียนสามารถ ศึกษา” ตามที่กำหนดได้ด้วยวิธีการต่างๆ หลายวิธี และแต่ละวิธีมีขั้นตอนของการปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าโรงเรียนต้องตัดสินใจเลือกหรือปรับกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นลักษณะใดก็ตาม กิจกรรมที่จัดนั้นต้องเป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและได้เรียนรู้จริงเกี่ยวกับท้องถิ่นของตนเองได้มากที่สุด ต้องจัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ได้จากการวางแผนอย่างมียุทธศาสตร์ของโรงเรียน ที่สำคัญต้องไม่ทำให้จุดประสงค์การเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไป
                   2. การพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับรายละเอียดของเนื้อหา
                   การพัฒนาหลักสูตรลักษณะนี้ เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากที่โรงเรียนได้วิเคราะห์เนื้อหา/คำอธิบายรายวิชามาแล้ว โรงเรียนต้องนำเอาผลการวิเคราะห์ในส่วนที่เป็นเนื้อหามาวิเคราะห์ต่อไปอีกว่าจากหัวข้อหรือขอบข่ายเนื้อหาที่หลักสูตรกำหนดไว้ในแต่ละหัวข้อนั้นควรมีการเพิ่มเติมวิเคราะห์รายละเอียดอะไรอีกบ้างว่าพัฒนาหลักสูตรโดยการปรับรายละเอียดเนื้อหานี้ โรงเรียนสามารถพิจารณากำหนดรายละเอียดเนื้อหาเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่ โดยต้องไม่ทำให้จุดประสงค์การเรียนรู้เปลี่ยนไปและต้องไม่คำนึงถึงความเหมาะสมของเวลาและผู้เรียนด้วยการพัฒนาหลักสูตรในลักษณะนี้ โรงเรียนสามารถดำเนินการได้เอง
                   3. การพัฒนาหลักสูตรโดยการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
                   การพัฒนาหลักสูตรในลักษณะของการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ด้วยการเลือก ปรับปรุงหรือจัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นใหม่ มีลักษณะดังนี้
                        3.ประเภทของสื่อการเรียนการสอน จำแนกประเภทตามลักษณะของสื่อการเรียนการสอนได้ดังนี้
                            3.1.หนังสือเรียน เป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้สำหรับการเรียนมีสาระตรงที่ระบุไว้ในหลักสูตรอย่างถูกต้อง อาจมีลักษณะเป็นเล่ม เป็นแผ่นหรือเป็นชุดก็ได้
                            3.1.คู่มือครู แผนการสอน แนวการสอน หรือเอกสารอื่นๆ ที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละรายวิชาให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของหลักสูตร
                            3.1.หนังสือเสริมประสบการณ์ เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นโดยคำนึงถึงประโยชน์ในด้านการศึกษาหาความรู้ของตนเอง ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ความซาบซึ้งในคุณค่าของภาษา การเสริมสร้างทักษะและนิสัยรักการอ่าน การเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ตามหลักสูตรให้กว้างขวางขึ้น หนังสือประเภทนี้โรงเรียนควรจัดไว้บริการครูและนักเรียนในโรงเรียน หนังสือเสริมประสบการณ์จำแนกออกเป็น 4 ประเภท คือ
                                 1. หนังสืออ่านนอกเวลา เป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรนอกเหนือจากหนังสือเรียนสำหรับให้นักเรียนอ่านนอกเวลาเรียน โดยถือว่ากิจกรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับหนังสือนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนตามหลักสูตร
                                 2. หนังสืออ่านเพิ่มเติม เป็นหนังสือที่มีสาระอิงหลักสูตรสำหรับให้นักเรียนอ่านเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง ตามความเหมาะสมกับวัยและความสามารถในการอ่านของแต่ละบุคคล หนังสือประเภทนี้เคยเรียกว่าหนังสืออ่านประกอบ
                                 3. หนังสืออุเทศ เป็นหนังสือสำหรับใช้ค้นคว้าอ้างอิงเกี่ยวกับการเรียน โดยมีการเรียบเรียงเชิงวิชาการ
                                 4. หนังสือส่งเสริมการอ่าน เป็นหนังสือที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เน้นไปในทางส่งเสริมให้ผู้อ่านเกิดทักษะในการอ่าน และมีนิสัยรักการอ่านมากยิ่งขึ้นอาจเป็นหนังสือวรรณคดี นวนิยาย นิยาย ฯลฯ ที่มีลักษณะไม่ขัดต่อวัฒนธรรม ประเพณีและศีลธรรมอันดีงาม ให้ความรู้ มีคติและสาระประโยชน์
                            3.1.แบบฝึกหัด เป็นสื่อการเรียนสำหรับให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ เพื่อช่วยเสริมให้เกิดทักษะและความแตกฉานในบทเรียน
                            3.1.สื่อการเรียนการสอนอื่นๆ เช่น สื่อประสม วีดีทัศน์ เทปบันทึกเสียง ภาพพลิก แผ่นภาพ เป็นต้น
                        สื่อการเรียนการสอนดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนสามารถเลือกใช้ ปรับปรุงหรือจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ตามความเหมาะสม
                        3.การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน
                        เนื่องจากสื่อการเรียนการสอนมีหลายประเภทตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว และสื่อการเรียนการสอนแต่ละประเภทก็มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งสื่อการเรียนการสอนที่ผลิตจากส่วนกลางก็มักจะให้เนื้อหาทั่วไปๆ ซึ่งไม่เจาะจงเฉพาะท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง ฉะนั้นโรงเรียนจึงควรเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นตน โดยมีขั้นตอนดังนี้
                            3.2.วิเคราะห์หลักสูตร โดยวิเคราะห์จุดประสงค์ คำอธิบาย/คำอธิบายรายวิชา และคาบเวลาเรียน ที่ปรากฏในหลักสูตรว่า วิชา/รายวิชานั้นมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความรู้ เจตคติ ค่านิยม ทักษะ และการปฏิบัติอย่างไร มีขอบข่ายเนื้อหาเพียงใด และมีคาบเวลาเรียนเท่าไร เพื่อนำมากำหนดสื่อการเรียนการสอนอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
                            3.2.สำรวจ รวบรวมสื่อการเรียนการสอน ที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับจุดประสงค์และคำอธิบาย/คำอธิบายรายวิชาจากแหล่งต่างๆ เช่น ห้องสมุด สถาบันการศึกษาในท้องถิ่น ร้านจำหน่ายหนัง ฯลฯ เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตร
                             3.2.วิเคราะห์สื่อการเรียนการสอน ที่ได้จากการสำรวจและรวบรวมไว้ตาม             ข้อ 3.2.เพื่อพิจารณาว่าสื่อการเรียนการสอนดังกล่าวสามารถนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนตามหลักสูตรได้หรือไม่เพียงใด
                        3.การปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน
                        โรงเรียนอาจปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนทั้งหนังสือเรียน คู่มือครู แผนการสอน แนวการสอนหนังสือเสริมประสบการณ์ ให้ครอบคลุมเนื้อหาที่ปรับรายละเอียด หรือให้เป็นปัจจุบันได้
                        3.การจัดทำสื่อการเรียนการสอน
                        เมื่อโรงเรียนได้วิเคราะห์สื่อการเรียนการสอนเพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นแล้วพบว่า มีความจำเป็นที่โรงเรียนจะต้องจัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นใหม่เพื่อให้สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น หนังสือเรียน คู่มือครู แผนการสอน หนังสือเสริมประสบการณ์ แบบฝึกหัด สื่อการเรียนการสอนอื่นๆ เป็นต้น
                   4. การพัฒนาหลักสูตรโดยการจัดทำวิชา/รายวิชาเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ แนวการจัดทำวิชา/รายวิชาเพิ่มเติม
              การพัฒนาหลักสูตรลักษณะนี้เป็นการจัดทำวิชาหรือรายวิชาขึ้นใหม่ หลังจากที่ศึกษามาแล้วพบว่า สิ่งที่ควรพัฒนานั้นไม่มีปรากฏอยู่ในหลักสูตรของกลุ่มประสบการณ์หรือรายวิชา/กลุ่มวิชาใดๆ ในหลักสูตรแกนกลาง การพัฒนาหลักสูตรโดยการจัดทำรายวิชา/รายวิชาขึ้นใหม่นี้ ควรดำเนินการในรูปแบบของคณะทำงานโดยมีขั้นตอนการจัดทำดังนี้
                        1. ศึกษาจุดหมายของหลักสูตร จุดประสงค์และโครงสร้าง เนื้อหาของกลุ่มประสบการณ์/กลุ่มวิชา/รายวิชาต่างๆ จากหลักสูตรแกนกลาง เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการพิจารณาจัดทำและเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนกับเนื้อหาที่มีอยู่
                        2. นำเอาผลการศึกษาผลการวิเคราะห์สภาพที่ควรจะเป็นของการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่น ที่ได้จากการวางแผนอย่างมียุทธศาสตร์มาใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดจุดประสงค์และเนื้อหา
                        3. กำหนดจุดประสงค์ของวิชา/รายวิชาที่จะดำเนินการจัดทำขึ้นใหม่ โดย
                            3.1 วิเคราะห์จากปัญหา/ความต้องการของท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ สิ่งที่ต้องการให้รู้พฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดและเงื่อนไขต่างๆ (ถ้ามี)
                            3.2 กำหนดจุดประสงค์ให้ครอบคลุมกับสภาพที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อเรียนจบรายวิชานั้น ไม่ใช่การดำเนินการงานหรือกิจกรรม
                        4. กำหนดเนื้อหา โดยการวิเคราะห์จากจุดประสงค์ ซึ่งระบุคำหลักของจุดประสงค์รายวิชานั้น ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นความรู้  (สิ่งที่ให้ผู้เรียน/ศึกษา)  และส่วนที่เป็นทักษะ (สิ่งที่ต้องการฝึก) เนื้อหาที่กำหนดนี้ต้อง
                            4.สอดคล้องกับจุดประสงค์รายวิชา
                            4.ประกอบด้วยส่วนที่เป็นความรู้และทักษะ
                            4.เหมาะสมกับวัยและพื้นความรู้ของผู้เรียน
                            4.เหมาะสมกับคาบเรียน
                            4.ไม่ขัดต่อความมั่นคงของชาติ ระบบการปกครองตามหลังประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี
                        5. กำหนดคาบเวลาเรียนสำหรับคำอธิบายหรือรายวิชาที่จัดทำขึ้นใหม่ ในการกำหนดคาบเวลาต้องเป็นไปตามเงื่อนไข เช่น ระดับประถมศึกษา จำนวนคาบเวลาเรียนที่กำหนดขึ้นนั้นต้องไม่ทำให้คาบเวลาเรียนสำหรับกลุ่มประสบการณ์/หน่วยย่อยที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงไป
                        6. เขียนคำอธิบาย/คำอธิบายรายวิชา ให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแม่บทโดยระบุแนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชา ตามแบบฟอร์มที่กำหนด
                        7. จัดทำเอกสารชี้แจงรายละเอียดประกอบการจัดทำวิชาหรือรายวิชาที่จัดทำขึ้นใหม่ ตามแบบฟอร์มที่กำหนด โดยให้มีรายละเอียดเนื้อหา ประกอบด้วย
                            7.1 เหตุผลความจำเป็น
                            7.2 จุดประสงค์ (ของวิชา/รายวิชาที่จัดทำ)
                            7.3 ขอบข่ายเนื้อหา
                            7.4 แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
                            7.5 สื่อการเรียนการสอนที่สามารถนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการสอน
                            7.6 แนวการวัดผลประเมินผล
                        8. ในการเสนอขออนุมัติ ให้ส่งเอกสารในข้อ 6 และ 7 ให้แก่หน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติและกระทรวงศึกษาธิการให้ใช้คำอธิบาย/คำอธิบายรายวิชาดังกล่าวแล้วจึงนำเอาคำอธิบายหรือรายวิชาดังกล่าวมาจัดทำการเรียนการสอนในโรงเรียนและต้องไม่ลืมว่า เนื้อหารายวิชาที่ทำขึ้นใหม่ต้องไม่เป็นเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนกับเนื้อหาที่มีอยู่แล้วในแม่บท เนื้อหาในกลุ่มประสบการณ์/รายวิชา/กลุ่มวิชาเดียวกันหรือต่างกลุ่มกันก็ตาม ดังนั้นต้องตรวจสอบรายละเอียดของเนื้อหาก่อนลงมือพัฒนา
                        สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาอนุมัติคำอธิบาย/คำอธิบายรายวิชาที่จัดทำประกอบด้วยเกณฑ์ต่างๆ ดังนี้
                        1. สนองและสอดคล้องกับหลักการ จุดหมาย และโครงสร้างของหลักสูตร
                        2. เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างความรู้ในแต่ละกลุ่มประสบการณ์หรือกลุ่มวิชาตามที่โครงสร้างหลักสูตรทั้ง 3ระดับกำหนดไว้
                        3. สอดคล้องและสนองต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง
                        4. มีความสมบูรณ์และความพร้อมเพียงพอในการนำไปใช้ในการเรียนการสอน ปัจจัย กระบวนการ ผลผลิตและผลกระทบ
                        5. เป็นผลผลิตจากการนำข้อมูลในระดับท้องถิ่นมาพัฒนาการเรียนการสอน ทั้งในด้านหลักสูตร สื่อการเรียนการสอน และเทคนิคการสอน
                        6. ไม่เป็นเนื้อหาวิชา/รายวิชาที่ซ้ำซ้อนกับเนื้อหาวิชาหรือรายวิชาที่มีอยู่ในหลักสูตรแกนกลาง
                        7. ไม่มีเนื้อหาที่กล่าวมาโดยตรงกับพาดพิงในลักษณะที่ลบหลู่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ไม่ขัดต่อหลักการปกครองระบบประชาธิปไตย ไม่ขัดกับหลักศีลธรรมอันดี และไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ
                        8.มีรูปแบบและวิธีการเขียนสอดคล้อง และเป็นไปตามที่หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการกำหนด
                        จากรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรด้วยการปรับกิจกรรม ปรับเนื้อหา ปรับปรุงสื่อ และเพิ่มเติมรายวิชาดังกล่าวมาแล้ว กรมวิชาการได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่น และปรับปรุงแบบการพัฒนาหลักสูตรด้วยการเพิ่มกิจกรรมการจัดทำสื่อใหม่เพิ่มเติมขึ้นมาซึ่งขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่น (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2543: 4-6) มีดังนี้
           1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในเรื่องต่างๆ เช่น
                            1.1 ด้านการศึกษา
                            1.2 ด้านเศรษฐกิจ
                            1.3 ด้านสังคมวัฒนธรรม
                            1.4 ด้านสิ่งแวดล้อม
                            1.5 ด้านการสื่อสาร/คมนาคม
                            1.6 ด้านประชากร
           2. ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรในด้านต่างๆ ดังนี้
                            2.1 หลักการ จุดหมาย และโครงสร้าง
                            2.2 จุดประสงค์และคำอธิบายรายวิชา
           3. วางแผนและจัดทำหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่นในลักษณะต่างๆ เช่น                                                              3.1 การปรับกิจกรรมการเรียนการสอน
                            3.2 การปรับรายละเอียดเนื้อหา
                            3.3 ปรับปรุง และ/หรือเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน
                            3.4 จัดทำสื่อการเรียนขึ้นใหม่
                            3.5 จัดทำคำอธิบายและรายวิชาเพิ่มเติม
            4. กำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้
            5. จัดทำแผนการสอน
                        การพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่นในลักษณะที่ 3.1-3.สถานศึกษาไม่จำเป็นตองขออนุมัติ/ขออนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ สถานศึกษาสามารถดำเนินจัดทำคำอธิบาย หรือคำอธิบายรายวิชาขึ้นมาใหม่แล้ว สถานศึกษาจะต้องดำเนินการเสนอในกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้ที่ได้รับการอนุมัติและกระทรวงศึกษาธิการประกาศให้ใช้ได้แล้วจึงจะสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาได้ ดังภาพประกอบ 10 ดังนี้
 5.2.รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของกรมการศึกษานอกโรงเรียน
                   กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ (2541 : 2) เปิดโอกาสให้สถานศึกษาพัฒนาหลักสูตรได้เอง โดยพัฒนา หลักสูตรท้องถิ่น” และให้ความหมายว่า เป็นหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนหรือสร้างจากหลักสูตรแกนกลางที่ปรับให้เข้ากับสภาพชีวิตจริงของผู้เรียนตามท้องถิ่นต่างๆ หรือสร้างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่มีผลกระทบต่อผู้เรียน หลักสูตรท้องถิ่นมีความสอดคล้อง เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นนั้นๆ เน้นการเรียนรู้ชีวิตของตนเอง ปรับตนเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของวิทยาการ การใช้เทคโนโลยีและข่าวสารข้อมูลในการเรียนรู้ต่างๆ ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามสภาพชีวิตจริงของตนเอง สามารถนำเอาความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพ พัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของครอบครัวและท้องถิ่นได้
                        รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของกรมการศึกษานอกโรงเรียนที่นำหลักสูตรแกนกลางมาปรับให้เข้ากับสภาพของผู้เรียน ซึ่งแตกต่างไปตามท้องถิ่นต่างๆ มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
                        ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางที่สัมพันธ์กับสภาพปัญหาของชุมชน
                        การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง ครูและผู้เรียนต้องร่วมกันศึกษาหลักสูตรแกนกลางที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนสร้างขึ้น กำหนดหมวดวิชาต่างๆ ที่ผู้เรียนแต่ละระดับต้องเรียน เนื้อหาหลักสูตรแกนกลางที่กำหนดเป็นเนื้อหากลางทั่วไปตามหลักทฤษฎีของหมวดวิชานั้นๆ ศึกษารายละเอียดของแต่ละหมวดวิชา วิเคราะห์หัวข้อของเนื้อหาดังนี้
                            1.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางในระดับที่นำมาจัดการเรียนการสอน (ประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย ทุกหมวดวิชา)
                            1.2 วิเคราะห์หัวข้อเนื้อหาที่ต้องพัฒนาเป็นหลักสูตรท้องถิ่นตามสภาพปัญหาของชุมชนที่สำรวจมาแล้ว และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของท้องถิ่น
                            1.3 พิจารณาหัวข้อเนื้อหาในหมวดวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องนำมาจัดหมวดหมู่ด้วยกันในลักษณะบูรณาการเนื้อหา
                        ขั้นตอนที่ 2 การจัดหมวดหมู่สภาพปัญหาและความต้องการที่ส่งผลต่อผู้เรียน
                        นำสภาพปัญหาและความต้องการที่สำรวจและวิเคราะห์แล้วมาพิจารณาร่วมกับหัวข้อเนื้อหา หมวดวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรที่กำหนดเป็นหมวดวิชาแกนในการพัฒนาเป็นหลักสูตรโรงเรียนแล้วจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการหลังจากนั้นจัดลำดับความสำคัญตามสภาพปัญหาของท้องถิ่นที่พบ                       
                        ขั้นตอนที่ 3 การเขียนแผนการสอนโดยดำเนินการดังนี้
                            3.การกำหนดหัวข้อปัญหา (theme) หัวข้อเนื้อหาของการเรียนการสอน
                            3.การเขียนสาระสำคัญ (concept) เป็นบทสรุปใจความสำคัญของเรื่องเน้นความคิดรวบยอด หลักการ ทักษะหรือลักษณะนิสัยที่ต้องการปลูกฝังให้เกิดกับผู้เรียน
                            3.การกำหนดขอบเขตเนื้อหา ให้ระบุว่าหัวข้อเนื้อหาครอบคลุมและสัมพันธ์กับ  วิชาใด
                            3.กำหนดจุดประสงค์ทั่วไปหรือจุดประสงค์ปลายทางเป็นจุดประสงค์ที่คาดว่าผู้เรียนจะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างไร หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ ทักษะและทัศนะคติอย่างไรเมื่อเรียนจบเรื่องนั้นแล้ว
                            3.การกำหนดจุดประสงค์เฉพาะหรือจุดประสงค์นำทาง เป็นการกำหนดเป้าหมายของการเรียนการสอนในแต่ละหัวเรื่องย่อยที่ปรารถนาให้เกิดกับผู้เรียน นิยมเขียนในลักษณะของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
                            3.การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้กำหนดกิจกรรมตามขั้นตอนของทฤษฎีเชิงระบบ (System Approach)
                            3.สื่อการเรียนการสอน ต้องระบุให้ชัดเจนว่าในการเรียนการสอนแต่ละหัวข้อเนื้อหาต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง และสามารถจัดหาจากที่ใด โดยวิธีใด ต้องระบุเป็นรายข้อตามจุดประสงค์
                            3.การประเมินผล เป็นการเขียนแนวทางการประเมินผลของการปฏิบัติกิจกรรมแต่ละขั้นตอนตามจุดประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนรวบรวมผลงานไว้ นำเสนอครูประจำกลุ่ม โดยการพรรณนางานที่รวบรวมไว้ เกี่ยวกับอะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร ผู้เรียนมีความรู้สึกอย่างไรต่อการรวบรวมผลงาน และมีแนวคิด มีการพัฒนาอะไรต่อไป มีความพึงพอใจกับชิ้นงานมากน้อยเพียงใด
                        ขั้นตอนที่ 4 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
                        ครูและผู้เรียนร่วมกันพัฒนาโดยมีสถานศึกษาอำนวยความสะดวกและกำกับดูแลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง ซึ่งสถานศึกษาโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเป็นผู้อนุมัติหลักสูตรที่ครูและผู้เรียนร่วมกันพัฒนาขึ้นตามความต้องการทางนโยบายของรัฐความต้องการทางการศึกษาและความต้องการในการพัฒนาตนเองของผู้เรียน โดยมีวิธีดำเนินตามลำดับ ดังนี้
                            4.ครูนำหลักสูตรท้องงถิ่นที่พัฒนาแล้ว นำเสนอศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ เพื่อนำเสนอศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเป็นรายภาคเรียน แต่ในกรณีไม่ต้องขออนุมัติใหม่หรือในกรณีหลักสูตรวิชาชีพให้นำเสนอเป็นคราวๆ ไป ที่พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากหลักสูตรแกนกลาง
                            4.ครูและผู้เรียนร่วมกันกำหนดระยะเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามสภาพความเป็นไปได้ โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการหาความรู้ (Input) กระบวนการนำความรู้ที่ได้รับไปปรับ/ประยุกต์ใช้ (Process) และกระบวนการแสดงผลของความรู้หรือการเรียนรู้ที่สามารถประยุกต์ใช้กับชีวิต (Output)
                            4.จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามกระบวนการ โดยยึดวิธีของทฤษฎีเชิงระบบ (Systems Approach: I-P-O)
                        ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล
                        การประเมินผลเน้นการประเมินผลตามสภาพที่แท้จริง (Authentic assessment) ซึ่งประเมินอิงความสามารถและการพัฒนาผู้เรียนมุ่งเน้นความก้าวหน้า การเปลี่ยนแปลงที่เป็นชีวิตจริงของผู้เรียนแต่ละคนสะท้อนให้เห็นสภาพของงานและสิ่งที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติ โดยผู้เรียนเป็นผู้สร้างคำตอบด้านการแสดง การสร้างสรรค์ผลผลิตของงานเป็นการประเมินผลงานของผู้เรียนที่ได้ทำจริง ปฏิบัติจริง  ในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการเรียน หรือกระบวนการรวบรวมเหตุการณ์ ข้อมูลที่ผู้เรียนทำได้และแปลความหมายของข้อมูลหรือเหตุการณ์แล้วตัดสินใจจากข้อมูลพื้นฐานเหล่านั้น ในทางปฏิบัตินิยมใช้วิธีการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงความสามารถ ความก้าวหน้าของผู้เรียน จากการรวบรวมข้อมูลผลผลิต การแสดงออก การประเมินจากสภาพจริง ในงานที่มีความหมายและมีเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจนจะสะท้อนถึงความสามารถ การถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับ โครงสร้างและประมวลความรู้ความคิดในขั้นสูงรวมทั้งคุณภาพของการแสดงออกและผลผลิตที่มีคุณภาพ
                      
ตาราง 1 แสดงรูปแบบ/สาระของรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
ผู้เสนอ
รูปแบบ/สาระ
ไทเลอร์
หลักการและเหตุผลของการพัฒนาหลักสูตร ต้องคำนึงถึงพื้นฐานที่สำคัญ
ประการ คือ จุดมุ่งหมาย ประสบการณ์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
และประเมินอย่างไรจึงจะทราบว่าผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย
ทาบา
การพัฒนาหลักสูตรแบบรากหญ้า (Grass-roots approach) หลักสูตรควรได้รับการออกแบบโดยครูผู้สอนมากกว่าพัฒนาจากองค์กรที่อยู่สูงขึ้น โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตร 7 ขั้นตอน คือ 1. วิเคราะห์ความต้องการ
2. กำหนดจุดมุ่งหมาย 3. คัดเลือกเนื้อหา 4. การจัดรวบรวมเนื้อหาสาระ
5. การคัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ 6. การจัดรวบรวมประสบการณ์การเรียนรู้ 7. กำหนดวิธีวัดและประเมินผล
เซย์เลอร์
อเล็กซานเดอร์
และเลวิส
การพัฒนาหลักสูตร  ประกอบด้วยกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญ
4 ขั้นตอน คือ 1. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 2. การออกแบบหลักสูตร
3. การนำหลักสูตรไปใช้ 4. การประเมินผลหลักสูตร
โอลิวา
การพัฒนาหลักสูตรมีองค์ประกอบที่สำคัญ 12 ขั้นตอน คือ 1. จุดหมายของการศึกษา 2. ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนและชุมชน 3. เป้าหมายหลักสูตร 4. จุดประสงค์หลักสูตร 5. นำหลักสูตรไปใช้ 6. เป้าหมายการจัดการเรียนการสอนแต่ละระดับ 7. จุดประสงค์การจัดการเรียนแต่ละรายวิชา 8. เลือกยุทธวิธีในการสอน 9. เลือกเทคนิควิธีการประเมินผลก่อนนำไปสอนจริง  10. นำยุทธวิธีไปปฏิบัติจริง 11. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน
สกิลเบ็ก
การพัฒนาหลักสูตรที่เป็นพลวัต ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1. การวิเคราะห์สถานการณ์ 2. การกำหนดวัตถุประสงค์ 3. การออกแบบการจัดการเรียนการสอน 4. การนำหลักสูตรไปใช้ 5. การประเมินการเรียนรู้และการประเมินผลหลักสูตร
วอล์คเกอร์
การพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดเชิงประจักษ์นิยม ประกอบด้วยขั้นตอน
3 ขั้นตอน คือ 1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. การพิจารณาไตร่ตรอง
3. การออกแบบหลักสูตร
กรมวิชาการ
การพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2. ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร 3. วางแผนและจัดทำหลักสูตร
4. กำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ 5. จัดทำแผนการสอน
กรมการศึกษานอกโรงเรียน
การพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1. การวิเคราะห์หลักสูตร
แกนกลาง 2. การจัดหมวดหมู่สภาพปัญหาและความต้องการที่ส่งผลต่อผู้เรียน 3. การเขียนแผนการสอน 4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
5. การประเมินผลผู้เรียน

              แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบกระบวนการสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรของไทยนั้นยังมีน้อยมาก ส่วนมากจะเป็นรูปแบบตามแนวคิดของชาวต่างประเทศ ซึ่งนักการศึกษาหลายท่านได้เสนอรูปแบบไว้ดังนี้
                        5.2.รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ (Tyler)
                        ใน ค.ศ. 1949 ไทเลอร์ได้เขียนหนังสือเรื่อง Basic Principles of Curriculum and Instruction ซึ่งเสนอแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรที่รู้จักกันดี คือ หลักสูตรและเหตุผลพื้นฐาน  4 ประการ คือ
                        1. มีความมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจะแสวงหา
                        2.  มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
                        3. จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร จึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ
                        4. จะประเมินผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร จึงจะตัดสินได้ว่าบรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
                   จากพื้นฐานทั้ง 4 ข้อ  ชี้ให้เห็นว่า การสร้างหรือพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึงการกำหนดจุดมุ่งหมาย  การกำหนดประสบการณ์ทางการศึกษา  การจัดประสบการณ์ทางการศึกษาให้ผู้เรียน  และการประเมินสัมฤทธิ์ผลของหลักสูตรด้วย
                   รูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์เริ่มจาก
                   1. การกำหนดจุดมุ่งหมาย  ก่อนจะกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรอย่างกว้างๆ นั้น  จะต้องอาศัยข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น  แหล่งแรกคือสังคม ได้แก่  ค่านิยม ความเชื่อ และแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิตในสังคม โครงสร้างที่สำคัญทางสังคม และความมุ่งหวังทางสังคม เป็นต้น แหล่งที่สองเกี่ยวกับผู้เรียน ซึ่งเกี่ยวกับความต้องการ ความสนใจ ความสามารถ และคุณลักษณะที่ประเทศชาติต้องการ และแหล่งที่สามก็คือ คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาการต่างๆ หรือจากผลการวิจัยที่สรุปให้ข้อคิดเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรจัดการเรียนการสอนแล้วนำมาประมวลเข้าด้วยกันจนเป็นจุดมุ่งหมายอย่างกว้างๆ ของหลักสูตรหรือจุดประสงค์ชั่วคราว (Tentative Objectives) จากนั้นจุดประสงค์ชั่วคราวจะได้รับการกลั่นกรองจากข้อมูลด้านปรัชญาการศึกษา ปรัชญาสังคม และจิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งจะตัดทอนจุดประสงค์ที่ไม่จำเป็นออกและทำให้จุดประสงค์มีความชัดเจนขึ้น จุดประสงค์ที่ได้นี้เป็นจุดประสงค์ที่แท้จริงในการพัฒนาหลักสูตร จากนั้นจึงเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนรู้หรือประสบการณ์ทางการศึกษาสำหรับผู้เรียนเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดขึ้น
                   2. การเลือกและจัดประสบการณ์การเรียน การเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนที่คาดหวังจะให้ผู้เรียนมีประสบการณ์อย่างไร กิจกรรมที่จัดทั้งในการเรียนการสอนและส่วนเสริมหลักสูตรนั้นมีอะไร  ทั้งนี้ก็เพื่อจะให้กระบวนการการเรียนการสอนดำเนินไปเพื่อตอบสนองจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้  ไทเลอร์ได้เสนอเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ไว้ดังนี้
                        2.1 ผู้เรียนควรมีโอกาสฝึกพฤติกรรม  และเรียนรู้เนื้อหาตามที่ระบุไว้ในจุดประสงค์
                        2.2 กิจกรรมและประสบการณ์นั้นควรจะทำให้ผู้เรียนพึงพอใจที่จะปฏิบัติตามพฤติกรรมที่ได้ระบุไว้ในจุดประสงค์
                        2.3 กิจกรรมและประสบการณ์นั้นควรจะอยู่ในขอบข่ายความพอใจที่พึงปฏิบัติได้
                        2.4 กิจกรรมและประสบการณ์หลายๆ ด้านของการเรียนรู้อาจนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนดไว้เพียงข้อเดียว
                        2.5 ในทำนองเดียวกันกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้เพียงหนึ่งอย่างอาจตอบสนองจุดประสงค์หลายๆ ข้อได้
                        นอกจากนั้น ไทเลอร์ยังเน้นเกี่ยวกับการพิจารณาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ว่าต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ในด้านเวลาต่อเวลา และเนื้อหาต่อเนื้อหา  เรียกว่าเป็นความสัมพันธ์แบบ แนวตั้ง  (Vertical)  กับ แนวนอน (Horizontal) ซึ่งมีเกณฑ์ในการจัดดังนี้
                        1. ความต่อเนื่อง (Continuity) หมายถึง ความสัมพันธ์ในแนวตั้งของส่วนองค์ประกอบหลักของตัวหลักสูตรจากระดับหนึ่งไปยังอีกระดับหนึ่งที่สูงขึ้นไป เช่น ในวิชาทักษะต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
                        2. การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง  ความสัมพันธ์ในแนวตั้งของส่วนองค์ประกอบหลักของหลักสูตรจากสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนไปสู่สิ่งที่เกิดขึ้นภายหลัง หรือจากสิ่งที่มีความง่ายไปสู่ที่มีความยาก ดังนั้น  การจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้มีการเรียนลำดับก่อนหลังเพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
                        3. บูรณาการ (Integration) หมายถึง ความสัมพันธ์กันในแนวนอนขององค์ประกอบหลักของตัวหลักสูตร จากหัวข้อเนื้อหาหนึ่งไปยังอีกหัวข้อเนื้อหาหนึ่งของรายวิชา หรือจากรายวิชาหนึ่งไปยังอีกรายวิชาอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถของผู้เรียนให้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ประสบการณ์การเรียนรู้จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (Interaction)  ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์แวดล้อม
                   3.การประเมินผล เพื่อที่จะตรวจสอบดูว่าการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุตามจุดประสงค์ตามที่กำหนดไว้หรือไม่ สมควรจะมีการปรับแก้ไขส่วนใดบ้าง ควรพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้
                        3.1 กำหนดจุดประสงค์ที่จะวัดและพฤติกรรมที่คาดหวัง
                        3.2 วัดและวิเคราะห์สถานการณ์ที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมเหล่านั้น
                        3.3 ศึกษาสำรวจข้อมูลเพื่อสร้างเครื่องมือที่จะวัดพฤติกรรมเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม
                        3.4 ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้
                            3.4.1 ความเป็นปรนัย  (Objectivity)
                            3.4.2 ความเชื่อมั่นได้  (Reliability)
                            3.4.3 ความเที่ยงตรง  (Validity)
                            3.4.4 ความถูกต้อง  (Accuracy)
                        3.การพิจารณาผลการประเมินให้เป็นประโยชน์เพื่ออธิบายผลการเรียนรู้เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม การอธิบายถึงส่วนดีของหลักสูตรหรือสิ่งที่จะต้องปรับแก้เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
                        จากรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรและการสอนของไทเลอร์  เมื่อได้ศึกษาวิเคราะห์และจะพบว่า  การพัฒนาหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการมีส่วนคล้ายกับวิธีการของไทเลอร์มาก  เช่น การกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร  ไทเลอร์ได้ใช้สังคมปัจจุบันเป็นพื้นฐานและการจัดการศึกษาของเราในปัจจุบันนี้ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์สังคมจนสรุปออกมาเป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาว่าเป็น  “การศึกษาเพื่อพัฒนาตนและทำประโยชน์ให้กับสังคม” แนวคิดของไทเลอร์ได้สนับสนุนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอน และนอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรจะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมภายนอกที่สัมพันธ์กับการเรียนรู้ของผู้เรียนอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น